พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ล้มละลายต้องมีจำนวนแน่นอน กรณีหนี้ส่งมอบทรัพย์สินคืนยังบังคับได้ ถือว่าหนี้ไม่แน่นอน ฟ้องล้มละลายไม่ได้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องได้ความจริงตามมาตรา 9 ศาลจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ดังนั้น แม้คู่ความมิได้โต้เถียงเรื่องหนี้ที่โจทก์ฟ้องกำหนดจำนวนแน่นอนได้หรือไม่ก็ตามศาลย่อมยกเรื่องดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนเพราะผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเลิกกัน โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในเครื่องยนต์เรือและมีสิทธิติดตามเอาคืน หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคา เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองและใช้ประโยชน์เครื่องยนต์เรือดังกล่าวอยู่ และอยู่ในสภาพที่สามารถบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าได้ติดตามเพื่อยึดเครื่องยนต์เรือคืน แต่จำเลยมีเรือหลายลำไม่ทราบว่าอยู่ในเรือลำใด จึงไม่สามารถยึดคืนได้ ก็หาใช่ว่าการคืนเครื่องยนต์เรือไม่สามารถกระทำได้จนต้องบังคับให้ใช้ราคาแทนอย่างเดียวไม่โจทก์ย่อมฟ้องร้องโดยอาศัยอำนาจศาลบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ และหากบังคับได้เช่นนี้หนี้ค่าเครื่องยนต์เรือก็ไม่ใช่หนี้ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยได้อีก ทั้งฟ้องโจทก์ไม่มีหนี้จำนวนอื่นคงมีแต่เครื่องยนต์เรือเท่านั้น เมื่อหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบเครื่องยนต์เรือจะมีหรือไม่ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: หลักเกณฑ์หนี้สิน, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, และการพิสูจน์สภาพหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อไม่มีข้อตกลงในสัญญากู้เงินว่า หากผู้กู้ผิดสัญญาผู้ให้กู้ต้อง ฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งสามัญก่อนจึงจะฟ้องให้ล้มละลายได้ เมื่อต้นเงินที่กู้ระบุจำนวนได้ แน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ผู้ให้กู้มีอำนาจฟ้องให้ผู้กู้ล้มละลายได้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ จำเลยเพียงแต่ อาศัยและช่วย ทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดย ไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใด อีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: การขยายอายุความเมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องเนื่องจากไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้เดียวกันนี้เป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดอายุความ ศาลชั้นต้นสั่งรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา ต่อมาศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องเนื่องจากจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่นคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมีความหมายเป็นอย่างเดียวกันกับคำว่าศาลยกคดีเสียเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 176ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความในคดีของโจทก์สิ้นไปแล้วก่อนที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นคำสั่งไม่รับฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ประกอบกับเมื่อโจทก์สืบหาภูมิลำเนาของจำเลยแล้วปรากฏว่าจำเลยคงมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นนั้นเอง และโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในกำหนดหกเดือนนับแต่ศาลมีคำสั่ง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: การขยายอายุความเมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องเนื่องจากเขตอำนาจศาล
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้เดียวกันนี้เป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดอายุความ ศาลชั้นต้นสั่งรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาต่อมา ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องเนื่องจากจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่นคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมีความหมายเป็นอย่างเดียวกันกับคำว่าศาลยกคดีเสียเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความในคดีของโจทก์สิ้นไปแล้วก่อนที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นคำสั่งไม่รับฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ประกอบกับเมื่อโจทก์สืบหาภูมิลำเนาของจำเลยแล้วปรากฏว่าจำเลยคงมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นนั้นเอง และโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในกำหนดหกเดือนนับแต่ศาลมีคำสั่ง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ยังอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ถือเป็นหนี้แน่นอน ฟ้องล้มละลายได้
แม้หนี้ตามฟ้องจะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงที่สุด แต่คู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษาจนกว่าคำพิพากษานั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย หนี้ตามคำพิพากษานั้นจึงถือได้ว่าเป็นหนี้ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนและเมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้เข้าไปในคดี กรณีจึงไม่มีเหตุที่ยังไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งต่อการฟ้องล้มละลาย จำเลยไม่อาจยกเหตุต่อสู้เดิมได้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษานั้นมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย จึงต้องฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามฟ้องจริง จำเลยจะอ้างเหตุผลอันเป็นข้อต่อสู้เดิมในคดีก่อนขึ้นมาคัดค้านเพื่อขอให้ศาลรื้อฟื้นปัญหาเรื่องความรับผิดของจำเลยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ และการมอบอำนาจฟ้องคดีที่ไม่ต้องขออนุญาต
