พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กไม่ได้เป็นการพรากเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตาม ป.อ. มาตรา 317 กฎหมายมุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล แต่กรณีจะเป็นความผิดดังกล่าวได้จะต้องมีการกระทำที่เป็นการพรากซึ่งหมายถึงการพาไปเสียประกอบด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 ไปดื่มเบียร์กับ ส. ภริยาจำเลยจนเมาไม่ได้สติ ส. พาผู้เสียหายที่ 1 กลับไปส่งที่บ้าน แต่ ด. ยายของผู้เสียหายที่ 1 ให้ ส. พาผู้เสียหายที่ 1 กลับไปเพราะเกรงว่าผู้เสียหายที่ 1 จะถูกลงโทษ ส. จึงพาผู้เสียหายที่ 1 ไปนอนที่แคร่หน้าห้องนอนของจำเลยและ ส. เมื่อจำเลยกลับถึงบ้านเห็นผู้เสียหายที่ 1 นอนหลับอยู่บนแคร่จึงกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจึงมิได้กระทำการอันเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากผู้ดูแล คงมีแต่เจตนากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เท่านั้น แม้หลังจากจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ที่แคร่แล้ว จำเลยจะอุ้มผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปกระทำชำเราในห้องนอนของบุตรสาวจำเลยซึ่งอยู่บริเวณเดียวกันอีก 2 ครั้ง ก็ไม่เป็นการกระทำที่เป็นการพรากตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเพราะมิได้พาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่อื่นอีก และถือไม่ได้ว่าเป็นการพาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10282/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิง, พรากเด็ก, และการชดใช้ค่าเสียหายทางจิตใจ
คำว่า "พราก" ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแลโดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน โดยบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะไปอยู่ที่ใด หากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่เด็กย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตลอดเวลา ดังนี้ การพรากเด็กไม่ว่าผู้พรากเด็กจะเป็นฝ่ายชักชวนโดยมีเจตนามุ่งหมายที่จะกระทำชำเราเพียงอย่างเดียวก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น
ขณะเกิดเหตุโจทก์ร่วมอยู่ที่บ้าน จ. ซึ่งเป็นปู่ โดยโจทก์ร่วมได้ไปเยี่ยมปู่และย่าที่บ้านพักและพักอาศัยอยู่ที่นั่น โดยผู้เสียหายที่ 2 ได้ส่งโจทก์ร่วมไปที่บ้าน จ. เพื่อให้มาดูแลเนื่องจาก จ. ป่วย จึงถือได้ว่า จ. อยู่ในฐานะผู้ดูแลโจทก์ร่วม โดยได้รับมอบหมายจากผู้เสียหายที่ 2 ฉะนั้น การที่จำเลยโทรศัพท์ชวนโจทก์ร่วมไปทำงานแล้วขับรถเก๋งมารับโจทก์ร่วมไปและต่อมาก็ได้กระทำชำเราโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการรบกวนและก้าวล่วงอำนาจผู้ดูแลของ จ. ที่มีต่อโจทก์ร่วม โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจาก ส. ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นอา ผู้ปกครองดูแลของโจทก์ร่วม โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจาก จ. ผู้ดูแลเพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าวด้วย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง อีกทั้งการกระทำของจำเลยยังเป็นความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง ด้วย โดยความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม จำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้ดูแลโจทก์ร่วมเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน ตามมาตรา 277 วรรคแรก และความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ตามมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง จำเลยมีเจตนาเดียวกันคือพาโจทก์ร่วมไปกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 277 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามมาตรา 90
ขณะเกิดเหตุโจทก์ร่วมอยู่ที่บ้าน จ. ซึ่งเป็นปู่ โดยโจทก์ร่วมได้ไปเยี่ยมปู่และย่าที่บ้านพักและพักอาศัยอยู่ที่นั่น โดยผู้เสียหายที่ 2 ได้ส่งโจทก์ร่วมไปที่บ้าน จ. เพื่อให้มาดูแลเนื่องจาก จ. ป่วย จึงถือได้ว่า จ. อยู่ในฐานะผู้ดูแลโจทก์ร่วม โดยได้รับมอบหมายจากผู้เสียหายที่ 2 ฉะนั้น การที่จำเลยโทรศัพท์ชวนโจทก์ร่วมไปทำงานแล้วขับรถเก๋งมารับโจทก์ร่วมไปและต่อมาก็ได้กระทำชำเราโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการรบกวนและก้าวล่วงอำนาจผู้ดูแลของ จ. ที่มีต่อโจทก์ร่วม โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจาก ส. ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นอา ผู้ปกครองดูแลของโจทก์ร่วม โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจาก จ. ผู้ดูแลเพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าวด้วย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง อีกทั้งการกระทำของจำเลยยังเป็นความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง ด้วย โดยความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม จำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้ดูแลโจทก์ร่วมเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน ตามมาตรา 277 วรรคแรก และความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ตามมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง จำเลยมีเจตนาเดียวกันคือพาโจทก์ร่วมไปกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 277 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานกระทำชำเราและพรากเด็ก: ศาลฎีกายืนโทษจำคุกทุกกระทง เหตุพฤติการณ์ร้ายแรง
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกในอัตราขั้นต่ำของกฎหมาย และลดโทษให้จำเลยสูงสุดถึงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี 6 เดือน จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษให้จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56 แม้ความผิดกระทงอื่นศาลล่างทั้งสองจะลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินกระทงละ 3 ปี ก็สมควรลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดกระทงอื่น ๆ ให้เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ควรลงโทษจำคุกความผิดกระทงหนึ่ง แต่ความผิดกระทงอื่น ๆ รอการลงโทษ เพราะจะเป็นการลักลั่นไม่เหมาะสม
สำหรับความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แม้ภายหลังจะได้ความว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้สมรสกับผู้เสียหายที่ 2 แต่ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุเกินกว่า 18 ปี แล้ว กรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 227 วรรคท้าย
สำหรับความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แม้ภายหลังจะได้ความว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้สมรสกับผู้เสียหายที่ 2 แต่ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุเกินกว่า 18 ปี แล้ว กรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 227 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9829/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่ออนาจาร ความยินยอม เหตุสมควร และการลงโทษ
การกระทำที่เป็นการพรากเด็กไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ตาม ป.อ. มาตรา 317 นั้น ไม่ถึงขนาดต้องควบคุมตัวเด็กนั้นไว้ เพระการกระทำเช่นนั้นจะเป็นความผิดต่อเสรีภาพอีกต่างหาก คำว่า "พราก" มีความหมายว่า จากไปหรือแยกออกจากกัน สาระสำคัญจึงอยู่ที่การพาไปหรือการแยกเด็กไปนั้น ได้รับความยินยอมจากบุคคลดังกล่าวให้ไปกับบุคคลที่พาไปหรือไม่ หรือมิฉะนั้นบุคคลที่พาเด็กนั้นไปจะต้องมีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21846/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการกระทำความผิดทางอาญา: ค่าสินไหมทดแทนกรณีพรากเด็กและกระทำชำเรา
เมื่อคดีส่วนอาญารับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แล้วว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร และฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายทั้งสอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกคดีส่วนแพ่งขึ้นวินิจฉัยเองเพื่อให้เป็นไปตามผลแห่งคดีอาญาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17836/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารเด็กโดยปราศจากความยินยอม และการพรากเด็กเพื่ออนาจาร ศาลพิจารณาจากคำเบิกความของผู้เสียหาย
แม้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองจะปรากฏว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยถือไม้ขนาดใหญ่กว่าแขนของโจทก์ร่วมที่ 1 โจทก์ร่วมที่ 1 จึงจำต้องทำตามที่จำเลยบอกเพราะกลัว แต่โจทก์ก็มิได้บรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวมาในคำฟ้อง การกระทำอนาจารของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9364/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระทำอนาจารเด็ก, พรากเด็ก, ความยินยอม, พยานบอกเล่า, ลดโทษ
