พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากเช็คปลอมและการละเลยดูแลทรัพย์สิน การแบ่งแยกหนี้ความรับผิด
การเบิกความของ ธ. ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับลายมือชื่อของ อ. เป็นการเบิกความไปตามความเห็นหรือความรู้สึกของ ธ. ในลายมือชื่อของ อ. ตามที่เห็นเท่านั้น กรณีไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าลายมือชื่อที่ ธ. เห็นตามเอกสารที่ทนายจำเลยที่ 3 นำมาถามค้านนั้น เป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของ อ. หรือเป็นลายมือชื่อปลอม และความเห็นของ ธ. เป็นความเห็นในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งมิใช่เช็คพิพาทในคดีนี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์รับรู้ถึงการใช้ลายมือชื่อปลอมของ อ. ในเช็คพิพาท อันจะถือได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามฟ้องได้
การที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เป็นผู้เก็บแบบพิมพ์เช็คและตราประทับของโจทก์ไว้ แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาแบบพิมพ์เช็คพิพาทที่มีการปลอมลายมือชื่อของ อ. ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ถึง 43 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานาน 3 ปี เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาทและตราประทับของโจทก์ รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีการนำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายแล้วใช้ตราประทับของโจทก์ประทับลงในเช็คพิพาทนำไปเบิกเงินจากจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 3 ได้ส่งรายการเดินบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ให้แก่โจทก์ทราบทุกเดือน หากโจทก์มีมาตรการตรวจสอบที่ดี ก็จะทราบถึงความผิดปกติในการใช้เช็คเบิกเงินออกจากบัญชีของโจทก์และสามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่านี้ แต่โจทก์กลับปล่อยปละไม่ตรวจสอบจนเวลาล่วงมาถึง 3 ปี จึงทราบเหตุละเมิดดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442
หนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียวเป็นการเฉพาะตัว โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และมูลหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินที่ได้จากการละเมิดต่อโจทก์มาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ก็มิใช่หนี้ร่วมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1490 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ร่วม
การที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เป็นผู้เก็บแบบพิมพ์เช็คและตราประทับของโจทก์ไว้ แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาแบบพิมพ์เช็คพิพาทที่มีการปลอมลายมือชื่อของ อ. ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ถึง 43 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานาน 3 ปี เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาทและตราประทับของโจทก์ รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีการนำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายแล้วใช้ตราประทับของโจทก์ประทับลงในเช็คพิพาทนำไปเบิกเงินจากจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 3 ได้ส่งรายการเดินบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ให้แก่โจทก์ทราบทุกเดือน หากโจทก์มีมาตรการตรวจสอบที่ดี ก็จะทราบถึงความผิดปกติในการใช้เช็คเบิกเงินออกจากบัญชีของโจทก์และสามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่านี้ แต่โจทก์กลับปล่อยปละไม่ตรวจสอบจนเวลาล่วงมาถึง 3 ปี จึงทราบเหตุละเมิดดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442
หนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียวเป็นการเฉพาะตัว โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และมูลหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินที่ได้จากการละเมิดต่อโจทก์มาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ก็มิใช่หนี้ร่วมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1490 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434-3440/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยควบคุมความปลอดภัยท่าเทียบเรือทำให้เกิดเหตุจมน้ำ เสียชีวิตและบาดเจ็บ ผู้ประกอบการต้องรับผิดชดใช้
จำเลยที่ 3 เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ การขนส่ง การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 89 (3) (6) (8) (9) และ (20) แม้จะให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเอกชนเช่าเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งมอบท่าเทียบเรือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวมทั้งควบคุมความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้แก่ประชาชนผู้มาใช้ท่าเทียบเรือและโป๊ะเทียบเรือ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมาย การปิดป้ายประกาศไว้เพียงอย่างเดียวย่อมไม่อาจป้องกันและควบคุมประชาชนจำนวนมากที่ต้องการใช้บริการเรือด่วนไม่ให้ลงไปอยู่บนโป๊ะเทียบเรือได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจอ้างการปิดป้ายประกาศดังกล่าวมาเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18033/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ดูแลผู้เยาว์ต่อความเสียหายจากเหตุไฟไหม้ จำเป็นต้องพิสูจน์การละเลยในการดูแล
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้เยาว์ จำเลยที่ 4 ที่ 5 เป็นผู้ดูแลจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 7 ที่ 8 เป็นผู้ดูแลจำเลยที่ 2 โดย ป.พ.พ. มาตรา 430 บัญญัติว่าให้ผู้รับดูแลผู้เยาว์จำต้องร่วมรับผิดกับผู้เยาว์ในการละเมิดซึ่งผู้เยาว์ได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เมื่อโจทก์กล่าวอ้างจำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งดูแลจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 ซึ่งดูแลจำเลยที่ 2 มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เล่นไฟแช็กแก๊ส ซึ่งบุคคลอื่นในวัยผู้เยาว์ไม่อาจเล่นได้ จึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบพิสูจน์ให้ได้ว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสมควร โดยปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เล่นไฟแช็กแก๊ส จนเกิดเพลิงไหม้ลุกลามทรัพย์สินของโจทก์ได้รับความเสียหาย แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบได้ความเพียงว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พากันมาเล่นอยู่บริเวณโรงจอดรถภายในลานรับซื้อไม้ยูคาลิปตัสของโจทก์จนเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ถังน้ำมันและเศษผ้าที่กองอยู่บริเวณด้านหน้ารถบรรทุกสิบล้อ หมายเลขทะเบียน 83 - 0776 อุดรธานี และไฟลุกลามไหม้รถบรรทุกสิบล้อดังกล่าว รวมทั้งรถพ่วงบรรทุกท้าย หมายเลขทะเบียน 81 - 9686 อุดรธานี กับรถแบ็คโฮ ของโจทก์ซึ่งจอดไว้ในโรงจอดรถได้รับความเสียหาย โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดว่าวันเกิดเหตุจำเลยที่ 4 ที่ 5 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสมควรหรือปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เล่นไฟแช็กแก๊ส แม้ได้ความว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซื้อไฟแช็กแก๊สจากร้านค้าและนำมาจุดเล่นกันบริเวณที่เกิดเหตุ แต่ข้อนี้จำเลยที่ 4 ที่ 5 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 ต่อสู้ว่า ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตามสมควรแก่หน้าที่แล้ว โดยจำเลยที่ 4 ที่ 5 นำสืบว่า ไม่เคยปล่อยให้จำเลยที่ 1 เล่นไฟ ไม่เคยใช้ให้ไปจุดไฟเผาขยะหรือใช้ให้ไปซื้อไฟแช็กแก๊สที่ร้านค้า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ไปเล่นที่ลานรับซื้อไม้ยูคาลิปตัส เนื่องจากบุตรเขยของจำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งเป็นลุงของจำเลยที่ 1 ทำงานที่ลานดังกล่าว และจำเลยที่ 7 และที่ 8 นำสืบว่าวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 7 และที่ 8 ออกจากบ้านไปงานศพตั้งแต่เช้า จึงพาจำเลยที่ 2 ไปฝากกับนางฉุยซึ่งเป็นพี่สาวของจำเลยที่ 6 โดยโจทก์มิได้คัดค้านข้อเท็จจริงที่นำสืบว่าไม่เป็นความจริง ประกอบกับโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าวันเกิดเหตุจำเลยที่ 4 ที่ 5 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างไร หรือรู้เห็นกับการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซื้อไฟแช็กแก๊สและนำมาจุดเล่นจนเกิดเพลิงลุกไหม้ทรัพย์สินโจทก์หรือเคยรู้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เล่นไฟแช็กแก๊สแล้วไม่ดูแลห้ามปราม ลำพังโจทก์เพียงปากเดียวที่เบิกความลอย ๆ จึงยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอ จำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15948/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาจ้างแปรสภาพ: ศาลลดค่าปรับเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญา แต่ผู้ว่าจ้างละเลยไม่บำบัดทุกข์
สัญญาจ้างแปรสภาพมันสำปะหลัง ข้อ 11 เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกำหนดเวลาการส่งมอบมันสำปะหลังเส้นตามที่โจทก์จะกำหนดให้ส่งมอบในแต่ละคราว หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบได้ทันตามเวลาที่โจทก์กำหนดหรือส่งมอบไม่ครบจำนวน และจำเลยที่ 1 มิได้บอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าปรับแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งมอบมันสำปะหลังเส้นแก่โจทก์และไม่บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญา แม้โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อล่วงเลยเกินกว่า 7 ปี จะถือว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ เพราะตามสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดหน้าที่ให้โจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ก่อน จึงจะมีสิทธิเรียกค่าปรับได้ แต่ที่โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาภายในเวลาอันสมควรแต่ปล่อยปละละเลยจนค่าปรับมีจำนวนสูงเกินสมควร ถือว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหาย ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ให้เช่ารถบรรทุกต่อการบรรทุกเกินน้ำหนัก โดยละเลยการควบคุมดูแลลูกจ้าง
ผู้ร้องมีรถบรรทุกของกลางไว้เพื่อรับจ้าง การที่ผู้ร้องขึงผ้ากระสอบไว้เพื่อกำหนดความสูงมิให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างบรรทุกน้ำหนักเกิน และกำชับจำเลยไม่ให้บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นเพียงวิธีการควบคุมเบื้องต้นและเป็นเรื่องภายในระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ตรวจตราโดยหาวิธีอื่นมาควบคุมมิให้จำเลยบรรทุกน้ำหนักเกินอีกด้วย มิใช่ปล่อยให้จำเลยขับรถบรรทุกของกลางไปบรรทุกข้าวเปลือกโดยไม่ควบคุมดูแลการบรรทุก ดังนั้น การที่ผู้ร้องปล่อยปละละเลยจนจำเลยขับรถบรรทุกของกลางบรรทุกข้าวเปลือกน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าหน้าที่รัฐอนุมัติจ้างเหมาเอื้อประโยชน์พวกพ้องละเลยการแข่งขันราคา
จำเลยที่ 1 ตำแหน่งนายกเทศมนตรี มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย กับมีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อและสั่งจ้างในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 จำเลยที่ 1 ลงนามอนุมัติสั่งซื้อและสั่งจ้างโดยทราบข้อเท็จจริงเป็นอย่างดีแล้วว่าการดำเนินการจ้างเหมาประกอบอาหารขัดต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุไม่รู้ระเบียบมาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่ ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดเทศบาล มีหน้าที่ควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แม้จะไม่มีหน้าที่ในการตรวจสอบระเบียบการดำเนินการจ้างโดยตรง และไม่มีอำนาจอนุมัติการจ้าง รวมทั้งไม่มีหน้าที่ในการตรวจรับการจ้างก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบรายงานที่ต้องเสนอจำเลยที่ 1 พิจารณาอนุมัติตามลำดับชั้น จำเลยที่ 2 ลงนามในบันทึกขออนุมัติตกลงจ้างโดยวิธีตกลงราคาทั้งที่รู้ว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่ผิดระเบียบ เสนอให้จำเลยที่ 1 ลงนาม โดยมีการดำเนินการในลักษณะเร่งรีบและรวบรัดเพื่อจะกำหนดตัวผู้รับจ้างได้เอง อันเป็นพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำไปเพื่อช่วยเหลือให้ ก. และ ส. เป็นผู้รับจ้างทำสัญญากับเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นเหตุให้เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อมได้รับความเสียหาย ไม่อาจพิจารณาคัดเลือกหาผู้รับจ้างที่เสนอราคาต่ำที่สุดจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีสอบราคาได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 157 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาเงินค่าอาหาร หรือทรัพย์ใด ๆ ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม ในโครงการส่งเสริมสนับสนุนงานสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151
สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองคลัง ย่อมมีอำนาจหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบกำกับดูแลภายในกองคลัง ทั้งยังมีฐานะเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และมีหน้าที่ตรวจสอบรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน การรับรองสิทธิการเบิกเงินงบประมาณ การควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน และเป็นฝ่ายตรวจอนุมัติฎีกาและควบคุมงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบรับรองความถูกต้อง การปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และมติรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตามคำสั่งเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อมย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม แต่จำเลยที่ 3 กลับปล่อยให้มีการอนุมัติจัดจ้างด้วยวิธีการที่ขัดต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 โดยไม่ทักท้วง และเสนอความเห็นทำนองรับรองความถูกต้องในการปฏิบัติตามระเบียบ เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 (เดิม) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 ตามมาตรา 157 (เดิม) ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และจำเลยที่ 3 ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ในการอนุมัติและเห็นชอบให้มีดำเนินการจ้างเหมาประกอบโดยวิธีตกลงราคาทั้งที่ตามระเบียบจะต้องดำเนินการจ้างโดยวิธีสอบราคา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทำไปโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และเป็นไปในทางเอื้ออำนวยให้ ก. และ ส. เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญาจ้างกับเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม โดยจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลหนองไผ่ล้อมจึงเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองคลัง ย่อมมีอำนาจหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบกำกับดูแลภายในกองคลัง ทั้งยังมีฐานะเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และมีหน้าที่ตรวจสอบรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน การรับรองสิทธิการเบิกเงินงบประมาณ การควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน และเป็นฝ่ายตรวจอนุมัติฎีกาและควบคุมงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบรับรองความถูกต้อง การปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และมติรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตามคำสั่งเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อมย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม แต่จำเลยที่ 3 กลับปล่อยให้มีการอนุมัติจัดจ้างด้วยวิธีการที่ขัดต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 โดยไม่ทักท้วง และเสนอความเห็นทำนองรับรองความถูกต้องในการปฏิบัติตามระเบียบ เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 (เดิม) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 ตามมาตรา 157 (เดิม) ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และจำเลยที่ 3 ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ในการอนุมัติและเห็นชอบให้มีดำเนินการจ้างเหมาประกอบโดยวิธีตกลงราคาทั้งที่ตามระเบียบจะต้องดำเนินการจ้างโดยวิธีสอบราคา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทำไปโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และเป็นไปในทางเอื้ออำนวยให้ ก. และ ส. เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญาจ้างกับเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม โดยจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลหนองไผ่ล้อมจึงเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12