พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบุกรุกเคหสถาน: ข้อเท็จจริงตามฟ้องต้องสอดคล้องกับการพิจารณา
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน เป็นให้ปรับ 2,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ส่วนโทษจำคุกให้รอไว้นั้น ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
การที่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
ป.อ.มาตรา 1 (4) ให้คำนิยามของคำว่า "เคหสถาน"ว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่นเรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยบุกขึ้นไปบนบ้านผู้เสียหายนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ
การที่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
ป.อ.มาตรา 1 (4) ให้คำนิยามของคำว่า "เคหสถาน"ว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่นเรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยบุกขึ้นไปบนบ้านผู้เสียหายนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: การพิจารณาความเสียหายและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนก่อนวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมแถลงรับว่าเคยถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยในมูลคดีเกี่ยวกับคดีนี้ว่าทำร้ายร่างกายจำเลยทั้งสองคดีนี้และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษโจทก์ร่วม คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คดีนี้วินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ดังนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมยอมรับว่าวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันกับจำเลยในคดีนี้เมื่อยังไม่ได้ความว่าโจทก์ร่วมวิวาททำร้ายร่างกายกับจำเลย ประกอบกับคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่สมควรด่วนวินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นนี้ เสียก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปยังภูมิลำเนาหลายแห่งของจำเลย การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
แม้จำเลยมีสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดงว่าขณะที่ถูกฟ้องจำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 5 จังหวัดอุบลราชธานี แต่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ขณะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ว่าอยู่บ้านเลขที่ 389/4 จังหวัดนครราชสีมา และจำเลยอ้างว่าขณะนั้นอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 357 จังหวัดนครราชสีมา แต่เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่บ้านตามภูมิลำเนาในคำฟ้องคือ บ้านเลขที่ 96 จังหวัดอุบลราชธานี ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเต็มใจยอมรับหมายไว้แทนโดยไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่กล่าวในคำฟ้องและไม่ปรากฏว่าภริยาจำเลยรับหมายไว้แทนจำเลยโดยหลงผิด พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อได้ว่าจำเลยอยู่อาศัยในบ้านเดียวกับภริยา และถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป ดังนั้นบ้านที่ระบุในคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลย ถือได้ว่าได้ส่งหมายนั้นให้แก่จำเลยทราบโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและไม่ไปศาลในวันสืบพยานจึงต้องถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจจำเลยไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันสืบพยานและการขาดนัดพิจารณา: การเผชิญสืบที่พิพาทถือเป็นการสืบพยานแล้ว
จำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนขอเผชิญสืบที่พิพาท และศาลได้ไปเผชิญสืบในวันที่จำเลยขอ ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานและวันดังกล่าวเป็นวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1(10)ประกอบมาตรา 102 วรรคแรก การที่โจทก์ได้ร่วมไปเผชิญสืบในวันนั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้มาศาลในวันสืบพยานตามมาตรา 197 วรรคสอง แม้โจทก์จะไม่มาศาลในวันสืบพยานจำเลยนัดต่อมา ก็ไม่เป็นการขาดนัดพิจารณาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานจำเลยต่อไปโดยมิได้สืบพยานฝ่ายโจทก์ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่มิชอบดังกล่าวเสียตามมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247โดยพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ขาดนัดพิจารณาและกระบวนพิจารณาภายหลังจากนั้นทั้งหมดกับให้ยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดสืบพยานนอกสถานที่และการขาดนัดพิจารณา ศาลต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนโดยนัดแรกจำเลยขอให้ศาลไปเผชิญสืบที่พิพาทและศาลก็ได้ไปเผชิญสืบในวันที่จำเลยขอ ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานและวันดังกล่าวเป็นวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(10) ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ร่วมไปเผชิญสืบที่พิพาทในวันดังกล่าวย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้มาศาลในวันสืบพยานตามมาตรา 197 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 จะไม่มาศาลในวันสืบพยานจำเลยนัดต่อมาก็ตามก็ไม่เป็นการขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างข้อเท็จจริงในฟ้องกับข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาทำให้ลงโทษจำเลยไม่ได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นและทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91,288,295ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และผู้ตายถึงแก่ความตายในที่ชุลมุนต่อสู้นั้น โดยไม่ทราบว่าใครเป็นคนทำให้ตาย ดังนี้เป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังกล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญต้องยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจร ศาลฎีกายกฟ้องข้อหาที่ยุติแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานลักทรัพย์ จึงถือได้ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ต้องถือว่าข้อหาความผิดฐานรับของโจรได้ยุติไปแล้วจำเลยอุทธรณ์ขอให้พิพากษายกฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ ประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะวินิจฉัยก็คือ จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์จึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานรับของโจร และพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานรับของโจรซึ่งยุติไปแล้วนั้น จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยทั้งสองมีสิทธิฎีกาขอให้ยกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรได้ และศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพราะศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ยกฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาฐานลักทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2064/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีทนายในคดีอาญา: แม้ศาลมิได้ถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณา หากจำเลยได้แต่งตั้งทนายเองแล้ว ก็ไม่ถือว่าจำเลยเสียเปรียบ
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา173 วรรคสอง มีเจตนารมณ์ เพื่อให้จำเลยมีทนายช่วยเหลือในการต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ มีอัตราโทษจำคุกตามอัตราที่ระบุไว้แม้ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นจะมิได้สอบถามจำเลยว่าต้องการทนายที่ศาลจะตั้งให้หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าก่อนเริ่มสืบพยานโจทก์จำเลยได้แต่งตั้งทนายเข้ามาเองพร้อมกับยื่นคำให้การปฏิเสธและทนายจำเลยได้ว่าความให้จำเลยมาตลอดย่อมไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: ศาลมีอำนาจพิจารณาความยากจนของผู้ขอได้ แม้เคยมีทรัพย์สิน
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยสามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ มิได้ยากจนจริง ยกคำร้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น แต่ยื่นคำร้องขออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนปรากฏว่าคำร้องดังกล่าวมิได้กล่าวอ้างว่าพยานหลักฐานที่จะแสดงเพิ่มเติมนั้นเหตุใดจึงมิได้ระบุหรืออ้างไว้ในการไต่สวนครั้งแรกและพยานหลักฐานที่จะแสดงเพิ่มเติมมีความสำคัญที่จะหักล้างข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังไว้อย่างไร เพียงแต่แนบบัญชีระบุพยานซึ่งระบุรายชื่อพยานบุคคลซึ่งส่วนใหญ่ได้อ้างไว้ในการไต่สวนครั้งแรกและอ้างเพิ่มบางคนเท่านั้น ดังนี้ ทำให้เห็นว่าจำเลยไม่น่าจะมีพยานหลักฐานเพิ่มเติมพอที่จะแสดงว่าฐานะของจำเลยแตกต่างไปจากที่เคยวินิจฉัยไว้แล้ว ศาลชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยเสียได้ โดยไม่ต้องไต่สวนคำร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดเป็นคู่ความ: ศาลมีอำนาจพิจารณาอนุญาตหรือไม่ตามความเหมาะสมของคดี
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ศาลไม่จำต้องอนุญาตทุกกรณีไป ต้องแล้วแต่ว่ามีเหตุสมควรที่จะอนุญาตหรือไม่