พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง และการรับสารภาพที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเดิม
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวงนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องคดีด้วยลายลักษณ์อักษรเพียงแต่มีรายละเอียดพอสมควรให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็เป็นการเพียงพอแล้ว ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 อีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจเข้าทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9ส่วนจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมมีความหมายว่าแต่ละฝ่ายมีพวกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้ร่วมกันกระทำความผิดในการทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะเป็นตัวการซึ่งโจทก์ได้อ้าง ป.อ. มาตรา83 มาด้วยแล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยคนใดชกต่อยหรือทำร้ายจำเลยคนใด ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองฝ่ายต่างทำร้ายซึ่งกันและกันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1,2,4 และ 6 มีบาดแผลดังที่บรรยายรายละเอียดมาในฟ้องแล้ว ทั้งระบุว่าเป็นอันตรายแก่กายด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับยอมรับในข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าบาดแผลดังกล่าวเป็นอันตรายแก่กายจริง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าบาดแผลนั้นยังไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว.
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองฝ่ายต่างทำร้ายซึ่งกันและกันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1,2,4 และ 6 มีบาดแผลดังที่บรรยายรายละเอียดมาในฟ้องแล้ว ทั้งระบุว่าเป็นอันตรายแก่กายด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับยอมรับในข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าบาดแผลดังกล่าวเป็นอันตรายแก่กายจริง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าบาดแผลนั้นยังไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาที่ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ศาลชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136, 137, 326, และ 328 อันเป็นคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แม้โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดก็ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำโดยขาดเจตนา มีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของโจทก์จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 หรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ
ในการไต่สวนมูลฟ้งแม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามฟ้องแต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาหรือมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะทำการวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วไปพิพากษายกฟ้องในภายหลัง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำโดยขาดเจตนา มีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของโจทก์จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 หรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ
ในการไต่สวนมูลฟ้งแม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามฟ้องแต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาหรือมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะทำการวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วไปพิพากษายกฟ้องในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาในศาลจังหวัดตามวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง และการวินิจฉัยขาดเจตนาทำให้ไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136,137,326 และ 328 อันเป็นคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แม้โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดก็ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำโดยขาดเจตนามีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของโจทก์จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 หรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ ข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ ในการไต่สวนมูลฟ้องแม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามฟ้องแต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาหรือมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะทำการวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วไปพิพากษายกฟ้องในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: ข้อจำกัดการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารของโจทก์ที่ 7 แล้วพิจารณาตัดสินเป็นโทษแก่โจทก์คนอื่น ๆด้วย เป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณา และศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนถูกต้อง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์สั่งรับอุทธรณ์และวินิจฉัยมาในฐานะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวต่อมาไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีหมิ่นประมาทขัดต่อข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมายศาลแขวง
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยและข้อความที่ร้องเรียนเป็นการร้องเรียนโดยทุจริต ไม่เป็นการป้องกันตนหรือส่วนได้เสียแห่งตน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการมิชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดโจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีหมิ่นประมาทขัดต่อข้อจำกัดการอุทธรณ์ในศาลแขวง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา326,328 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยและข้อความที่ร้องเรียนเป็นการร้องเรียนโดยทุจริต ไม่เป็นการป้องกันตนหรือส่วนได้เสียแห่งตน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการมิชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวพันกัน: การพิจารณาคดีอาวุธปืนและความช่วยเหลือผู้กระทำผิด ต้องปฏิบัติตามวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง หากไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตรวมกันมากับความผิดฐานช่วย ผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษต่อศาลจังหวัดซึ่งมีอำนาจชำระในฐานความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ โดยอ้างว่าเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน แต่ความผิดทั้งสองฐานนี้เป็นความผิดที่แยกเป็นคนละกรรมต่างกัน กฎหมายมิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าในคดีความผิดที่เกี่ยวพันกันนั้น ให้ถือเอาคดีที่มีโทษสูงเป็นหลักที่จะพิจารณาว่าต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับหรือไม่ ความผิดฐานช่วย ผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษ จึงต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ เมื่อในชั้นสอบสวนมิได้มีการขอผัดฟ้องให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในข้อหาความผิดฐานช่วย ผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ความผิดเกี่ยวพันและการนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตรวมกันมากับความผิดฐานช่วยผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษต่อศาลจังหวัดซึ่งมีอำนาจชำระในฐานความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ โดยอ้างว่าเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน แต่ความผิดทั้งสองฐานนี้เป็นความผิดที่แยกเป็นคนละกรรมต่างกัน กฎหมายมิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าในคดีความผิดที่เกี่ยวพันกันนั้น ให้ถือเอาคดีที่มีโทษสูงเป็นหลักที่จะพิจารณาว่า ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับหรือไม่ ความผิดฐานช่วยผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษ จึงต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ เมื่อในชั้นสอบสวนมิได้มีการขอผัดฟ้องให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในข้อหาความผิดฐานช่วยผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา โจทก์ต้องไปศาลเพื่อแจ้งข้อมูลด้วยตนเอง มิฉะนั้นถือว่าไม่เป็นการฟ้อง
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 กำหนดไว้ว่าถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ให้พนักงานสอบสวนนำผู้ต้องหามายังพนักงานอัยการ เพื่อฟ้องศาลโดยไม่ต้องสอบสวนและให้ฟ้องด้วยวาจา และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่าการฟ้องด้วยวาจาให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดและอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่นนี้ โจทก์จึงต้องมาศาล เมื่อโจทก์เพียงแต่ให้พนักงานธุรการนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามายื่นต่อศาล โดยโจทก์ไม่มาศาล ย่อมถือไม่ได้ว่ามีการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา
บันทึกการฟ้องคดีด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจา และเพื่อความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น หาใช่ฟ้องด้วยวาจาตามกฎหมายไม่.
บันทึกการฟ้องคดีด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจา และเพื่อความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น หาใช่ฟ้องด้วยวาจาตามกฎหมายไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีอาญาศาลแขวง: การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม
คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง เมื่อศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ร่วมกับชมรมโรงสีจัดซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรสมาชิกของโจทก์ และฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินค่าบริการของโจทก์ ย่อมถือว่าเป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯมาตรา 22 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยได้ร่วมกับชมรมโรงสีกระทำผิดหน้าที่ของจำเลยและจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ถูกต้องและต้องถือว่าข้อเท็จจริงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาจำเลย.