คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลิขสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8835/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์จากต่างประเทศ: ข้อเท็จจริงที่ต้องบรรยายในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวในคำฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีอยู่ด้วยดังที่จำเลยอุทธรณ์ก็ตาม ฟ้องของโจทก์ก็ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่ต้องบรรยายในคำฟ้องตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 42 ซึ่งถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แล้ว ซึ่งมาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวมิได้บัญญัติให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8835/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานจากต่างประเทศ: ฟ้องชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่ระบุหลักเกณฑ์คุ้มครองของประเทศนั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 61 โดยกล่าวในฟ้องว่างานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ตามคำฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นประเทศภาคแห่งอนุสัญญากรุงเบอร์ว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดรายชื่อประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรืออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง ลงวันที่ 15พฤษภาคม 2539 จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องครบถ้วนตามบทบัญญัติมาตรา 61 แห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวในคำฟ้องว่า กฎหมายของเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีอยู่ด้วยก็ตาม ฟ้องของโจทก์ก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่ต้องบรรยายในคำฟ้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 42ซึ่งถูกเลิกโดยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ส่วนมาตรา 61แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศอีกต่อไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7822/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์เพลง: สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์หลังการซื้อขาย และขอบเขตการอนุญาตใช้สิทธิ
คำฟ้องเป็นเพียงการบรรยายสรุปถึงความเกี่ยวพันกันระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งห้าเพื่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำการใดให้โจทก์ต้องได้รับความเสียหาย รวมทั้งคำขอบังคับที่จะให้จำเลยทั้งห้ารับผิดต่อโจทก์อย่างไรพอให้เข้าใจกันได้เท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ซึ่งซื้อมาจากจำเลยที่ 3 จำเลยทั้งห้าร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์เพลงพิพาท โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 นำเพลงพิพาทไปทำดนตรีขึ้นใหม่แล้วให้นักร้องร้องบันทึกลงในแถบเสียงออกจำหน่ายทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงให้เห็นแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาจำเลยทั้งห้าเพื่อที่จะขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดต่อโจทก์ให้เป็นที่เข้าใจได้ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ทั้งคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยทั้งห้าแต่ละคนต่างคนต่างทำละเมิดต่อโจทก์ และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอบังคับเอากับจำเลยทั้งห้าแต่ละคนให้รับผิดในส่วนของแต่ละคนที่จะเป็นฟ้องเคลือบคลุมไปได้ สัญญาซื้อขายเพลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกระบุไว้ในข้อ 2 ว่า "ผู้จัดการมรดกตกลงโอนขายและ ป. ตกลงซื้อลิขสิทธิ์เพลงตามข้อ 1การโอนขายนี้เป็นการโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมด และเสร็จเด็ดขาดตลอดอายุแห่งลิขสิทธิ์"ย่อมเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 3 ได้ขายลิขสิทธิ์เพลงซึ่งรวมเพลงพิพาททั้งสี่นับแต่วันซื้อขายเป็นต้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่แต่เพียงผู้เดียวมิใช่เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิในเพลงพิพาททั้งสี่ไปจัดหาประโยชน์แต่อย่างใด ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้แก่โจทก์ในวันที่ 16 กรกฎาคม2535 จำเลยที่ 3 ย่อมมีสิทธิที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 5 นำไปบันทึกเทปเผยแพร่หาประโยชน์ได้โดยชอบตามหนังสือสัญญาลิขสิทธิ์เพลงที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 นำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกเผยแพร่หาประโยชน์ แต่หลังจากที่จำเลยที่ 3 ขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้โจทก์ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้จำเลยที่ 5 ไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์ได้เลย การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 ทำหนังสืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงพิพาทสามเพลงในสี่เพลงดังกล่าวให้จำเลยที่ 5 นำไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 จึงเป็นการกระทำหลังจากวันที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่แล้ว จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาทสามเพลงดังกล่าวอนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกแถบเสียงออกเผยแพร่หาประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงทั้งสี่ได้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ของโจทก์ แม้จำเลยที่ 4 จะเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 3 โดยได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ให้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลงของเจ้ามรดกก็ตามแต่จำเลยที่ 4 ก็เป็นบุตรของจำเลยที่ 3 กับเจ้ามรดก จำเลยที่ 4 ก็รู้เห็นสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังอนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกแถบเสียงออกเผยแพร่หาประโยชน์อีกถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาเฉพาะความเสียหายโดยตรงที่ประเมินเป็นเงินได้
จำเลยเป็นเพียงผู้จำหน่ายเทปเพลงซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่มีผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้ทำซ้ำไว้แล้วเท่านั้น แม้การกระทำดังกล่าวจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ประชาชนขาดความเชื่อถือ และโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเทปเพลงลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบเป็นเงินจำนวนมากก็ตามแต่ความเสียหายของโจทก์ที่ได้รับจากการกระทำของจำเลยโดยตรงที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้คงมีเฉพาะที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการที่จำเลยนำเทปเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกจำหน่าย อันอาจทำให้การจำหน่ายเทปเพลงของโจทก์ตกต่ำไป 175 ม้วน ซึ่งคิดเป็นเงินที่โจทก์จำหน่ายราคาม้วนละ 90 บาท เป็นเงิน 15,750 บาท ส่วนความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ทำให้ประชาชนไม่เชื่อถือในกิจการของโจทก์นั้นมีไม่มากนัก ค่าเสียหายในส่วนนี้จำนวน 50,000 บาท จึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยแล้ว แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่สำนักงานทนายความเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องจ่ายเพื่อรักษาประโยชน์ในการดำเนินกิจการของโจทก์เท่านั้น มิใช่ค่าเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จากจำเลยได้
โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มในชั้นอุทธรณ์ 50,000 บาทเท่านั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์เพียง 50,000 บาท รวมค่าขึ้นศาลอนาคตด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำผิดละเมิดลิขสิทธิ์หลายราย หากไม่มีเจตนาต่างกัน ถือเป็นกรรมเดียว
ลำพังการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกัน ไม่แน่ว่า จะต้องเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันเสมอไป แม้โจทก์จะบรรยาย ฟ้องโดยแยกการกระทำที่อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของ ผู้เสียหายทั้งสองเป็นข้อ (ก) และข้อ (ข) ต่างหากจากกัน แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏรายละเอียดให้เห็นชัดเจนว่า จำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้อง ข้อ (ก)และข้อ(ข) ต่างหากจากกันอย่างไร จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยกระทำ ความผิดตามฟ้องในลักษณะที่มีเจตนาเดียวกัน จึงเป็นความผิด กรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ขายมีความผิดแม้ไม่ได้เป็นผู้ทำซ้ำ
จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และการที่สินค้าเหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) (2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 28, 30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยตรง หากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) (2) และ 70 วรรคสองแม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28, 30 และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 30 (2) และ 52 วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์และขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก ผู้ขายมีความผิดแม้เป็นเพียงลูกจ้าง
จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และการที่สินค้าเหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 28,30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยตรง หากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่งอีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์และขายสินค้าไม่มีฉลาก: ความผิดของลูกจ้างแม้ไม่ใช่เจ้าของร้าน
จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่า แผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และการที่สินค้าเหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง แต่ไม่ผิดตามมาตรา 28,30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยตรงหากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30 และ 69 ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ52 วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: การพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดเพื่อตัดสินว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2541เวลากลางวัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบท หลายกรรม กล่าวคือ (ก) จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขาย เสนอขายเพื่อการค้า หากำไรซึ่งตุ๊กตากล้วยหอมบี 1 จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ ตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด"บานาน่าส์อินพิจามัส"ที่มีผู้ทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์อินพิจามัส"โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1(ข) จำเลยซึ่งประกอบ อาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขายเสนอขายเพื่อการค้าหากำไร ซึ่งตุ๊กตาเครยองชินจัง จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ ตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด"เครยองชินจัง"ที่มีผู้อื่นทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ "เครยองชินจัง"โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ตามคำฟ้อง ของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏรายละเอียดให้เห็นได้ชัดเจนว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องข้อ (ก)และข้อ(ข)ต่างหากจากกันอย่างไร เช่น มีการขาย เสนอขายแก่ผู้ซื้อต่างคราวกันหรือต่างรายกันอย่างใดหรือไม่หรือโจทก์เห็นว่าการกระทำตามฟ้องเป็นความผิดต่างกรรมกันเพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้นลำพังการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันไม่แน่ว่าจะต้องเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันเสมอไปหากแต่ต้องพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดว่าต่างกันหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องแต่เมื่อคำฟ้องไม่ปรากฏชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ข้อ (ก)และข้อ(ข) โดยเจตนาต่างหากจากกันดังกล่าว จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องดังกล่าวในลักษณะที่มีเจตนาเดียวกันจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6647/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: จำเป็นต้องพิสูจน์สถานะภาคีอนุสัญญาในเวลาที่กระทำผิด
แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องว่า บริษัท ก.(เมืองฮ่องกง)เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุแถบบันทึกเสียงและภาพ (วีดีทัศน์) เรื่อง โหด เลว ดี ภาค 3 ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง ซึ่งเมืองฮ่องกงเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นซึ่งแก้ไข ณ กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนค.ศ. 1908 และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคอล เพิ่มเติมลงนาม ณ กรุงเบอร์น เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1914ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว และกฎหมายของ เมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริง เพราะพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2536 ได้มีบัญชีรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้ว และข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบกัน ทั่วไปว่า เมืองฮ่องกงอยู่ภายใต้อาณัติ ของ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ดังนั้นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ด้วยนั้นก็เป็นการบรรยาย ข้อเท็จจริงให้ครบองค์ประกอบของความผิดในกรณีที่ผู้มีลิขสิทธิ์ ได้สร้างสรรค์งานของตนตามกฎหมายในต่างประเทศที่มีกฎหมาย ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เพื่อ ให้เห็นว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ฯ ให้ความคุ้มครองไว้เท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบ ให้เห็นว่า เมืองฮ่องกง เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นในเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทั้งรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญา ดังกล่าวตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อ คุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2536 ที่โจทก์ กล่าวอ้างนั้น ก็เป็นรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีในเวลา พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับคือในปี 2536 ไม่อาจรับฟัง เป็นยุติว่าประเทศตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นจะเป็น ภาคีอนุสัญญาในเวลาที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในคดีนี้คือ ในช่วงปี 2533 ด้วย จึงยังฟังไม่ได้ว่าเมืองฮ่องกงเป็นภาคีอนุสัญญาในเวลาที่จำเลยกระทำผิดตามที่โจทก์กล่าวอ้าง อันจะมีผลให้วีดีโอเทปภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวได้รับ ความคุ้มครองพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 42 ดังนี้ ย่อมไม่อาจฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐาน ละเมิดลิขสิทธิ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้
of 30