คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาระจำยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นและภาระจำยอม: การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางผ่านเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า หลังจากโจทก์และบุคคลอื่นซื้อที่ดินจากจำเลยแล้ว โจทก์กับบริวารและบุคคลอื่นใช้ทางภาระจำยอมและทางจำเป็นตามพื้นสีแดงเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นทางพิพาททั้งแปลง โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ต่อมาจำเลยได้ทำประตูรั้วโลหะขึ้นบนทางภาระจำยอมและทางจำเป็นกับนำโซ่มาคล้องประตูและปิดล็อกใส่กุญแจ จนทางพิพาทถูกปิดกั้นทำให้โจทก์กับบริวารไม่สามารถใช้ประโยชน์ถนนทางพิพาทได้ดังเดิมฟ้องโจทก์แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า ที่ดินโจทก์และบุคคลอื่นถูกที่ดินแปลงอื่นที่จำเลยแบ่งแยกออกนั้นล้อมไว้โดยรอบ ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธาณะได้ คงมีทางออกทางเดียวคือทางพิพาทที่จำเลยปิดกั้น ทางพิพาทจึงเข้าลักษณะเป็นทางจำเป็นทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนประตูรั้วโลหะหรือสิ่งปลูกสร้างในทางถนน และทำให้ทางถนนนั้นกลับคืนดีในสภาพเดิมเพื่อให้โจทก์และบริวารใช้ทางถนนนั้นได้อีกต่อไป การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นไม่เป็นการเกินคำขอ
เมื่อความประสงค์ของจำเลยตั้งแต่เดิมยินยอมให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงรวมทั้งโจทก์ใช้ทางพิพาททางกว้าง 5 เมตร และจำเลยยินยอมจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยแปลงคงเหลือทั้งแปลงเป็นภาระจำยอมในเรื่องทางเดินทางรถยนต์กับประปา และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อให้เจ้าของที่ดินบางรายในบริเวณนั้นใช้เป็นทางเดินผ่านสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การให้ใช้กว้าง 5 เมตร จึงถือว่าเป็นการใช้พอควรแก่ความจำเป็นที่โจทก์กับบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุดในสภาพเป็นถนนให้โจทก์กับบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านทางพิพาทได้เข้าออกได้โดยสะดวก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม
จำเลยฎีกาว่า ค่าทดแทนเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งจะต้องช่วยกันทำถนนทางพิพาทออกสู่ซอยสาธารณะ แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็บังคับได้ในฐานะเป็นบุคคสิทธิ แต่ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าทดแทน เนื่องจากโจทก์ได้ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลย ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น-ภาระจำยอม: ศาลยืนตามสิทธิใช้ทางเดิม กว้าง 5 เมตร แม้จำเลยอ้างความเสียหาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า หลังจากโจทก์และบุคคลอื่นซื้อที่ดินจากจำเลยแล้ว โจทก์กับบริวารและบุคคลอื่นใช้ทางภารจำยอมและทางจำเป็นตามพื้นสีแดงเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นทางพิพาททั้งแปลง โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ต่อมาจำเลยได้ทำประตูรั้วโลหะขึ้นบนทางภาระจำยอมและทางจำเป็น กับนำโซ่มาคล้องประตูและปิดล็อกใส่กุญแจ จนทางพิพาทถูกปิดกั้น ทำให้โจทก์กับบริวารไม่สามารถใช้ประโยชน์ถนนทางพิพาทได้ ดังเดิมฟ้องโจทก์แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า ที่ดินโจทก์ และบุคคลอื่นถูกที่ดินแปลงอื่นที่จำเลยแบ่งแยกออกนั้นล้อมไว้ โดยรอบ ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ คงมีทางออกทางเดียวคือทางพิพาทที่จำเลยปิดกั้น ทางพิพาทจึงเข้าลักษณะเป็นทางจำเป็นทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนประตูรั้วโลหะหรือสิ่งปลูกสร้างในทางถนน และทำให้ทางถนนนั้นกลับคืนดีในสภาพเดิมเพื่อให้โจทก์และบริวารใช้ ทางถนนนั้นได้อีกต่อไป การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นไม่เป็นการเกินคำขอ เมื่อความประสงค์ของจำเลยตั้งแต่เดิมยินยอมให้เจ้าของ ที่ดินข้างเคียงรวมทั้งโจทก์ใช้ทางพิพาททางกว้าง 5 เมตร และจำเลยยินยอมจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยแปลงคงเหลือ ทั้งแปลงเป็นภาระจำยอมในเรื่องทางเดินทางรถยนต์กับประปา และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อให้เจ้าของที่ดินบางรายในบริเวณ นั้นใช้เป็นทางเดินผ่านสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การให้ใช้ กว้าง 5 เมตร จึงถือว่าเป็นการใช้พอสมควรแก่ความจำเป็นที่ โจทก์กับบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทให้เกิดความ เสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุดในสภาพเป็นถนนให้โจทก์กับบริวาร ใช้รถยนต์แล่นผ่านทางพิพาทได้เข้าออกได้โดยสะดวก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม จำเลยฎีกาว่า ค่าทดแทนเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์ กับจำเลยซึ่งจะต้องช่วยกันทำถนนทางพิพาทออกสู่ซอยสาธารณะ แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็บังคับได้ในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ แต่ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าทดแทน เนื่องจากโจทก์ได้ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลย ฎีกาของจำเลย ในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดินและภาระจำยอมสาธารณูปโภค: สิทธิการใช้สโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมของเจ้าของที่ดิน
