คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคาที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้ที่ดินต่างจากราคาที่ดิน การพิจารณาค่าเสียหายต้องพิจารณาพฤติการณ์เพื่อความเป็นธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 คำว่า'ค่าใช้ที่ดิน' แตกต่างกับคำว่า 'ราคาที่ดิน' การกำหนดค่าใช้ที่ดินจะอาศัยราคาที่ดินเป็นประมาณมิได้เพราะมิใช่เป็นกรณีซื้อขายที่ดินกัน หากแต่จะต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
จำเลยปลูกตึกแถวสูง 5-6 ชั้นลงในที่ดินจำเลย แม้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เพียง 3/10 ตารางวา แต่เป็นอาคารที่มีความมั่นคงถาวรมากและตั้งอยู่ในย่านการค้าศาลกำหนดค่าใช้ที่ดินให้ 100,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากราคาที่ดินเพิ่มขึ้น: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ เนื่องจากโจทก์มิได้พิสูจน์ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
จำเลยยื่นคำให้การปฏิเสธที่จะร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ อ้างเหตุผลว่าค่าเสียหายเกี่ยวกับราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่เป็นความจริง ขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เรียกร้องค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคดีมีประเด็นว่าโจทก์เสียหายเท่าไร และพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายเพราะ โจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากราคาที่ดินที่สูงขึ้นเพียงประการเดียว ดังนี้ การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ควรได้รับค่าเสียหายเนื่องจากราคาที่ดินเพิ่มขึ้น เพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาด้วย เห็นได้ชัดว่าปัญหาข้อนี้มิใช่ปัญหาที่คู่ความได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยจึงยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 และ 249
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์เนื่องจากราคาที่ดินสูงขึ้น แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าในระหว่างวันที่ผู้จะขายสัญญาว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ที่ดินนี้มีราคาตารางวาละเท่าใดเพิ่มขึ้นจากวันทำสัญญาจะซื้อจะขายตารางวาละเท่าใด ดังนั้น ที่ศาลกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควรจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากราคาที่ดินเพิ่มขึ้น: การพิสูจน์ราคาที่ดินและข้อจำกัดการอุทธรณ์ประเด็นใหม่
จำเลยยื่นคำให้การปฏิเสธที่จะร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ อ้างเหตุผลว่าค่าเสียหายเกี่ยวกับราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่เป็นความจริง ขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เรียกร้องค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคดีมีประเด็นว่าโจทก์เสียหายเท่าไร และพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายเพราะโจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากราคาที่ดินที่สูงขึ้นเพียงประการเดียว ดังนี้ การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ควรได้รับค่าเสียหายเนื่องจากราคาที่ดินเพิ่มขึ้น เพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาด้วยเห็นได้ชัดว่าปัญหาข้อนี้มิใช่ปัญหาที่คู่ความได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยจึงยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 และ 249
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์เนื่องจากราคาที่ดินสูงขึ้น แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าในระหว่างวันที่ผู้จะขายสัญญาว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ที่ดินนี้มีราคาตารางวาละเท่าใด เพิ่มขึ้นจากวันทำสัญญาจะซื้อจะขายตารางวาละเท่าใด ดังนั้น ที่ศาลกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควรจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินระบุเนื้อที่เกินจริง ผู้ขายต้องรับผิดชดใช้ราคาส่วนที่ขาด
ขายที่ดินระบุเลขโฉนดและเนื้อที่ในโฉนด 99 ตารางวา แต่ที่ดินตามโฉนดมีเนื้อที่จริง 84 ตารางวา เป็นการขายโดยระบุเนื้อที่ต้องรับผิดในจำนวนที่ขาด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466 ผู้ซื้อยอมรับที่ดินผู้ขายต้องใช้ราคาส่วนที่ขาดคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิในการรับค่าทำขวัญ, การหักราคาที่ดินที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเป็นพิเศษ กรณีนี้พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะ มาตรา 42 บัญญัติให้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งมาตรา 14บัญญัติให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักกับค่าทดแทน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำราคาที่ดินที่ทวีขึ้นเพราะการตัดถนนตามพระราชบัญญัติเวนคืนมาหักกับเงินค่าทำขวัญซึ่งจะจ่ายแก่โจทก์ได้
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืน แต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทน จะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิการหักราคาที่ดินที่สูงขึ้นจากค่าทำขวัญ และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเป็นพิเศษ กรณีนี้พระราชบัญญัติทางหลวงพ.ศ. 2482 ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะ มาตรา 42 บัญญัติให้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งมาตรา 14บัญญัติให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักกับค่าทดแทน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำราคาที่ดินที่ทวีขึ้นเพราะการตัดถนนตามพระราชบัญญัติเวนคืนมาหักกับเงินค่าทำขวัญซึ่งจะจ่ายแก่โจทก์ได้
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืนแต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทนจะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเห็นเกี่ยวกับราคาที่ดินเบื้องหน้าศาล ไม่ถือเป็นเบิกความเท็จ
ราคาที่ดินที่จำเลยเบิกความต่อศาล แม้ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงก็เป็นเพียงความคิดเห็นกะประมาณของพยานบุคคลธรรมดาที่เบิกความต่อศาลนั้นย่อมอาจจะมีผิดพลาดไปได้บ้าง ยังหาอาจถือได้ว่าความคิดเห็นนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่พยานได้เบิกความเท็จต่อศาลอันเป็นความผิดอาญาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาที่ดินแต่ละแปลงต่ำกว่าค่าเสียหายที่ฟ้องร้อง ทำให้ฎีกาไม่รับพิจารณาในข้อเท็จจริง
โจทก์สองคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวเรียกร้องที่ดินคนละแปลงจากจำเลยมาในฟ้องเดียวกัน โดยตั้งราคาที่ดินรวมกัน 5,200 บาทปรากฏว่าเนื้อที่ดินทั้งสองแปลงนี้ไม่แตกต่างกันมากนัก และเป็นที่ดินที่อยู่ติดต่อกัน เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าราคาที่ดินแต่ละแปลงไม่ถึง 5,000บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทที่ดิน: การฟ้องร้องไม่ชัดเจนและราคาที่ดินต่ำกว่าเกณฑ์อุทธรณ์
ที่ดินที่โจทก์จำเลยพิพาทกันมิใช่ทั้งแปลงดังที่โจทก์ฟ้อง คงพิพาทกันเพียงส่วนหนึ่งของเนื้อที่ทั้งหมด และส่วนนี้แม้จะไม่ได้ความตามท้องสำนวนว่าเป็นเนื้อที่เท่าไร และศาลชั้นต้นไม่ได้ให้คู่ความตีราคาที่พิพาทใหม่ก็ตามก็คำนวณเอาจากมาตราส่วนในแผนที่วิวาทได้ว่าที่ดินที่พิพาทกันเนื้อที่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของที่ที่โจทก์ฟ้องทั้งหมด ส่วนราคาของที่พิพาทนั้นเมื่อรวมค่าเสียหายอีก 300 บาท ก็ไม่เกินห้าพันบาท เพราะที่ของโจทก์ 10 ไร่1 งาน โจทก์ตีราคามาเพียง 5,125 บาท คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เพียงแก้ไขเล็กน้อย โจทก์จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อน 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดก โดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้น ๆ ไม่
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรส ที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้
of 11