คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยอมรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายทวงหนี้และเจตนายักยอก: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงและการยอมรับค่าจ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงหาว่ายักยอกทรัพย์ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นชี้ขาด แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงควรฟังเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่มิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียเองแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ฟังใหม่นั้นโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นได้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับการปฏิบัติตามคำสั่งศาลแล้วกลับฎีกา และการไต่สวนข้อเท็จจริงของผู้ถูกกล่าวหาที่เพิ่งเข้ามาในคดี
เมื่อจำเลยถูกศาลออกหมายจับมาฐานขัดขืนไม่ยอมออกจากที่พิพาทจำเลยแถลงว่ารับรองจะออกไปจากที่พิพาทและไม่เกี่ยวข้องอีกแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ศาลชั้นต้นจึงสั่งปล่อยตัวไป คำแถลงของจำเลยเช่นนี้ เป็นการยอมรับว่าจำเลยยังคงอยู่ในที่พิพาทขณะที่ศาลมีคำสั่งและจะยอมออกไปโดยไม่มีข้อโต้แย้ง จำเลยจะฎีกาเถียงว่าจำเลยไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่พิพาทและไม่ได้ฝ่าฝืนคำบังคับของศาลย่อมฟังไม่ขึ้น
ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาโดยถือว่าเป็นบริวารจำเลยซึ่งขัดขืนไม่ยอมออกจากที่พิพาท ผู้ร้องแถลงคัดค้านในวันที่ถูกจับตัวมาส่งศาลว่า ที่ที่ตนอยู่นั้นอยู่นอกที่พิพาทย่อมเท่ากับผู้ร้องต่อสู้ว่า ตนมิได้เป็นบริวารจำเลยและไม่ได้อยู่ในที่พิพาท ศาลจะต้องทำการไต่สวนระหว่างโจทก์กับผู้ร้องให้ได้ความว่า ผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยและอยู่ในที่พิพาทจริงหรือไม่เสียก่อน จะด่วนจับขังผู้ร้องไปทีเดียวยังไม่ชอบ แม้ศาลจะได้ไต่สวนระหว่างโจทก์จำเลยในเรื่องเดียวกันนี้มาแล้ว ก็ไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งยังไม่เข้ามาในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าพิสูจน์ลายมือชื่อ: ความเห็นผู้เชี่ยวชาญถือเป็นการยอมรับตามคำท้า แม้ไม่ฟันธง 100%
ท้ากันว่า ถ้าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าลายเซ็นในสัญญากู้เป็นลายเซ็นของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ โจทก์ยอมแพ้ เมื่อผู้เชี่ยวชาญรายงานว่าได้ตรวจลายเซ็นผู้กู้ในสัญญากู้ เปรียบเทียบกับตัวอย่างลายเซ็นของจำเลยแล้ว เห็นว่า น่าเชื่อว่าเป็นลายเซ็นของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ เท่ากับมีความเห็นว่าเป็นลายเซ็นของจำเลยจริงตรงตามคำท้าแล้วไม่ใช่ว่ายังไม่แน่ใจ
ในคดีแพ่งผู้เชี่ยวชาญจะแสดงความเห็นเป็นหนังสืออย่างเดียวก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละประโยชน์แห่งอายุความรับมรดกจากการยอมรับเจรจาแบ่งทรัพย์หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปี แล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยอายุความมรดก: การยอมรับแบ่งมรดกหลัง 20 ปี ถือละเลยอายุความ
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปีแล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเว้นการต่อสู้คัดค้านอายุความรับมรดกจากการยอมรับการแบ่งทรัพย์มรดกหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก. เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า20 ปีแล้วนั้น. ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว. จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้.(อ้างฎีกาที่ 1607/2505).
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย. ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร. เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น.ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับว่าที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน มีผลสละสิทธิในการถอนหุ้น แม้ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
จำเลยทั้งสามให้การร่วมกันว่า ที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2, 3 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำผิดข้อบังคับของห้างหุ้นส่วน เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ถอนเอาที่ดินคืนออกจากห้างหุ้นส่วนเลย โจทก์ก็ทราบแล้วและไม่คัดค้าน ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยทั้ง 3 เป็นการยอมรับว่าที่ดินนั้นยังคงเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่ แม้จะมีชื่อจำเลยที่ 2, 3 ถือกรรมสิทธิ์ จำเลยก็หาได้โต้เถียงไม่ว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลย ไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วน จำเลยจะมาโต้เถียงภายหลังว่าที่ดินไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วนย่อมไม่ได้
ที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชีกัน ผู้ชำระบัญชีก็มีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้
จำเลยให้การรับว่า ที่ดินยังเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่ เมื่อคู่ความตกลงกันให้ตั้งผู้ชำระบัญชี และให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยตกลงยอมให้ขายที่ดินซึ่งเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วย จำเลยมาอ้างภายหลังว่าขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ชำระบัญชีจะเอาที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วยหรือไม่ ย่อมฟังไม่ขึ้นและเมื่อจำเลยตกลงยอมให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแล้ว ก็ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธิที่จะถอนหุ้นเอาที่ดินของตนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับว่าที่ดินเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน ย่อมมีผลผูกพันในการชำระบัญชี
จำเลยทั้งสามให้การร่วมกันว่า ที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำผิดข้อบังคับของห้างหุ้นส่วน เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ถอนเอาที่ดินคืนออกจากห้างหุ้นส่วนเลย โจทก์ก็ทราบแล้วและไม่คัดค้าน ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยทั้ง 3 เป็นการยอมรับว่าที่ดินนั้นยังคงเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่ แม้จะมีชื่อจำเลยที่ 2,3 ถือกรรมสิทธิ์จำเลยก็หาได้โต้แย้งไม่ว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลยไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วนจำเลยจะมาโต้เถียงภายหลังว่าที่ดินไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วนย่อมไม่ได้
ที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชีกันผู้ชำระบัญชีก็มีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้
จำเลยให้การรับว่า ที่ดินยังเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่เมื่อคู่ความตกลงกันให้ตั้งผู้ชำระบัญชี และให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันดังนี้ แสดงว่าจำเลยตกลงยอมให้ขายที่ดินซึ่งเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วย จำเลยจะมาอ้างภายหลังว่าขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ชำระบัญชีจะเอาที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วยหรือไม่ ย่อมฟังไม่ขึ้นและเมื่อจำเลยตกลงยอมให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธิที่จะถอนหุ้นเอาที่ดินของตนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับที่ดินเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน ทำให้มีอำนาจขายได้หลังเลิกห้าง
จำเลยทั้งสามให้การร่วมกันว่า ที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำผิดข้อบังคับของห้างหุ้นส่วน. เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ถอนเอาที่ดินคืนออกจากห้างหุ้นส่วนเลย. โจทก์ก็ทราบแล้วและไม่คัดค้าน. ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยทั้ง 3 เป็นการยอมรับว่าที่ดินนั้นยังคงเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่. แม้จะมีชื่อจำเลยที่ 2,3 ถือกรรมสิทธิ์.จำเลยก็หาได้โต้แย้งไม่ว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลยไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วน. จำเลยจะมาโต้เถียงภายหลังว่าที่ดินไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วนย่อมไม่ได้.
ที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชีกัน. ผู้ชำระบัญชีก็มีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้.
จำเลยให้การรับว่า ที่ดินยังเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่.เมื่อคู่ความตกลงกันให้ตั้งผู้ชำระบัญชี. และให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน.ดังนี้ แสดงว่าจำเลยตกลงยอมให้ขายที่ดินซึ่งเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วย. จำเลยจะมาอ้างภายหลังว่าขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ชำระบัญชีจะเอาที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วยหรือไม่. ย่อมฟังไม่ขึ้น.และเมื่อจำเลยตกลงยอมให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแล้ว. ก็ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธิที่จะถอนหุ้นเอาที่ดินของตนคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและผลของการไม่อุทธรณ์คดีจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1(ตัวแทน) จำเลยที่ 2(ตัวการ) ร่วมกันและแทนกันใช้เงินค่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 ซื้อไปจากโจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นใช้เงินค่าสินค้าแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยส่วนฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ให้ยกเสีย จำเลยที่ 2 เท่านั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ด้วย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ โจทก์จะฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามฟ้องอีกหาได้ไม่ต้องถือว่าคดีสำหรับจำเลยที่ 1 เป็นอันยุติลงตามกระบวนความเพียงแค่ศาลชั้นต้นไปแล้ว โจทก์คงฎีกาได้เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น
of 14