พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนต้องประเมินตามราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมินที่ใช้จดทะเบียน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า"เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้นมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฎว่า วันที่ 28 ธันวาคม2527 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกา ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 จึงต้องกำหนดเงินทดแทนให้เท่าราคาในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือหลักเกณฑ์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 ให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2527 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงไม่ถูกต้อง และขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพราะมิใช่ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามหก ที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีก็ตามเงินค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นธรรมโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้คือกระจกส่องหลัง พนักพิงหลังและแผ่นรองพื้น เป็นราคาต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาดพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงประเมินราคาสินค้าและภาษีอากรใหม่ มีรายละเอียดตามสำเนาใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าท้ายฟ้อง สำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความระบุไว้ว่า ประเมินราคาสินค้าแต่ละรายการเพิ่มขึ้นเท่าใด คิดเป็นอากรขาเข้าและภาษีการค้าจำนวนเท่าใด คำฟ้องโจทก์แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บัตรราคาเป็นเอกสารภายในที่โจทก์ทำขึ้น บุคคลภายนอกไม่อาจทราบได้ ทั้งมีข้อความส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งโจทก์ก็มิได้นำสืบถึงรายละเอียดของสินค้าตามบัตรราคาดังกล่าวว่าเป็นชนิดและขนาดใดมีลักษณะอย่างไร ราคาเป็นเงินไทยเท่าใด นำเข้าโดยใคร และเมื่อใด สินค้าตามบัตรราคาเป็นสินค้าสำหรับโซนยุโรป แต่สินค้ารายพิพาทมีแหล่งกำเนิดในโซนเอเชียซึ่งเป็นสินค้าต่างแหล่งกำเนิดกัน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว จึงไม่อาจนำราคาสินค้าตามบัตรราคามาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้ารายพิพาทได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดโดยอ้างว่า จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2จะอุทธรณ์เพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตามฟ้องไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) พ.ศ.2528 มาตรา 29
บัตรราคาเป็นเอกสารภายในที่โจทก์ทำขึ้น บุคคลภายนอกไม่อาจทราบได้ ทั้งมีข้อความส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งโจทก์ก็มิได้นำสืบถึงรายละเอียดของสินค้าตามบัตรราคาดังกล่าวว่าเป็นชนิดและขนาดใดมีลักษณะอย่างไร ราคาเป็นเงินไทยเท่าใด นำเข้าโดยใคร และเมื่อใด สินค้าตามบัตรราคาเป็นสินค้าสำหรับโซนยุโรป แต่สินค้ารายพิพาทมีแหล่งกำเนิดในโซนเอเชียซึ่งเป็นสินค้าต่างแหล่งกำเนิดกัน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว จึงไม่อาจนำราคาสินค้าตามบัตรราคามาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้ารายพิพาทได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดโดยอ้างว่า จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2จะอุทธรณ์เพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตามฟ้องไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: ราคาตลาดในวันที่เวนคืน, ความเสมอภาค, ที่ดินปรับปรุงแล้ว
การที่โจทก์นำสืบว่า ที่ดินข้างเคียงที่ดินของโจทก์มีการซื้อขายกันในราคาเท่าใดก่อนมีการประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกาก็เท่ากับว่าเป็นการนำสืบให้เห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีราคาเท่าใดในวันที่ พระราชกฤษฎีกา ประกาศใช้บังคับนั่นเอง แม้โจทก์ไม่มีราคาซื้อขายมาแสดงว่าในวันดังกล่าวที่ดินของโจทก์มีราคาเท่าใด แต่โจทก์นำสืบว่าที่ดินที่มีอาณาเขตติดต่อกันมีราคาตารางวาละ1,655 บาท และที่ดินข้างเคียงตารางวาละ 1,887 บาท ย่อมฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์มีราคาตามที่ซื้อขายกันในท้องตลาดไม่ต่ำกว่าตารางวาละ 1,655 บาท การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แม้จะกระทำเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปก็ตาม แต่รัฐก็มีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนเพื่อบรรเทาความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามความเหมาะสมและเป็นธรรมทั้งต้องปฏิบัติต่อเจ้าของที่ดินทุกคนอย่างเสมอภาคกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการประเมินราคาทรัพย์สินที่ต่ำกว่าราคาตลาด ศาลต้องไต่สวนเพื่อพิจารณาเพิกถอนการขายทอดตลาด
หากข้อเท็จจริงได้ความว่า การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ของจำเลย ต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาดซึ่งมีราคา 8,123,000 บาท หลายเท่าตัว โดยไม่ตรวจสอบราคาอันถูกต้องแท้จริงเสียก่อน และขายทอดตลาดแก่ บ. ไปในราคา2,335,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาที่ประเมินไว้ ย่อมส่อพฤติการณ์ว่าไม่สุจริตอยู่ในตัว และหาก บ. ผู้ประมูลได้เคยตกลงจะเข้าประมูลในราคาถึง 5,000,000 บาท แต่กลับประมูลในราคาต่ำเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตทำให้จำเลยหลงเชื่อไม่เตรียมหาผู้อื่นมาประมูลสู้ราคา เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งยกคำร้องของจำเลย โดยไม่ไต่สวนพยานจำเลยเสียก่อน และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนโดยอ้างเหตุเดียวกันว่าผู้ซื้อประมูลได้ต่ำกว่าราคาประเมินขณะยึดไม่มากแต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน ทั้งในการขายทอดตลาดครั้งแรกจำเลยเคยแถลงคัดค้านราคาไว้แต่ไม่ได้หาคนมาสู้ราคาในครั้งที่สอง และไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่า การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินไปโดยไม่สุจริตนั้น เป็นการไม่ชอบ เพราะราคาที่ขายไปทำให้จำเลยเสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องคำนวณจากราคาแท้จริงในท้องตลาด หาใช่คำนวณจากราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ขณะยึดทรัพย์ไม่และที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1อ้างว่าจำเลยมิได้หาคนมาสู้ราคาในครั้งที่สองนั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นเอง โดยคู่ความยังมิได้นำสืบพยานว่า บ.เป็นบุคคลที่จำเลยหามาสู้ราคาหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกสำนวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยเสียก่อนที่จะมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3093/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเวนคืนที่ดินต้องเป็นธรรมตามราคาตลาด รัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศคณะปฏิวัติ
การที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 วรรคแรกบัญญัติไว้ว่า เงินค่าทดแทนนั้นถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ฯลฯย่อมเห็นได้ว่า รัฐต้องการให้ผู้ถูกเวนคืนที่ดินได้รับค่าทดแทนในราคาที่เป็นธรรม จึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ในการใช้ค่าทดแทนไว้ดังกล่าวจำเลยที่ 2 จึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ จะยกข้ออ้างเรื่องทำเพื่อประโยชน์ของรัฐที่ต้องบริการสาธารณะแล้วกำหนดค่าทดแทนที่ดินโดยไม่ยึดถือบทบัญญัติของกฎหมายหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ซื้อที่ดินมาในราคาตารางวาละ5,155 บาท ที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่ดินของโจทก์ซื้อขายกันในราคาตารางวาละ 2,500 บาทบ้าง ในราคาตารางวาละ 5,000 บาทและศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ตารางวาละ 2,500 บาทจึงเป็นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดตามที่บัญญัติไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295ข้อ 76 โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3068/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไม่ใช่ราคาตามบัญชีราคาประเมิน
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 เรื่องทางหลวง ข้อ 76 นั้นกำหนดว่า เงินค่าทดแทนที่จะจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้นต้องกำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับเมื่อกรมโยธาธิการจำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ โดยถือบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2525-2527 อันเป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญชีดังกล่าวจึงมิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นได้ตามภาวะเศรษฐกิจ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3068/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนต้องเป็นราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ การใช้บัญชีราคาคงที่ไม่เป็นธรรม
ตามประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 กำหนดว่าเงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนโดยถือบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2525-2527 อันเป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใชับัญชีดังกล่าวมิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นได้ตามภาวะเศรษฐกิจ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์และไม่ชอบด้วยกฎหมายถือไม่ได้ว่าเป็นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่ดินต้องเป็นราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างแต่เพียงว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนอยู่ในเขตทางหลวงเทศบาลที่จะต้องถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524เท่านั้น ไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรืออาศัยพระราชบัญญัติดังกล่าวและเมื่อกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มอบอำนาจให้ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีอำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงตลอดจนดำเนินการเจรจาทำความตกลงเรื่องเงินค่าทดแทนแล้ว หากโจทก์เห็นว่าจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์ทั้งสองได้รับมีจำนวนน้อยไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรม โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ออกมาบังคับใช้แทนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 เนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 จะหมดอายุใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องกำหนดเท่ากับราคาขายที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาข้างต้นใช้บังคับ โดยเป็นไปตามความในข้อ 76 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองโดยถือตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นราคาคงที่อยู่ตลอดเวลาที่ยังคงใช้บัญชีดังกล่าวจึงมิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ที่ดินของโจทก์ที่ 1อีกสองแปลงซึ่งติดอยู่กับที่ดินพิพาทซึ่งก็ถูกกำหนดให้อยู่ในเขตทางหลวง โดยสองแปลงหลังนี้ได้รับค่าทดแทนเป็นเงินตารางวาละ6,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงควรได้รับค่าทดแทนที่ดินพิพาทในอัตราเท่ากันจึงจะเป็นค่าทดแทนที่สมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าล่าช้าและการประเมินความเสียหายจากราคาตลาดที่ตกต่ำ
ขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่ได้ประกาศใช้ และไม่ปรากฎจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลศาลจึงจำต้องวินิจฉัยคดีนี้โดยอาศัยเทียบบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 คดีนี้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนตกลงรับขนว่าโจทก์ประสงค์จะให้ขนส่งสินค้าของโจทก์โดยเร็วจึงมีการเปลี่ยนจากเรืออ.เป็นเรือป. แต่ปรากฎว่าเรือป.แล่นออกจากประเทศไทยล่าช้าถึง 1 สัปดาห์ จึงทำให้เรือแล่นไปถึงท่าเรือปลายทางต้องล่าช้าไปด้วย ดังนี้การส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับสินค้าปลายทางล่าช้าเป็นเพราะจำเลยเริ่มทำการขนส่งสินค้าล่าช้าเอง มิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ความเสียหายมิได้เกิดจากตัวสินค้าข้าวโพด หากแต่เกิดจากราคาสินค้าข้าวโพดในตลาดไต้หวันตกต่ำลงในขณะที่มีการส่งมอบชักช้า ผู้ซื้อที่ไต้หวันจึงอาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การส่งมอบสินค้าข้าวโพด ชักช้าผิดเวลานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้นแก่โจทก์ส่วนค่าเสียหายซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์ชำระให้แก่ธนาคารในประเทศไทยนั้นไม่ใช่ค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดจากการที่จำเลยส่งมอบสินค้าชักช้า และมิใช่ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรเห็นควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 222 เนื่องจากไม่ปรากฎว่าขณะโจทก์และจำเลยทำสัญญารับขนสินค้า และขณะที่จำเลยส่งมอบสินค้าดังกล่าวชักช้า จำเลยได้ทราบอยู่แล้วว่าหากธนาคารในไต้หวันยังไม่จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่ธนาคารในประเทศไทยโจทก์จำเป็นต้องขอเบิกเงินค่าสินค้าจากธนาคารในประเทศไทยไปก่อนโดย โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารดังกล่าวด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์