คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,786 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีมรดก: เจ้าของรวมไม่ใช่เจ้าหนี้/ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
คดีเดิมโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยให้แบ่งมรดกของ ล. ตามสัญญาแบ่งมรดก ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกบางส่วนให้โจทก์ทั้งสาม หากแบ่งกันไม่ได้ให้เอาออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสามได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาท จึงเป็นกรณีที่เจ้าของรวมดำเนินการเพื่อแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมเท่านั้น โจทก์ทั้งสามและจำเลยมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกัน จึงไม่ใช่การร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามมาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแบ่งมรดก: ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนกำหนดขอบเขตการพิจารณา
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วน รวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสามตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมานั้นมีราคา 1,200,000 บาท ที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295-2296/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิภริยาในสินสมรส, ภาระหนี้สิน, และอำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก
การจัดการมรดกนั้นหาใช่ว่ามุ่งจะรับทรัพย์มรดกโดยถ่ายเดียวหาได้ไม่ หากผู้ตายมีหนี้สินก็มีหน้าที่ต้องรวบรวมทรัพย์มรดกใช้หนี้ด้วยเหลือจากการชำระหนี้เท่าใดจึงเป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งกันได้ เหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายตกลงกันไม่ได้เพราะทางฝ่ายผู้ร้องจะรับเฉพาะทรัพย์สิน ส่วนที่เป็นหนี้สินจะให้ทางฝ่ายผู้คัดค้านเป็นผู้รับไปฝ่ายเดียว ฉะนั้น หากให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีปัญหาในการจัดการมรดก ประการแรกคือ ผู้ร้องไม่อาจทราบได้ว่าผู้ตายมีทรัพย์สินอะไรและอยู่ที่ใดบ้างและประการที่สองคือเจ้าหนี้ก็มุ่งที่จะทวงหนี้ต่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาร่วมรู้เห็นในการสร้างหนี้กันมาในระหว่างสมรส จึงย่อมไม่สะดวกต่อการจัดการทรัพย์มรดก ผู้คัดค้านจึงสมควรที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกต้องไม่ระบุผู้รับประโยชน์ การระบุเจตนาให้แก่ผู้อื่นไม่ใช่การสละมรดก
การสละมรดก หมายถึง การสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้มรดกที่สละนั้นตกได้แก่บุคคลอื่นใด เพราะมิเช่นนั้นแล้วบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1615วรรคสอง จะไม่มีผลบังคับ ดังนั้น หนังสือที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านทำขึ้นโดยมีเจตนาจะไม่รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย โดยจะยกให้ ด. ผู้เดียว จึงมิใช่เป็นการสละมรดก ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำพิพากษาเดิม การแบ่งแยกที่ดินมรดก และการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
โจทก์กล่าวในคำฟ้องแต่เพียงว่า โจทก์ไม่ได้ตกลงในการแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าการรังวัดแบ่งแยกที่ดินได้เนื้อที่ไม่ถูกต้องแต่อย่างใด เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดที่ดินแบ่งแยกที่ดินไปตามคำพิพากษาในคดีเดิมโดยไม่ปรากฏว่า โจทก์โต้แย้งคัดค้านว่าการรังวัดแบ่งแยกที่ดินไม่ถูกต้อง จึงต้องถือว่าการรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทเพื่อบังคับตามคำพิพากษาในคดีเดิมเป็นไปโดยถูกต้องและเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดิมจะกลับมาฟ้องคดีนี้ โดยอ้างว่า ไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยในการรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีซ้ำในคดีเดิมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกซ้อนกันและผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ห. ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก ข. ผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่ง จึงไม่ใช่นิติกรรมที่ได้รับความเห็นชอบด้วยเสียงส่วนมากไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 จึงไม่ผูกพันกองมรดกตามมาตรา 1724 การที่ ข. ให้ความยินยอมในภายหลัง ไม่ทำให้นิติกรรมที่ไม่ชอบกลับเป็นนิติกรรมสมบูรณ์ขึ้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1 และ ข. ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และในภายหลังโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนแล้ว จึงไม่ใช่เป็นการกระทำที่ทำลงโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามมาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดิน การพิพากษาเกินคำขอ และการนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร
การฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ที่ห้ามสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสี่คนละ 80 ตารางวา การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 จำนวน 2 งาน ตามที่โจทก์ที่ 1ปลูกสร้างบ้านอยู่และพิพากษายกฟ้องโจทก์คนอื่น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งที่ดินไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอตามคำฟ้อง แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 จึงให้โจทก์ที่ 1ได้รับส่วนแบ่งในที่ดินส่วนที่ปลูกสร้างบ้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับฟ้องแย้งในคดีมรดก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้กำจัดจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิให้รับมรดกของ ว. และให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินทรัพย์มรดกระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 สภาพแห่งข้อหาเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ว. และจะต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ตามฟ้องหรือไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่ขอให้กำจัดโจทก์ที่ 2 มิให้รับมรดกของ ว. และให้โจทก์ที่ 2 ชดใช้เงินแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจาณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. และตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกแทน จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 1 จัดการมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่เหมาะที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและฟ้องแย้งขอให้ตั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งยังไม่แน่นอนว่า ศาลจะเพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่? การแบ่งมรดกหลังบังคับคดี และสิทธิเจ้าของรวม: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นใหม่
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกที่ดินของ อ. ขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การต่อสู้คดี ต่อมาศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง และมีการบังคับคดีโดยใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ทั้งสองมาฟ้องขอให้แบ่งที่ดินแก่โจทก์ในฐานะเจ้าของรวม ซึ่งแม้การฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจะเป็นการฟ้องเกี่ยวเนื่องกับที่ดินแปลงเดียวกัน แต่ข้อที่ว่าเมื่อมีการแบ่งที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมแล้วโจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิเรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทอย่างไรหรือไม่ยังไม่มีคำวินิจฉัย ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้เกิดขึ้นใหม่หลังจากดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีเดิมเสร็จแล้ว จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ และไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ทั้งสองชอบจะไปใช้สิทธิขอบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก: การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อใด และมีอายุความฟ้องคดีอย่างไร
ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกมีเพียงที่ดินสองแปลงที่พิพาทกันในคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้ว ถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดลงแล้วนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจัดการมรดกไม่ถูกต้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 จัดการมรดกเสร็จสิ้น คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง
จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิจะรับมรดก เมื่อผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ย่อมมีความชอบธรรมที่จะรับไว้ด้วยสิทธิความเป็นทายาทและย่อมจะครอบครองทรัพย์มรดกได้ด้วยอำนาจของตน กรณีไม่เข้าข่ายการปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดก และไม่ถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เพื่อรับเอาทรัพย์มรดก จึงเป็นคดีมรดกมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 โจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ
of 179