คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้ร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 224 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4839/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมอาวัล การใช้หนี้และการช่วงสิทธิเรียกร้อง
เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้รับประกันด้วยอาวัลเช็คด้วยกัน จึงต้องร่วมรับผิดต่อผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 989 ประกอบมาตรา 967วรรคแรก โจทก์และจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามบทมาตราดังกล่าวข้างต้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกับจำเลยในอันจะต้องใช้หนี้ มีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้ได้เข้าใช้หนี้นั้นแล้ว โจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4839/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบชำระหนี้และการได้รับช่วงสิทธิเมื่อชำระหนี้แทน
โจทก์จำเลยต่างเป็นผู้รับประกันด้วยอาวัลผู้สั่งจ่ายเช็คต้องร่วมรับผิดต่อ ว. ผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989 ประกอบมาตรา 967 วรรคแรก โจทก์และจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกับจำเลยในอันจะต้องใช้หนี้ มีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้ได้เข้าใช้หนี้นั้นแก่ ว.แล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิว.มาเรียกร้องจากจำเลยได้ครึ่งหนึ่งของเงินที่ได้ชำระไปตามมาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4839/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้เช็ค: การได้รับช่วงสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้รับประกันด้วยอาวัลผู้สั่งจ่ายเช็คต้องร่วมรับผิดต่อว.ผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา989ประกอบมาตรา967วรรคแรกโจทก์และจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกับจำเลยในอันจะต้องใช้หนี้มีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้ได้เข้าใช้หนี้นั้นแก่ว.แล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิว. มาเรียกร้องจากจำเลยได้ครึ่งหนึ่งของเงินที่ได้ชำระไปตามมาตรา229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ยและการรับผิดของลูกหนี้ร่วม, ผู้ค้ำประกัน, และผู้จำนอง
ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง 4 ฉบับ ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ในจำนวนเงินที่คำนวณแล้วว่าต้องชำระแก่โจทก์โดยเริ่มนับจากวันทำสัญญานี้จนถึงวันที่โจทก์ได้รับเงินครบถ้วนจากจำเลยที่ 1 ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้ระบุเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยและจะอนุมานจากพฤติการณ์ก็ไม่ได้ โจทก์ย่อมจะเรียกให้จำเลยที่ 1ชำระดอกเบี้ยได้โดยพลันนับแต่วันทำสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่งอายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาทรัสต์รีซีทเช่นกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169(เดิม) อายุความดอกเบี้ยค้างส่งเริ่มนับจากวันถัดจากวันดังกล่าวไปจนกว่าจะครบ5 ปี การที่จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยสำหรับสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง 4 ฉบับ บางส่วนทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 (เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 5 ปี จึงไม่ขาดอายุความเรียกร้องดอกเบี้ย
จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้นั้น ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตามป.พ.พ. มาตรา 692 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นมาตรา 295 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 3 ผู้จำนอง แม้หนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่าให้รับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ย่อมไม่มีผลถึงจำเลยที่ 3 เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 วรรคสอง จำเลยที่ 3 ผู้จำนองจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังไป 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 189 (เดิม) และมาตรา 745
จำเลยทั้งสามฎีกาว่า ในการผ่อนชำระหนี้ จำเลยทั้งสามมิได้กำหนดชำระหนี้รายใดไว้โดยเฉพาะ โจทก์ชอบที่จะเอาชำระหนี้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยก่อน แต่โจทก์เลือกการชำระหนี้เอาเองตามใจชอบจึงไม่ผูกพันจำเลยทั้งสามนั้น ประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสามไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม: การพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้เป็นรายบุคคล แม้มีทรัพย์สินร่วมกัน
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนเมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์แม้จำเลยที่1มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินพอจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่1เมื่อจำเลยที่2ถูกบังคับยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้จำเลยที่2จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา8(5)การที่จำเลยที่1มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่2ล้มละลายตามมาตรา14ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันการทำงาน: ผู้ค้ำประกันหลายคนต้องรับผิดชอบร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682
จำเลยทั้งสองต่างยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงาน ของดต่อโจทก์ซึ่งเป็นหนี้รายเดียวกัน แต่ค้ำประกัน ต่างวาระและสัญญาคนละฉบับกัน ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสอง จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน โจทก์จะอ้างว่าคู่กรณีมีเจตนาต้องการให้จำเลยทั้งสองแยกรับผิดเป็นคนละจำนวนกัน ซึ่งให้มีผลบังคับเป็นอย่างอื่นจากบทบัญญัติของกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันการทำงาน: ผู้ค้ำประกันหลายคนต้องรับผิดชอบร่วมกันตามกฎหมาย แม้ทำสัญญาต่างวาระ
จำเลยทัั้งสองต่างยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงาน ของด.ต่อโจทก์ซึ่งเป็นหนี้รายเดียวกัน แต่ค้ำประกัน ต่างวาระและสัญญาคนละฉบับกัน ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสอง จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน โจทก์จะอ้างว่าคู่กรณีมีเจตนาต้องการให้จำเลยทั้งสองแยกรับผิดเป็นคนละจำนวนกัน ซึ่งให้มีผลบังคับเป็นอย่างอื่นจากบทบัญญัติของกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันการทำงาน - ลูกหนี้ร่วม - การตีความสัญญาค้ำประกันตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองต่างยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของด. ต่อโจทก์ซึ่งเป็นหนี้รายเดียวกันแต่ค้ำประกันต่างวาระและสัญญาคนละฉบับกันก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันโจทก์จะอ้างว่าคู่กรณีมีเจตนาต้องการให้จำเลยทั้งสองแยกรับผิดเป็นคนละจำนวนกันซึ่งให้มีผลบังคับเป็นอย่างอื่นจากบทบัญญัติของกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์จากขายทอดตลาดเมื่อเจ้าหนี้บังคับคดีทรัพย์สินลูกหนี้ร่วมและทรัพย์สินอื่นไม่พอชำระหนี้
ผู้ร้องอ้างในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาสืบทราบว่าโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยและได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินเสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่สมบูรณ์แล้วไม่เคลือบคลุมส่วนผู้ร้องจะสามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้หรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องนำสืบกันในชั้นพิจารณาหาจำต้องบรรยายไว้ด้วยไม่ แม้ผู้ร้องจะนำยึดที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษารายหนึ่งไว้แล้วแต่ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้องเมื่อจำเลยซึ่งเป็น ลูกหนี้ตามคำพิพากษาอีกรายหนึ่งไม่มีทรัพย์สินอื่นๆที่ผู้ร้องสามารถบังคับคดีได้โดยสิ้นเชิงแล้วผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิด: เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินลูกหนี้ร่วมได้ แม้บังคับชำระจากทรัพย์สินจำนองไม่ครบ
คำฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 อย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้นำทรัพย์สินไปจำนอง ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 ดังนี้คำฟ้องและคำพิพากษาที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3เป็นเพียงคำฟ้องและคำพิพากษาในมูลหนี้สามัญมิได้เกี่ยวกับการบังคับจำนอง เมื่อโจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ได้ครบถ้วน โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญของจำเลยที่ 3 ก็ชอบจะบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 3 ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและไม่มีบทบัญญัติใดที่บัญญัติให้สิทธิของโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5ตามคำพิพากษาระงับสิ้นลง จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 3
of 23