พบผลลัพธ์ทั้งหมด 831 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: โจทก์ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องคดีต่อศาล
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้คำปรึกษาในด้านเทคนิคพิเศษและด้านวิชาการเกี่ยวกับโครงการของจำเลย ข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ตกลงกันว่าจะเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดมีลักษณะเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มาตรา 5 เมื่อมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องถูกผูกพันโดยข้อสัญญานั้น
สัญญาจ้างมีข้อความระบุชัดว่าคู่สัญญาต้องตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้าง และข้อพิพาทในคดีนี้ที่โต้เถียงกันว่าจำเลยต้องชำระค่าจ้างตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์ หรือไม่ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ซึ่งคู่กรณีจะต้องหาทางระงับข้อพิพาทดังกล่าวด้วยการตกลงกัน หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องเสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการดังกล่าว หาได้ใช้บังคับแต่เฉพาะเมื่อเกิดปัญหาในเรื่องการตีความข้อความ ในสัญญาจ้างไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ตามสัญญาดังกล่าวก่อน
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้สั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน เมื่อ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้เป็นที่สุดจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223
ปัญหาวินิจฉัยในชั้นฎีกามีเพียงว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนหรือไม่ เมื่อข้อสัญญาในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 10 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างมีข้อความระบุชัดว่าคู่สัญญาต้องตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้าง และข้อพิพาทในคดีนี้ที่โต้เถียงกันว่าจำเลยต้องชำระค่าจ้างตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์ หรือไม่ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ซึ่งคู่กรณีจะต้องหาทางระงับข้อพิพาทดังกล่าวด้วยการตกลงกัน หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องเสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการดังกล่าว หาได้ใช้บังคับแต่เฉพาะเมื่อเกิดปัญหาในเรื่องการตีความข้อความ ในสัญญาจ้างไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ตามสัญญาดังกล่าวก่อน
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้สั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน เมื่อ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้เป็นที่สุดจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223
ปัญหาวินิจฉัยในชั้นฎีกามีเพียงว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนหรือไม่ เมื่อข้อสัญญาในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 10 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน และความรับผิดของผู้รับจ้างดำเนินคดี
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลนับเป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืน เพราะหากล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ร่วมกันประกอบวิชาชีพทางกฎหมายและรับจ้างโจทก์ดำเนินคดีฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นอย่างดีทำนองเดียวกับต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นต้น จำเลยทั้งสามมีความสำคัญผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนและไม่ได้คำนึงว่าจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ทันกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดี การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดีแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้างดำเนินคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และการพิจารณาว่าการกระทำเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะมิได้บรรยายถึงว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์มีน้ำหนักเท่าใด ก็หาทำให้กลายเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ไม่ เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเรื่องที่จะ นำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับโดย จำหน่ายหมดในคราวเดียวกันไม่มีเมทแอมเฟตามีนเหลืออยู่ ที่จำเลยอีก เป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังฟ้องคดีค้ำประกัน และการคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเสนอชำระหนี้ให้โจทก์ภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้แล้วโดยหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันตามฟ้องถึงกำหนดชำระตั้งแต่ก่อนฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เสนอขอชำระหนี้ให้โจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นการขอชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 701วรรคแรก จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว จะหลุดพ้นจากความรับผิดได้ก็แต่โดยนำเงินตามที่เห็นว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์มาวางศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 135,136 เท่านั้น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นไปอีกก็ดี หรืออัตราต่ำลงประการใด ผู้เบิกเงินเกินบัญชี ยอมรับที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ และสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันยินยอมเข้าค้ำประกันผู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงินไม่เกินกว่า100,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ย ตลอดไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จนสิ้นเชิงทุกประการ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ค้ำประกันไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศธนาคารโจทก์ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ระบุให้จำเลยที่ 1 ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นเดือน และยอมให้เอายอดเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินที่ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปในทันที และให้ถือจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นกลายเป็นจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไป โจทก์ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแบบทบต้นในทันทีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จนกว่าบัญชีจะเลิกกัน และเฉพาะในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เช่นเดียวกับที่คิดจากจำเลยที่ 1 หาใช่สัญญาค้ำประกันมิได้ระบุเวลาให้จำเลยที่ 2ชำระหนี้ จึงยังไม่มีวันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่
ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว จะหลุดพ้นจากความรับผิดได้ก็แต่โดยนำเงินตามที่เห็นว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์มาวางศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 135,136 เท่านั้น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นไปอีกก็ดี หรืออัตราต่ำลงประการใด ผู้เบิกเงินเกินบัญชี ยอมรับที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ และสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันยินยอมเข้าค้ำประกันผู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงินไม่เกินกว่า100,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ย ตลอดไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จนสิ้นเชิงทุกประการ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ค้ำประกันไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศธนาคารโจทก์ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ระบุให้จำเลยที่ 1 ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นเดือน และยอมให้เอายอดเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินที่ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปในทันที และให้ถือจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นกลายเป็นจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไป โจทก์ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแบบทบต้นในทันทีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จนกว่าบัญชีจะเลิกกัน และเฉพาะในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เช่นเดียวกับที่คิดจากจำเลยที่ 1 หาใช่สัญญาค้ำประกันมิได้ระบุเวลาให้จำเลยที่ 2ชำระหนี้ จึงยังไม่มีวันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค้ำประกันหลังฟ้องคดี และดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเสนอชำระหนี้ให้โจทก์ ภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้แล้วโดยหนี้ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันตามฟ้องถึงกำหนดชำระ ตั้งแต่ก่อนฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เสนอขอชำระหนี้ ให้โจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นการขอ ชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรก จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว จะหลุดพ้นจากความรับผิด ได้ ก็แต่โดยนำเงินตามที่เห็นว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์มาวางศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 135,136 เท่านั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่ม สูงขึ้นไปอีกก็ดี หรืออัตราต่ำลงประการใด ผู้เบิกเงินเกินบัญชี ยอมรับที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ และสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันยินยอม เข้าค้ำประกันผู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงินไม่เกินกว่า 100,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ย ตลอดไปจนกว่า ธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จนสิ้นเชิงทุกประการ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตรา ดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ค้ำประกันไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศธนาคารโจทก์ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ระบุให้จำเลยที่ 1 ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นเดือน และยอมให้เอายอดเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินที่ได้เบิกเงินเกินบัญชี ไปในทันที และให้ถือจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นกลายเป็น จำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไป โจทก์ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ย จากจำเลยที่ 1ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแบบทบต้นในทันที ที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามสัญญาเบิกเงิน เกินบัญชี จนกว่าบัญชีจะเลิกกัน และเฉพาะในจำนวนเงิน ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิด ดอกเบี้ยทบต้นได้เช่นเดียวกับที่คิดจากจำเลยที่ 1 หาใช่ สัญญาค้ำประกันมิได้ระบุเวลาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ จึงยังไม่มี วันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: การสอบสวนฐานฉ้อโกงเป็นปัจจัยสำคัญในการฟ้องคดีได้
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ. ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอน เงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับว่า ในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้ สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าวไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิด ฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานสอบสวนจะไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกง หรือหลอกลวงผู้ใดไว้ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะ ในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนใน ความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง โดยวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกง โดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิด ฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลย เป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกา ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินเพื่อฟ้องคดีแรงงาน ศาลต้องพิจารณาเฉพาะส่วนที่นายจ้างโต้แย้งคำสั่ง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่งกำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนำคดี ไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งโดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะต้องให้สอดคล้องกับความ ไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วยโดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งเสมอไป เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งจำเลยทั้งสองแต่เพียง ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน จำนวน 120,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจำนวนดังกล่าวได้ และศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี: ผู้มีอำนาจลงนามแต่งตั้งทนายความ ถือเป็นการฟ้องด้วยตนเอง ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งไม่รับฟ้องได้
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องโดยอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ น.ทนายโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง แม้ในคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ส.ดำเนินคดีแทน แต่เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งนาย น.เป็นทนายความ พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยตนเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์ จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่เพิกถอน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไป หาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18วรรคท้ายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้อง แม้จะมีการระบุผู้มอบอำนาจอื่น การสั่งไม่รับฟ้องเป็นกระบวนการที่ผิดระเบียบ
พ. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้ง น. เป็นทนายความซึ่งเป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง เท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วยตนเองแล้วดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิดเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โจทก์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่เพิกถอนคำสั่ง โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไปหาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคท้าย ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ฟ้องบังคับจำนองที่ดิน - ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอยู่ที่อสังหาริมทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ที่ ำบลบ้านเกาะ จังหวัดอุตรดิตถ์ อันอยู่ในเขตศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ คำฟ้องบังคับจำนองที่ดินเป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์เพราะต้องมีการบังคับคดีแก่ตัวทรัพย์นั้น โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ทวิ