พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และการเรียกร้องค่าเสียหายจากกระบวนการชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งเป็นฟ้องซ้ำกับคดีอื่นเป็นฎีกาข้อที่โจทก์มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งจึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246, และ 247 ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมแม้โจทก์จะมิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อดังกล่าวไว้ แต่ข้อฎีกานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง ปัญหาว่าที่พิพาทโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครอง โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ในขณะจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายที่ขาดกำไรสุทธิจากการทำเหมืองแร่ในที่พิพาท ทั้งสิทธิทำเหมืองแร่ในที่พิพาทของจำเลยก็ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของทางราชการจำเลยยังไม่มีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะเข้าทำเหมืองแร่ในที่พิพาทการที่โจทก์ไปร้องคัดค้านการขอออกประทานบัตรของจำเลย ฟ้องคดีนี้และนำสำเนาคำฟ้องไปยื่นร้องคัดค้านต่อกรมทรัพยากรธรณีจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยซึ่งยังไม่มีอยู่ในขณะฟ้องแย้งฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นฟ้องที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่แก้ไขขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรห้ามมิให้โจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง ให้โจทก์รื้อถอนเรือนแถวที่พักของคนงาน และทำให้ที่ดินมีสภาพเหมือนเดิมและให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ 15,000 บาท นับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้เข้าทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรนั้น แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่พิพาทตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 จำเลยขอแก้ไขฟ้องแย้งและได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อวันที่13 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในที่พิพาทในขณะที่ขอแก้ไขฟ้องแย้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในที่พิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยแล้ว ทั้งการที่จำเลยแก้ไขฟ้องแย้งดังกล่าวถือได้ว่าเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนดังกล่าว แต่ที่จำเลยขอให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ15,000 บาท นั้น ปรากฏว่า มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นกรณีที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จะฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: เมื่อฟ้องเดิมตกไปแล้ว การฟ้องใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้จะเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน
เมื่อฟ้องเดิมของโจทก์ถูกยกฟ้องเสียแล้ว ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไปด้วยจึงไม่มีคำฟ้องใดที่ศาลอีก จำเลยอุทธรณ์เฉพาะฟ้องแย้งไม่ได้ เพราะฟ้องโจทก์ถูกยกเสียแล้วศาลก็ต้องยกอุทธรณ์ของจำเลยเสีย ดังนี้ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: เมื่อฟ้องเดิมถูกยก ฟ้องแย้งก็ตก และการฟ้องใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้อน
เมื่อฟ้องเดิมของโจทก์ถูกยกฟ้องเสียแล้ว ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไปด้วย จึงไม่มีคำฟ้องใดที่ศาลอีก จำเลยอุทธรณ์เฉพาะฟ้องแย้งไม่ได้ เพราะฟ้องโจทก์ถูกยกเสียแล้ว ศาลก็ต้องยกอุทธรณ์ของจำเลยเสีย ดังนี้ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องแย้งในคดีแพ่ง: ต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก หมายความว่าฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลจึงจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาได้
โจทก์ในฐานะนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเนื่องจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและไม่มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา และฟ้องแย้งว่า โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ และทำทัณฑ์บนแก่จำเลยทั้งสามตามลำดับ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ทำให้จำเลยต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความมาต่อสู้คดี แม้ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามกล่าวอ้างว่าการสอบสวนและลงโทษทางวินัยต่อจำเลยทั้งสามเป็นการไม่ถูกต้องเพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา อันเป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้รับฟ้องแย้งส่วนที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน อันได้แก่ค่าขาดรายได้จากการไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างทนายความ ซึ่งปัญหาที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกลงโทษทางวินัยแล้วจะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2534 จริงหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังต้องพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่ฟ้องเรียกเงินค่าว่าจ้างทนายความมาว่าความในคดีนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นเดียวกัน
โจทก์ในฐานะนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเนื่องจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและไม่มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา และฟ้องแย้งว่า โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ และทำทัณฑ์บนแก่จำเลยทั้งสามตามลำดับ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ทำให้จำเลยต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความมาต่อสู้คดี แม้ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามกล่าวอ้างว่าการสอบสวนและลงโทษทางวินัยต่อจำเลยทั้งสามเป็นการไม่ถูกต้องเพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา อันเป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้รับฟ้องแย้งส่วนที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน อันได้แก่ค่าขาดรายได้จากการไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างทนายความ ซึ่งปัญหาที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกลงโทษทางวินัยแล้วจะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2534 จริงหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังต้องพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่ฟ้องเรียกเงินค่าว่าจ้างทนายความมาว่าความในคดีนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับค่าเสียหายในอนาคตและค่าทนาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก หมายความว่าฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลจึงจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาได้ โจทก์ในฐานะนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเนื่องจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและไม่มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา และฟ้องแย้งว่า โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ และทำทัณฑ์บนแก่จำเลยทั้งสามตามลำดับเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ทำให้จำเลยต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความมาต่อสู้คดี แม้ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามกล่าวอ้างว่าการสอบสวนและลงโทษทางวินัยต่อจำเลยทั้งสามเป็นการไม่ถูกต้องเพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหาอันเป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้รับฟ้องแย้งส่วนที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน อันได้แก่ค่าขาดรายได้จากการไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างทนายความ ซึ่งปัญหาที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกลงโทษทางวินัยแล้วจะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2534 จริงหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังต้องพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่ฟ้องเรียกเงินค่าว่าจ้างทนายความมาว่าความในคดีนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการปรับปรุงที่ดินมีเงื่อนไข ศาลไม่รับพิจารณาเพราะไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแย้งของจำเลยพอแปลได้ว่าหากจำเลยไม่ได้เช่าที่ดินพิพาทต่อไปตามข้อต่อสู้แล้ว จำเลยขอเรียกร้องค่าเสียหายที่จำเลยลงทุนปรับปรุงที่ดินพิพาทคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแย้งนี้จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะ รับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม การที่จำเลยจะฟ้องแย้งเข้ามาในคดีที่ถูกฟ้องนั้น เรื่องที่ฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณารวมกันได้ เพื่อจะได้พิจารณาไปเสียคราวเดียวกัน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดในสัญญา โดยไม่มีเหตุอันสมควร ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยให้การว่า ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริง และฟ้องแย้งว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยโดยไม่ทำหน้าที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกลูกค้าปรับและขาดกำไรไปอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินอันเป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานของจำเลยได้ขอให้โจทก์ ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่นนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทั้งตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของ จำเลยนั้นมาจากสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำผิดสัญญาในการทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ต่อกันทำให้จำเลยเสียหาย จนไม่อาจจ่ายค่าจ้างได้ตามกำหนดเวลาก็เป็นข้ออ้างที่เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวกันกับที่จำเลยยกขึ้นมาเป็นข้อปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ในข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดเวลาโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่สามารถพิจารณารวมกันไปได้ศาลชอบที่จะรับฟ้องแย้งของ จำเลยไว้พิจารณาดำเนินการต่อไป
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดในสัญญา โดยไม่มีเหตุอันสมควร ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยให้การว่า ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริง และฟ้องแย้งว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยโดยไม่ทำหน้าที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกลูกค้าปรับและขาดกำไรไปอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินอันเป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานของจำเลยได้ขอให้โจทก์ ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่นนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทั้งตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของ จำเลยนั้นมาจากสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำผิดสัญญาในการทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ต่อกันทำให้จำเลยเสียหาย จนไม่อาจจ่ายค่าจ้างได้ตามกำหนดเวลาก็เป็นข้ออ้างที่เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวกันกับที่จำเลยยกขึ้นมาเป็นข้อปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ในข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดเวลาโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่สามารถพิจารณารวมกันไปได้ศาลชอบที่จะรับฟ้องแย้งของ จำเลยไว้พิจารณาดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพิจารณารวมกันได้
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา177 วรรคสาม การที่จำเลยจะฟ้องแย้งเข้ามาในคดีที่ถูกฟ้องนั้นเรื่องที่ฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณารวมกันได้เพื่อจะได้พิจารณาไปเสียคราวเดียวกัน โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดในสัญญา โดยไม่มีเหตุอันสมควร ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยให้การว่า ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริง และฟ้องแย้งว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยโดยไม่ทำหน้าที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกลูกค้าปรับและขาดกำไรไปอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินอันเป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานของจำเลยได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่นนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทั้งตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยนั้นมาจากสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำผิดสัญญาในการทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ต่อกันทำให้จำเลยเสียหายจนไม่อาจจ่ายค่าจ้างได้ตามกำหนดเวลาก็เป็นข้ออ้างที่เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวกันกับที่จำเลยยกขึ้นมาเป็นข้อปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ในข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดเวลาโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่สามารถพิจารณารวมกันไปได้ศาลชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาดำเนินการต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5905/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ชอบเมื่อเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นนอกเหนือจากฟ้องเดิม การสมรสโมฆะและค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัวขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ พ. สามีโจทก์เป็นโมฆะ จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ให้ชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยถูก พ. ใช้กลฉ้อฉลให้จดทะเบียนสมรส กับให้ใช้ค่าเลี้ยงชีพที่จำเลยขาดรายได้และค่าเสียหายที่โจทก์เอารถยนต์ที่จำเลยกับ พ. เป็นเจ้าของร่วมกันไป ดังนี้เป็นฟ้องแย้งในเรื่องอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์ ไม่ชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5905/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ชอบ หากเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัวขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ พ. สามีโจทก์เป็นโมฆะ จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ในฐานะทายาทของ พ.ให้ชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยถูกพ. ใช้กลฉ้อฉลให้จดทะเบียนสมรส กับให้ใช้ค่าเลี้ยงชีพที่จำเลยขาดรายได้และค่าเสียหายที่โจทก์เอารถยนต์ที่จำเลยกับ พ. เป็นเจ้าของร่วมกันไป ดังนี้เป็นฟ้องแย้งในเรื่องอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์ ไม่ชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา.