พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนหรือไม่: สัญญาตัวแทนเรียกเก็บเบี้ยประกันภัย vs. เช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้มีมูลหนี้เดียวกัน
คดีแรกโจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คที่จำเลยที่1สั่งจ่ายมอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่จำเลยที่1เก็บมาจากลูกค้าของโจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินขอให้บังคับจำเลยที่1ใช้เงินตามเช็คส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นตัวแทนเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากลูกค้าของโจทก์แล้วไม่นำส่งให้โจทก์เป็นการฟ้องว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาตัวแทนไม่นำส่งเบี้ยประกันภัยที่เรียกเก็บจากลูกค้าให้โจทก์ซึ่งแม้มูลหนี้จะสืบเนื่องมาจากเบี้ยประกันภัยเช่นเดียวกันแต่สภาพแห่งข้อหาของทั้งสองคดีต่างกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857-2858/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน, การตีราคาชำระหนี้, อายุความ, มูลหนี้เดียวกัน, คำพิพากษาขัดแย้ง
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับให้แก่โจทก์ด้วยเช็ค 2 ฉบับ เป็นเช็คลงวันที่20 กุมภาพันธ์ 2532 และเช็คลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 ครั้นเช็ค 2 ฉบับดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อได้ความดังกล่าวถือได้ว่า กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าเครื่องประดับ คือ วันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็ค 2 ฉบับ มิใช่วันที่ซื้อขายหรือวันที่ส่งมอบเครื่องประดับ เพราะโจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับก่อนวันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็คได้
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา แม้ข้อเท็จจริงในสำนวนแรกจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้ทั้งสองสำนวนมาจากมูลกรณีเดียวกันและเป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกัน จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า คือ คำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนหลังนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ และเมื่อฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันการซื้อทรัพย์สินครั้งที่สองตามเช็คฉบับที่สองด้วย เมื่อราคาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ฝากโจทก์ขายและนำไปตีชำระหนี้มีราคามากกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ในสำนวนแรก ส่วนการบังคับคดีในสำนวนแรกให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา แม้ข้อเท็จจริงในสำนวนแรกจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้ทั้งสองสำนวนมาจากมูลกรณีเดียวกันและเป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกัน จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า คือ คำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนหลังนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ และเมื่อฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันการซื้อทรัพย์สินครั้งที่สองตามเช็คฉบับที่สองด้วย เมื่อราคาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ฝากโจทก์ขายและนำไปตีชำระหนี้มีราคามากกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ในสำนวนแรก ส่วนการบังคับคดีในสำนวนแรกให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ชอบด้วยกฎหมาย แม้เกิดจากการขายที่ดิน ไม่ใช่การกู้ยืม ศาลวินิจฉัยถูกต้อง ฟ้องไม่ซ้อน
จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำฟ้องโดยไม่มีข้อตกลงว่าหากป.ผิดนัดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดเป็นการไม่ชอบเมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้แล้วจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงได้ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ป.ทำไว้กับโจทก์แม้มูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จะมิได้เกิดจากการกู้ยืมดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่เกิดจากการขายที่ดินดังที่จำเลยให้การก็ตามหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็เป็นมูลหนี้ที่ชอบมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายส่วนมูลหนี้จะเกิดจากการกู้ยืมหรือเกิดจากการขายที่ดินหาใช่ข้อสำคัญไม่ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้หาใช่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องดังที่จำเลยฎีกาไม่ ข้อตกลงที่ป.จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์แต่มิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วจึงมีประเด็นข้อนี้ในคดีแต่ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ซึ่งจำเลยได้แถลงโต้แย้งขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้แล้วที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้โดยฟังว่าจำเลยไม่ได้ขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรงแต่เป็นการจะให้ที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันระหว่างป.กับโจทก์ข้อตกลงดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของป.รับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ป.ทำไว้กับโจทก์ส่วนอีกคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องป.เป็นจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาหย่าที่ป.ทำไว้กับโจทก์แล้วป.ประพฤติผิดสัญญาดังนี้จำเลยในคดีนี้กับจำเลยในคดีดังกล่าวจึงเป็นคนละคนกันข้อพิพาทก็เป็นเรื่องคนละประเด็นกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็สั่งให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ได้ประกอบกับโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ไว้แล้วที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8080/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทหลังล้มละลาย: มูลหนี้เป็นโมฆะ, ไม่มีอำนาจฟ้อง
