คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พนักงานสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4404/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักรถโดยมิชอบของพนักงานสอบสวน แม้ผู้ขับขี่มีความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนสัญญาณจราจร
ความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ แสดงให้ปรากฏข้างหน้านั้น แม้ความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่เป็น ผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) โดยไม่ได้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นความผิด กระทงหนักที่สุดจะมีโทษจำคุกด้วย แต่ก็มิได้ให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะกักรถของโจทก์ไว้ได้ หากจำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนกักรถของโจทก์ไว้และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ตามกฎหมายก็ถือไม่ได้ว่า เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจำเลยอาจมีความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์ฟ้อง คดีของโจทก์จึงมีมูลที่จะประทับฟ้อง ไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4404/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักรถโดยมิชอบของพนักงานสอบสวน แม้ผู้ขับขี่มีความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนสัญญาณจราจร ก็ไม่เป็นเหตุให้การกักรถชอบด้วยกฎหมาย
ความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ แสดงให้ปรากฏข้างหน้านั้น แม้ความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่เป็น ผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) โดยไม่ได้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นความผิด กระทงหนักที่สุดจะมีโทษจำคุกด้วย แต่ก็มิได้ให้อำนาจ พนักงานสอบสวนที่จะกักรถของโจทก์ไว้ได้ หากจำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนกักรถของโจทก์ไว้และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ ความเสียหาย โดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ตามกฎหมายก็ถือไม่ได้ว่า เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจำเลยอาจมีความผิดตาม บทกฎหมายที่โจทก์ฟ้อง คดีของโจทก์จึงมีมูลที่จะประทับฟ้อง ไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและการฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนเพิ่มเติมโดยพนักงานสอบสวนกองปราบปรามหลังพนักงานอัยการยังมิได้สั่งฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและพระราชบัญญัติศุลกากร เดิมพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้สอบสวน ต่อมากรมตำรวจได้แต่งตั้งให้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้แต่ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอรับสำนวนการสอบสวน จากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถรับสำนวนการสอบสวนมาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดากลับส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอสำนวนการสอบสวนคืนจากพนักงานอัยการ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง จำเลยที่ 1 พนักงานอัยการได้คืนสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้แก่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนต่อไป โดยสอบบุคคลอื่นเป็นผู้ต้องหาอีกหลายคนซึ่งมีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วยภายหลังพนักงานอัยการได้แนะนำให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามคืนสำนวนการสอบสวน และต่อมามีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามสอบสวนเพิ่มเติมทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้น กรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยังมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้อยู่การสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าว หาขัดกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139 ถึง มาตรา 143 ไม่ การสอบสวนของ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงชอบด้วยกฎหมาย และ พนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและการฟ้องคดีอาญา: การส่งสำนวนระหว่างพนักงานสอบสวนและการสอบสวนเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและพระราชบัญญัติศุลกากร เดิมพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้สอบสวน ต่อมากรมตำรวจได้แต่งตั้งให้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้แต่ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอรับสำนวนการสอบสวน จากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถรับสำนวนการสอบสวนมาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดากลับส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอสำนวนการสอบสวนคืนจากพนักงานอัยการ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง จำเลยที่ 1 พนักงานอัยการได้คืนสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้แก่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนต่อไป โดยสอบ บุคคลอื่นเป็นผู้ต้องหาอีกหลายคนซึ่งมีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วยภายหลังพนักงานอัยการได้แนะนำให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามคืนสำนวนการสอบสวน และต่อมามีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามสอบสวนเพิ่มเติมทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้น กรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยังมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้อยู่การสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าว หาขัดกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139ถึง มาตรา 143 ไม่ การสอบสวนของ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงชอบด้วยกฎหมาย และพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 และที่ 2 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเด็กและเยาวชนเมื่อพนักงานสอบสวนนอกเขตอำนาจทำการสอบสวน และการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตฟ้อง
