พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลต่อการลงโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ขณะจำเลยกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539)ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 เดิมทุกฉบับและให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวไม่มีระบุว่า เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์อีกต่อไป แต่ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีน เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การขายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อีกต่อไป อันเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดซึ่งให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ป.อ.มาตรา 3วรรคหนึ่ง คือ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันต่อการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ ย่อมทำให้ไม่สามารถขอเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เพื่อบังคับชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าถูกฟ้องแล้วจำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ซึ่งจะทำให้คำพิพากษารวมทั้งการบังคับคดีอันเนื่องมาจากการพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลเป็นอันถูกเพิกถอนไปด้วยเพราะศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นใหม่ แต่จำเลยที่ 2 ก็หาได้กระทำไม่ จำเลยที่ 2 กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว มีความประสงค์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์ จำเลยที่ 2 ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ จึงขอถ่ายรายการค่าธรรมเนียมศาลเพื่อนำไปยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่อศาล และจะนำค่าธรรมเนียมชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลัง เนื่องจากจำเลยที่ 2 ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบ หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่
ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น หากศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่ 2 เสีย กรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น หากศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่ 2 เสีย กรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนของกลางระหว่างพิจารณาคดี และการพิสูจน์เจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อหักล้างการรู้เห็นเป็นใจ
ใน คดีอาญา ที่ โจทก์ มี คำขอ ให้ริบ ของกลาง นั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 เพียงแต่ บัญญัติ ว่า ใน กรณี ที่ ศาล มี คำสั่ง ให้ริบ ทรัพย์สิน ตาม มาตรา 33 หรือ 34 แล้ว ก็ ให้ เจ้าของ แท้จริง ยื่น คำเสนอ ขอ คืน ต่อ ศาล ภายใน หนึ่ง ปี นับแต่ วัน คำพิพากษาถึงที่สุด ได้ เท่านั้น แต่ หา ตัด สิทธิ เจ้าของ ที่ แท้จริง จะ ขอยื่น คำเสนอ ก่อน เวลา ดังกล่าว ไม่ ฉะนั้น เจ้าของ ที่ แท้จริง จึง มีสิทธิ ยื่น คำร้องขอ คืน ของกลาง ระหว่าง พิจารณา คดี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนของกลาง: เจ้าของแท้จริงมีสิทธิยื่นคำร้องระหว่างพิจารณาคดี แม้ ป.อ.มาตรา 36 จะกำหนดกรอบเวลาไว้
ในคดีอาญาที่โจทก์มีคำขอให้ริบของกลางนั้น ป.อ.มาตรา 36เพียงแต่บัญญัติว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือ 34 แล้วก็ให้เจ้าของแท้จริงยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดได้เท่านั้น แต่หาตัดสิทธิเจ้าของที่แท้จริงจะขอยื่นคำเสนอก่อนเวลาดังกล่าวไม่ฉะนั้น เจ้าของที่แท้จริงจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางระหว่างพิจารณาคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อความผิดและโทษทางอาญา
จำเลยขับรถบรรทุกเสพเมทแอมเฟตามีน โจทก์ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพระราชบัญญัติจราจรทางบก และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกต่อมามีประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้เมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ศาลต้องยกฟ้องข้อหานี้และให้ยกคำขอพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เสพเมทแอมเฟตามีนขับรถบรรทุกเป็นภัยร้ายแรงไม่รอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีหลังรับทราบวันนัด: ผลคือจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
ศาลชั้นต้นกำหนดนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตให้เลี่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 3 พฤศจิกายน2538 เวลา 13.30 นาฬิกา เมื่อถึงกำหนดทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 25 มกราคม2539 เวลา 9 นาฬิกา ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์และทนายจำเลยลงชื่อรับทราบวันนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว ฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาจึงเป็นการสั่งตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 197วรรคสอง และเมื่อฝ่ายจำเลยมิได้แจ้งต่อศาลว่าตนต้องการจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้
ตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคแรก ที่บัญญัติว่าถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบโดยชอบแล้ว โจทก์ขาดนัดพิจารณาให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ฯลฯ นั้น มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นกรณีที่มีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบจริง ๆ เท่านั้นแต่หมายความรวมถึงกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วด้วย เช่น กรณีที่ศาลอนุญาตให้เลื่อนวันนัดสืบพยานออกไป และโจทก์ได้ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้แล้ว จึงไม่ต้องมีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบอีก
โจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยเสมียนทนายผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา แล้วโจทก์ไม่มาศาล โจทก์จึงขาดนัดพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความ จึงเป็นการสั่งตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 201วรรคแรก และบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวยังห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ว่าจงใจขาดนัดหรือไม่อีก เพราะการไต่สวนไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์
ตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคแรก ที่บัญญัติว่าถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบโดยชอบแล้ว โจทก์ขาดนัดพิจารณาให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ฯลฯ นั้น มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นกรณีที่มีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบจริง ๆ เท่านั้นแต่หมายความรวมถึงกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วด้วย เช่น กรณีที่ศาลอนุญาตให้เลื่อนวันนัดสืบพยานออกไป และโจทก์ได้ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้แล้ว จึงไม่ต้องมีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบอีก
โจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยเสมียนทนายผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา แล้วโจทก์ไม่มาศาล โจทก์จึงขาดนัดพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความ จึงเป็นการสั่งตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 201วรรคแรก และบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวยังห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ว่าจงใจขาดนัดหรือไม่อีก เพราะการไต่สวนไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การและการพิจารณาคดีโดยไม่ต้องย้อนสำนวนเมื่อพยานหลักฐานเพียงพอ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการที่จำเลยจ้างโจทก์ให้เลี้ยงไก่ของจำเลยเป็นจำนวนเงิน 48,000 บาท จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การปฏิเสธว่า จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์เพราะเมื่อครั้งที่โจทก์รับเลี้ยงไก่ให้จำเลย โจทก์ก็เป็นหนี้จำเลยจากการที่จำเลยจ่ายค่าอุปกรณ์การเลี้ยงไก่เป็นจำนวนเงิน 17,715 บาท จำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยใหม่เป็นว่าโจทก์จะเป็นผู้ซื้อลูกไก่ อาหารไก่ อุปกรณ์การเลี้ยงไก่จากจำเลย โดยจำเลยจะต้องเป็นผู้ซื้อไก่จากโจทก์ครั้งนี้โจทก์เป็นหนี้จำเลยเป็นเงิน 136,283 บาท การที่จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การดังกล่าว เท่ากับว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์อีกเช่นกัน ประเด็นที่จำเลยต่อสู้ตามคำให้การที่ขอแก้ไขใหม่จึงเป็นไปตามประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ได้นำสืบปฏิเสธตามคำให้การและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแล้วดังที่ศาลอุทธรณ์อนุญาต ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาคดีตามประเด็นที่กำหนดในชั้นชี้สองสถาน การวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นเหตุให้ต้องกลับคำพิพากษา
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าสามีจำเลยขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ และได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์แล้วผิดสัญญาหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด เมื่อได้กำหนดประเด็นไว้ดังกล่าวแล้วศาลจึงต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ในกระบวนพิจารณาชั้นชี้สองสถาน และต้องไม่พิจารณาชี้ขาดตัดสินนอกฟ้องนอกประเด็นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีการซื้อขายและเช่าซื้อรถคันพิพาทและชำระราคากันจริงแล้ว ผลก็เท่ากับว่าไม่เชื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ต้องพิพากษายกฟ้องทั้งจำเลยก็มิได้ต่อสู้เลยว่าการซื้อขายและเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาว่าเป็นนิติกรรมอำพรางไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นที่กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: ผู้ร้องต้องเป็นคู่ความในคดีเท่านั้น
ผู้ที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264ต้องเป็นคู่ความในคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองนั้นผู้ร้องสอดเพียงแต่ยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องสอดเท่ากับไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความแม้ผู้ร้องสอดจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวผู้ร้องสอดก็ไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา264ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการแบ่งเงินจากการขายที่ดินและการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการจัดสรรที่ดินที่ถือสิทธิรวมกันแบ่งขายเอากำไรสุทธิมาแบ่งกันคนละครึ่ง ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยแบ่งเงินกำไรสุทธิให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงกันในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่า ให้ผู้จัดการธนาคาร ม.เป็นผู้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของจำนวน 110 แปลง จำเลยมีสิทธิขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวจากผู้จัดการธนาคารเท่าที่จำเป็นตามที่ลูกค้ามาขอรับโอนสิทธิครอบครอง เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าที่ดินจากลูกค้าแล้วต้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคาร ม. ต่อมาจำเลยขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากผู้จัดการธนาคารไปจำนวน 66 แปลง และจำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้ลูกค้าไปจำนวน 36 แปลง โดยจำเลยได้รับเงินจำนวน 3,465,000 บาท ซึ่งจำเลยต้องนำเงินดังกล่าวไปเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ แต่จำเลยนำเข้าบัญชีเพียงบางส่วน ทั้งยังได้ถอนเงินออกไปคงเหลือเพียง 9,000 บาท ปัจจุบันมีเงินในบัญชีเพียง 3,000 บาท จำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้เป็นไปตามข้อตกลงแม้เงินดังกล่าวมิใช่เป็นเงินกำไรสุทธิที่จะนำมาแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อโจทก์มีคำร้องขอให้นำเงินจากการขายที่ดินครึ่งหนึ่งมาวางไว้ต่อศาลในระหว่างการพิจารณา มิใช่นำมาแบ่งให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนี้ กรณีมีเหตุที่จะนำวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณามาใช้ตามที่โจทก์ขอ