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 91 ต้องเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อมูลแห่งหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดแล้ว จึงหาอยู่ในบังคับตามมาตรา 91 ไม่ แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 24 โดยการที่จำเลยทั้งสองซึ่งศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วกระทำการออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ร่วม อันเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นกับโจทก์ร่วมตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินประเภทเช็ค ซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองโดยมิใช่กรณีกระทำตามคำสั่งศาลหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายดังนั้น มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ร่วมหามีสิทธินำเช็คพิพาทไปยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย ตามป.วิ.อ. มาตรา 28 จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์คดีความผิดต่อส่วนตัวได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 124 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 และโจทก์ร่วมก็ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ศาลชอบที่จะยกฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7434/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเช็ค: มูลหนี้ซื้อขายยังไม่สิ้นสุด แม้มีการฟ้องเรียกคืนรถยนต์
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เช็คพิพาทออกให้โจทก์ร่วมในมูลหนี้ซื้อขายรถยนต์ มิใช่มูลหนี้กู้ยืม การที่จำเลยฎีกาว่าคดีนี้มีมูลหนี้กู้ยืมโดยแปลงหนี้มาจากสัญญาซื้อขาย จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมายุติดังกล่าวแล้ว ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
โจทก์ร่วมได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งธนบุรี ขอให้จำเลยคืนรถยนต์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 605,000 บาท และต่อมาขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่โจทก์ร่วมฟ้องคดีแพ่งดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ร่วมได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายจึงเลิกกัน โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระราคารถยนต์ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยจึงสิ้นผลผูกพันนั้น เมื่อข้อเท็จจริงยุติตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและมีคำสั่งแล้วว่า ตามคำร้องของจำเลยไม่ปรากฏว่า ศาลแพ่งธนบุรีมีคำพิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์อันเป็นมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทหรือให้ใช้ราคารถยนต์ดังกล่าวคืน เช่นนี้ มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงยังไม่สิ้นผลผูกพันระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลย คดีนี้จึงถือไม่ได้ว่าได้เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7
โจทก์ร่วมได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งธนบุรี ขอให้จำเลยคืนรถยนต์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 605,000 บาท และต่อมาขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่โจทก์ร่วมฟ้องคดีแพ่งดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ร่วมได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายจึงเลิกกัน โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระราคารถยนต์ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยจึงสิ้นผลผูกพันนั้น เมื่อข้อเท็จจริงยุติตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและมีคำสั่งแล้วว่า ตามคำร้องของจำเลยไม่ปรากฏว่า ศาลแพ่งธนบุรีมีคำพิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์อันเป็นมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทหรือให้ใช้ราคารถยนต์ดังกล่าวคืน เช่นนี้ มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงยังไม่สิ้นผลผูกพันระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลย คดีนี้จึงถือไม่ได้ว่าได้เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างระหว่างมูลหนี้สัญญาซื้อขายกับมูลหนี้ละเมิด: การฟ้องเรียกราคาซื้อขายไม่เป็นการฟ้องซ้อน
ตามคำฟ้องบรรยายว่า โจทก์ประกอบธุรกิจรับผลิตกระเป๋าหนังเมื่อมีลูกค้าสั่งทำสั่งซื้อ โจทก์ก็จะทำการผลิตตามที่ลูกค้ากำหนดแล้วส่งมอบให้แก่ลูกค้าเมื่อจำเลยในฐานะลูกค้าสั่งให้โจทก์ผลิตกระเป๋าส่งให้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยต่างมีเจตนาให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์คือกระเป๋าหนังโดยโจทก์ในฐานะผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อและผู้ซื้อตอบแทนด้วยการใช้ราคา อันมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นสัญญาจ้างทำของ
โจทก์ได้ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนตามข้อตกลงแล้ว แต่จำเลยยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกร้อยละ 75 โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระราคาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งจำเลยซื้อไปและยังไม่ได้ชำระราคาได้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงโจทก์ก็เป็นการบรรยายฟ้องในลักษณะเล่าเรื่องตามความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงให้ทำกระเป๋าโดยจ่ายเงินเพียงร้อยละ 25 ของราคาทั้งหมด การจะปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดนั้นเป็นข้อหารือบทเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายเอง แม้จะกล่าวในฟ้องว่าเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืนหรือใช้ราคาก็หาเป็นเรื่องละเมิดเสมอไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกินคำขอ
ในคดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานความผิดร่วมกันฉ้อโกง และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไป ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญานั้น แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายที่ทำให้เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องในมูลแห่งสัญญาซื้อขายที่มีต่อกันอยู่ ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันคือขอให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์กระเป๋าหนังที่จำเลยรับไป แต่ยังค้างชำระราคาแก่โจทก์อยู่ แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน เพราะในคดีอาญานั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งเป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกง ส่วนคดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์เรียกร้องเอามูลค่าทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยยังค้างชำระราคาอยู่ มิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีอาญาเรื่องก่อนดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์ได้ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนตามข้อตกลงแล้ว แต่จำเลยยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกร้อยละ 75 โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระราคาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งจำเลยซื้อไปและยังไม่ได้ชำระราคาได้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงโจทก์ก็เป็นการบรรยายฟ้องในลักษณะเล่าเรื่องตามความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงให้ทำกระเป๋าโดยจ่ายเงินเพียงร้อยละ 25 ของราคาทั้งหมด การจะปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดนั้นเป็นข้อหารือบทเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายเอง แม้จะกล่าวในฟ้องว่าเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืนหรือใช้ราคาก็หาเป็นเรื่องละเมิดเสมอไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกินคำขอ
ในคดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานความผิดร่วมกันฉ้อโกง และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไป ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญานั้น แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายที่ทำให้เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องในมูลแห่งสัญญาซื้อขายที่มีต่อกันอยู่ ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันคือขอให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์กระเป๋าหนังที่จำเลยรับไป แต่ยังค้างชำระราคาแก่โจทก์อยู่ แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน เพราะในคดีอาญานั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งเป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกง ส่วนคดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์เรียกร้องเอามูลค่าทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยยังค้างชำระราคาอยู่ มิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีอาญาเรื่องก่อนดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายกับฟ้องซ้อน: ศาลวินิจฉัยฟ้องซื้อขายไม่ซ้ำซ้อนกับคดีอาญาฉ้อโกง แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน
โจทก์ประกอบธุรกิจรับผลิตกระเป๋าหนังเมื่อมีลูกค้าสั่งทำสั่งซื้อโจทก์ก็จะผลิตตามที่ลูกค้ากำหนดแล้วส่งมอบให้แก่ลูกค้าการที่จำเลยที่1ในฐานะลูกค้าสั่งให้โจทก์ผลิตกระเป๋าส่งให้ความสัมพันธ์จึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาจ้างทำของเมื่อโจทก์ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยที่1รับไปครบถ้วนแล้วแต่จำเลยที่1ยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกโจทก์จึงชอบจะฟ้องให้จำเลยที่1ชำระราคาทรัพย์สินได้แม้จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงโจทก์จึงขอเรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาก็เป็นความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงตามข้อตกลงการปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดเป็นหน้าที่ของศาลศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ฉะนั้นการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่1ใช้ราคาจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องและเกินคำขอ แม้โจทก์จะเคยเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไปก็ตามแต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ในคดีดังกล่าวเป็นกรณีที่ความเสียหายเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้นส่วนคดีนี้แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกันโดยข้ออ้างที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งเป็นการกระทำผิดอาญาอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกงซึ่งเป็นมูลหนี้ละเมิดแต่คดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขายจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)และไม่เป็นฟ้องซ้ำด้วยเพราะขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีอาญาดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6955/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับและค่าควบคุมงานจากการก่อสร้างล่าช้า สัญญาค้ำประกันไม่ใช่หลักประกันหนี้
การจ้างก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันรวมราคาค่าก่อสร้างเบ็ดเสร็จเป็นเงิน14,700,000บาทโดยไม่ได้จำแนกหรือระบุเฉพาะเจาะจงว่าอาคารแต่ละหลังราคาเท่าใดการก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังกำหนดแล้วเสร็จในวันที่22มีนาคม2531ในสัญญาดังกล่าวถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยยอมให้ปรับเป็นรายวันละ10,000บาทและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายวันวันละ200บาทโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าปรับหรือค่าควบคุมงานของอาคารหลังใดประการสำคัญหากโจทก์กับจำเลยประสงค์จะให้มีการปรับและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายหลังต่อวันก็น่าจะตกลงไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งเมื่อไม่มีการตกลงกันเช่นนี้และกรณีมีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นคือจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จำเลยคงต้องรับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานเป็นรายวันโดยรวมอาคารทั้งสามหลัง สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ฉะนั้นแม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอมโจทก์จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุมูลหนี้ เหตุผลในการชำระหนี้ และที่มาของเช็ค
คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงข้ออ้างแห่งข้อหาไว้ว่า จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คตามภาพถ่ายท้ายฟ้อง สั่งธนาคารจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือในการชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์นำไปชำระหนี้แก่ผู้มีชื่อเมื่อเช็คถึงกำหนดผู้มีชื่อนำเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินจากธนาคารแต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงชำระเงินตามเช็คแก่ผู้มีชื่อแล้วเข้าถือเอาเช็คไว้ในครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็ค พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ กับมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องก็คือจำเลยเป็นผู้สั่งเช็ค เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตรา 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยฐานมีเช็คสั่งจ่ายเงินให้ผู้ถืออยู่ในครอบครอง ทั้งคำฟ้องมีคำขอบังคับไว้แล้วนับว่าโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจคำฟ้องได้แล้วว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 ฟ้องจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คให้รับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 914 ประกอบมาตรา 989และรับผิดค่าดอกเบี้ยตามมาตรา 224 คำฟ้องของโจทก์จึงครบถ้วนสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะมิได้บรรยายในคำฟ้องว่า โจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาด้วยมูลหนี้ใดและเหตุใดโจทก์จึงเข้าชำระหนี้และรับรองเอาเช็คนั้นมาทั้งคำฟ้องระบุแต่เพียงว่า รับเช็คมาจากผู้มีชื่อซึ่งจำเลยไม่อาจทราบได้ว่าผู้มีชื่อนั้นคือใคร ก็ไม่เป็นเหตุให้คำฟ้องของโจทก์ที่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นคำฟ้องเคลือบคลุมไปได้ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สภาพแห่งข้อหาหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่โจทก์จำเป็นจะต้องแสดงไว้ในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องไม่เกินคำขอท้ายฟ้อง หากเป็นรายละเอียดของมูลหนี้เดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน51,000บาทและรับเงินไปในวันทำสัญญาแล้วการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่1ไม่ได้รับเงินไปในวันทำสัญญาโดยเดิมภริยาของจำเลยที่1เคยกู้เงินยืมโจทก์ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่1ได้ทำความตกลงหนี้ส่วนที่ภริยาของจำเลยที่1กู้ยืมเงินโจทก์ปรากฏว่าภริยาของจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน51,000บาทจำเลยที่1จึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้โดยจำเลยที่2เข้าทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงมูลหนี้เดิมก่อนที่จะนำเอามูลหนี้นั้นมาทำเป็นสัญญากู้ซึ่งเป็นรายละเอียดโจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงมูลหนี้เดิมมาในฟ้องก็ได้การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เป็นการนำสืบแตกต่างกันหรือขัดแย้งกับคำฟ้อง