คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลอนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องเช่าซื้อ: ศาลอนุญาตได้หากไม่เปลี่ยนแปลงประเด็นคดี และการส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นไปไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยบรรยายฟ้องว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน จำเลยยอมส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งมอบจำเลยยอมชำระค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้ ซึ่งคำบรรยายฟ้องดังกล่าวตรงตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอแก้ไขฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนภายหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ มิใช่แก้ไขให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดดังที่จำเลยฎีกา การแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์และเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งมิได้ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องจึงชอบแล้ว
โจทก์เช่าที่ดินของ ท. เพื่อปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วนำไปให้จำเลยเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะโอนสิ่งปลูกสร้างและสิทธิการเช่าที่ดินให้จำเลยในวันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเสียก่อน จำเลยยังมิได้รับโอนสิทธิการเช่าไปจากโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่และหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะนำสิ่งปลูกสร้างกับทรัพย์สินที่อยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อมาส่งมอบให้แก่โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5927/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน แม้ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน หากศาลอนุญาตและพยานเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง
จำเลยนำพยานบุคคลเข้าสืบ 2 ปาก คือ ว. และ พ. โดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลแรงงานกลางได้บันทึกคำพยานของ ว. แล้วถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ประกอบด้วยข้อกำหนดศาลแรงงาน ว่าด้วย การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ข้อ 10 อนุญาตให้ ว. เบิกความเป็นพยานแล้วส่วน พ. ซึ่ง ว. เบิกความเกี่ยวพันถึง ศาลแรงงานกลางเห็นว่าคำเบิกความของ พ. จะเป็นประโยชน์แก่คดีและอนุญาตให้จำเลยนำ พ. มาเบิกความเป็นพยาน ดังนี้ ถือได้ว่า พ. เป็นพยานของศาลตามความในมาตรา 45 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว พยานหลักฐานของจำเลยย่อมรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องและคำขอบังคับในคดีแรงงาน ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากเจตนาชัดเจน แม้ไม่แก้ไขคำขอบังคับ
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องว่า จำเลยได้หักเงินสะสมไว้เป็นรายเดือนในระหว่างปฏิบัติงาน โจทก์ควรได้เงินสะสมดังกล่าวแต่จำเลยไม่จ่ายให้ แม้โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำขอบังคับท้ายคำฟ้องให้รับกับคำฟ้องที่แก้ไขก็ตามแต่ตามเนื้อความที่ขอแก้ไขนั้นแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ได้แจ้งชัดว่า โจทก์ประสงค์ที่จะเรียกร้องเงินสะสมจากจำเลย คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำขอบังคับท้ายคำฟ้องให้ครบถ้วนเพียงเท่านี้ไม่ถือว่าฟ้องโจทก์ไม่ถูกถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแล้วพิพากษาหรือสั่งตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องที่ศาลสั่งอนุญาตแล้วนั้น หาเป็นการพิพากษาหรือสั่งที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 52 ไม่
คดีแรงงานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อเท็จจริงเสียเองไม่ได้ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 และมาตรา 56.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องในคดีอนาถาและการพิจารณาคำร้องใหม่ ศาลมีสิทธิอนุญาตได้ตามกฎหมาย
ในระหว่างที่ศาลไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาตรา 179 และมาตรา 180 มาใช้บังคับ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยอ้างเหตุว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องและมีคำสั่งต่อไปอีกว่าหากโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายใน 7 วันเช่นนี้เห็นได้ว่าศาลชั้นต้นเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เสียเท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแต่ประการใด ดังนั้นคำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่ เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์และกรณีเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 และมาตรา 180 โดยถูกต้อง ก็ชอบที่ศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้นได้ และชอบที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา156.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในคดีอนาถา: ศาลอนุญาตได้หากเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและยื่นก่อนกำหนด
โจทก์ฟ้องและร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เมื่อปรากฏในระหว่างดำเนินการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์อยู่นั้นว่า ฟ้องของโจทก์ไม่บริบูรณ์ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 179 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในคดีอนาถา: ศาลอนุญาตได้หากฟ้องเดิมยังอยู่และเกี่ยวข้องกับฟ้องใหม่
ในระหว่างที่ศาลไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ได้เพราะไม่มีกฎหมายห้ามกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179และมาตรา 180 มาใช้บังคับ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยอ้างเหตุว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องและมีคำสั่งต่อไปอีกว่าหากโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายใน 7 วันเช่นนี้เห็นได้ว่าศาลชั้นต้นเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เสียเท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแต่ประการใด ดังนั้นคำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์และกรณีเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 และมาตรา 180 โดยถูกต้อง ก็ชอบที่ศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้นได้ และชอบที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา156.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด ศาลอนุญาตได้ ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็คฯ จำเลยฎีกา ระหว่างการพิจารณา ของศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่คัดค้าน เมื่อเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดี ถึงที่สุดก็ได้ ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญา มาฟ้องจึงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816-2822/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้างแล้ว นายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้างและจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว
คำสั่งของศาลแรงงานตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 ที่อนุญาตให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ มีผลเป็นเพียงคำอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างได้เท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งแทนนายจ้างให้เลิกจ้างกันได้โดยทันที แต่เป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างได้และนายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้างตามที่ศาลแรงงานได้อนุญาตแล้ว สัญญาจ้างจึงจะเป็นอันสิ้นสุดลง ส่วนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยตรงต่อลูกจ้างว่านายจ้างมีความประสงค์จะเลิกจ้างลูกจ้างนั้น การยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงานกลางเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการแสดงเจตนาต่อโจทก์การที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ต่อมาตามคำสั่งของศาลแรงงาน โดยโจทก์มิได้กระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ตาม มาตรา 583 จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง คดีอยู่ระหว่างพิจารณา จำเลยได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีโดยกำหนดให้หยุดตั้งแต่วันที่กำหนดให้เป็นต้นไป ย่อมถือได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 แล้ว และเป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาให้โจทก์พิจารณาเลือกวันหยุดเอาเองตามความสะดวกและเหมาะสม เมื่อโจทก์ไม่ยอมหยุดตามที่จำเลยกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816-2822/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้างแล้ว นายจ้างยังต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลแรงงานตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ที่อนุญาตให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ มีผลเป็นเพียงคำอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างได้เท่านั้น มิใช่ เป็นคำสั่งแทนนายจ้างให้เลิกจ้างกันได้โดยทันที แต่เป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างได้และนายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้างตามที่ศาลแรงงานได้อนุญาตแล้ว สัญญาจ้างจึงจะเป็นอันสิ้นสุดลง ส่วนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยตรงต่อลูกจ้างว่านายจ้างมีความประสงค์จะเลิกจ้างลูกจ้างนั้น การยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงานกลางเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการแสดงเจตนาต่อโจทก์การที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ต่อมาตามคำสั่งของศาลแรงงาน โดยโจทก์มิได้กระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ตาม มาตรา 583 จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง คดีอยู่ระหว่างพิจารณา จำเลยได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีโดยกำหนดให้หยุดตั้งแต่วันที่กำหนดให้เป็นต้นไป ย่อมถือได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 แล้ว และเป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาให้โจทก์พิจารณาเลือกวันหยุดเอาเองตามความสะดวกและเหมาะสม เมื่อโจทก์ไม่ยอมหยุดตามที่จำเลยกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: ศาลอนุญาตขายได้แม้ราคาไม่สูงมากนัก หากมีการประกาศขายหลายครั้งโดยสุจริต
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์สินของจำเลยไว้และได้ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งแรกไม่มีผู้เข้าสู้ราคาต้องประกาศขายใหม่ถึง15ครั้งเป็นเวลาเกือบ3ปีไม่มีผู้เข้าสู้ราคาบ้างผู้สู้ราคาสูงสุดให้ราคาต่ำไปบ้างครั้งสุดท้ายผู้สู้ราคาให้ราคาสูงสุดเป็นเงิน340,000บาทซึ่งเป็นราคาสูงกว่าการขายทอดตลาดครั้งก่อนๆและสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้เมื่อศาลเห็นว่าได้ประกาศขายทอดตลาดมาหลายครั้งทั้งเป็นเวลานานแล้วและราคาที่ผู้สู้ราคาสูงสุดก็เป็นราคาพอสมควรศาลอนุญาตให้ขายแก่ผู้สู้ราคาสูงสุดได้ที่จำเลยอ้างว่ามีผู้จะซื้อทรัพย์ที่ขายทอดตลาดในราคา800,000บาทนั้นเป็นแต่เพียงการกล่าวอ้างลอยๆไม่มีเหตุผลสนับสนุนและการขายทอดตลาดได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำฝ่าฝืนต่อกฎหมายและกระทำโดยไม่สุจริตแต่ประการใดจึงไม่มีเหตุผลที่จะยกเลิกการขายทอดตลาดนั้น.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 21