คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเว้นหน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10787/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างละเว้นหน้าที่รายงานการขายรถยนต์ ทำให้เกิดการทุจริต และร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม มีหน้าที่ดูแลการขายรถยนต์และรับเงินค่าขายรถยนต์จากลูกค้าของโจทก์ร่วม การที่จำเลยปกปิดข้อเท็จจริง ละเว้นไม่รายงานจำนวนรถยนต์ของโจทก์ร่วมที่ขายให้แก่ลูกค้าและไม่รายงานการนำรถยนต์ออกไปจากโกดังตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจนทำให้การกระทำความผิดสำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการ แม้ต่อมาภายหลังจะรายงานจำนวนรถยนต์ต่อโจทก์ร่วมตามความเป็นจริง ก็เป็นการรายงานหลังจากที่ตรวจพบถึงการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายแล้ว ไม่อาจทำให้การกระทำของจำเลยกลับกลายไม่เป็นความผิด
ส. และจำเลยรับมอบเงินค่าขายรถยนต์ของโจทก์ร่วมจากลูกค้า เป็นเพียงการรับเงินไว้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินของโจทก์ร่วมและยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยร่วมกับพวกเอาเงินดังกล่าวของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) วรรคแรก มิใช่เป็นความผิดฐานยักยอก
แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจะแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงรายละเอียด มิใช่ข้อที่เป็นสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8579/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องกรรมการละเว้นหน้าที่และเสียหายของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่เข้าข่ายมาตรา 73 ป.พ.พ.
คำร้องขอของผู้ร้องที่อ้างว่ากรรมการของบริษัทละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้รับความเสียหาย ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนของนิติบุคคลและมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 73 หรือเป็นเรื่องที่นิติบุคคลไม่สามารถดำเนินการได้อันเนื่องมาจากผู้แทนบางคนไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่จึงไม่อาจนำมาตรา 73 มาบังคับใช้ในฐานะบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดพนักงานและองค์ประกอบความผิดฐานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีเสนอความเห็นตามระเบียบ
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2555 ข้อ 20 กำหนดว่า "การแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และประเมินผลงานของหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน ให้คณะกรรมการตรวจสอบเสนอคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อพิจารณา โดยให้ผู้บริหารสูงสุดเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาด้วย" ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบมีมติเสนอแต่งตั้งให้โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายในเสนอต่อคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์เพื่อพิจารณา จำเลยในฐานะผู้บริหารสูงสุดมีหน้าที่ต้องเสนอความเห็นให้แก่คณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาด้วย หากการเสนอความเห็นของจำเลยเป็นไปโดยมิชอบหรือโดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง ส่วนปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยได้เสนอความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ครั้งที่ 9/2556 และครั้งที่ 1/2557 ว่าควรเปิดให้มีการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน โดยจำเลยได้ยืนยันต่อที่ประชุมว่าไม่ได้ขัดข้องในเรื่องของตัวบุคคลและยินดีสนับสนุน และข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2555 ข้อ 20 นั้นไม่ได้บังคับไว้ว่า การเสนอความเห็นของผู้บริหารสูงสุดต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ผู้บริหารสูงสุดจึงสามารถที่จะเสนอความเห็นด้วยวาจาต่อที่ประชุมคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้ ดังนั้น การแสดงความเห็นด้วยวาจาของจำเลยดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นการเสนอความเห็นให้แก่คณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์เพื่อประกอบการพิจารณาว่าสมควรแต่งตั้งให้โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายในตามที่คณะกรรมการตรวจสอบเสนอหรือไม่ อันเป็นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2555 ข้อ 20 แล้ว ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์มีมติรับทราบและมอบหมายให้จำเลยรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป มติดังกล่าวย่อมไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยเพราะจำเลยไม่มีอำนาจสั่งให้มีการสรรหาบุคคลเพื่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายในได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6791/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานเบียดบัง/ละเว้นหน้าที่ และความผิดทุจริตต่อหน้าที่ ปรับแก้โทษจำคุก
เงินการฌาปนกิจสงเคราะห์ที่หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักพระราชวังจัดส่งมาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบนำส่งกองคลัง สำนักพระราชวัง สำหรับจัดสรรเป็นสวัสดิการเกี่ยวกับการฌาปนกิจสงเคราะห์ของสมาชิกที่ล้วนเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างหน่วยงานกิจการในพระองค์ ถือเป็นกิจการภายในของส่วนราชการ มิได้มีวัตถุประสงค์จัดตั้งให้เป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่มีกฎหมายบังคับให้จดทะเบียนและมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 5 โดยงานการฌาปนกิจสงเคราะห์ของสำนักพระราชวังมีระเบียบใช้บังคับเป็นการเฉพาะ ดังนี้ กรณีที่เกิดความเสียหายแก่เงินที่ข้าราชการหรือลูกจ้างกิจการในพระองค์จัดส่งมาสำหรับใช้ในกิจการดังกล่าว สำนักพระราชวังที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเงินในส่วนนี้ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทุจริตเงินดังกล่าวได้ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง และการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นการสอบสวนและไต่สวนที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ - การสวมรอยรับเงินค่าจ้าง - การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
เจ้าพนักงานผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 ต้องมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆ และใช้อำนาจในตำแหน่งแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายจากตัวทรัพย์นั้น โดยไม่ได้เอาตัวทรัพย์ไป ไม่ใช่เพียงแต่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นเท่านั้น
ตามฟ้องไม่ได้บรรยายโดยชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์อันเป็นวัตถุมีรูปร่างอันใด ทั้งไม่ได้ระบุหรืออ้างถึงองค์ประกอบของความผิดตามมาตรานี้อีกข้อหนึ่งที่ระบุว่า ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสาระสำคัญ และเป็นฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 151
of 9