พบผลลัพธ์ทั้งหมด 584 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน - การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก - ไม่ใช่ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่า
ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยเช่าบ้านพิพาทของโจทก์เป็นเวลา3ปีโดยไม่ได้ทำสัญญาเช่ากันไว้แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องต่อมาว่าสัญญาเช่าบ้านพิพาทที่จำเลยมีต่อโจทก์ได้ครบกำหนดแล้วและโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทอีกต่อไปการบรรยายฟ้องของโจทก์ในลักษณะนี้เป็นการบรรยายท้าวความย้อนให้จำเลยเข้าใจว่าเหตุที่จำเลยมีสิทธิเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทของโจทก์ในเบื้องแรกก็เนื่องมาจากโจทก์เคยให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทเป็นเวลา3ปีมาก่อนเท่านั้นเมื่อสัญญาเช่าบ้านระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดแล้วจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวต่อไปคำฟ้องโจทก์มิใช่คำฟ้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์จึงมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา538แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และฟ้องแย้งเรื่องคำสั่งแต่งตั้งกรรมการ/ผู้ว่าการรถไฟฯ ศาลพิจารณาความเกี่ยวพันกับฟ้องเดิมและอำนาจบังคับสัญญา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์เพราะจำเลยผิดสัญญาเช่าจำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ว่าการของโจทก์เป็นโมฆะจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมส่วนฟ้องแย้งที่ขอให้บังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินต่อมีกำหนด3ปีและมีสิทธิต่อสัญญาได้คราวละ3ปีตลอดไปเป็นฟ้องแย้งที่กล่าวอ้างสัญญาเช่าเดิมจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมแต่แม้ฟังได้ตามฟ้องแย้งศาลก็ไม่สามารถบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าให้แก่จำเลยได้โดยชอบที่จะยกฟ้องแย้งส่วนนี้ในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)การที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งและคืนค่าขึ้นศาลส่วนนี้แก่จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5070/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกตามพินัยกรรมเกินขนาดที่ดิน และการฟ้องขับไล่จากผู้ซื้อสิทธิในมรดก
คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทมีคดีจนสู่ศาลฎีกาการรับโอนที่ดินจากการซื้อขายมาเป็นของโจทก์แล้วฟ้องขับไล่จำเลย จึงมิได้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตนั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และการกระทำใดสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงและมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงชอบแล้ว
พินัยกรรมระบุเนื้อที่ดินตามที่ปรากฏในโฉนด และกำหนดจำนวนเนื้อที่ของผู้รับพินัยกรรมแต่ละคนไว้ชัดแจ้งแน่นอน แม้เจ้ามรดกจะระบุเนื้อที่ที่ดินที่ยกให้โดยพินัยกรรมมากกว่าที่เจ้ามรดกมีอยู่ก็ตาม ก็ยังมีผลในส่วนของเจ้ามรดกโดยส่วนแบ่งของผู้รับพินัยกรรมก็ต้องลดลงตามสัดส่วนที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้นั้น พินัยกรรมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3) จึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อเจ้ามรดกไม่ได้ระบุให้แบ่งให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น เมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. ที่มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรมจากส. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
พินัยกรรมระบุเนื้อที่ดินตามที่ปรากฏในโฉนด และกำหนดจำนวนเนื้อที่ของผู้รับพินัยกรรมแต่ละคนไว้ชัดแจ้งแน่นอน แม้เจ้ามรดกจะระบุเนื้อที่ที่ดินที่ยกให้โดยพินัยกรรมมากกว่าที่เจ้ามรดกมีอยู่ก็ตาม ก็ยังมีผลในส่วนของเจ้ามรดกโดยส่วนแบ่งของผู้รับพินัยกรรมก็ต้องลดลงตามสัดส่วนที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้นั้น พินัยกรรมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3) จึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อเจ้ามรดกไม่ได้ระบุให้แบ่งให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น เมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. ที่มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรมจากส. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4850/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินห้ามโอน: สิทธิทำประโยชน์ไม่ใช่สิทธิครอบครอง โอนขายเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบ สิทธิครอบครองให้โจทก์มีสิทธิเพียง ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทไม่อาจสละหรือ โอนสิทธิครอบครองให้แก่ผู้อื่นได้การที่โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีผลตามกฎหมายโจทก์ย่อมมี อำนาจฟ้อง ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835-4836/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การยกที่ดินให้สร้างวัด, และสิทธิในการฟ้องขับไล่ของผู้รับโอน
