พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขโทษคดียาเสพติดและไม่ริบเงินจากการขายยา เหตุเงินไม่ใช่ของกลางที่ได้จากการกระทำผิดโดยตรง
เงินของกลางจำนวน 6,000 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบ โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนถูกจับกุมก่อนหน้านี้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่วัตถุซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่ได้กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2)
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10,000 เม็ด และระบุคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม ส่วนความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายระบุจำนวน 2,000 เม็ด แต่ไม่ระบุสารบริสุทธิ์ จึงต้องด้วย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะคำนวณเทียบเคียงว่าเมทแอมเฟตามีน 10,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม จำนวน 2,000 เม็ด จึงคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ไม่น้อยกว่า 64 กรัม เพื่อเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคสอง หาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10,000 เม็ด และระบุคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม ส่วนความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายระบุจำนวน 2,000 เม็ด แต่ไม่ระบุสารบริสุทธิ์ จึงต้องด้วย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะคำนวณเทียบเคียงว่าเมทแอมเฟตามีน 10,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม จำนวน 2,000 เม็ด จึงคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ไม่น้อยกว่า 64 กรัม เพื่อเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคสอง หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดียาเสพติด (ฝิ่น) ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 69 วรรคสาม และผลของการแก้ไขกฎหมาย
การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายซึ่งฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือนำสืบว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดก็ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 69 วรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสาม เป็นบทลงโทษที่ขยายความมาจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสอง โดยแยกความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีนที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องลงโทษตามวรรคสาม แต่หากเป็นกรณีมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ต้องลงโทษตามวรรคสี่ ดังนั้น การจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน จึงต้องได้รับโทษตามมาตรา 69 วรรคสามหรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทลงโทษยาเสพติดประเภท 2 (ฝิ่น) ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ แก้ไขใหม่ การพิจารณาโทษและปริมาณสารบริสุทธิ์
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 69 วรรคสาม เป็นบทลงโทษที่ขยายความมาจากมาตรา 69 วรรคสอง โดยแยกความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องลงโทษตามวรรคสาม แต่หากเป็นกรณีมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีนที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ก็ลงโทษตามวรรคสี่ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17 ต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง ยกเว้นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณดังกล่าวต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม หรือวรรคสี่แล้วแต่กรณี
ยาเสพติดให้โทษที่เป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นฝิ่นแม้จะไม่ปรากฏว่าฝิ่นของกลางมีปริมาณคำนวนเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แต่ก็ปรากฏว่าฝิ่นของกลางทั้ง 14 ห่อ มีน้ำหนัก 25.19 กรัม การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งฝิ่นจำนวน 14 ห่อก็ดี การจำหน่ายฝิ่นจำนวน 2 ห่อก็ดี ต้องถือว่าฝิ่นทั้งสองจำนวนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม การมีไว้ในครอบครองจึงเป็นความผิดและต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม ส่วนการจำหน่ายฝิ่นก็เป็นความผิดและต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม เช่นกัน
ยาเสพติดให้โทษที่เป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นฝิ่นแม้จะไม่ปรากฏว่าฝิ่นของกลางมีปริมาณคำนวนเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แต่ก็ปรากฏว่าฝิ่นของกลางทั้ง 14 ห่อ มีน้ำหนัก 25.19 กรัม การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งฝิ่นจำนวน 14 ห่อก็ดี การจำหน่ายฝิ่นจำนวน 2 ห่อก็ดี ต้องถือว่าฝิ่นทั้งสองจำนวนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม การมีไว้ในครอบครองจึงเป็นความผิดและต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม ส่วนการจำหน่ายฝิ่นก็เป็นความผิดและต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทลงโทษ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 69 วรรคสาม กรณีปริมาณฝิ่นไม่เกิน 100 กรัม
การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายซึ่งฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือนำสืบว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดก็ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 69 วรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสาม เป็นบทลงโทษที่ขยายความมาจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสอง โดยแยกความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องลงโทษตามวรรคสาม แต่หากเป็นกรณีมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ต้องลงโทษตามวรรคสี่ ดังนั้น การจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน จึงต้องได้รับโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม หรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2548)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4087/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: การตรวจสอบกรรมสิทธิ์และเจตนาของผู้ร้อง
ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีในข้อกฎหมายโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นปัญหาขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ แต่เพื่อให้คดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วเพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฎตามคำร้องของผู้ร้องพอวินิจฉัยคดีได้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
การร้องคัดค้านและขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 เป็นการใช้สิทธิทางศาลอย่างหนึ่ง ผู้ร้องต้องกระทำการโดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่าในวันที่รถกระบะถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางนั้น กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของ ห. หาใช่เป็นของผู้ร้องแต่อย่างใดไม่ ผู้ร้องเพิ่งได้กรรมสิทธิ์ในรถกระบะของกลางภายหลังจากการกระทำความผิดเกิดขึ้น ซึ่งขณะนั้นเจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมจำเลยทั้งเจ็ดพร้อมทั้งยึดรถกระบะของกลางไว้แล้ว การที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องคัดค้านว่า ตลอดเวลานับตั้งแต่ผู้ร้องได้รับมอบทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ขาย ผู้ร้องได้ใช้รถกระบะของกลางอย่างสุจริตและเปิดเผยมาโดยตลอดนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ขัดกันเอง พฤติการณ์ตามคำร้องส่อให้เห็นว่า ผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีมิใช่การร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดไว้เพราะเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในกระบวนการตามมาตรา 22, 27, 29 (2) ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าพอวินิจฉัยได้และให้งดการไต่สวนพยานของผู้ร้องและมีคำสั่งให้ริบรถกระบะของกลางนั้นชอบแล้ว
การร้องคัดค้านและขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 เป็นการใช้สิทธิทางศาลอย่างหนึ่ง ผู้ร้องต้องกระทำการโดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่าในวันที่รถกระบะถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางนั้น กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของ ห. หาใช่เป็นของผู้ร้องแต่อย่างใดไม่ ผู้ร้องเพิ่งได้กรรมสิทธิ์ในรถกระบะของกลางภายหลังจากการกระทำความผิดเกิดขึ้น ซึ่งขณะนั้นเจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมจำเลยทั้งเจ็ดพร้อมทั้งยึดรถกระบะของกลางไว้แล้ว การที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องคัดค้านว่า ตลอดเวลานับตั้งแต่ผู้ร้องได้รับมอบทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ขาย ผู้ร้องได้ใช้รถกระบะของกลางอย่างสุจริตและเปิดเผยมาโดยตลอดนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ขัดกันเอง พฤติการณ์ตามคำร้องส่อให้เห็นว่า ผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีมิใช่การร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดไว้เพราะเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในกระบวนการตามมาตรา 22, 27, 29 (2) ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าพอวินิจฉัยได้และให้งดการไต่สวนพยานของผู้ร้องและมีคำสั่งให้ริบรถกระบะของกลางนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) และการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามมาตรา 3 ป.อาญา
แม้เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจะใช้อุบายล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสาม ก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเป็นผู้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เพราะจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว การล่อซื้อของพยานโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงการแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสาม เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นความผิดสำเร็จ หาใช่ว่าเมื่อมีการใช้อุบายวางแผนล่อซื้อต้องถือว่าขาดเจตนาซื้อขายกันจริง จึงไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่อซื้อยาเสพติด การตรวจค้นโดยไม่แจ้ง และการใช้กฎหมายใหม่ที่บัญญัติขึ้นภายหลัง
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและสายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสามในบ้านที่เกิดเหตุ ซึ่งสามารถล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนได้ แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะมิได้ดำเนินการขอหมายค้นจากศาลชั้นต้นไปตรวจค้นบ้านที่เกิดเหตุ ก็หาเป็นข้อพิรุธของพยานโจทก์ในการตรวจค้นจับกุมไม่ เพราะเป็นกรณีกระทำความผิดซึ่งหน้าที่กำลังกระทำลงในที่รโหฐานจึงตรวจค้นได้โดยไม่จำต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (2) (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ
แม้คดีนี้เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจะใช้อุบายล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสาม ก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเป็นผู้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เพราะจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว การล่อซื้อของพยานโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงการแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสาม เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นความผิดสำเร็จ หาใช่ว่าเมื่อมีการใช้อุบายวางแผนล่อซื้อต้องถือว่าขาดเจตนาซื้อขายกันจริง จึงไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 และมาตรา 66 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะจำเลยทั้งสามกระทำความผิด แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคดีนี้ มีองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่แก้ไขใหม่ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง เดิม มาใช้บังคับแก่คดีนี้ และความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ มีองค์ประกอบความผิดเช่นเดียวกับมาตรา 15 วรรคหนึ่ง เดิม จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดมาบังคับแก่คดีนี้เช่นเดียวกัน ส่วนในมาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นบทระวางโทษของความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนสำหรับเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 กรัม แม้จะปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางคดีนี้มีจำนวน 46 เม็ด และมีน้ำหนักสุทธิเกินกว่า 1.5 กรัม ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นองค์ประกอบความผิด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดกันแน่ จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ได้ แต่ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยยังเป็นความผิดอันต้องด้วยบทระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่อยู่ ซึ่งตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ในส่วนของโทษจำคุกมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 15 ปี แตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนนี้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวในส่วนที่เป็นคุณมาบังคับแก่คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ แม้ว่าจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ตาม ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาจึงต้องแก้ไขโดยปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้อง และเห็นสมควรแก้ไขกำหนดโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาด้วย และเนื่องจากจำเลยทั้งสามเป็นตัวการกระทำความผิดในคดีนี้ด้วยกัน ถือว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
แม้คดีนี้เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจะใช้อุบายล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสาม ก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเป็นผู้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เพราะจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว การล่อซื้อของพยานโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงการแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสาม เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นความผิดสำเร็จ หาใช่ว่าเมื่อมีการใช้อุบายวางแผนล่อซื้อต้องถือว่าขาดเจตนาซื้อขายกันจริง จึงไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 และมาตรา 66 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะจำเลยทั้งสามกระทำความผิด แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคดีนี้ มีองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่แก้ไขใหม่ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง เดิม มาใช้บังคับแก่คดีนี้ และความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ มีองค์ประกอบความผิดเช่นเดียวกับมาตรา 15 วรรคหนึ่ง เดิม จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดมาบังคับแก่คดีนี้เช่นเดียวกัน ส่วนในมาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นบทระวางโทษของความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนสำหรับเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 กรัม แม้จะปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางคดีนี้มีจำนวน 46 เม็ด และมีน้ำหนักสุทธิเกินกว่า 1.5 กรัม ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นองค์ประกอบความผิด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดกันแน่ จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ได้ แต่ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยยังเป็นความผิดอันต้องด้วยบทระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่อยู่ ซึ่งตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ในส่วนของโทษจำคุกมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 15 ปี แตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนนี้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวในส่วนที่เป็นคุณมาบังคับแก่คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ แม้ว่าจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ตาม ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาจึงต้องแก้ไขโดยปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้อง และเห็นสมควรแก้ไขกำหนดโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาด้วย และเนื่องจากจำเลยทั้งสามเป็นตัวการกระทำความผิดในคดีนี้ด้วยกัน ถือว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3465/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาลงโทษจำเลยที่รับสารภาพโดยไม่สืบพยานหลักฐานภายใต้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์ แต่ถ้าข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพนั้น กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานอื่นที่หนักกว่านั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่สืบพยานหลักฐานไม่ได้ ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์ได้นำสืบพยานหลักฐานให้ศาลรับฟังจนเป็นที่พอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้องในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 ที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำผิดและถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาลจะกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อได้สืบพยานหลักฐานและฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำผิดจริงตามที่บัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 176 แต่เมื่อในระหว่างพิจาณราของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) ฯ มาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยมาตรา 66 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีระวางโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่สี่ปี ลดลงจากมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายเดิมที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี และคดีนี้เมทแอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 17.448 กรัม ซึ่งไม่เกิน 20 กรัม ดังนั้น โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 3 ข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยที่ 1 รับสารภาพจึงมีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกไม่ถึงห้าปี ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาและอำนาจฟ้องในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้คำร้องขอฝากขังไม่ได้ระบุข้อหา แต่หากมีหลักฐานภายหลังก็มีอำนาจฟ้องได้
การร้องขอฝากขังเป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนยื่นขอต่อศาลโดยอ้างเหตุเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาเพื่อขอให้ควบคุมผู้ต้องหาไว้ทำการสอบสวน ดังนั้น แม้ตามคำร้องขอฝากขังจะมิได้ระบุข้อหาความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีน แต่เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ของกลางที่เจ้าพนักงานตรวจยึดได้เป็นเฮโรอีนพนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเต็มต่อจำเลยทั้งสามว่า ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เฮโรอีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายโดยผิดกฎหมายจึงฟังได้ว่ามีการแจ้งขอหาและสอบสวนในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนแล้วโดยชอบโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนได้ และเมื่อจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยานเพราะความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษขั้นต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่าจำคุก 5 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์ไม่อ้างบทลงโทษที่หนักกว่า ถือเป็นการไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามบทนั้น
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นทั้งบทความผิดและบทลงโทษในมาตราเดียวกัน ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และความผิดฐานพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80 เป็นเพียงองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษส่วนหนึ่งของมาตรา 7 เท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ไม่อ้างมาตรา 7 ซึ่งมีโทษสูงกว่าโทษในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 80 จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 7 และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่