จำเลยมีถิ่นที่อยู่ตามปกติอยู่ในเขตอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่จำเลยกระทำความผิดและถูกจับกุมที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีต้องบังคับตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 24 ทวิ วรรคสุดท้าย พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ยื่นฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ในกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันจับกุมหรือผัดฟ้องตามมาตรา 24 ทวิ วรรค 1, 2 และ 3 ดังนั้น การฟ้องคดีนี้จึงไม่มีกำหนดระยะเวลาตามที่มาตรา 24 ทวิ กำหนดไว้และไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 24 จัตวาพนักงานอัยการประจำศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการฟ้องคดีเด็กและเยาวชนเมื่อพนักงานสอบสวนอยู่นอกเขตอำนาจศาล และการไม่ผูกพันตามกำหนดระยะเวลาฟ้อง
จำเลยมีถิ่นที่อยู่ตามปกติอยู่ในเขตอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาแต่จำเลยกระทำความผิดและถูกจับกุมที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีต้องบังคับตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24ทวิ วรรคสุดท้าย พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้ยื่นฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ในกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันจับกุมหรือผัดฟ้องตามมาตรา24ทวิ วรรค 1,2 และ 3 ดังนั้น การฟ้องคดีนี้จึงไม่มีกำหนดระยะเวลาตามที่มาตรา 24 ทวิ กำหนดไว้และไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 24 จัตวาพนักงานอัยการประจำศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดรถของกลางในคดีขนส่งทางบก: การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของพนักงานสอบสวน
การดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง กระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง หรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 นั้นรถยนต์ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้ร่วมกระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดพนักงานสอบสวนมีอำนาจที่จะยึดรถยนต์ของกลางไว้เป็นพยานหลักฐานประกอบคดีได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ประกอบกับมาตรา 85

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวนที่ย้ายไปรับราชการอื่น สัญญาประกันและความถูกต้องของคู่สัญญา
ขณะทำสัญญาประกัน ร้อยตำรวจเอก อ.รับราชการเป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลีได้ลงชื่อในสัญญาประกันในฐานะเป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลี ไม่ได้เป็นคู่สัญญาโดยตรงเป็นส่วนตัวแต่ขณะยื่นฟ้องร้อยตำรวจเอก อ.ได้ย้ายไป รับราชการที่อื่น มิได้เป็นพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลี ร้อยตำรวจเอก อ. จึงไม่มีสิทธิลงชื่อในฐานะพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลี ฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์โดยตรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า ซ. ยื่นคำร้องต่อโจทก์ซึ่งรับราชการเป็นปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ ขอรับเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัยโดยอ้างว่าสามีตนได้ช่วยเหลือทางราชการถูกคนร้ายยิงตาย ในการสอบสวนคำร้องดังกล่าว ซ. และพยานอีก 3 คนต่างให้การต่อโจทก์ว่า ซ. ได้สมรสกับสามีก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ทางราชการจึงได้จ่ายเงินสงเคราะห์ให้ ซ. ไป ต่อมาปรากฏว่าถ้อยคำที่ ซ. กับพวกให้การต่อโจทก์นั้นเป็นความเท็จนายอำเภอจึงร้องทุกข์ต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ ซ. กับพวกในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน จำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่จับกุมและดำเนินคดีแก่ ซ. และพวก และเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่ง ฟ้อง ซ. กับพวกจำเลยก็ไม่จับตัว ซ. กับพวกส่งให้พนักงานอัยการ ดังนี้ การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความจริงก็เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของจำเลยอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์โดยตรงแต่ประการใด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165 และ189 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนไม่กระทบสิทธิโจทก์โดยตรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า ซ.ยื่นคำร้องต่อโจทก์ซึ่งรับราชการเป็นปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ ขอรับเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัยโดยอ้างว่าสามีตนได้ช่วยเหลือทางราชการถูกคนร้ายยิงตาย ในการสอบสวนคำร้องดังกล่าว ซ.และพยานอีก3คนต่างให้การต่อโจทก์ว่าซ.ได้สมรสกับสามีก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ทางราชการจึงได้จ่ายเงินสงเคราะห์ให้ ซ.ไปต่อมาปรากฏว่าถ้อยคำที่ซ.กับพวกให้การต่อโจทก์นั้นเป็นความเท็จนายอำเภอจึงร้องทุกข์ต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ ซ. กับพวกในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน จำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่จับกุมและดำเนินคดีแก่ ซ.และพวกและเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องซ.กับพวก จำเลยก็ไม่จับตัว ซ.กับพวกส่งให้พนักงานอัยการ ดังนี้ การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความจริงก็เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของจำเลยอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์โดยตรงแต่ประการใด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165 และ189 ได้
of 18