พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5511-5512/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลซ้ำซ้อนเกิน 5 ปี และการประเมินภาษีการค้าเกิน 10 ปี หลังการยื่นแบบแสดงรายการ
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์ครั้งเดียวภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า และเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้ว โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์โจทก์ ถือว่าการเรียกตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียกดังกล่าวได้เสร็จสิ้นลงแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมาแจ้งประเมินครั้งที่สองโดยมิได้ออกหมายเรียกมาไต่สวนใหม่ภายในกำหนด 5 ปีนั้นจึงเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเพิ่มไม่ถูกต้องเพราะโจทก์มิได้มีรายรับจากการค้าเพิ่มการที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าเพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าในฐานะผู้ผลิตตามคำสั่งของกรมสรรพากร ที่ ป.4/2527จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง อันมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 24 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 โจทก์ลงลายรับเฉพาะจำนวนที่ได้รับจากลูกช่วงทำไม้หลังจากหักค่าจ้างออกแล้วเป็นการลงรายรับเฉพาะส่วนที่เป็นกำไรเท่านั้นเจ้าพนักงานคิดคำนวณปริมาตรไม้แล้วปรับปรุงบัญชีรายรับของโจทก์ตามราคาที่ขายตามหลักฐานที่ตรวจสอบได้ไม่เป็นการคำนวณรายรับที่ไม่ถูกต้อง ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับของโจทก์ที่เจ้าพนักงานตรวจสอบได้ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดยื่นแบบแสดงรายการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายบ้านจัดสรรไม่ใช่การรับเหมา แม้มีสัญญารับเหมาควบคู่กัน รายได้ต้องเสียภาษีการค้า
ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. ได้ซื้อบ้านที่โจทก์ปลูกลงในที่ดินนั้นพร้อมกันด้วยและโจทก์ได้จัดเตรียมแบบแปลนสำหรับปลูกบ้านในที่ดินทุกแปลงไว้เหมือนกันทุกหลังกับได้สร้างบ้านตัวอย่างขึ้นไว้ให้ผู้ซื้อได้ดูเป็นตัวอย่าง อีกทั้งโจทก์ได้ลงมือปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินเป็นการล่วงหน้าไปก่อนที่ผู้ซื้อจะได้ตกลงทำสัญญาซื้อที่ดินกับ ฉ. และทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์ แสดงว่าโจทก์ลงมือปลูกสร้างบ้านขึ้นเพื่อขายมาแต่ต้น อันเป็นลักษณะของการขายตามตัวอย่าง หาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ ยิ่งกว่านั้นบ้านที่โจทก์ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ฉ.โดยได้รับความยินยอมจากฉ. นั้นย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อผู้ซื้อประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้าน จึงตกลงทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านจาก ฉ. และโจทก์แต่โจทก์กลับจัดให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อที่ดินจาก ฉ. และทำสัญญาว่าโจทก์รับเหมาก่อสร้างบ้านให้ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. โดยใช้สัมภาระของโจทก์ขึ้นไว้แทน ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง ดังนี้ รายรับที่โจทก์ได้จากการโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้แก่ผู้ซื้อจึงเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โดยขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตรงตามจำนวนเงินในสัญญาจ้างเหมาผู้อื่นปลูกสร้างบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้หักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ตามความจำเป็นและสมควรเป็นการถูกต้องแล้ว ส่วนที่โจทก์ขอหักค่าใช้จ่ายตามราคาประเมินของกรมโยธาธิการนั้น เป็นเพียงราคาจากการประเมินมิใช่ค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรอันจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีการค้าจากการดัดแปลงรถยนต์: ผู้ประกอบการค้าคือผู้ผลิตรถยนต์ที่ดัดแปลง
ย. ดัดแปลงหรือจัดให้ผู้อื่นดัดแปลงรถยนต์กระบะบรรทุกให้เป็นรถยนต์นั่งและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงลักษณะรถเมื่อเดือนสิงหาคม2529 จึงถือได้ว่า ย. เป็นผู้ประกอบการค้าในฐานะผู้ผลิต มีหน้าที่เสียภาษีการค้าของเดือนสิงหาคม 2529 อันเป็นเดือนภาษีนั้นโจทก์ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2530 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ด้วยในขณะนั้น จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าให้แก่จำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินค่าภาษีการค้าที่ชำระไปคืนได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเสียภาษีการค้ากรณีดัดแปลงรถยนต์กับแบบแสดงรายการการค้าต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลย เจ้าหน้าที่ของจำเลยคำนวณเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจทก์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลัก จึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้น กรณีมิใช่ลาภมิควรได้ อันจะขาดอายุความ 1 ปี โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันที่ 7 มีนาคม 2532 แต่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2531 เป็นการเกินไปกว่าคำขอไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากไม่ทำตาม จะไม่มีสิทธิโต้แย้งในชั้นศาล
การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากรโจทก์ที่ 2 แต่กรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพื่อโจทก์ที่ 2 ได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและส่งออก หากจำเลยไม่พอใจการประเมินนั้นก็ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วจำเลยไม่พอใจคำวินิจฉัย ก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยการที่จำเลยไม่ดำเนินการผ่านขั้นตอนตามที่กล่าวนี้ นอกจากจะไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว ยังรวมทั้งการโต้แย้งให้การต่อสู้คดีด้วย ดังนั้น การที่จำเลยเห็นว่าการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบเพราะมิได้คำนวณมาจากยอดเงินอากรขาเข้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดโดยชอบ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่อาจโต้แย้งการประเมินดังกล่าวในชั้นพิจารณาของศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาการประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้า การประเมินเกินกำหนดเวลาเป็นโมฆะ
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ ปี พ.ศ. 2516 ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในเดือนมีนาคม 2517 ซึ่งเมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการจนถึงวันที่เจ้าพนักงานออกหมายเรียกแล้วเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี การออกหมายเรียกจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร การประเมินของเจ้าพนักงานจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจศาลชอบที่จะเพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ ปี พ.ศ. 2516เสียได้ ส่วนภาษีการค้าซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84และ 85 ทวิ นั้นปรากฏว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจทำการประเมินได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา88 ทวิ(2) การประเมินดังกล่าวจึงไม่เกินกำหนดเวลาตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรขาเข้า-ภาษีการค้า น้ำมันปาล์ม ร.บ.ดี. ไม่พึงบริโภค โจทก์ต้องเสียอากรในอัตราที่ถูกต้อง
แม้ว่าทนายจำเลยจะไม่ได้แถลงเพื่อขอให้ศาลดำเนินการอย่างไรในการส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าทนายจำเลยได้วางเงินค่านำหมาย มีการดำเนินการและจัดส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์เรียบร้อยแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะจำหน่ายฎีกาของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 132(1) น้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี. ที่โจทก์นำเข้า ประชาชนไม่นิยมบริโภคเพราะจะทำให้ไขมันในเส้นเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดอุดตัน เป็นโรคหัวใจได้ง่าย โดยจะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยงและทำให้หัวใจวายถึงแก่ความตายได้ จึงเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค ซึ่งตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503จัดอยู่ในพิกัดอัตราประเภทที่ 15.07 ค. ในอัตราน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค โจทก์จึงต้องเสียอากรขาเข้าในอัตราลิตรละ 1.32 บาทมิใช่ลิตรละ 2 บาท ซึ่งเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่พึงบริโภค แม้ว่าน้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี.ที่โจทก์นำเข้าจะเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค แต่โดยสภาพยังเป็นน้ำมันปรุงอาหารอยู่การที่โจทก์ต้องนำไปทำการผลิตโดยกรรมวิธีใหม่เพื่อแยกส่วนข้นออกจากส่วนใส ก็เป็นเพียงเพื่อให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคจะได้จำหน่ายได้มากขึ้น อันเป็นนโยบายทางด้านการค้าของโจทก์ไม่ทำให้น้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี.เปลี่ยนสภาพไปเป็นน้ำมันที่ไม่ใช้ปรุงอาหารแต่อย่างใด เมื่อน้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี. พิพาท เป็นน้ำมันปรุงอาหารตามที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 บัญชีที่ 1 หมวด 1(5) และเป็นสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรมิใช่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรและส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก โจทก์จึงไม่ได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามมาตรา 7(1) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากการซื้อขายที่ดิน: การพิสูจน์เจตนาค้าหรือหากำไร และการยินยอมเสียภาษี
ข้อนำสืบของโจทก์ที่อ้างว่า พ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะยินยอมเสียภาษีการค้า หรือมีเจตนาลงชื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าพนักงานของจำเลยในเอกสารที่จำเลยอ้าง เอกสารดังกล่าวจึงใช้ไม่ได้ นั้น เป็นการนำสืบหักล้างเอกสาร มิใช่นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จึงไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสองประกอบด้วย พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 โจทก์ซื้อที่ดินมาและขายไป 3 ครั้งรวม 9 โฉนด โดยซื้อมาและขายไปภายในระยะเวลาอันสั้น ก่อนขายก็ไม่ปรากฏว่าได้ใช้ที่ดินแปลงใดเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์แต่อย่างใด ส่วนที่อ้างว่ามีโครงการจะใช้ที่ดิน โจทก์ก็ไม่มีเอกสารที่แสดงถึงโครงการเหล่านั้นมานำสืบสนับสนุน ยิ่งกว่านั้นที่ดินบางแปลงโจทก์ก็ได้ทำสัญญาให้ผู้อื่นเช่าอีกด้วยซึ่งแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนาซื้อที่ดินมาเพื่อใช้ในกิจการของโจทก์ อีกทั้งหลังจากขายที่ดินที่ซื้อมาไปแล้วโจทก์ก็พยายามหาซื้อที่ดินแปลงอื่นอีก พฤติการณ์มีเหตุให้เชื่อได้ว่าโจทก์ซื้อขายที่ดินเป็นทางค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11ท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเข้าข่ายเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ไว้และทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร ก. หลายครั้งหลายช่วงเวลาและการซื้อขายไม่มีการส่งมอบเงินตราต่างประเทศระหว่างกันหรือส่งเงินตราไปนอกราชอาณาจักร โจทก์มีรายรับอันเป็นกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากกำไรอันเกิดจากการประกอบการค้าดังกล่าวตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ มีหน้าที่เสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัททำการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคารหลายครั้งหลายช่วงเวลา มีรายรับอันเป็นกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าดังกล่าว ประกอบกับโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ไว้ด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากกำไรอันเกิดจากการประกอบกิจการค้า ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 2 แถลงการณ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาล่วงหน้าด้วยเงินสกุลอื่น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมเงินตราต่างประเทศที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกาสามารถซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาล่วงหน้า และชำระด้วยเงินสกุลอื่นนอกเหนือจากเงินบาทได้เท่านั้น หามีผลทำให้หน้าที่ในการเสียภาษีการค้าดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเปลี่ยนแปลงไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าโดยใช้สถิติรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการ ถือเป็นการชอบด้วยกฎหมาย แม้จะมีรายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้ก่อนหน้า
เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดรายรับของโจทก์โดยพิจารณาจากสถิติการเสียภาษีการค้าของโจทก์อันเป็นหลักเกณฑ์อย่างอื่นอันอาจแสดงรายรับได้โดยสมควรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (7) เป็นเกณฑ์แม้จำนวนเงินดังกล่าวจะฟ้องกับรายรับขั้นต่ำที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนมีนาคม 2526 ก็ตาม แต่ก็มิใช่จำนวนเดียวกัน เพราะที่มาของหลักเกณฑ์ต่างกัน การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงมิใช่อาศัยยอดรายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าของโจทก์ เป็นการชอบด้วยกฎหมาย.