ปัญหาที่ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยไม่ขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะหรือไม่ และโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนประกอบการงานของจำเลยจะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในการกระทำที่จัดการงานให้จำเลยได้หรือไม่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
ตามบทบัญญัติ มาตรา 44 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ที่กำหนดให้การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน นั้น หมายความเฉพาะการตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้น ส่วนการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี แม้จะถือว่าเป็นการตั้งตัวแทน ก็ไม่ต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะเป็นอำนาจทั่วไปที่บุคคลมีอยู่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลาย ในจำนวนหนี้ซึ่งเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์เนื่องจากการเป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายอันเนื่องมาจากหนี้สินที่มีอยู่นั้นได้บทบัญญัติมาตรา 175(4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นเรื่องความรับผิดทางอาญาของตัวแทนในกิจการที่ได้กระทำในขณะที่เป็นผู้ประกอบการงานของลูกหนี้ จำเลยจะนำมากล่าวอ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดดังกล่าวหาได้ไม่
ตามบทบัญญัติ มาตรา 44 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ที่กำหนดให้การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน นั้น หมายความเฉพาะการตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้น ส่วนการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี แม้จะถือว่าเป็นการตั้งตัวแทน ก็ไม่ต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะเป็นอำนาจทั่วไปที่บุคคลมีอยู่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลาย ในจำนวนหนี้ซึ่งเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์เนื่องจากการเป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายอันเนื่องมาจากหนี้สินที่มีอยู่นั้นได้บทบัญญัติมาตรา 175(4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นเรื่องความรับผิดทางอาญาของตัวแทนในกิจการที่ได้กระทำในขณะที่เป็นผู้ประกอบการงานของลูกหนี้ จำเลยจะนำมากล่าวอ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ และขอบเขตการขออนุญาตตัวแทนตาม พ.ร.บ.ธุรกิจหลักทรัพย์
ปัญหาที่ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยไม่ขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะหรือไม่ และโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนประกอบการงานของจำเลยจะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในการกระทำที่จัดการงานให้จำเลยได้หรือไม่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามบทบัญญัติ มาตรา 44 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ที่กำหนดให้การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน นั้น หมายความเฉพาะการตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้นส่วนการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี แม้จะถือว่าเป็นการตั้งตัวแทน ก็ไม่ต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะเป็นอำนาจทั่วไปที่บุคคลมีอยู่ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายในจำนวนหนี้ซึ่งเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์เนื่องจากการเป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายอันเนื่องมาจากหนี้ที่มีอยู่นั้นได้ บทบัญญัติมาตรา175(4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นเรื่องความรับผิดทางอาญาของตัวแทนในกิจการที่ได้กระทำในขณะที่เป็นผู้ประกอบการงานของลูกหนี้ จำเลยจะนำมากล่าวอ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, หนังสือมอบอำนาจ, การบรรยายฟ้องชัดเจน, ข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7 ฟ้องคดีล้มละลาย โจทก์ที่ 7 ในฐานะตัวแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 จึงไม่มีอำนาจมอบให้โจทก์ที่ 10 ฟ้องคดีล้มละลายได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 กับจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยจำเลยผู้สั่งจ่ายนำไปแลกเงินสด เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คหลายครั้ง จำเลยเพิกเฉย แจ้งว่าไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดและเข้าหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม.
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยจำเลยผู้สั่งจ่ายนำไปแลกเงินสด เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คหลายครั้ง จำเลยเพิกเฉย แจ้งว่าไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดและเข้าหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: การดำเนินการบังคับคดีสะดุดอายุความ
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2516 โจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2516จากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการชั้นบังคับคดีโดยยึดทรัพย์จำเลยและประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดหลายครั้งและศาลอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ได้เงินจากการขายทอดตลาดมาหักหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2517 การดำเนินการชั้นบังคับคดีนับแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2516 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2517 เป็นการดำเนินการภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาคดีดังกล่าว ทั้งเป็นการกระทำอื่นใด นับว่ามีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องและเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงนับตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2517 ตามความในมาตรา 173 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2517 ยังไม่ล่วงเลยกำหนดเวลาสิบปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