คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รุกล้ำที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการก่อสร้างโดยสุจริต การฟ้องค่าเสียหายและภารจำยอม
แม้ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์อย่างไร ส่วนไหน ขนาดกว้างยาวเท่าไร อยู่ทางทิศไหนของที่ดิน ก็หาเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ เพราะข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมานั้นเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นและควบคุมดูแลการชี้แนวเขตและทำการก่อสร้าง แต่ไม่ทราบว่ามีการก่อสร้างคลาดเคลื่อนทำให้ตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดิน: สิทธิการรื้อถอนและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์ประมาณร้อยละ70 ส่วนอีกร้อยละ 30 ปลูกอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น ตามป.พ.พ. มาตรา 1310, 1311 หาใช่เป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามมาตรา 1312 ไม่
การที่จำเลยทั้งสี่ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินของโจทก์ โดยรู้ว่าไม่มีสิทธิเช่นนั้น จึงเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ตามมาตรา 1311 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านส่วนนที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไป และจำเลยต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนแก่โจทก์โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีเจตนากระทำความผิดอาญา หาใช่การกระทำโดยมีเจตนา-สุจริตตามความหมายในคดีส่วนแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในชั้นฎีกา: คดีรุกล้ำที่ดินราคาไม่เกิน 2 แสน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกจากที่ดินโจทก์ กับทำที่ดินให้กลับอยู่ในสภาพเดิม จำเลยให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมิได้ครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงมิได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ และโจทก์ซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อที่พิพาทมีเนื้อที่เพียงประมาณ4 ตารางวา ไม่อาจมีราคาเกินกว่า 200,000 บาท จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและละเมิด: จำเลยต้องรื้อถอนรั้วคอนกรีตที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แม้เคยเข้าใจผิดร่วมกัน
ในขณะที่จำเลยก่อสร้างรั้วคอนกรีต จำเลยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการก่อสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำที่ดินของโจทก์ เพราะทั้งโจทก์และจำเลยต่างเข้าใจโดยสุจริตด้วยเหตุสำคัญผิดว่าที่ดินส่วนที่จำเลยสร้างรั้วคอนกรีตเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินจำเลย แต่เมื่อจำเลยรู้ในภายหลังว่าที่ดินส่วนนั้นมิใช่ที่ดินของจำเลยแล้ว นับแต่วันที่จำเลยรู้เช่นนั้น จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะคงไว้ซึ่งรั้วคอนกรีตนั้นอีกต่อไป จำเลยจะต้องรื้อถอนรั้วดังกล่าวออกจากที่ดินของโจทก์ หากจำเลยไม่รื้อถอนจำเลยก็ได้ชื่อว่าจงใจกระทำละเมิด ต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีต และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตจากเจ้าของเดิม โจทก์มีสิทธิแค่เรียกค่าใช้ที่ดิน
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของมารดาโจทก์และบิดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน มีบ้านปลูกอยู่ 6 หลัง รวมทั้งบ้านโจทก์และบ้านจำเลยต่อมาโจทก์ได้ฟ้องผู้จัดการมรดกของบิดาจำเลยขอแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าว แล้วตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยแบ่งที่ดินกันฝ่ายละครึ่ง เมื่อมีการรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งแยกโฉนดปรากฏว่าบ้านของจำเลยที่ปลูกสร้างมากว่า 50 ปีแล้ว อยู่ในเขตที่ดินโจทก์ประมาณ 18 ตารางวา เช่นนี้ กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้บังคับ โดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งคือมาตรา 1312วรรคหนึ่ง เมื่อบ้านของจำเลยปลูกล้ำอยู่ในที่ดินของโจทก์ โดยเจ้าของเดิมเป็นผู้ปลูกสร้าง มิใช่จำเลยปลูกสร้าง ทั้งโจทก์และจำเลยต่างรับโอนที่ดินและบ้านอีกทอดหนึ่ง ถือได้ว่าการรุกล้ำเป็นมาโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านรุกล้ำ คงมีสิทธิเรียกค่าใช้ที่ดินเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต เจ้าของโรงเรือนมีสิทธิใช้ที่ดินนั้นได้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแทนจำเลยร่วมและเป็นผู้ว่าจ้างต่อเติมผนังตึกแถวพิพาทแทนจำเลยร่วมด้วย ดังนั้นการจ้างช่างมาต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จึงกระทำโดยจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน มิใช่ผู้อื่นเป็นผู้สร้าง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยร่วมได้รู้ว่าได้สร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์จึงต้องถือว่า จำเลยร่วมสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคหนึ่งโจทก์ไม่มีอำนาจให้จำเลยร่วมรื้อถอนผนังตึก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต เจ้าของอาคารไม่ต้องรื้อถอน มีสิทธิใช้ที่ดินและชดใช้ค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต ให้ยกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยร่วมเรียกค่าใช้ที่ดิน ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยร่วมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำ ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า อาคารที่รุกล้ำเป็นของจำเลยร่วม ไม่ใช่ของจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลย จึงไม่มีปัญหาข้อใดที่จำเลยต้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้ ที่ดินพร้อมตึกแถวของโจทก์ทั้งสองกับที่ดินพร้อมตึกแถวของจำเลยร่วม อยู่ติดกันใช้ตงและคานร่วมกัน เดิมจำเลยได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารแล้วชำระเงินในชื่อของจำเลยร่วมเป็นงวด ๆ เมื่อตกลงซื้อแล้วจะให้จำเลยร่วมโอนกรรมสิทธิ์ไป พฤติการณ์ถือได้ว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายแทนจำเลยร่วมระหว่างการซื้อขายได้มีการจ้างช่างมาต่อเติมอาคาร โดยโจทก์ทั้งสองกับมารดาร่วมกับจำเลยและผู้อยู่ในตึกแถวรายอื่น ๆ โดยนาง อ.ผู้จัดการมรดกของผู้ขายให้ความยินยอมแล้ว เมื่อจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายแทนจำเลยร่วมจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้จ้างต่อเติมอาคารแทนจำเลยร่วมด้วย ดังนั้นการจ้างช่างมาต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์กระทำหลังจากที่จำเลยร่วมเป็นผู้จะซื้อที่ดินและอาคารแล้วโดยจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่ปลูกสร้างเป็นผู้จ้างช่างมาสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์เอง มิใช่ผู้อื่นเป็นผู้สร้างอาคารที่รุกล้ำแล้วโอนให้จำเลยร่วม การปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับมารดาและจำเลยร่วมดำเนินการปลูกสร้างด้วยกัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยร่วมรู้ว่าได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์ทั้งสองจึงต้องถือว่าจำเลยร่วมสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยสุจริต กรณีจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง จำเลยร่วมจึงเป็นเจ้าของโรงเรือนคือผนังตึกที่สร้างขึ้นนั้น โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจให้รื้อถอนคงมีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยร่วมใช้ที่ดินของโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องขอบังคับ ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและละเมิดสิทธิการใช้ลำรางสาธารณะ จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลย โดยก่อสร้างระเบียงคร่อมลำรางสาธารณะจนติดผนังอาคารของโจทก์ และจำเลยได้สร้างประตูเหล็กยืดปิดกั้นลำรางสาธารณะ และช่องว่างระหว่างอาคารของโจทก์กับลำรางสาธารณะทางด้านหน้าทั้งหมด ลำรางสาธารณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เมื่อปรากฏว่าก่อนที่จำเลยจะสร้างประตูเหล็กยืดโจทก์ได้ใช้ลำรางสาธารณะเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกสำหรับลำเลียงสินค้าเข้าไปในร้าน ซึ่งลำรางสาธารณะนี้ติดกับด้านข้างที่ดินของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้เป็นทางเข้าออกได้ การที่จำเลยทำประตูเหล็กยืดปิดกั้น จึงทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้เป็นทางเข้าออกสำหรับลำเลียงสินค้าเข้าไปในร้านได้ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ข้างเคียงได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ทำประตูเหล็กให้รื้อถอนประตูเหล็กยืดออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: คำฟ้องแสดงสภาพแห่งข้อหาชัดเจน แม้ไม่ได้ระบุเวลาละเมิดหรือเจตนา
คำฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดเลขที่ 1674 พร้อมห้องแถวไม้ชั้นเดียวจำนวน 2 ห้อง เลขที่ 249 และ251 จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3052 พร้อมห้องแถวไม้ชั้นเดียวเลขที่ 253 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ ปรากฏว่าห้องแถวเลขที่ 253และรั้วสังกะสีของจำเลยรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1674 ของโจทก์รวมเนื้อที่รุกล้ำประมาณ 9 ตารางเมตร โจทก์แจ้งให้จำเลยแก้ไขหลายครั้งแล้วแต่จำเลยเพิกเฉยทำให้โจทก์เสียหายนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยชัดแจ้งแล้วว่าห้องแถวและรั้วของจำเลยปลูกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนที่ว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายว่ารุกล้ำโดยสุจริตหรือไม่ สุจริตอย่างไร และรุกล้ำทั้งหมดหรือแต่บางส่วนนั้น เป็นข้อที่จำเลยจะต่อสู้และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบได้ในภายหลังและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่า ห้องแถวและรั้วของจำเลยได้มีการปลูกสร้างมาก่อนที่บิดาจำเลยซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3052 จากเจ้าของเดิม
แม้ว่าสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องของโจทก์จะเป็นเรื่องละเมิดก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าห้องแถวไม้และรั้วของจำเลยรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ยอมรื้อถอนห้องแถวไม้และรั้วส่วนที่รุกล้ำออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ต่อเนื่องกันตลอดมาอีกทั้งโจทก์ก็ขอเพียงให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการขาดประโยชน์นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนส่วนที่รุกล้ำเสร็จเท่านั้น โจทก์หาได้เรียกค่าเสียหายตั้งแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องหรือค่าเสียหายอื่นนอกจากนี้อีก คำฟ้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้ แม้จะมิได้บรรยายว่าเหตุละเมิดเกิดเมื่อใดก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะไม่มีกรณีที่จำเลยจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องรุกล้ำที่ดินไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุวันละเมิด โจทก์ขอค่าเสียหายต่อเนื่องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอน
คำฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดเลขที่ 1674 พร้อมห้องแถวไม้ชั้นเดียวจำนวน 2 ห้อง เลขที่249 และ 251 จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3052พร้อมห้องแถวไม้ชั้นเดียวเลขที่ 253 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ ปรากฏว่าห้องแถวเลขที่ 253 และรั้วสังกะสีของจำเลยรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1674 ของโจทก์รวมเนื้อที่รุกล้ำประมาณ9 ตารางเมตร โจทก์แจ้งให้จำเลยแก้ไขหลายครั้งแล้วแต่จำเลยเพิกเฉยทำให้โจทก์เสียหายนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยชัดแจ้งแล้วว่าห้องแถวและรั้วของจำเลยปลูกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนที่ว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายว่ารุกล้ำโดยสุจริตหรือไม่ สุจริตอย่างไร และรุกล้ำทั้งหมดหรือแต่บางส่วนนั้น เป็นข้อที่จำเลยจะต่อสู้และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบได้ในภายหลังและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่า ห้องแถวและรั้วของจำเลยได้มีการปลูกสร้างมาก่อนที่บิดาจำเลยซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3052 จากเจ้าของเดิม แม้ว่าสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องของโจทก์จะเป็นเรื่องละเมิดก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าห้องแถวไม้และรั้วของจำเลยรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ยอมรื้อถอนห้องแถวไม้และรั้วส่วนที่รุกล้ำออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ต่อเนื่องกันตลอดมา อีกทั้งโจทก์ก็ขอเพียงให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการขาดประโยชน์นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนส่วนที่รุกล้ำเสร็จเท่านั้น โจทก์หาได้เรียกค่าเสียหายตั้งแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องหรือค่าเสียหายอื่นนอกจากนี้อีก คำฟ้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้ แม้จะมิได้บรรยายว่าเหตุละเมิดเกิดเมื่อใดก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะไม่มีกรณีที่จำเลยจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้
of 22