พบผลลัพธ์ทั้งหมด 670 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2713/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย: สัญญาชัดเจนว่าจำเลยกู้ยืมจากบุคคลอื่น โจทก์เป็นเพียงพยาน
แม้หนี้ตามสัญญาจะเนื่องมาจาก ต.ภริยาโจทก์นำบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสไปจำนองประกันหนี้ที่จำเลยกู้ยืมเงินจากธนาคาร และโจทก์กับภริยาต้องชำระหนี้แทนจำเลยจึงเป็นเจ้าหนี้จำเลยร่วมกัน แต่สัญญาพิพาทระบุว่าไว้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยยืมเงินจาก ต.และชำระหนี้เป็นเช็ครวม 4 ฉบับ ซึ่งรวมเช็คพิพาทด้วย โจทก์ลงชื่อเป็นพยานเท่านั้น ก็ต้องฟังว่าจำเลยยืมเงินจาก ต.และออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่ ต. ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายลดเช็คบังคับได้แม้ไม่มีพยานเพิ่มเติม อายุความ 10 ปีใช้บังคับ
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียว จึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ ดังนี้ คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้ว ฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่า ตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็น ไม่ใช่ลายมือเขียน ลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ ไม่ทราบ จึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญา สัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่า หากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคาร อันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่า แม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันที ดังนั้น แม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญา กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม จำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1002 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์ 2 ฉบับ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อ จ. ถึงแก่กรรม จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานที่ไม่ได้รับการถามค้าน: กรณีผู้เสียหายไม่มาเบิกความหลังเสนอเงินชดใช้
ศาลชั้นต้นสืบพยานปากผู้เสียหายจนถึงเวลา12นาฬิกาแล้วให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ต่อนัดหน้าแต่นัดต่อมาผู้เสียหายไม่มาศาลซึ่งโจทก์ได้แถลงว่าก่อนที่จำเลยที่1จะได้รับประกันตัวไปจำเลยทั้งสามเคยเสนอให้เงินแก่ผู้เสียหายแต่ตกลงกันไม่ได้ต่อมาเมื่อจำเลยที่1ได้รับประกันตัวไปผู้เสียหายและมารดาไม่ยอมรับหมายเรียกอีกเข้าใจว่าได้รับเงินจากฝ่ายจำเลยและมีข้อตกลงว่าจะไม่ยอมมาเบิกความที่ศาลจำเลยทั้งสามมิได้แถลงคัดค้านว่าไม่เป็นความจริงและศาลมีคำสั่ง งดสืบพยานโจทก์ปากผู้เสียหายดังนี้เมื่อการไม่สามารถนำตัวผู้เสียหายมาเบิกความไม่ใช่ความผิดของโจทก์ทั้งผู้เสียหายได้เบิกความต่อศาลแล้วย่อมรับฟังได้ส่วนการที่จำเลยทั้งสาม ไม่ได้ ถามค้านจะทำให้พยานโจทก์ปากผู้เสียหายมีน้ำหนักน่าเชื่อเพียงใดหรือไม่เป็นเรื่องที่จะได้พิจารณาชั่งน้ำหนักต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานการตรวจพิสูจน์ของกลาง แม้ผู้ตรวจไม่เบิกความโดยตรง
แม้โจทก์จะมิได้นำผู้ตรวจพิสูจน์ของกลางมาเบิกความประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางเอกสารหมายจ.2ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา243วรรคสองแต่โจทก์ก็ยังมีพนักงานสอบสวนมาเบิกความยืนยันว่าได้ส่งของกลางไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ผลปรากฏว่าของกลางเป็นเฮโรอีนดังนี้การนำสืบพยานโจทก์ดังกล่าวรับฟังได้ว่าของกลางตามฟ้องเป็นเฮโรอีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยพยาน: ความถูกต้องตามกฎหมาย
ในเอกสารส่งมอบการครอบครองหมาย ล.12 มีลายมือชื่อของ ว. ลงไว้ว่าเป็นผู้รับมอบ และในช่องพยานก็มีลายมือชื่อ ป. และลายมือชื่อเซ็นไว้อ่านไม่ออกอีกคนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีลายมือชื่อ น. ผู้เขียนอีกคนหนึ่งลงไว้จึงถือได้ว่าบุคคลที่ลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นพยานผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ ม. ไว้ครบจำนวนสองคนเป็นการถูกต้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 9 วรรคสอง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดไต่สวนมูลฟ้องส่งผลให้ศาลยกฟ้อง แม้จะมีการไต่สวนพยานไปแล้ว
การที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไปแล้วในการไต่สวนมูลฟ้องจะพอฟังว่าคดีมีมูลหรือไม่ ต้องเป็นกรณีที่โจทก์มาศาลตามกำหนดนัดแล้วไม่ติดใจนำพยานเข้าไต่สวน ต่อไป แต่เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งที่สองแม้จะไม่ใช่วันนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งแรก ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 วรรคแรก โดยไม่ต้องวินิจฉัยพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วในนัดก่อนว่าคดีมีมูลหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่นำสืบพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ถือเป็นการประวิงคดี
จำเลยให้การว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ ลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือปลอม แต่ปรากฏว่าจำเลยกลับไม่สนใจมาเบิกความเป็นพยานต่อศาลเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ของตน ที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องและแถลงขอให้ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบ ส.และ ศ.ที่ศาลอื่นก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยจะสืบในข้อใดและเกี่ยวแก่ประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยเพียงใด คงกล่าวลอย ๆ ว่า ขอให้ส่งประเด็นไปสืบเท่านั้น ในฎีกาของจำเลยก็มิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าจำเลยจะสืบพยานทั้งสองปากในข้อใด เกี่ยวแก่ประเด็นข้อพิพาทแค่ไหน เพียงใด พฤติการณ์ของจำเลยจึงเป็นการประวิงคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีด้วยการขอส่งประเด็นไปสืบพยานโดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนข้อต่อสู้
จำเลยที่2ให้การว่าไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือปลอมแต่จำเลยที่2กลับไม่สนใจมาเบิกความเป็นพยานเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ของตนและก็ไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยที่2จะสืบ ส. และ ศ. ตามที่ยื่นคำร้องและแถลงขอให้ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นในข้อใดเพียงใดและในฎีกาของจำเลยที่2ก็มิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าจะสืบพยานทั้งสองปากในข้อใดแค่ไหนเพียงใดการที่จำเลยที่2ขอส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นดังกล่าวจึงเป็นการประวิงคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานที่อาจมีอิทธิพลจากคำเบิกความของพยานก่อนหน้า ศาลต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือ
การที่พยานฟังคำเบิกความของพยานคนก่อน ซึ่งได้เบิกความต่อหน้าตนมาแล้ว แม้จะเป็นคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ก็ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 114 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายหากพยานที่เบิกความภายหลังได้ฟังคำเบิกความของพยานคนก่อนมาแล้วไม่ว่าจะเป็นคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณา ผลก็คืออาจทำให้คำพยานที่เบิกความภายหลังไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเช่นเดียวกัน กรณีจึงใช้บังคับได้ทั้งในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณา
แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บังคับมิให้ศาลรับฟังคำเบิกความพยานที่เบิกความภายหลังซึ่งได้ฟังคำเบิกความของพยานตนก่อนก็ตาม แต่หากปรากฎว่า คำเบิกความของพยานที่เบิกความภายหลังอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยฟังคำเบิกความของพยานคนก่อนหรือสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้คำเบิกความของพยานที่เบิกความภายหลังก็เป็นการผิดระเบียบ ไม่มีน้ำหนักให้เชื่อฟังได้ และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ต้องคัดค้านก่อนที่จะมีการนำพยานเข้าสืบเพราะเมื่อยังไม่ปรากฎว่าพยานจะเบิกความเป็นที่เชื่อถือฟังได้หรือไม่ และสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ ก็ต้องให้พยานเบิกความไปก่อนเพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังว่าเป็นการผิดระเบียบหรือไม่ และกรณีดังกล่าวเป็นคนละเรื่องกับที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 95 วรรคสอง ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15
แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บังคับมิให้ศาลรับฟังคำเบิกความพยานที่เบิกความภายหลังซึ่งได้ฟังคำเบิกความของพยานตนก่อนก็ตาม แต่หากปรากฎว่า คำเบิกความของพยานที่เบิกความภายหลังอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยฟังคำเบิกความของพยานคนก่อนหรือสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้คำเบิกความของพยานที่เบิกความภายหลังก็เป็นการผิดระเบียบ ไม่มีน้ำหนักให้เชื่อฟังได้ และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ต้องคัดค้านก่อนที่จะมีการนำพยานเข้าสืบเพราะเมื่อยังไม่ปรากฎว่าพยานจะเบิกความเป็นที่เชื่อถือฟังได้หรือไม่ และสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ ก็ต้องให้พยานเบิกความไปก่อนเพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังว่าเป็นการผิดระเบียบหรือไม่ และกรณีดังกล่าวเป็นคนละเรื่องกับที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 95 วรรคสอง ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานเบิกความโดยได้ฟังคำเบิกความของพยานก่อนหน้า ศาลต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือและอาจไม่รับฟังได้
การที่พยานฟังคำเบิกความของพยานคนก่อน ซึ่งได้เบิกความต่อหน้าตนแล้ว แม้จะเป็นคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15เพราะโดยเจตนารมณ์ของกฎหมาย หากพยานที่เบิกความภายหลังได้ฟังคำเบิกความของพยานคนก่อนมาแล้วไม่ว่าจะเป็นคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณา ผลก็คืออาจทำให้คำพยานที่เบิกความภายหลังไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเช่นเดียวกัน กรณีจึงใช้บังคับได้ทั้งในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณา แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บังคับมิให้ศาลรับฟังคำเบิกความพยานที่เบิกความภายหลังซึ่งได้ฟังคำเบิกความของพยานตนก่อนก็ตาม แต่หากปรากฏว่า คำเบิกความของพยานที่เบิกความภายหลังอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยฟังคำเบิกความของพยานคนก่อนหรือสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้ คำเบิกความของพยานที่เบิกความภายหลังก็เป็นการผิดระเบียบ ไม่มีน้ำหนักให้เชื่อฟังได้ และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ต้องคัดค้านก่อนที่จะมีการนำพยานเข้าสืบเพราะเมื่อยังไม่ปรากฏว่าพยานจะเบิกความเป็นที่เชื่อถือฟังได้หรือไม่ และสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ ก็ต้องให้พยานเบิกความไปก่อนเพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังว่าเป็นการผิดระเบียบหรือไม่ และกรณีดังกล่าวเป็นคนละเรื่องกับที่บัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15