ผู้เสียหายได้รับหมายเรียกให้มาเป็นพยานที่ศาล แต่ถึงวันนัดกลับไม่มาศาล และไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อเอาตัวมาเป็นพยาน แต่ก็ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาลถือได้ว่ามีเหตุจำเป็น เนื่องจากว่าไม่สามารถนำผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็นและได้ยินในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนี้ด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น ศาลสามารถนำพยานบอกเล่าดังกล่าวนี้ไปฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อกระทำอนาจาร ต้องมีการพาเด็กออกจากความปกครองดูแลของบิดามารดา หรือผู้ดูแล
จำเลยเพียงแต่พาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่โรงครัวและห้องน้ำภายในวัดศรีบุญเรืองที่ผู้เสียหายที่ 1 เล่นชิงช้าอยู่เพื่อกระทำอนาจาร เมื่อจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ส. มาเรียก จำเลยก็ปล่อยผู้เสียหายที่ 1 กลับไปโดยดี โดยมิได้มีการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 1 แต่อย่างใด การที่จะเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จะต้องเป็นการพาไปหรือแยกเด็กออกไปจากความปกครองดูแล ทำให้ความปกครองดูแลของบิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน ซึ่งคำว่า "พราก" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายความว่า จากไป พา เอาไปจาก แยกออกจากกัน หรือเอาออกจากกัน ดังนั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังไม่เข้าลักษณะพาหรือแยกเด็กไปจากความปกครองดูแลของผู้ปกครองเด็กอันทำให้ความปกครองดูแลของผู้ปกครองเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนสิทธิ จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา หรือผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19979/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนกระทำชำเราไม่ถึงแก่การพรากเด็กเพื่ออนาจาร ต้องพิจารณาการพาหรือแยกเด็กออกจากความปกครองดูแล
จำเลยเพียงแต่โทรศัพท์นัดให้โจทก์ร่วมที่ 3 ไปพบบริเวณที่เกิดเหตุ โดยโจทก์ร่วมที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ไปพบ แล้วจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 3 บริเวณจุดที่นัดพบทุกครั้ง ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้พาโจทก์ร่วมที่ 3 ไปที่อื่นอีก แสดงว่าจำเลยมิได้หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโจทก์ร่วมที่ 3 การที่จะเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จะต้องเป็นการพาไปหรือแยกเด็กออกไปจากความปกครองดูแล ทำให้ความปกครองดูแลของบิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน ซึ่งคำว่า "พราก" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายความว่า จากไป พา เอาไปจาก แยกออกจากกัน หรือเอาออกจากกัน ดังนั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังไม่เข้าลักษณะพา และแยกเด็กไปจากความปกครองดูแลของผู้ปกครองเด็กอันทำให้ความปกครองดูแลของผู้ปกครองเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนสิทธิ จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19958/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กต้องมีการพาไปเสีย การกระทำอนาจารต่อเด็กแต่ละคนมีเจตนาเดียวกัน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 317 แม้จะมุ่งคุ้มครองมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวน หรือกระทำการใด ๆ อันจะกระทบต่ออำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก แต่กรณีจะเป็นความผิดดังกล่าวได้จะต้องมีการกระทำที่เป็นการพราก ซึ่งหมายถึงการพาไปเสียประกอบด้วย การที่เด็กทั้งห้ามาที่ห้องพักของจำเลยด้วยความสมัครใจ จำเลยไม่เคยเป็นผู้พามา และเด็กทั้งห้าสามารถกลับบ้านของตนเองได้เสมอหากต้องการเช่นนั้น เช่นนี้จำเลยจึงมิได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการพรากเด็กทั้งห้าไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล จำเลยย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม