พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์พินัยกรรมที่หาย และการสืบพยานเพื่อยืนยันข้อความในพินัยกรรม
ลักษณะพะยาน ศาลฎีกาสั่งให้ศาลเดิมสืบพะยานมฤดก พินัยกรรมหายศาลต้องให้โอกาศคู่ความสืบข้อความในพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18006/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการล้มละลายต้องพิจารณาจากกระบวนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ อาจยกเลิกได้ตามมาตรา 135(2)
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 บัญญัติว่า "เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอ ศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ ถ้าปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้... (3) หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว..." นั้น หมายความถึง การดำเนินการชำระหนี้จนเต็มจำนวนภายใต้กระบวนพิจารณาและวิธีการในคดีล้มละลายที่มีการตรวจสอบได้ทั้งจากผู้มีส่วนได้เสีย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาล เนื่องจากหากมีการยกเลิกการล้มละลายตามอนุมาตรานี้ จำเลยจะหลุดพ้นจากหนี้สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 136 ดังนั้น จำเลยที่จะได้รับประโยชน์เช่นนี้จึงเป็นจำเลยที่ดำเนินการอยู่ภายใต้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายและการตรวจสอบตามกฎหมาย
คดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้ยื่นคำร้องเพื่อขอถอนคำขอรับชำระหนี้ จนไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เหลืออยู่ จึงไม่มีการดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกรายเต็มจำนวนโดยตรงภายใต้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย แต่เป็นกรณีที่ไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจึงมีเหตุที่ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจรายงานศาลเพื่อสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (2) ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งแก้ไขคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยโดยให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (3) จึงไม่ถูกต้อง
คดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้ยื่นคำร้องเพื่อขอถอนคำขอรับชำระหนี้ จนไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เหลืออยู่ จึงไม่มีการดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกรายเต็มจำนวนโดยตรงภายใต้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย แต่เป็นกรณีที่ไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจึงมีเหตุที่ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจรายงานศาลเพื่อสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (2) ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งแก้ไขคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยโดยให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (3) จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6298/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าไฟฟ้าหลังการขายทรัพย์สิน: จำเลยมีหน้าที่ชำระค่าไฟฟ้าต่อเนื่องจนกว่าจะแจ้งยกเลิกหรือโอนการใช้ไฟฟ้า
นับตั้งแต่โจทก์อนุมัติและติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าพร้อมทั้งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้จำเลยตั้งแต่ปี 2518 จำเลยยังไม่เคยแจ้งบอกเลิกหรือโอนการใช้ไฟฟ้าแก่ผู้อื่นให้โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยย่อมต้องรับผิดชอบในการชำระค่าไฟฟ้าที่ใช้ไปในบ้านหลังดังกล่าวตลอดไป แม้จำเลยได้ขายบ้านพร้อมที่ดินที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าไปตั้งแต่ปี 2537 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกการใช้ไฟฟ้า หากจะมีผู้อื่นครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้ายังถือว่า จำเลยและผู้ครอบครองเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันในการชำระค่าไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีหลังศาลสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ แม้หนี้เกิดระหว่างฟื้นฟูกิจการ
แม้มูลแห่งหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้ร้องเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจนถึงก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและมิได้กำหนดไว้ในแผน ซึ่งผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางขออนุญาตฟ้องลูกหนี้ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ แต่เมื่อปรากฏต่อมาว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้พื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ย่อมมีผลให้การถูกจำกัดสิทธิในการที่ผู้ร้องจะฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) สิ้นไป ตามมาตรา 90/12 วรรคแรก ตอนต้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลล้มละลายกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9900/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายเลือกตั้งใหม่ยกเลิกความผิดเดิม ทำให้จำเลยพ้นจากความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายในการเลือกตั้ง
ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป และเมื่อปี 2546 มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวแก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นทุกประเภท ซึ่งตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ยกเลิก พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลทุกฉบับ และ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ไม่ได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดฐานก่อให้เกิดการวุ่นวายในที่เลือกตั้งตามที่โจทก์ฟ้องไว้อีก จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป จำเลยที่ 1 จึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดเช่นนี้ จึงเป็นเหตุยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด อันเป็นเหตุยกฟ้องหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยนี้ขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด อันเป็นเหตุยกฟ้องหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยนี้ขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12000/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎกระทรวงใหม่ยกเลิกกฎกระทรวงเดิม การชักจูงเด็กประพฤติไม่สมควรต้องตีความตามกฎหมาย
แม้ขณะเกิดเหตุมีกฎกระทรวง (พ.ศ.2515) ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 294 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 กำหนดว่า การประพฤติตนไม่สมควรแก่วัยคือ การประพฤติตนดังต่อไปนี้ (9) เที่ยวเตร่ในเวลากลางคืนระหว่างเวลา 22 นาฬิกา ถึงเวลา 04.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นเว้นแต่ไปกับบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ยังมีผลบังคับใช้จึงทำให้การเที่ยวเตร่ในเวลากลางคืนหลัง 22 นาฬิกาของ ท. ป. ธ. และ ส. เป็นการประพฤติตนไม่สมควร อันมีผลสืบเนื่องทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เฝ้าร้านเกมในขณะเกิดเหตุเป็นผู้กระทำความผิดฐานชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 (3) มีผลใช้บังคับอยู่ก็ตาม แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พ.ศ.2549 โดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา 4 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ใช้บังคับแทนแล้ว ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่า กรณีเด็กเที่ยวเตร่ในเวลากลางคืนระหว่างเวลา 22 นาฬิกา ถึงเวลา 04.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น เป็นการประพฤติตนไม่สมควร จึงเป็นกรณีที่กฎกระทรวงฉบับใหม่ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับเดิมทั้งฉบับ ถือได้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำดังกล่าวนั้นไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟื้นฟูกิจการล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู
ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งให้ผู้ร้องพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารแผนของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/67 ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันหนี้หลังยกเลิกฟื้นฟูกิจการ: ศาลต้องพิจารณาคำร้องคัดค้านคำขอรับชำระหนี้
แม้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการทำให้ผู้บริหารของลูกหนี้กลับมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว แต่ลูกหนี้ก็ยังคงต้องผูกพันรับผิดชำระหนี้ตามคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการและตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนและมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงยังมิได้สิ้นสุดลงไป และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเป็นประการใดแล้วเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/32 วรรคสาม เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว ศาลล้มละลายกลางจึงยังต้องพิจารณาคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้เกี่ยวกับสำนวนคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้พิมพ์-บรรณาธิการในคดีหมิ่นประมาทตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ที่ถูกยกเลิก
จำเลยเป็นเพียงผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาและบรรณาธิการ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมกับผู้เขียน ผู้ประพันธ์ เขียนข้อความหมิ่นประมาทดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องด้วย เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไปบัญญัติไว้มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พุทธศักราช 2484 พ.ร.บ.การพิมพ์ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485 พ.ร.บ.การพิมพ์ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2488 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 36 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 แต่ความที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มิได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณษา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 48 แต่ประการใด จึงเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังกล่าว จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายเลือกตั้งใหม่มีผลยกเลิกบทบัญญัติเดิม ทำให้จำเลยพ้นความผิด
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯ ออกมาใช้บังคับ และต่อมามีการออก พ.ร.ฎ. ให้บทกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับแก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการและตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯ บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ฯ และตามมาตรา ๔๔ แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯ เพียงแต่บัญญัติคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นเท่านั้น บทกฎหมายดังกล่าวที่ใช้บังคับภายหลังการกระทำความผิดหาได้มีบทบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อไป จึงถือว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายเดิมที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดนั้นไม่ถูกต้อง