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 1 ประกอบข้อ 30วรรคหนึ่ง กรณีที่ถือว่าเข้าหลักเกณฑ์เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ สาระสำคัญอยู่ที่การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่10 แปลงขึ้นไป และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงให้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบการพาณิชย์ หรือที่ประกอบการอุตสาหกรรม เมื่อมีการกระทำครบหลักเกณฑ์ดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามความหมายหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ส่วนผู้จัดสรรจะขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต่อคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของผู้จัดสรรไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้นำที่ดินของตนมาแบ่งเป็นแปลงย่อยคนละ 5 แปลง รวมเป็น 10 แปลง แล้วให้บริษัท ส.ทำการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านโดยที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ได้มีการก่อสร้างบ้านจำนวน 9 หลังลงในที่ดิน 10 แปลง การจัดจำหน่ายที่ดินและบ้าน ทางผู้จัดสรรขายได้มีการแยกทำสัญญาเป็น 3 ฉบับ คือให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 3 หรือที่ 4 ส่วนการปลูกสร้างบ้านให้ผู้ซื้อทำสัญญาว่าจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.เป็นผู้รับจ้างปลูกสร้างบ้าน และให้บริษัท ส.เป็นผู้รับจ้างทำถนน น้ำ ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ ตลอดจนปรับปรุงที่ดินเพื่อแบ่งเบาภาระในเรื่องภาษี แต่การดำเนินจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านของบริษัท ส. กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ล้วนกระทำการโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ส. อันมีจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 รู้เห็นและมีส่วนร่วมในการจัดสรรในโครงการการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่นำมาจัดสรรขายปรากฏว่าได้นำที่ดินซึ่งแบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ดังกล่าวนำเข้าโครงการเพื่อจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์และผู้ซื้อทั่วไป อีกทั้งยังได้มีการโฆษณาว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมบริการแก่ผู้ซื้ออีกด้วย ซึ่งต่อมาว่าได้มีการจัดสร้างสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะดังกล่าวขึ้นตามที่ได้โฆษณาหรือให้คำมั่นไว้แล้วดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกับบริษัท ส. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ดำเนินการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านในโครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าว และได้แสดงเจตนาออกอย่างชัดแจ้งว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินและบ้านจากโครงการได้ใช้ประโยชน์จากสโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมร่วมกัน ย่อมเข้าหลักเกณฑ์เป็นสาธารณูปโภคตามบทบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 ฉะนั้น สโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อม จึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรของโจทก์ทั้งสามโดยผลแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
จำเลยทั้งหกได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่286 ข้อ 30 โดยนำที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อม ในส่วนที่ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 6อีกทั้งมีการห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามใช้สโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมกับได้สร้างกำแพงคอนกรีตปิดกั้นมิให้โจทก์ทั้งสามเข้าไปอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกไป โจทก์ทั้งสามย่อมมีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ปิดกั้นนั้นได้
