พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหนี้จากการซื้อขายที่ดินและสัญญาหย่า การอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และฟ้องซ้อน
จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำฟ้องโดยไม่มีข้อตกลงว่า หาก ป.ผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดเป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้แล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป.ทำไว้กับโจทก์ แม้มูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จะมิได้เกิดจากการกู้ยืมดังที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่เกิดจากการขายที่ดินดังที่จำเลยให้การก็ตาม หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็เป็นมูลหนี้ที่ชอบ มีผลบังคับกันได้ตามกฎหมาย ส่วนมูลหนี้จะเกิดจากการกู้ยืมหรือเกิดจากการขายที่ดินหาใช่ข้อสำคัญไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ หาใช่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องดังที่จำเลยฎีกาไม่
ข้อตกลงที่ ป.จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ แต่มิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ จำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว จึงมีประเด็นข้อนี้ในคดี แต่ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ ซึ่งจำเลยได้แถลงโต้แย้งขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ โดยฟังว่าจำเลยไม่ได้ขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรง แต่เป็นการจะให้ที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันระหว่าง ป.กับโจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.รับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป.ทำไว้กับโจทก์ ส่วนอีกคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้อง ป.เป็นจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาหย่าที่ ป.ทำไว้กับโจทก์แล้วป.ประพฤติผิดสัญญา ดังนี้ จำเลยในคดีนี้กับจำเลยในคดีดังกล่าวจึงเป็นคนละคนกันข้อพิพาทก็เป็นเรื่องคนละประเด็นกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็สั่งให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ได้ ประกอบกับโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ไว้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์จึงชอบแล้ว
เมื่อผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้แล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป.ทำไว้กับโจทก์ แม้มูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จะมิได้เกิดจากการกู้ยืมดังที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่เกิดจากการขายที่ดินดังที่จำเลยให้การก็ตาม หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็เป็นมูลหนี้ที่ชอบ มีผลบังคับกันได้ตามกฎหมาย ส่วนมูลหนี้จะเกิดจากการกู้ยืมหรือเกิดจากการขายที่ดินหาใช่ข้อสำคัญไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ หาใช่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องดังที่จำเลยฎีกาไม่
ข้อตกลงที่ ป.จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ แต่มิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ จำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว จึงมีประเด็นข้อนี้ในคดี แต่ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ ซึ่งจำเลยได้แถลงโต้แย้งขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ โดยฟังว่าจำเลยไม่ได้ขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรง แต่เป็นการจะให้ที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันระหว่าง ป.กับโจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.รับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป.ทำไว้กับโจทก์ ส่วนอีกคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้อง ป.เป็นจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาหย่าที่ ป.ทำไว้กับโจทก์แล้วป.ประพฤติผิดสัญญา ดังนี้ จำเลยในคดีนี้กับจำเลยในคดีดังกล่าวจึงเป็นคนละคนกันข้อพิพาทก็เป็นเรื่องคนละประเด็นกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็สั่งให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ได้ ประกอบกับโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ไว้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้, ฟ้องซ้อน, การวินิจฉัยนอกฟ้อง, การโอนที่ดินตามสัญญาหย่า, และการต่อสู้คดีของจำเลยในฐานะอนาถา
จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดตามฟ้องโจทก์ทั้งที่ไม่มีข้อตกลงว่าหาก ป. ผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เมื่อหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นมูลหนี้ที่ชอบมีผลบังคับได้ตามกฎหมายส่วนมูลหนี้จะเกิดจากการกู้ยืมหรือเกิดจากการขายที่ดินหาใช่ข้อสำคัญไม่ ข้อตกลงที่ ป. จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาหย่ามิใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรงแต่เป็นการให้ที่เกิดจาก ข้อตกลงตามสัญญา แบ่งทรัพย์สินในการหย่าระหว่าง ป.กับโจทก์ดังนี้ข้อตกลงจะให้ที่ดินดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้โดย ไม่ต้อง จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. รับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป. ทำไว้กับโจทก์ส่วนคดีแพ่งของศาลจังหวัดลพบุรีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้อง ป. เป็นจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาหย่าที่ ป. ทำไว้กับโจทก์ดังนี้จำเลยในคดีนี้กับจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นคนละคนข้อพิพาทก็เป็นคนละประเด็นกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึง ไม่เป็น ฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ชอบด้วยกฎหมาย แม้เกิดจากการขายที่ดิน ไม่ใช่การกู้ยืม ศาลวินิจฉัยถูกต้อง ฟ้องไม่ซ้อน
จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำฟ้องโดยไม่มีข้อตกลงว่าหากป.ผิดนัดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดเป็นการไม่ชอบเมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้แล้วจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงได้ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ป.ทำไว้กับโจทก์แม้มูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จะมิได้เกิดจากการกู้ยืมดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่เกิดจากการขายที่ดินดังที่จำเลยให้การก็ตามหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็เป็นมูลหนี้ที่ชอบมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายส่วนมูลหนี้จะเกิดจากการกู้ยืมหรือเกิดจากการขายที่ดินหาใช่ข้อสำคัญไม่ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้หาใช่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องดังที่จำเลยฎีกาไม่ ข้อตกลงที่ป.จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์แต่มิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วจึงมีประเด็นข้อนี้ในคดีแต่ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ซึ่งจำเลยได้แถลงโต้แย้งขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้แล้วที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้โดยฟังว่าจำเลยไม่ได้ขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรงแต่เป็นการจะให้ที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันระหว่างป.กับโจทก์ข้อตกลงดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของป.รับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ป.ทำไว้กับโจทก์ส่วนอีกคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องป.เป็นจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาหย่าที่ป.ทำไว้กับโจทก์แล้วป.ประพฤติผิดสัญญาดังนี้จำเลยในคดีนี้กับจำเลยในคดีดังกล่าวจึงเป็นคนละคนกันข้อพิพาทก็เป็นเรื่องคนละประเด็นกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็สั่งให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ได้ประกอบกับโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ไว้แล้วที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8450/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ห้ามฟ้องคดีซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้ชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าทนายความเรื่องเดียวกันกับคดีนี้มาก่อน แต่โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลดังกล่าว คู่ความยังอาจอุทธรณ์คำสั่งได้ และจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จึงต้องถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 ประกอบด้วยมาตรา 147 วรรคสอง แม้โจทก์จะยื่นฟ้องคดีนี้ก่อนจำเลยยื่นอุทธรณ์ ก็ต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8450/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมยังไม่ถึงที่สุด แม้ฟ้องใหม่ก่อนอุทธรณ์คดีเก่า ก็เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้ชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าทนายความเรื่องเดียวกันกับคดีนี้มาก่อน แต่โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลดังกล่าว คู่ความยังอาจอุทธรณ์คำสั่งได้ และจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จึงต้องถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 ประกอบด้วยมาตรา 147 วรรคสอง แม้โจทก์จะยื่นฟ้องคดีนี้ก่อนจำเลยยื่นอุทธรณ์ ก็ต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8256/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน, สัญญาประนีประนอมยอมความ, อายุความ, อำนาจฟ้อง, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นอุทธรณ์คัดค้าน คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173วรรคสอง
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน, สัญญาประนีประนอมยอมความ, อายุความ, อำนาจฟ้อง, การเรียกร้องสิทธิ
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นอุทธรณ์คัดค้าน คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173วรรคสอง
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน สัญญาประนีประนอมยอมความ อายุความ และการแบ่งทรัพย์สินมรดก
โจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับโจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่2ถึงที่4มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของพ. ตกลงกับล.โจทก์ที่2ถึงที่4และพ. เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของพ. ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาทพ.ต่อไปจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของพ. จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไปจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง โจทก์ที่1ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168เดิม แม้พ. จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่พ. จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเองโจทก์ที่1ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทนพ. และเมื่อฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4เป็นฟ้องซ้อนจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่2ถึงที่4ได้ การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่2ถึงที่4ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนละเมิดสิทธิบัตร และความรับผิดของกรรมการในฐานะส่วนตัว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ในคดีนี้ว่าร่วมกันผลิตม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรของโจทก์ และร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ เป็นละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยที่คดีก่อนกับคดีนี้มีประเด็นอย่างเดียวกันว่า จำเลยได้ร่วมกันผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งม่าน-เหล็กบังตา อันเป็นการกระทำเทียมหรือเลียนแบบละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์หรือไม่แม้คดีนี้โจทก์จะมีคำขอเพิ่มเติมโดยเรียกค่าเสียหายมาด้วย แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกัน มีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง จำเลยผลิตและขายม่านบังตาก่อนเกิดเหตุและตลอดมา การที่จำเลยต้องหยุดการผลิตเนื่องจากถูกโจทก์แจ้งความกล่าวหาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดทางอาญาและเจ้าพนักงานตำรวจได้ยกเครื่องจักรไป ต่อมาเมื่อได้รับคืนเครื่องจักรที่ยึดจำเลยก็ได้ใช้เครื่องผลิตม่านบังตาตามปกติต่อมา ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน จะถือว่าขาดตอนแล้วและเริ่มนับใหม่หาได้ไม่ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 เป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173วรรคสอง (1) และกรณีที่จะเป็นฟ้องซ้อน นอกจากคดีจะต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันแล้ว จำเลยยังจะต้องเป็นจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีก่อนด้วย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ร่วมกับจำเลยที่ 1 และจำเลยอื่นกระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำในฐานะส่วนตัวก็หาใช่ว่าจะไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใดศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1), 247
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ร่วมกับจำเลยที่ 1 และจำเลยอื่นกระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำในฐานะส่วนตัวก็หาใช่ว่าจะไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใดศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ละเมิดสิทธิบัตร: การกระทำต่อเนื่องไม่ขาดตอน & ความรับผิดกรรมการ
คดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นอย่างเดียวกันคือจำเลยได้ร่วมกันผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งม่ายเหล็กบังตาอันเป็นการทำเทียมหรือเลียนแบบละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์หรือไม่แม้คดีนี้โจทก์จะมีคำขอเพิ่มเติมโดยเรียกค่าเสียหายมาด้วยแต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกันจำเลยผลิตและขายม่านเหล็กบังตาอันเป็นการประกอบธุรกิจในทางการค้าของจำเลยอยู่ก่อนเกิดเหตุและตลอดมาการที่จำเลยต้องหยุดการผลิตเพราะถูกโจทก์แจ้งความกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดทางอาญาและเจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดเอาเครื่องจักรไปหลังจากนั้นเมื่อเจ้าพนักบานตำรวจเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดและคืนเครื่องจักรที่ยึดจำเลยก็ใช้เครื่องจักรผลิตม่านเหล็กบังตาปกติต่อมาดังนี้ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการกระทำต่อเนื่องกันจะถือว่าขาดตอนแล้วและเริ่มการกระทำใหม่หาได้ไม่จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)เมื่อฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนก็ย่อมมีผลถึงโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ให้ใช้สิทธิบัตรในการผลิตสินค้าด้วย