พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,589 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐานเพียงพอลงโทษคดียาเสพติด แม้กฎหมายกำหนดโทษสูง ศาลต้องฟังพยานหลักฐานก่อน
พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ไม่จำต้องได้ความชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยดังเช่นในคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ เพียงแต่ประกอบคำให้การรับสารภาพของจำเลยให้เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงก็เป็นการเพียงพอแล้วที่ศาลจะลงโทษจำเลยโดยอาศัยพยานหลักฐานนั้นเพราะเป็นกรณีที่โจทก์เพียงแต่นำสืบพยานหลักฐานให้เห็นเป็นเค้ามูลเพื่อประกอบคำรับสารภาพของจำเลยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์พิสูจน์ความผิดจำเลย, พยานหลักฐานสนับสนุนฟ้อง, การใช้กฎหมายอาญาที่เปลี่ยนแปลง
ในคดีอาญาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ เป็นหน้าที่ของโจทก์โดยตรงที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนฟ้องและพิสูจน์ให้ได้ความชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 จะบัญญัติให้ถ้อยคำของจำเลยหรือผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงพยานหลักฐานของโจทก์อย่างหนึ่งที่จะนำสืบสนับสนุนฟ้องเท่านั้น ทั้งเป็นเพียงพยานบอกเล่าจึงมีน้ำหนักน้อยเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา โจทก์มีหน้าที่จะต้องนำพยานเข้าสืบให้เห็นโดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจริงตามฟ้องลำพังแต่เพียงเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบเมทแอมเฟตามีนที่ตัวจำเลย แม้จะมีจำนวนค่อนข้างมากก็ยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานการกู้ยืมจากคำให้การในคดีอาญา: รับฟังได้หากลงลายมือชื่อสมัครใจ
จำเลยได้ให้การและเบิกความในคดีอาญาโดยสมัครใจว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมนี้ได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, การสืบพยานนอกฟ้อง, และการใช้คำให้การในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานหนี้
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องดังกล่าวทั้งมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ในคดีแพ่ง มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่อาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์จำนวน 70,200 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า การนำสืบพยานโจทก์แตกต่างในข้อสาระสำคัญไปจากคำฟ้องเป็นการสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับอ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องจำเลยได้ให้การและเบิกความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมในคดีแพ่งได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์จำนวน 70,200 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า การนำสืบพยานโจทก์แตกต่างในข้อสาระสำคัญไปจากคำฟ้องเป็นการสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับอ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องจำเลยได้ให้การและเบิกความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมในคดีแพ่งได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสอบสวนและรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/26 วรรคสาม บัญญัติให้นำบทบัญญัติในเรื่องการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 91 วรรคสอง มาใช้บังคับเกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการโดยอนุโลม ดังนั้น ในชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าหนี้มีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สิน และข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบแล้ว หากมีผู้โต้แย้งย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนตามมาตรา 90/32 วรรคสองเพื่อค้นหาความจริงว่าหนี้นั้นขอรับชำระได้หรือต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ทั้งนี้ ย่อมใช้อำนาจดังกล่าวในการค้นหาความจริงได้อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม มิใช่เคร่งครัดจำกัดเพียงดูจากหลักฐานในคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เท่านั้น ดังนั้น นอกจากพยานหลักฐานของฝ่ายเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ที่จะนำอ้างส่งประกอบคำขอรับชำระหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นใดนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพิ่มเติมก่อนมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 90/32 วรรคสอง ได้ และในกรณีที่มีการคัดค้านคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลตามมาตรา 90/32 วรรคสาม ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยโดยรับฟังพยานหลักฐานทุกอย่างทั้งที่ยื่นในชั้นขอรับชำระหนี้และยื่นเพิ่มเติมในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากศาลเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าหนี้รายนั้นขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ หาใช่เป็นกรณีวินิจฉัยและรับฟังพยานหลักฐานเกินกว่าคำขอชำระหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3435/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแรงงาน, สัญญาค้ำประกัน, และการรับฟังพยานหลักฐาน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วไม่นำส่งแก่โจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ด้วย สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกรณีนี้มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
หนังสือที่ระบุว่าเป็นสัญญาค้ำประกันมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อโจทก์อยู่ด้วย จึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่สัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 104และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 17 จึงไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐานตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
หนังสือที่ระบุว่าเป็นสัญญาค้ำประกันมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อโจทก์อยู่ด้วย จึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่สัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 104และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 17 จึงไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐานตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3378/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการปล้นทรัพย์: พยานหลักฐานจากคำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิดและการรับสารภาพของผู้ต้องหา
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยที่ 5 จัดหามีดของกลางมาใช้ปล้นทรัพย์แต่โจทก์มีคำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 4 ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 5เป็นผู้จัดหาอาวุธมีดมาใช้ในการปล้นทรัพย์ ซึ่งแม้คำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 4 จะเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิด แต่คำซัดทอดดังกล่าวมิได้เป็นเรื่องการปัดความผิดของจำเลยที่ 4 ไปยังผู้อื่น แต่เป็นการให้การถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 5 นั้นก็เป็นถ้อยคำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง โดยให้การในรายละเอียดถึงเหตุการณ์การกระทำผิดตั้งแต่วางแผนกระทำผิดจนกระทั่งหลังกระทำผิดแล้วตกลงแบ่งปันทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด เชื่อว่าจำเลยที่ 5 ให้การตามความจริงด้วยความสมัครใจจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 ได้จัดหามีดมาใช้ในการปล้นทรัพย์คดีนี้อันเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการกระทำความผิด จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยดุลพินิจของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับสิทธิผู้ต้องหาและการรับฟังพยานหลักฐาน
ในการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 237 และมาตรา 241 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยไม่ได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจทราบในโอกาสแรกหรือไม่ และขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิพากษาตามพยานเอกสาร แม้ไม่เต็มตามคำขอ หากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลย่อมมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) แล้วพิพากษากำหนดจำนวนเงินไปตามที่ได้ความจากพยานเอกสารนั้นได้ แม้ไม่เต็มจำนวนตามคำขอของโจทก์ โดยถือว่าคดีในส่วนที่ศาลไม่พิพากษาให้เป็นเพราะโจทก์ไม่มีพยานเอกสารแสดงให้ศาลเห็นว่าคดีส่วนนั้นมีมูล ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บังคับศาลว่าต้องพิพากษากำหนดจำนวนเงินเต็มตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง – การโต้แย้งดุลพินิจพยานหลักฐาน และข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก, 317 วรรคสาม เรียงกระทงลงโทษ และลดโทษตามมาตรา 78 แล้ว คงจำคุกรวม 10 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เฉพาะโทษและลดโทษตามมาตรา 78 คงจำคุกรวม 6 ปี โดยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกินห้าปี ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่า จำเลยสำคัญผิดว่าเด็กหญิง ส. ผู้เสียหาย มีอายุ 17 ปี และสำคัญผิดว่าผู้เสียหายเป็นภริยาของตนก่อนเกิดเหตุแล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดนั้น เป็นฎีกาที่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี หรือไม่ และการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อภริยาของตนเอง เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยเป็นยุติแล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้จำเลยไม่มีความผิด และการกระทำของจำเลยจะครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 277 วรรคแรก หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่ฎีกามาด้วยว่าพยานโจทก์มีพิรุธไม่อาจฟังลงโทษจำเลย และการที่ผู้เสียหายโทรศัพท์กับมีจดหมายแจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยผู้ปกครองมิได้ทักท้วงห้ามปรามเท่ากับเป็นการยินยอมโดยปริยายให้จำเลยและผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากัน ก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง อันต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
จำเลยฎีกาว่า จำเลยสำคัญผิดว่าเด็กหญิง ส. ผู้เสียหาย มีอายุ 17 ปี และสำคัญผิดว่าผู้เสียหายเป็นภริยาของตนก่อนเกิดเหตุแล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดนั้น เป็นฎีกาที่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี หรือไม่ และการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อภริยาของตนเอง เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยเป็นยุติแล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้จำเลยไม่มีความผิด และการกระทำของจำเลยจะครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 277 วรรคแรก หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่ฎีกามาด้วยว่าพยานโจทก์มีพิรุธไม่อาจฟังลงโทษจำเลย และการที่ผู้เสียหายโทรศัพท์กับมีจดหมายแจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยผู้ปกครองมิได้ทักท้วงห้ามปรามเท่ากับเป็นการยินยอมโดยปริยายให้จำเลยและผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากัน ก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง อันต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน