พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือน: การรับผิดของเจ้าของคนใหม่, อายุความ, และขอบเขตคำฟ้อง
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 55บัญญัติให้เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกัน เมื่อหนี้ค่าภาษีค้างเป็นหนี้ที่มีอยู่ก่อนจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของคนใหม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นจากว. เจ้าของคนเก่า สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีค้างจึงอาจบังคับได้ตั้งแต่ ว. เจ้าของคนเก่าแล้ว การนับกำหนดอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องแก่ว. เจ้าของคนเก่าได้ คือ นับแต่วันพ้นกำหนด90 วัน ที่ว. ได้รับแจ้งรายการประเมินตามมาตรา 38 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องเทียบเคียงกับทรัพย์สินที่มีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกัน ไม่สามารถใช้มูลค่าหรือกำไรขาดทุนเป็นเกณฑ์
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรียนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 8 บัญญัติว่า ค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้น ๆ สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆแต่อาคารของโจทก์ โจทก์ใช้ประโยชน์เองโดยมิได้ให้ผู้อื่นเช่า การที่จะทราบถึงจำนวนเงินซึ่งอาคารของโจทก์สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งอันถือเป็นค่ารายปีนั้นจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับทรัพย์สินอื่นที่มีผู้เช่าอยู่ และอยู่ใกล้เคียงกัน และทรัพย์สินนั้นจะต้องมีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย โรงเรือนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1นำมาเทียบเพื่อประเมินกำหนดค่ารายปีโรงเรือนพิพาทประกอบกิจการค้าคนละประเภทกับกิจการค้าของโจทก์และเป็นโรงเรือนคนละประเภทกับโรงเรือนพิพาทอีกด้วย ค่าเช่าของโรงเรือนทั้งสองแห่งจึงนำมาเทียบกับโรงเรือนพิพาทไม่ได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 นำมาใช้เปรียบเทียบแล้วประเมินเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาท จึงเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้น ๆ สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ มิได้กำหนดจากมูลค่าของโรงเรือนหรืองบกำไรขาดทุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องเทียบเคียงกับทรัพย์สินที่มีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกัน มิได้พิจารณาจากมูลค่าหรือกำไร
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา8บัญญัติว่าค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นๆสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆแต่อาคารของโจทก์โจทก์ใช้ประโยชน์เองโดยมิได้ให้ผู้อื่นเช่าการที่จะทราบถึงจำนวนเงินซึ่งอาคารของโจทก์สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งอันถือเป็นค่ารายปีนั้นจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับทรัพย์สินอื่นที่มีผู้เช่าอยู่และอยู่ใกล้เคียงกันและทรัพย์สินนั้นจะต้องมีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย โรงเรือนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1นำมาเทียบเพื่อประเมินกำหนดค่ารายปีโรงเรือนพิพาทประกอบกิจการค้าคนละประเภทกับกิจการค้าของโจทก์และเป็นโรงเรือนคนละประเภทกับโรงเรือนพิพาทอีกด้วยค่าเช่าของโรงเรือนทั้งสองแห่งจึงนำมาเทียบกับโรงเรือนพิพาทไม่ได้การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่1นำมาใช้เปรียบเทียบแล้วประเมินเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทจึงเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นๆสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆมิได้กำหนดจากมูลค่าของโรงเรือนหรืองบกำไรขาดทุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องเทียบเคียงกับทรัพย์สินที่มีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกัน มิอาจอ้างอิงจากมูลค่าทรัพย์สินหรือกำไร
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรียนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา8บัญญัติว่าค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นๆสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆแต่อาคารของโจทก์โจทก์ใช้ประโยชน์เองโดยมิได้ให้ผู้อื่นเช่าการที่จะทราบถึงจำนวนเงินซึ่งอาคารของโจทก์สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งอันถือเป็นค่ารายปีนั้นจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับทรัพย์สินอื่นที่มีผู้เช่าอยู่และอยู่ใกล้เคียงกันและทรัพย์สินนั้นจะต้องมีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย โรงเรือนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1นำมาเทียบเพื่อประเมินกำหนดค่ารายปีโรงเรือนพิพาทประกอบกิจการค้าคนละประเภทกับกิจการค้าของโจทก์และเป็นโรงเรือนคนละประเภทกับโรงเรือนพิพาทอีกด้วยค่าเช่าของโรงเรือนทั้งสองแห่งจึงนำมาเทียบกับโรงเรือนพิพาทไม่ได้การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่1นำมาใช้เปรียบเทียบแล้วประเมินเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทจึงเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นๆสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆมิได้กำหนดจากมูลค่าของโรงเรือนหรืองบกำไรขาดทุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7336/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนฯ ต้องชำระภาษีนำก่อนจึงจะรับฟ้องได้ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องว่า การประเมินไม่ถูกต้องตามมาตรา 31 ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาล โจทก์ผู้รับการประเมินจะต้องชำระค่าภาษีก่อนมิฉะนั้นจะเป็นฟ้องที่รับไว้พิจารณาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7336/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องชำระภาษีประเมินก่อน จึงจะสามารถนำคดีไปสู่ศาลได้
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องว่า การประเมินไม่ถูกต้องตามมาตรา 31ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาล โจทก์ผู้รับการประเมินจะต้องชำระค่าภาษีก่อนมิฉะนั้นจะเป็นฟ้องที่รับไว้พิจารณาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6815/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่ใช่สัญญาซื้อขาย ค่าเช่าใช้คำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินได้
ในสัญญาเช่าไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่าและไม่ปรากฏว่าค่าเช่าที่ชำระให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่า ส่วนที่มีการตกลงให้ชำระค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกปี ก็เป็นเพียงวิธีตกลงกันให้ชำระค่าเช่าอย่างหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้ในการทำสัญญาเช่าทรัพย์สินระยะยาวตามปกติธรรมดาทั่วไป ไม่มีลักษณะเป็นการตกลงซื้อและไม่มีความเกี่ยวพันกับราคาซื้อทรัพย์ที่เช่าแต่อย่างใด ส่วนที่มีข้อตกลงจะขายทรัพย์ที่เช่าให้ผู้เช่าก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่ผู้เช่าหากผู้เช่าประสงค์จะซื้อในอนาคตโดยเสนอราคาจะขายไว้ล่วงหน้าเท่านั้น ดังนั้น สัญญาเช่าฉบับนี้จึงเป็นสัญญาเช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 537 จำเลยทั้งสองจึงนำค่าเช่าตามสัญญาดังกล่าวมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 ได้
ที่ดินที่โจทก์ให้เช่าตามฟ้องตั้งอยู่คนละเขตกับที่ดินอีก 4 แปลงที่โจท์นำค่ารายปีมาเปรียบเทียบ และนอกจากจะเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ใกล้เคียงกันแล้วที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินใช้ประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการคนละประเภทกับของโจทก์ ทั้งที่ดินของโจทก์ตามฟ้องเป็นที่ดินที่ให้เช่าโดยกำหนดค่าเช่าไว้ในสัญญาเช่าเป็นการแน่นอน ในเมื่อไม่มีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่าที่กำหนดไว้มิใช่จำนวนเงินอันสมควรจะให้เช่าได้ การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีโดยถือค่าเช่าเป็นหลักในการคำนวณ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475 มาตรา 8 แล้ว
ที่ดินที่โจทก์ให้เช่าตามฟ้องตั้งอยู่คนละเขตกับที่ดินอีก 4 แปลงที่โจท์นำค่ารายปีมาเปรียบเทียบ และนอกจากจะเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ใกล้เคียงกันแล้วที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินใช้ประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการคนละประเภทกับของโจทก์ ทั้งที่ดินของโจทก์ตามฟ้องเป็นที่ดินที่ให้เช่าโดยกำหนดค่าเช่าไว้ในสัญญาเช่าเป็นการแน่นอน ในเมื่อไม่มีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่าที่กำหนดไว้มิใช่จำนวนเงินอันสมควรจะให้เช่าได้ การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีโดยถือค่าเช่าเป็นหลักในการคำนวณ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475 มาตรา 8 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6815/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าทรัพย์สิน: การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยใช้ค่าเช่าเป็นหลัก และการพิจารณาความแตกต่างของที่ดิน
ในสัญญาเช่าไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่าและไม่ปรากฏว่าค่าเช่าที่ชำระให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่า ส่วนที่มีการตกลงให้ชำระค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกปี ก็เป็นเพียงวิธีตกลงกันให้ชำระค่าเช่าอย่างหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้ในการทำสัญญาเช่าทรัพย์สินระยะยาวตามปกติธรรมดาทั่วไป ไม่มีลักษณะเป็นการตกลงซื้อและไม่มีความเกี่ยวพันกับราคาซื้อทรัพย์ที่เช่าแต่อย่างใด ส่วนที่มีข้อตกลงจะขายทรัพย์ที่เช่าให้ผู้เช่าก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่ผู้เช่าหากผู้เช่าประสงค์จะซื้อในอนาคตโดยเสนอราคาจะขายไว้ล่วงหน้าเท่านั้นดังนั้น สัญญาเช่าฉบับนี้จึงเป็นสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 จำเลยทั้งสองจึงนำค่าเช่าตามสัญญาดังกล่าวมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 ได้ ที่ดินที่โจทก์ให้เช่าตามฟ้องตั้งอยู่คนละเขตกับที่ดินอีก 4 แปลง ที่โจทก์นำค่ารายปีมาเปรียบเทียบ และนอกจากจะเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ใกล้เคียงกันแล้วที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินใช้ประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการคนละประเภทกับของโจทก์ ทั้งที่ดินของโจทก์ตามฟ้องเป็นที่ดินให้เช่าโดยกำหนดค่าเช่าไว้ในสัญญาเช่าเป็นการแน่นอน ในเมื่อไม่มีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่าที่กำหนดไว้มิใช่จำนวนเงินอันสมควรจะให้เช่าได้ การที่จำเลยที่ 1กำหนดค่ารายปีโดยถือค่าเช่าเป็นหลักในการคำนวณ จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ค่าเช่าต่ำกว่าความเป็นจริง, การพิจารณาจากลักษณะทรัพย์สิน, อุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า ค่าเช่าตึกแถวพิพาทเดือนละ400 บาท ที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่า เป็นค่าเช่าต่ำกว่าความเป็นจริงไม่ใช่เป็นจำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด ที่คณะเทศมนตรีของจำเลยชี้ขาดว่า ค่ารายปีของตึกแถวพิพาทจำนวน 10,800 บาท จากระยะเวลารวม 9 เดือน หรือตกเดือนละ 600 บาท ต่อห้อง เป็นคุณแก่โจทก์แล้วไม่มีเหตุจะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงการประเมินและคำชี้ขาดที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าเช่าที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่ามิใช่ค่าเช่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ได้กำหนดกันไว้แน่นอนมิได้กระทำขึ้นโดยสมยอม ทรัพย์สินที่เช่าเป็นของจำเลยเองถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับว่าค่าเช่านั้นเป็นค่าเช่าอันสมควรที่จะให้เช่าได้ไม่มีเหตุที่จะทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะประเมินค่ารายปีเป็นอย่างอื่นได้นั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยมาดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยใช้ค่ารายปีและดัชนีราคาผู้บริโภค, ศาลสั่งคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป เมื่อปรากฏว่าค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว โจทก์และจำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ว่าค่ารายปีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งยังมิได้ยุติมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปีที่พิพาทได้
การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้มีการจัดส่งหลักฐานข้อมูลดังกล่าวให้แก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่ 1เพื่อใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าหรือค่ารายปีตามดัชนีราคาผู้บริโภค จึงเป็นอัตราที่มีเหตุผลตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และจำเลยที่ 1 ก็ทราบแล้ว แม้อัตราค่ารายปีของปี 2522 จะมิใช่ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งจะเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีสำหรับปีต่อมาก็ตามแต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปี 2522 จนถึงปี 2529เป็นอัตราที่สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่ทางราชการกำหนด ทั้งไม่สามารถนำค่ารายปีของปีอื่น ๆ มาเป็นหลักคำนวณค่ารายปีพิพาทได้ การคำนวณค่ารายปีสำหรับโรงเรือนและที่ดินคดีนี้ตามอัตราที่โจทก์คำนวณตามฟ้อง จึงเป็นอัตราที่สมควร
จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกินแก่โจทก์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษา ถ้าไม่คืนในกำหนดดังกล่าวจึงจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 39 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ไปตามอำนาจ-หน้าที่ มิใช่ผู้ที่รับภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ชำระตามคำวินิจฉัย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่คืนเงินภาษีส่วนที่เกินแก่โจทก์ด้วย
การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้มีการจัดส่งหลักฐานข้อมูลดังกล่าวให้แก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่ 1เพื่อใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าหรือค่ารายปีตามดัชนีราคาผู้บริโภค จึงเป็นอัตราที่มีเหตุผลตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และจำเลยที่ 1 ก็ทราบแล้ว แม้อัตราค่ารายปีของปี 2522 จะมิใช่ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งจะเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีสำหรับปีต่อมาก็ตามแต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปี 2522 จนถึงปี 2529เป็นอัตราที่สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่ทางราชการกำหนด ทั้งไม่สามารถนำค่ารายปีของปีอื่น ๆ มาเป็นหลักคำนวณค่ารายปีพิพาทได้ การคำนวณค่ารายปีสำหรับโรงเรือนและที่ดินคดีนี้ตามอัตราที่โจทก์คำนวณตามฟ้อง จึงเป็นอัตราที่สมควร
จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกินแก่โจทก์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษา ถ้าไม่คืนในกำหนดดังกล่าวจึงจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 39 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ไปตามอำนาจ-หน้าที่ มิใช่ผู้ที่รับภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ชำระตามคำวินิจฉัย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่คืนเงินภาษีส่วนที่เกินแก่โจทก์ด้วย