คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่สาธารณสมบัติสร้างความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียง เจ้าของที่ดินมีสิทธิเรียกร้องให้รื้อถอน
จำเลยสร้างคอกวัวและกองฟางไว้ในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินบังหน้าที่ดินของโจทก์ยาวประมาณ 10 วา เหลือช่องทางให้โจทก์เข้าออกสู่ถนนเพียง 2 วา อันทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้บริเวณหน้าที่ดินซึ่งมีความยาวถึง 12 วา เข้าออกสู่ถนนได้ตามสิทธิของโจทก์ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของจำเลยดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินการให้ความเสียหายและเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 และจำเลยมิอาจอ้างสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวโดยอายุความได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนคอกวัวและขนย้ายกองฟางดังกล่าวออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโดยประมาทเลินเล่อและไม่สุจริต เจ้าของที่ดินมีสิทธิเรียกร้องให้รื้อถอนได้
เมื่อจำเลยทั้งสามไม่พบหลักเขตที่ดินด้านที่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองก่อนหรือขณะทำการก่อสร้างอาคาร จำเลยทั้งสามก็ไม่เคยยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินหรือแจ้งแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียงให้ไประวังแนวเขตที่ดิน การที่จำเลยทั้งสามปลูกสร้างอาคารถาวรลงในที่ดินของตนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและถือว่าไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการครอบครองที่ดินและการฟ้องเรียกคืนภายในอายุความ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้จำเลยรื้อถอนและชดใช้ค่าเสียหาย
เดิมศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ 2 ข้อ ต่อมาได้กำหนดประเด็นพิพาทเพิ่มว่า โจทก์ฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยครอบครองหรือไม่ โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ขอให้เพิกถอนประเด็นที่กำหนดเพิ่ม ถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นพิพาทเพิ่มแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งคำร้อง ว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงประเด็นพิพาทซึ่งกำหนดไว้แล้ว ให้ยกคำร้องโจทก์ก็ไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งในตอนหลังนี้อีก โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้อื่นแม้จะต่อสู้ด้วยว่า โจทก์ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ก็ไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทในเรื่องนี้จึงไม่ชอบ และแม้ศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็น & การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางเข้าออกที่ดิน
ภริยาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้แบ่งขายที่ดินให้ผู้อื่นรวมทั้งโจทก์ โดยตกลงยินยอมให้ผู้ซื้อที่ดินใช้ถนนที่ยังเป็นที่ดินของผู้ขายและอยู่ติดที่ดินที่โจทก์ซื้อเพื่อเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้ การที่จำเลยก่อรั้วอิฐบล็อกและปักเสาคอนกรีตตามแนวรั้วอิฐบล็อกปิดขวางหน้าที่ดินที่โจทก์ซื้อตลอดแนว ทำให้โจทก์ได้รับความไม่สะดวกในการเข้าออกบ้านโจทก์ในที่ดินที่ซื้อสู่ที่ดินของภริยาจำเลยที่ยังคงอนุญาตให้โจทก์ใช้เพื่อออกสู่ถนนสาธารณะดังที่เคยได้รับ เป็นการทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร โจทก์จึงมีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือนร้อนนั้นให้สิ้นไปด้วยการฟ้องคดีให้จำเลยรื้อถอนไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1337 และแม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำดังกล่าวในที่ดินซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ ก็ไม่ใช่เป็นข้อสาระสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณารับฟังได้ด้วยข้อกฎหมายบทใด ศาลย่อมวินิจฉัยปรับบทบังคับไปตามกฎหมายนั้น ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินมรดก: ศาลใช้ดุลพินิจให้ส่วนแบ่งแก่จำเลยเพื่อหลีกเลี่ยงความเดือดร้อนจากการรื้อถอนบ้าน
เมื่อศาลเห็นว่าหากการแบ่งที่ดินแปลงพิพาทซึ่งโจทก์ทั้งสามและจำเลยเป็นเจ้าของรวมถึงกับต้องให้จำเลยรื้อบ้านที่เป็นของจำเลยและจำเลยได้อาศัยอยู่ตลอดมาเป็นเวลานานเกินกว่า10ปีออกไปอันเป็นการเดือดร้อนแก่จำเลยแล้วศาลย่อมใช้ดุลพินิจให้แบ่งที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยตรงที่บ้านจำเลยปลูกอาศัยอยู่ได้โดยไม่ให้เกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยได้รับส่วนแบ่งหาจำต้องสั่งให้ทำการประมูลหรือขายทอดตลาดที่ดินแปลงพิพาทแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ทุกกรณีไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ผูกพันเจ้าของที่ดินรายใหม่ เจ้าของเดิมและผู้เช่าต้องรื้อถอน
ก่อนโจทก์ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลว. เจ้าของเดิมได้ตกลงให้จำเลยที่ 1 เช่าโดยให้จำเลยที่ 1ทำการก่อสร้างตึกแถวบนที่ดินและมีสิทธินำไปให้บุคคลอื่นเช่าต่อได้เป็นระยะเวลา 20 ปี เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วให้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นของ ว. แต่ข้อตกลงการเช่าดังกล่าวมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน จึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่าง ว. กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์เพราะโจทก์มิได้ยอมตกลงกับจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1จึงไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวคงอยู่ต่อไปในที่ดินของโจทก์ได้ต้องรื้อถอนออกไป จำเลยที่ 2 แม้จะจดทะเบียนสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นบริวารของจำเลยที่ 1 ต้องออกไปด้วยกรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนตึกแถวที่เช่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินก่อนการซื้อโดยบุคคลภายนอก ไม่มีผลผูกพันผู้ซื้อที่ดิน ผู้ซื้อมีสิทธิรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ก่อนโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลว.เจ้าของเดิมได้ตกลงให้จำเลยที่1เช่าโดยให้จำเลยที่1ทำการก่อสร้างตึกแถวบนที่ดินพิพาทที่เช่าและมีสิทธินำไปให้บุคคลอื่นเช่าต่อได้เป็นระยะเวลา20ปีเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วให้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของว. แต่ข้อตกลงการเช่าระหว่างจำเลยที่1กับว. ดังกล่าวมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาเช่าระหว่างว.กับจำเลยที่1จึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่างว. กับจำเลยที่1เท่านั้นไม่มีผลผูกพันโจทก์เพราะโจทก์มิได้ยอมตกลงกับจำเลยที่1ด้วยเมื่อสัญญาไม่ผูกพันโจทก์จำเลยที่1ก็ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวคงอยู่ต่อไปในที่ดินของโจทก์ได้จำเลยที่1จึงต้องรื้อถอนตึกแถวออกไปส่วนค่าเสียหายมีอยู่อย่างใดจำเลยที่1ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนต่อไป จำเลยที่2แม้จะจดทะเบียนสัญญาเช่ากับจำเลยที่1มีกำหนด20ปีก็ตามเมื่อจำเลยที่1ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่2เป็นบริวารของจำเลยที่1ต้องออกไปด้วยกรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนตึกแถวที่เช่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้ คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้ค่าเช่าได้ในขณะที่ยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในแหล่งการค้ารถยนต์เข้าไม่ได้และมีเนื้อที่เพียง9ตารางวาเศษเฉพาะที่ดินพิพาทจึงไม่อาจให้เช่าได้สูงกว่าเดือนละ100บาทที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ2,000บาทจึงสูงเกินไปนั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินที่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ไม่มีผลผูกพันต่อเจ้าของที่ดินรายใหม่ ผู้เช่าต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ก่อนโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลนั้นว.เจ้าของเดิมได้ตกลงให้จำเลยที่1เช่าโดยให้จำเลยที่1ทำการก่อสร้างตึกแถวบนที่ดินพิพาทที่เช่าและมีสิทธินำไปให้บุคคลอื่นเช่าต่อได้เป็นระยะเวลา20ปีโดยเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วให้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวที่สร้างบนที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของว. แต่ข้อตกลงการเช่าดังกล่าวระหว่างจำเลยที่1กับว. มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาเช่าระหว่างว.กับจำเลยที่1ดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่างว. เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมกับจำเลยที่1เท่านั้นไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่1แม้โจทก์ทราบข้อสำคัญนี้ก็ไม่ผูกพันโจทก์เพราะโจทก์มิได้ยอมตกลงกับจำเลยที่1ด้วยจำเลยที่1ไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะให้ตึกแถวนี้คงอยู่ต่อไปในที่ดินของโจทก์ได้จำเลยที่1จึงต้องรื้อถอนตึกแถวออกไปส่วนจำเลยที่1เสียหายอย่างใดก็จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนต่อไปและสำหรับจำเลยที่2นั้นแม้จะจดทะเบียนสัญญาเช่ากับจำเลยที่1มีกำหนด20ปีก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่1ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่2เป็นบริเวณของจำเลยที่1กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนตึกแถวที่เช่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยกำแพงแยกจากโรงเรือน ไม่ถือเป็นโรงเรือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยต้องรื้อถอน
เสากำแพงที่แยกต่างหากจากเสาโรงเรือน ไม่ใช่ส่วนหนึ่ง ของโรงเรือนอันจะถือเป็นโรงเรือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคแรก ฉะนั้นจำเลยจะอ้างว่าก่อสร้างกำแพงรุกล้ำโดยสุจริตไม่ต้องรื้อถอนตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนที่มิได้จดทะเบียน ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยที่ 1 ออกเงินปลูกสร้างตึกแถวให้ ว.เจ้าของที่ดินเดิม และ ว.ยอมให้จำเลยที่ 1 เอาตึกแถวดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 2 เช่ามีกำหนดเวลารวม 20 ปี เป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิอันผูกพันจำเลยที่ 1 กับ ว.คู่สัญญา โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบ 20 ปีแล้ว ให้ตึกแถวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ว.ทันที แต่ข้อตกลงนี้มิได้จดทะเบียนสิทธิเป็นสิทธิเหนือพื้นดิน จึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะทราบสัญญานี้ก็ไม่ผูกพันโจทก์เพราะโจทก์มิได้ยินยอมตกลงกับจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะให้ตึกแถวนั้นคงอยู่ต่อไปในที่ดินของโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนตึกแถวออกไป ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะจดทะเบียนสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์ได้แล้ว ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นบริวารของจำเลยที่ 1จึงต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย
of 40