คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระเบียบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391-1442/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงระเบียบเงินบำเหน็จของรัฐวิสาหกิจ และการบังคับใช้ข้อบังคับใหม่แทนระเบียบเดิม
เดิมจำเลยไม่มีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างเป็นของตนเอง จึงนำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับโดยอนุโลมตลอดมา จนถึง พ.ศ. 2521 จำเลยจึงได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จประกาศใช้บังคับ แต่ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502กำหนดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้แก่ราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหลายเป็นการทั่วไป จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งจึงหามีอำนาจที่จะยกเลิกเพิกถอนระเบียบดังกล่าวไม่ แต่มีอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจำเลยมาตรา 15(3) และมาตรา 18 ที่จะวางข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จและเงินรางวัลของจำเลยเอง ซึ่งเมื่อได้ประกาศใช้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 แล้วย่อมมีผลเท่ากับไม่นำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างพ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป ดังนั้น จะนำความในข้อ 5 วรรคท้าย และข้อ 6 ของระเบียบดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6386/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างส่อทุจริต ทำให้สิทธิเลื่อนขั้นเงินเดือนระงับตามระเบียบของนายจ้าง
ลูกจ้างที่ถูกสั่งพักงานเพื่อรอฟังผลการดำเนินคดี เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต ซึ่งนายจ้างมีสิทธิสั่งพักงานลูกจ้างได้โดยชอบ เมื่อลูกจ้างมิได้ทำงานในระหว่างพักงานตั้งแต่วันที่21 สิงหาคม 2522 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2529 ย่อมไม่มีงานที่มีคุณภาพและปริมาณงานอันสมควรที่จะได้เลื่อนบำเหน็จเพื่อตอบแทนผลงานที่ได้ปฏิบัติในรอบปีนั้นตามระเบียบ จึงไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในระหว่างพักงาน เมื่อลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิมจึงไม่มีค่าจ้างในส่วนที่เพิ่มขึ้นที่จะเรียกร้องจากนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการจากการเก็บรักษาเงินผิดระเบียบ ทำให้เงินสูญหาย
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นหัวหน้าฝ่ายการคลังของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของทางราชการโดยไม่ส่งมอบเงินที่เหลือจ่ายให้แก่คณะกรรมการเก็บรักษาเงิน เพื่อให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยที่โจทก์ได้จัดไว้ให้ซึ่งมีลูกกุญแจ 3 ดอก แต่กลับนำเข้าเก็บไว้ในตู้นิรภัยที่มีลูกกุญแจดอกเดียว ทั้งยังนำลูกกุญแจตู้นิรภัยดังกล่าวไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 เมื่อมีคนร้ายมางัดโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 และนำลูกกุญแจตู้นิรภัยไปไขตู้นิรภัยลักเอาเงินที่เก็บรักษาไว้ไปได้ ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นโดยตรงจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุในเรื่องหัวหน้าส่วนราชการไม่ทักท้วงสั่งการแก้ไขการปฏิบัติหน้าที่ที่ผิดระเบียบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินให้ถูกต้องมาเป็นเหตุว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษี แม้มีระเบียบกรมสรรพากร และพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษี
เบี้ยปรับที่ผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 นั้น แม้มาตรา 27 ทวิวรรคสองแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวจะบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้บังคับก็ตาม ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติ แต่ไม่มีผลผูกพันให้ศาลต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น การงดหรือลดเบี้ยปรับเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่า การที่เจ้าพนักงานงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และศาลยังมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีมีเหตุอันสมควรอีกด้วย
เมื่อปรากฏในชั้นไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมินและในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยว่า หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควรในการส่งบัญชีเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ไปให้เจ้าพนักงานตรวจสอบและโจทก์ไม่นำรายได้ลงบัญชีรายรับให้ครบถ้วน อันเป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการรักษาเงินสดของสหกรณ์ตามระเบียบ
สหกรณ์โจทก์มีระเบียบว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ พ.ศ. 2520 ข้อ 8 ว่า เหรัญญิกหรือเจ้าหน้าที่การเงินของสหกรณ์จะเก็บรักษาเงินสดของสหกรณ์ไว้ได้ไม่เกินหนึ่งพันบาท เงินสดส่วนที่เกินให้นำส่งเข้าฝากในธนาคารที่สหกรณ์เปิดบัญชีเงินฝากไว้ ในกรณีจำเป็นไม่สามารถนำเข้าฝากได้ทันในเวลานั้น ๆ ให้ทำบันทึกเสนอประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการทราบและให้นำส่งเข้าฝากในวันแรกที่เปิดทำการ เงินสดที่เก็บรักษาไว้ดังกล่าวข้างต้นให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยของสหกรณ์ ซึ่งจำเลยทราบระเบียบดังกล่าวดีอยู่แล้วการที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกลับเก็บรักษาเงินสดของโจทก์ไว้เป็นจำนวนมากถึง43,878.22 บาท โดยละเลยไม่นำส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทไปฝากธนาคาร ทั้งไม่ทำบันทึกเสนอประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการของโจทก์รับทราบ และเก็บรักษาลูกกุญแจตู้นิรภัย เก็บเงินไว้ในโต๊ะทำงานซึ่งอยู่ห่างตู้นิรภัยเพียง 1 เมตร ง่ายต่อการที่คนร้ายจะค้นพบแล้วนำไปไขเปิดตู้นิรภัยนั้นพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อมีคนร้ายลักลอบเข้ามางัดโต๊ะทำงานและค้นได้ลูกกุญแจนำไปไขตู้นิรภัยแล้วลักเอาเงินสดจำนวนดังกล่าวข้างต้นไป ความเสียหายย่อมเป็นผลโดยตรงจากการประมาทเลินเล่อของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นโดยไม่มีใบหุ้นและขัดต่อระเบียบตลาดหลักทรัพย์ ศาลไม่รับฟังว่าจำเลยสั่งขายหุ้นจริง
ในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่โจทก์ในฐานะเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ได้กระทำแทนจำเลยผู้เป็นลูกค้าของโจทก์ ปรากฏว่าพยานโจทก์ที่อ้างว่ารู้เห็นในการสั่งขายหุ้นของจำเลยมีคนเดียวคือ ก.ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเงินทุนของโจทก์ ส่วนพยานนอกนั้นรวมทั้ง ด. ซึ่งโจทก์ส่งไปทำหน้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ทุกคนล้วนแต่เป็นผู้คอยรับคำสั่งจาก ก. แม้ ด.จะเบิกความว่าระหว่างทำการขายหุ้นตามคำสั่งจำเลย จำเลยได้โทรศัพท์มาถาม ด. ตอบว่าขายได้ 1,700 หุ้น หุ้นที่เหลือ1,300 หุ้นจะขายหรือไม่ จำเลยตอบว่าพอแล้ว ซึ่งข้อความดังกล่าวขัดกับข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ที่ว่าการสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ต้องกระทำผ่านสำนักงานของสมาชิกเท่านั้นลูกค้าไม่มีสิทธิติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ตลาดหลักทรัพย์ จึงไม่มีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยได้โทรศัพท์ไปถาม ด.จริง คำพยานโจทก์ที่อ้างว่าติดต่อกับจำเลยโดยตรงคงมีแต่คำของ ก. และเอกสารต่าง ๆโจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวโดยประสงค์จะให้มีพยานหลักฐานทุกขั้นตอนของการขายหุ้นโดยเฉพาะสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างโจทก์กับผู้ซื้อมีข้อความชัดว่าต้องปฏิบัติตามระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ทุกประการ แต่การขายหุ้นพิพาท ก. กลับเบิกความรับว่าเมื่อจำเลยมาพบ ก. ที่บริษัทโจทก์ ก็ได้ทำใบสั่งซื้อสั่งขายให้จำเลยลงนาม แต่การขายหุ้นพิพาทโจทก์ไม่ได้ให้จำเลยทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ และจำเลยไม่มีใบหุ้นที่จะขายการที่โจทก์ว่าจำเลยไม่มีใบหุ้น แล้วโจทก์ยังเสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ถือว่าโจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งห้ามสมาชิกขายหลักทรัพย์โดยไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง ฉะนั้นจึงไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะกลับขายหุ้นให้จำเลยโดยมีจำเลยไม่มีใบหุ้น มาให้ขายเพราะโจทก์ต้องส่งมอบใบหุ้น ที่ขายให้ผู้ซื้อภายใน 4 วันตามระเบียบตลาดหลักทรัพย์ การกระทำของโจทก์จึงเท่ากับเป็นการขายตัวเลขไม่ใช่ขายหุ้น ประกอบกับจำเลยนำหลักทรัพย์มาประกันต่อโจทก์โดยนำเงินมาฝากโจทก์และโจทก์ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลยมีวงเงินเพียง 406,500 บาทแต่โจทก์กลับอ้างว่า จำเลยสั่งให้โจทก์ขายหุ้นหลังจากหักค่านายหน้าของโจทก์แล้วเป็นเงิน 6,158,251 บาทหากเป็นจริงก็จะทำให้โจทก์ต้องหาซื้อหุ้นมาให้ผู้ซื้อแทนจำเลยมากกว่าหลักประกันที่จำเลยวางไว้แก่โจทก์และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีสิ่งใดซึ่งจะให้โจทก์เชื่อถือนอกจากเงินที่ฝากโจทก์ไว้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์จะยอมขายหุ้นให้จำเลยโดยจำเลยไม่มีใบหุ้นจะขาย ดังนี้พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยได้สั่งให้โจทก์ขายหุ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกรอกเงื่อนไขในใบสมัครหลังอนุมัติเข้าทำงาน ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากเป็นการตกลงและปฏิบัติตามระเบียบ
โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานโดยกรอกข้อความในใบสมัครเว้นว่างไว้แต่ในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ด้านหลังใบสมัคร จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการบริษัทได้กรอกข้อความลงในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ภายหลังจากที่บริษัทได้มีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์เข้าทำงานแล้ว แต่จำเลยกระทำไปตรงตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ทำไว้กับโจทก์ก่อนยื่นใบสมัครทั้งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการและระเบียบข้อบังคับของบริษัท เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์และเมื่อข้อความที่จำเลยกรอกนั้นตรงตามที่ได้ตกลงกับโจทก์ไว้ จำเลยก็มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยและการจ่ายค่าชดเชย แม้มีระเบียบ/สัญญาให้อำนาจเลิกจ้าง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยหากลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
การที่โจทก์เจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกติเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของโจทก์ แม้ระเบียบของธนาคารจำเลยจะให้อำนาจจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงาน หรือสัญญาของผู้เข้าทำงานซึ่งโจทก์ทำกับจำเลยให้อำนาจจำเลยที่จะถอนโจทก์ออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้เท่านั้น ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือสัญญา จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนนั้น เป็นเงินที่มีวิธีการจ่ายและจำนวนเงินที่จ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จึงเป็นเงินประเภทอื่น ไม่ใช่เป็นเงินประเภทเดียวกับค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการมัสยิด: การแต่งตั้งต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ได้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
การแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 มาตรา 8 ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวกับการศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า)พ.ศ. 2492 กับพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8 คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไม่มีอำนาจแต่งตั้งโดยพลการ คณะกรรมการมัสยิดของโจทก์ที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้ง โดยมิได้มีการประชุมชาวสัปบุรุษเพื่อเลือกตั้ง ย่อมทำให้ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เป็นกรรมการโดยชอบและต่อมาคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้จำเลยกับพวกกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์ต่อไปตามเดิมก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการมัสยิด: การแต่งตั้งต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะไม่มีอำนาจฟ้อง
การแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 มาตรา 8ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า)และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวกับการศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า)พ.ศ. 2492 กับพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไม่มีอำนาจแต่งตั้งโดยพลการคณะกรรมการมัสยิดของโจทก์ที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้ง โดยมิได้มีการประชุมชาวสัปบุรุษเพื่อเลือกตั้งย่อมทำให้ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เป็นกรรมการโดยชอบและต่อมาคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้จำเลยกับพวกกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์ต่อไป ตามเดิมก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์
of 22