การขออนุญาตสร้างวัดเป็นเรื่องการแสดงเจตนาของบุคคลที่ประสงค์จะสร้างวัดและเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลไม่ใช่เกิดจากนิติกรรมหรือกฎหมายจึงไม่อาจบังคับให้บุคคลไปขออนุญาตสร้างวัดได้ กฎกระทรวงฉบับที่1(พ.ศ.2507)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา6,32หมายความว่าบุคคลใดประสงค์จะให้ที่ดินเพื่อสร้างวัดต้องทำสัญญากับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอท้องที่ที่จะสร้างวัดและเมื่อทางราชการอนุญาตให้ตั้งวัดแล้วก็ต้องโอนที่ดินให้แก่วัดหากไม่ดำเนินการนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องบังคับให้โอนได้ส่วนการกล่าวด้วยวาจายกที่ดินให้สร้างวัดหามีผลอย่างใดไม่เมื่อโจทก์ที่2และที่3ไม่ได้ทำหนังสือสัญญายกที่ดินให้สร้างวัดกับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่2ซึ่งมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ที่1ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังระยะห้ามโอน: ผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ขายที่ไม่มีสิทธิ
โจทก์ซื้อที่พิพาทตามสัญญาซื้อขายจาก จ. แต่เมื่อขณะทำการซื้อขายที่พิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ จ.ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 เดิม เมื่อที่พิพาทเป็นที่ทางราชการจัดให้ราษฏรทำกินจึงปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ ยังไม่ปล่อยเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่มีข้อบังคับห้ามโอน ดังนั้น จ.จึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองที่พิพาทตามหนังสือสัญญาการซื้อขายให้แก่โจทก์ได้ แม้โจทก์จะครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่วันการซื้อขายจนกระทั่งวันครบกำหนดห้ามโอนโจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองแต่ประการใดไม่ ส่วน จ.ผู้ได้รับจัดสรรที่พิพาทได้สละละทิ้งการครอบครองไปโดยไม่เข้าทำประโยชน์ในที่พิพาทตามวัตถุประสงค์ของทางราชการ การครอบครองจึงสิ้นสุดลงและที่ดินจึงตกกลับมาเป็นของรัฐ จ.จึงหมดสิทธิครอบครอง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทหลังจากพ้นกำหนดห้ามโอน เมื่อที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของรัฐ แม้โจทก์จะไม่ได้สิทธิครอบครองแต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะหวงห้ามมิให้บุคคลใดมารบกวนสิทธิของโจทก์ได้ เมื่อ จ.ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองนำที่พิพาทไปขายให้แก่จำเลยโดยไม่มีสิทธิ จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อจะยกสัญญาซื้อขายมายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอยู่ในขณะนั้นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่พิพาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ที่จำเลยฎีกาว่า สิทธิของโจทก์ที่ได้มานั้นยังไม่ได้จดทะเบียนจะยกขึ้นต่อสู้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตไม่ได้นั้นแม้จำเลยจะให้การไว้ แต่ศาลมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อโต้เถียงไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ครอบครองที่พิพาทหลังจากพ้นกำหนดห้ามโอน เมื่อที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของรัฐ แม้โจทก์จะไม่ได้สิทธิครอบครองแต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะหวงห้ามมิให้บุคคลใดมารบกวนสิทธิของโจทก์ได้ เมื่อ จ.ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองนำที่พิพาทไปขายให้แก่จำเลยโดยไม่มีสิทธิ จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อจะยกสัญญาซื้อขายมายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอยู่ในขณะนั้นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่พิพาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ที่จำเลยฎีกาว่า สิทธิของโจทก์ที่ได้มานั้นยังไม่ได้จดทะเบียนจะยกขึ้นต่อสู้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตไม่ได้นั้นแม้จำเลยจะให้การไว้ แต่ศาลมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อโต้เถียงไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลังหมดกำหนดห้ามโอน: สิทธิในการหวงห้าม และอำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ซื้อที่พิพาทตามสัญญาซื้อขายจากจ.แต่เมื่อขณะทำการซื้อขายที่พิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนภายในกำหนด10ปีนับแต่วันที่จ.ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา31จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมเมื่อที่พิพาทเป็นที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินจึงปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย10ปีและภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ยังไม่ปล่อยเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่มีข้อบังคับห้ามโอนดังนั้นจ. จึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองที่พิพาทตามหนังสือสัญญาการซื้อขายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์จะครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่วันการซื้อขายจนกระทั่งวันครบกำหนดห้ามโอนโจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองแต่ประการใดไม่ส่วนจ.ผู้ได้รับจัดสรรที่พิพาทได้สละละทิ้งการครอบครองไปโดยไม่เข้าทำประโยชน์ในที่พิพาทตามวัตถุประสงค์ของทางราชการการครอบครองจึงสิ้นสุดลงและที่ดินจึงตกกลับมาเป็นของรัฐจ.จึงหมดสิทธิครอบครอง โจทก์ครอบครองที่พิพาทหลังจากพ้นกำหนดห้ามโอนเมื่อที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของรัฐแม้โจทก์จะไม่ได้สิทธิครอบครองแต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะหวงห้ามมิให้บุคคลใดมารบกวนสิทธิของโจทก์ได้เมื่อจ.ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองนำที่พิพาทไปขายให้แก่จำเลยโดยไม่มีสิทธิจำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อจะยกสัญญาซื้อขายมายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอยู่ในขณะนั้นไม่ได้ด้วยเหตุนี้การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่พิพาทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ ที่จำเลยฎีกาว่าสิทธิของโจทก์ที่ได้มานั้นยังไม่ได้จดทะเบียนจะยกขึ้นต่อสู้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตไม่ได้นั้นแม้จำเลยจะให้การไว้แต่ศาลมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อโต้เถียงไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3421/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองหลังสัญญาขายฝากครบกำหนด สิทธิของโจทก์ในการฟ้องขับไล่
จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ หลังจากครบกำหนดไถ่ถอนแล้วได้ทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทกับโจทก์ การที่จำเลยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทต่อมาหลังจากพ้นกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ หาได้สิทธิครอบครองไม่ แม้จำเลยมีหนังสือขอระงับการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินต่อนายอำเภอก็ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 เพราะจำเลยมิได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้ครอบครองว่า ไม่มีเจตนาจะยึดถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ต่อไป โจทก์ไม่ได้ถูกแย่งการครอบครอง จึงไม่ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยได้ใช้สิทธิขอไถ่ถอนที่ดินและบ้านพิพาทภายในกำหนดเวลาตามสัญญาขายฝากแก่โจทก์แล้ว โจทก์ขอผัดผ่อนเรื่อยมาจนพ้นกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอใช้สิทธิไถ่คืนที่ดินและบ้านพิพาท แม้จะพิจารณาได้ความจริงตามคำให้การจำเลย กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทก็ยังเป็นของโจทก์อยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยได้ใช้สิทธิขอไถ่ถอนที่ดินและบ้านพิพาทภายในกำหนดเวลาตามสัญญาขายฝากแก่โจทก์แล้ว โจทก์ขอผัดผ่อนเรื่อยมาจนพ้นกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอใช้สิทธิไถ่คืนที่ดินและบ้านพิพาท แม้จะพิจารณาได้ความจริงตามคำให้การจำเลย กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทก็ยังเป็นของโจทก์อยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ศาลอาญาพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งเจ็ดบุกรุกที่พิพาทของโจทก์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362,365(2)และบังคับให้ขับไล่จำเลยทั้งเจ็ดและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนคดีแพ่งถือเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งเจ็ดบุกรุกที่ดินโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยวินิจฉัยว่าคดีฟังไม่ได้แน่ชัดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์คดีอาญาจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220ส่วนคดีแพ่งศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามมาตรา46ซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งเจ็ด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าที่ดินวัดและการฟ้องขับไล่: ข้อพิพาทสิทธิเช่าและการอ้างสิทธิโดยบุคคลอื่น
ที่พิพาทเป็นที่ของวัด ศ. ให้ราษฎรเช่าโดยวัดเก็บค่าเช่าปีละ 900 บาท จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาท โจทก์จึงฟ้องขับไล่โดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้เช่าที่พิพาทจากวัด ศ. ดังนั้น จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยเข้ามาอยู่อาศัยในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ฟ.ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฎีกาว่าโจทก์แต่ผู้เดียวเป็นผู้เช่าที่พิพาทจำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่พิพาทโดยอ้างว่า ฟ.พี่สาวโจทก์ได้โอนสิทธิข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ฟ.ให้จำเลย เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังไม่ได้ เมื่อฟ.ตาย สิทธิอันเกี่ยวกับการเช่าที่พิพาทเป็นอันระงับไป จำเลยกับพวกอยู่ในที่พิพาทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมการศาสนายังมีอยู่ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิการเช่าแต่ผู้เดียว เป็นการโต้แย้งว่าโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินวัด ศ.แต่ผู้เดียวโดยมิได้ทำแทน ฟ.ด้วย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยเข้ามาอยู่อาศัยในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ฟ.ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฎีกาว่าโจทก์แต่ผู้เดียวเป็นผู้เช่าที่พิพาทจำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่พิพาทโดยอ้างว่า ฟ.พี่สาวโจทก์ได้โอนสิทธิข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ฟ.ให้จำเลย เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังไม่ได้ เมื่อฟ.ตาย สิทธิอันเกี่ยวกับการเช่าที่พิพาทเป็นอันระงับไป จำเลยกับพวกอยู่ในที่พิพาทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมการศาสนายังมีอยู่ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิการเช่าแต่ผู้เดียว เป็นการโต้แย้งว่าโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินวัด ศ.แต่ผู้เดียวโดยมิได้ทำแทน ฟ.ด้วย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง