พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและการไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารที่นายช่างตรวจพบว่าไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้ หากเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามหรือไม่อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคารภายใน 15 วัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็มีอำนาจรื้อถอนอาคารนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา11 ทวิ วรรคสาม การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรื้อถอนอาคารจึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหายฯ เช่นรื้อถอนตึกแถวลง ย่อมเป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้ว ไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของจนวัตถุก่อสร้างสูญหายไปนั้นหาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหายฯ เช่นรื้อถอนตึกแถวลง ย่อมเป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้ว ไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของจนวัตถุก่อสร้างสูญหายไปนั้นหาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-330/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรื้อถอนอาคารของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร แม้ผู้เช่าจะได้รับผลกระทบ
เมื่อคณะเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพ ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ฟ้องเจ้าของอาคารให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 11 และศาลพิพากษาให้เจ้าของรื้อ ถ้าไม่รื้อก็ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจรื้อแล้ว เจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจรื้อได้ทีเดียวตามคำพิพากษานั้น โดยไม่ต้องฟ้องบุคคลซึ่งอยู่ในอาคารนั้นอีก เพราะกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดำเนินการต่อเจ้าของอาคารและฟ้องเจ้าของอาคาร มิได้บัญญัติให้ดำเนินการหรือฟ้องผู้เช่า หรือบุคคลอื่นซิ่งมิได้อยู่ในฐานะเจ้าของอาคารให้รื้อถอน การกระทำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจึงไม่เป็นการละเมิดต่อผู้เช่าหรือบุคคลอื่นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการสั่งรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี
การที่จะให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารที่ปลูกขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตนั้นตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ให้อำนาจศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ตามสมควรแก่กรณี อาจเพียงให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยไม่ต้องรื้อถอนก็ได้หาใช่ว่าเมื่อมีเอกชนผู้ใดทำการปลูกสร้างอาคารขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตแล้วศาลจะต้องสั่งบังคับให้รื้อถอนอาคารนั้นเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับการรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: คณะเทศมนตรีมีอำนาจฟ้องได้
คณะเทศมนตรีเทศบาลเมืองในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ๆ ให้รื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างเพิ่มเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้
การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องฐานกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ๆ ได้ตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า จะยอมรื้อถอนอาคารไปภายในกำหนด 1 ปี นั้น ย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว และการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานั้นได้ถอนคดีอาญาไป ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการตกลงที่ให้โจทก์-ได้รับผลตามต้องการและแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน.
การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องฐานกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ๆ ได้ตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า จะยอมรื้อถอนอาคารไปภายในกำหนด 1 ปี นั้น ย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว และการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานั้นได้ถอนคดีอาญาไป ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการตกลงที่ให้โจทก์-ได้รับผลตามต้องการและแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเทศบาลฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
คณะเทศมนตรีเทศบาลเมืองในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ให้รื้อถอนอาคารฯที่ปลูกสร้างเพิ่มเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้
การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องฐานกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯได้ตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า จะยอมรื้อถอนอาคารไปภายในกำหนด1 ปี นั้น ย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว และการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานั้นได้ถอนคดีอาญาไป ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการตกลงที่ให้โจทก์ได้รับผลตามต้องการและแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องฐานกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯได้ตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า จะยอมรื้อถอนอาคารไปภายในกำหนด1 ปี นั้น ย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว และการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานั้นได้ถอนคดีอาญาไป ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการตกลงที่ให้โจทก์ได้รับผลตามต้องการและแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586-589/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารต่อเติม และอายุความตาม ป.พ.พ. เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารไม่มีกำหนดอายุความ
ต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจนถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้ว คณะเทศมนตรีเทศบาลโดยนายกเทศมนตรีมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นได้ เพราะถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร 2479 มาตรา 11 วรรค 2 การฟ้องคดีขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้น พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร 2479 มาตรา 11 วรรค 2 ให้อำนาจไว้ มิใช่มีฐานะเป็นผู้เสียหาย จึงไม่อยู่ในบังคับเรื่องอายุความตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 51 และต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีรื้อถอนอาคาร: การบังคับบุคคลภายนอกคดี
เทศบาลฟ้องขอให้จำเลยรื้ออาคารเพราะอาคารชำรุดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างฯ ศาลพิพากษาให้จำเลยจัดการรื้อ จำเลยว่ารื้อไม่ได้เพราะมีคนเช่าอยู่และอาศัยอยู่เช่นนี้โจทก์ชอบที่จะดำเนอนการตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11,12 จะมาร้องขอให้ศาลบังคับผู้อาศัย ผู้เช่าให้ออกจากที่พิพาทไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องฟ้องเขาเป็นคดีต่างหากจึงจะบังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับรายวันจากการฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคาร แม้จะยกอาคารให้เป็นสาธารณสมบัติ ก็ยังต้องชำระจนกว่าจะรื้อถอน
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร วันละ 100 บาท นับแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งหมายความว่า จำเลยต้องชำระค่าปรับรายวันในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 และ 66 ทวิ วรรคสอง ดังนั้น จำเลยจึงต้องชำระค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 42 กล่าวคือ จนกว่าจำเลยจะได้รื้อถอนอาคารพิพาทตามมาตรา 42 แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงตามทางไต่สวนไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอนอาคารพิพาทแล้ว จำเลยจึงยังคงต้องชำระค่าปรับรายวันตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต่อไปจนกว่าจะได้รื้อถอนอาคารพิพาท
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจงดการบังคับชำระค่าปรับรายวันเพราะเหตุจำเลยได้ยกอาคารพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์แล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจงดการบังคับชำระค่าปรับรายวันเพราะเหตุจำเลยได้ยกอาคารพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10387/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: ศาลแพ่งไม่มีอำนาจ ผู้มีอำนาจคือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
แม้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 73 บัญญัติว่า "ในกรณีมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรืออาคารที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับอาคารที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นหรือบุคคลซึ่งความเป็นอยู่หรือใช้สอยที่ดินหรืออาคารถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา" ก็ตาม แต่ฐานะของผู้เสียหายตามที่บัญญัติในมาตรา 73 ดังกล่าวเป็นสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อจำเลยผู้กระทำความผิดเท่านั้น อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารหรือส่วนต่อเติมที่ผิดกฎหมายถือเป็นมาตรการที่จะบังคับกันในทางแพ่ง ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตลอดจนวิธีการที่เจ้าพนักงานจะปฏิบัติเป็นขั้นตอนไปดังปรากฏตามมาตรา 40 และ 42 ในหมวด 4 ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องบังคับจำเลยเพื่อให้รื้อถอนระเบียงที่ต่อเติมผิดกฎหมายอันเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13689/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารรุกล้ำเขตที่ดิน แม้ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง ก็ยังต้องรับผิดชอบต่อการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เมื่ออาคารที่จำเลยครอบครองต่อจาก ส. ซึ่งถึงแก่ความตาย ปลูกสร้างห่างจากเขตที่ดินข้างเคียง 45 เซนติเมตร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงและเทศบัญญัติของเทศบาลเมืองสวรรคโลก เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2500 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 แม้ก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนดข้อยกเว้นให้สามารถก่อสร้างผนังของอาคารห่างเขตที่ดินน้อยกว่า 50 เซนติเมตรได้ หากได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงในกรณีก่อสร้างชิดเขตที่ดิน และ ช. เจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ทำหนังสือยินยอมเช่นว่าให้แก่ ส. ซึ่งเข้าข้อยกเว้นดังกล่าว อันแตกต่างไปจากกฎหมายเดิมที่ใช้ขณะจำเลยกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นกฎหมายยกเว้นความผิดของจำเลยที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นความผิดสำเร็จไปแล้วกลับกลายเป็นไม่เป็นความผิด จำเลยจึงยังไม่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 แต่เมื่อจำเลยไม่ต้องรื้อถอนอาคารพิพาทโดยผลของกฎหมายดังกล่าว ก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยรายวันไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ คงลงโทษปรับจำเลยรายวันได้เพียงถึงวันก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษปรับรายวันนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป อันเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นแม้เป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษปรับรายวันนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป อันเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นแม้เป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225