แม้การจัดสรรจะปลูกสร้างบ้านขายเพียง 9 หลัง แต่จำเลยที่ 3และจำเลยที่ 4 ได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยจำนวนคนละ 5 แปลง จึงเท่ากับ10 แปลง กรณีถือได้ว่าเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวน10 แปลงขึ้นไป แม้บ้านเลขที่เดียวจะตั้งอยู่บนที่ดิน 2 โฉนด ในพื้นที่จำนวน 1 แปลงเหมือนกับแปลงอื่น ๆ ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของจำเลยไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านที่จำเลยทั้งหมดร่วมกันจัดสรรโดยมีการโฆษณาให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมเพื่อให้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับโครงการ และต่อมาได้จัดให้มีสาธารณูปโภคดังกล่าวแล้ว แต่ห้ามโจทก์ทั้งสามเข้าไปใช้ทำให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ซื้อมาจากการจัดสรรของจำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งหมดไม่มีสิทธิกระทำได้เพราะสาธารณูปโภคดังกล่าวตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสามตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 จำเลยทั้งหมดจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกไม่ได้ โดยขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งหกจดทะเบียนที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสร สระว่ายน้ำ ฉละสวนหย่อม ตกอยู่ในบังคับภาระจำยอมของที่ดินโจทก์ทั้งสามและห้ามจำเลยทั้งหกกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้การใช้ประโยชน์ในสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกโจทก์ทั้งสามได้บรรยายฟ้องถึงเหตุและสิทธิของโจทก์ทั้งสามที่จะขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยทั้งหกว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิหรือเหตุอย่างไร จำเลยทั้งหกย่อมทราบเรื่องดีอยู่แล้ว มิใช่โจทก์ทั้งสามเพิ่งจะมากล่าวอ้างเมื่อฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงแจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จำเลยทั้งหกจะให้การต่อสู้คดีได้แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมเพื่อประโยชน์ที่ดินจัดสรร: สิทธิใช้ทาง & การรื้อถอนสิ่งกีดขวาง
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน2515 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ประกอบข้อ 32 จะเห็นได้ว่า ถึงแม้การจัดสรรที่ดิน ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินกระทำอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และได้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 32 จะไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ตาม แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อ 30 กล่าวคือ ถือว่าสาธารณูปโภคเช่นว่านั้นตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และจากถ้อยคำในข้อ 32ที่ว่า "ผู้ใดจัดสรรที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา และ...หรือได้จัดให้มีสาธารณูปโภค...หรือที่ประกอบการอุตสาหกรรมไปแล้วบางส่วน...ฯลฯ" ย่อมมีความหมายชัดแจ้งอยู่แล้วว่า สาธารณูปโภคดังกล่าวคือสาธารณูปโภคที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หาใช่สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินภายหลังประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับไม่เมื่อบริษัท น.ดำเนินการจัดสรรที่ดินหมู่บ้าน ม.เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2516 และถนนซอยพิพาทเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นก่อนที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ใช้บังคับ ถนนซอยพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 และ 32 ถึงแม้ถนนซอยพิพาทเป็นทางเข้าออกบ้านของจำเลยทั้งสองสู่ถนนสายหลักของหมู่บ้าน ม.และถนนสาธารณะ โดยผ่านรั้วด้านข้างบ้านของโจทก์และเจ้าของบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งไม่มีประตูที่รั้วด้านดังกล่าว แต่ในเมื่อถนนซอยพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30และ 32 โจทก์ในฐานะเป็นผู้อาศัยอยู่ในที่ดินจัดสรร จึงมีสิทธิใช้ถนนซอยพิพาทได้ซึ่งอาจจะใช้เป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว เช่น ในยามเกิดอัคคีภัยเป็นต้นที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจัดทำประตูรั้วเหล็กปิดกั้นถนนซอยพิพาท ย่อมทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วเหล็กดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี และการรุกล้ำแนวเขตทางเดิน
โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 กั้นรั้วสังกะสีในทางพิพาทอันเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายด้วยถ้อยคำว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและด้วยเจตนาให้เป็นภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ก็ได้บรรยายไว้ชัดแจ้งว่าที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่60457 และ 70344 และที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 เดิมเป็นของ ล. ก่อนที่ ล.จะจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่60458 ให้จำเลยที่ 1 ล.ได้แบ่งแยกที่ดินในนามเดิมโดยกันที่ดินส่วนหนึ่งกว้าง1 เมตร ยาว 12 เมตร ด้านทิศตะวันตก (ทางพิพาท) ให้เป็นภาระจำยอมต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 นำช่างแผนที่ไปรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 ด้านทิศตะวันตกรุกล้ำแนวเขตที่ดินที่เป็นทางภาระจำยอมดังกล่าวแล้วกั้นรั้วสังกะสีปิดกั้นทางเดินทำให้ที่ดินที่เป็นภาระจำยอมนั้นลดและแคบลงคงเหลือกว้าง 1 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นเคยปฏิบัติกันมาตามปกติที่เคยใช้เป็นทางภาระจำยอม กว้าง 2 เมตร ยาว 12 เมตร มานานไม่น้อยกว่า 20 ปีเศษข้อความที่ว่า ล.กันทางพิพาทให้เป็นภาระจำยอมและโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทอย่างภาระจำยอมดังกล่าวเข้าออกสู่ทางสาธารณะตามปกติอย่างภาระจำยอมไม่น้อยกว่า 20 ปีเศษนั้น มีความหมายเช่นเดียวกับข้อความว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปี ถือได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายข้อความครบถ้วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา1382 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นภาระจำยอมต่อเนื่องเกิน 10 ปี
โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภารจำยอมติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า10ปีทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401ประกอบมาตรา1382จำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2กั้นรั้วสังกะสีในทางพิพาทอันเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์จึงต้องรวมรับผิดกับจำเลยที่2ด้วยแม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายด้วยถ้อยคำว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและด้วยเจตนาให้เป็นภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีแต่ก็ได้บรรยายไว้ชัดแจ้งว่าที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่60457และ70344และที่ดินโฉนดเลขที่60458ของจำเลยที่1ซึ่งโอนขายให้แก่จำเลยที่2เดิมเป็นของล. ก่อนที่ล. จะจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่60458ให้จำเลยที่1ล. ได้แบ่งแยกที่ดินในนามเดิมโดยกันที่ดินส่วนหนึ่งกว้าง1เมตรยาว12เมตรด้านทิศตะวันตก(ทางพิพาท)ให้เป็นภาระจำยอมต่อมาจำเลยที่1ซึ่งได้รับโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่60458นำช่่างแผนที่ไปรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่60458ด้านทิศตะวันตกรุกล้ำแนวเขตที่ดินที่เป็นทางภารจำยอมดังกล่าวแล้วกั้นรั้วสังกะสีปิดกั้นทางเดินทำให้ที่ดินที่เป็นภารจำยอมนั้นลดและแคลงคงเหลือกว้าง1เมตรยาว12เมตรเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นเคยปฏิบัติกันมาตามปกติที่เคยใช้เป็นทางภารจำยอมกว้าง2เมตรยาว12เมตรมานานไม่น้อยกว่า20ปีเศษข้อความที่ว่าล. กันทางพิพาทให้เป็นภารจำยอมและโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทอย่างภารจำยอมดังกล่าวเข้าออกสู่ทางสาธารณะตามปกติอย่างภารจำยอมไม่น้อยกว่า20ปีเศษนั้นมีความหมายเช่นเดียวกับข้อความว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นภารจำยอมเกินกว่า10ปีถือได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายข้อความครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401ประกอบมาตรา1382แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการรวมและแบ่งแยกที่ดินที่กระทบต่อภาระจำยอมสาธารณูปโภค และความรับผิดทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดสรรที่ดินโดยมีเจตนาจะจัดให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภค จึงเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 มาแต่ต้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ก่อนมีการรังวัดเพื่อรวมและแบ่งแยกโฉนดจึงเป็นถนนที่เป็นทางภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 30 เมื่อการรวมกรรมสิทธิ์และการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวมีผลทำให้เนื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ส่วนที่เป็นถนนอยู่เดิมขาดหายไปเป็นการทำให้ภาระจำยอมเปลี่ยนแปลงไปและเป็นการกระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรวมที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เข้ากับที่ดินแปลงอื่น และขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่6534 เฉพาะส่วนที่นำมารวมกับที่ดินแปลงย่อย 7 แปลง และกลายเป็นที่ดินแปลงใหม่โฉนดเลขที่ 106708 ได้
ในคดีส่วนอาญา โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ว่าร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนจำเลยอื่นในคดีนั้นอีก 6 คน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 157 ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนั้นจึงมีว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนให้จำเลยอื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 หรือไม่ ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ที่เป็นถนนเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่นั้นจึงไม่ใช่ประเด็นโดยตรงในคดีดังกล่าว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่จำต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางผ่าน (ทางจำเป็น/ภาระจำยอม) กรณีที่ดินไม่มีทางออก
เดิมโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยผ่านที่ดินของ น.และ บ.ไปออกถนนสาธารณะเพื่อขนส่งผลิตผลการเกษตร แต่ที่ดินของ น.และ บ.เป็นนาลึกฤดูฝนน้ำท่วมถึงอก ส่วนหน้าแล้งสามารถเดินด้วยเท้า รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้เพราะเป็นที่นา นอกจากทางพิพาทนี้แล้วโจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะออกสู่ทางสาธารณะดังนี้ เมื่อที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้และเส้นทางพิพาทซึ่งผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 มีระยะทางสั้นเพียง 40 เมตรการใช้ทางพิพาทดังกล่าวผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ที่ดินส่วนน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 1 รับภาระเกินไป และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในบริเวณนั้น อีกทั้งเป็นบริเวณที่โจทก์เคยใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349
โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเข้าออกมาประมาณ 30 ปีแล้วโดยใช้มาก่อนมีการสร้างพนังกั้นนำเค็มซึ่งได้ทำขึ้นทับเส้นทางเดิม หลังจากสร้างพนังกั้นน้ำเค็มแล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทบนผนังกั้นน้ำเค็มตลอดมา เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมด้วย ซึ่งทางพิพาทนี้เป็นทั้งทางจำเป็นและเป็นทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางในที่ดินของผู้อื่น: ไม่เป็นภาระจำยอมหรือสิทธิโดยปรปักษ์
สภาพของทางพิพาทผ่านที่สวนของจำเลยไปสิ้นสุดที่ที่ดินของโจทก์และเป็นทางตัน มีบ้านปลูกอยู่ปลายทางเพียง 2 หลัง คือบ้านของโจทก์และบ้านของผ. นอกจาก ผ.ใช้ทางพิพาทแล้วยังมีบุคคลภายนอกใช้ทางพิพาทด้วยเพราะเดินทางเข้าไปในสวน ไม่ปรากฏว่าสาธารณชนทั่วไปใช้ทางพิพาทแต่อย่างใด เส้นทางดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจาก ส.ได้ขายที่ดินให้จำเลยแล้ว และจำเลยได้ปลูกยางพาราและสวนมะพร้าว ต่อมา ส.ได้ปักเสาไฟฟ้าโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย จึงเกิดเป็นถนนสายเล็ก ๆ ขึ้นโดยปริยายประมาณ 10 ปีเศษ ทางพิพาทจึงไม่ใช่ทางสาธารณะ หากแต่เป็นที่ดินของจำเลย ซึ่งโจทก์และบุคคลอื่นอาศัยสัญจรโดยการถือวิสาสะ หาเข้าลักษณะเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ไม่ ฉะนั้น แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยมากว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมตามป.พ.พ.มาตรา 1401 แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1389 จะบัญญัติให้ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนแก่ผู้เปิดทางให้ก็ตาม แต่ก็มิได้บังคับให้ใช้ค่าทดแทนก่อนจึงจะใช้สิทธิได้ ในทางตรงกันข้ามเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มีหน้าที่ต้องเปิดทางให้ผ่านและมีสิทธิเรียกค่าทดแทนเช่นเดียวกัน คดีนี้โจทก์ไม่ได้เสนอค่าทดแทนแก่จำเลยและจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยในเรื่องค่าทดแทนว่าควรจะเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ในเรื่องนี้เป็นคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความและสิทธิในการใช้ทางพิพาท
ที่ดินของโจทก์ที่ 1 แปลงแรก ภริยาของโจทก์ที่ 1 ซื้อมาจากป. โดยก่อนที่จะซื้อโจทก์ที่ 1 ได้เช่าที่ดินดังกล่าวจาก ป.เพื่อทำนา และขณะที่ ป.ยังเป็นเจ้าของที่ดิน ป.ได้ขออนุญาตจากจำเลยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออก ดังนั้นตลอดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ใช้เส้นทางพิพาทในระหว่างที่โจทก์ที่ 1 เช่าที่ดินดังกล่าวจาก ป. จึงเป็นการอาศัยสิทธิของ ป.ที่ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ใช้ได้ มิใช่ใช้ในนามของตนเอง ดังนี้โจทก์ที่ 1 จะนับระยะเวลาช่วงดังกล่าวมารวมคิดเพื่อให้ได้ซึ่งสิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความไม่ได้
การใช้ทางพิพาทของผู้ใช้ทางพิพาท เมื่อไม่ได้ความว่าผู้นั้นเคยขออนุญาตจากจำเลยหรือให้ค่าทดแทนแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเพื่อใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออก ทั้งตามพฤติการณ์ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้ทางพิพาทโดยการถือวิสาสะ จึงนับได้ว่ามีลักษณะเป็นการใช้สิทธิเป็นปรปักษ์ต่อจำเลยผู้เป็นเจ้าของทางพิพาท เมื่อใช้มาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินของผู้ที่ใช้ทางดังกล่าวนั้นโดยอายุความ
เมื่อการกระทำของโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าเข้าไปกลบร่องน้ำในทางพิพาท เป็นเรื่องที่โจทก์กระทำได้เพื่อรักษาสิทธิตามปกติในการใช้ทางพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอม เนื่องจากการขุดร่องน้ำของจำเลยดังกล่าวทำให้ประโยชน์ในการใช้ทางพิพาทเสื่อมความสะดวกลง ซึ่งจำเลยไม่มีอำนาจที่จะดำเนินการได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1390 ดังนี้ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลย
of 43