พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอระบุพยานเพิ่มเติมหลังนัดสืบพยาน - ศาลใช้ดุลพินิจตามมาตรา 87
ในคดีแพ่ง จำเลยเพิ่งขอระบุพยานจำเลยในวันนัดสืบพยานโจทก์(นัดแรก) โดยอ้างว่าจำเลยป่วยเป็นไข้ไม่สามารถมาระบุพยานตามกำหนดได้ นั้น เมื่อศาลพิจารณาเหตุผลทั่วๆ ไปแล้วเห็นว่า มิใช่เรื่องจงใจฝ่าฝืนเพื่อให้โจทก์เสียเปรียบในทางคดี แล้วศาลก็อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ให้รับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้ดำเนินการต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้โจทก์มิได้สืบค่าเสียหาย ศาลยังคงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรได้ โดยพิจารณาจากพฤติการณ์และดุลพินิจ
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ถึงแม้โจทก์จะสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ศาลก็จะยกฟ้องไม่ให้ค่าเสียหายเลยนั้นไม่ได้
โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นว่าเป็นจำนวนเท่าใดแน่ศาลจำต้องวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้ตามความคิดเห็นของวิญญูชนและตามพฤติการณ์ปกติ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/89)
โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นว่าเป็นจำนวนเท่าใดแน่ศาลจำต้องวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้ตามความคิดเห็นของวิญญูชนและตามพฤติการณ์ปกติ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/89)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8973/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ครั้งแรก ทำให้ไม่ต้องวางซ้ำในการอุทธรณ์ครั้งที่สอง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาครั้งแรก ให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท จำเลยอุทธรณ์โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางพร้อมกับอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกอุทธรณ์ของจำเลย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาใหม่ โดยให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ เงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นเคยสั่งให้จำเลยต้องรับผิดใช้แทนโจทก์จึงถูกยกไป แต่จำเลยยังไม่ได้ขอรับเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่วางไว้ต่อศาลชั้นต้นคืน ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาครั้งที่สอง ให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท เงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยรับผิดใช้แทนโจทก์ จึงมีจำนวนเท่ากันกับจำนวนเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยได้วางต่อศาลชั้นต้นในครั้งก่อนซึ่งจำเลยยังไม่ได้รับคืนไป กรณีถือว่าจำเลยได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางพร้อมอุทธรณ์เพิ่มเติมอีก ทั้งไม่จำต้องมีคำขอให้เอาเงินดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ครั้งที่สองด้วย อุทธรณ์ของจำเลยครั้งที่สองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4927/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในคดีฟอกเงิน ต้องพิจารณาพฤติการณ์การกระทำความผิดมูลฐาน ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกกล่าวหา
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดมาตรการต่างๆ ให้สามารถดำเนินการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มีคณะกรรมการธุรกรรมคณะหนึ่งเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติ โดยมาตรา 34 (1) และ (3) บัญญัติให้คณะกรรมการธุรกรรมมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และดำเนินการตามมาตรา 48 ซึ่งได้แก่ อำนาจในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวในกรณีที่ตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมแล้ว มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จำหน่าย หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด โดยไม่มีบทบัญญัติใดจำกัดช่องทางการรับทราบรายงานและข้อมูลการทำธุรกรรมดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนที่มาตรา 13, 15 และ 16 บัญญัติให้สถาบันการเงิน สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินสาขาหรือสำนักงานที่ดินอำเภอ รวมถึงผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการดำเนินการหรือให้คำแนะนำในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือเคลื่อนย้ายเงินทุน มีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ก็เป็นการกำหนดหน้าที่แก่หน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ เนื่องด้วยเล็งเห็นว่าเป็นหน่วยงานและบุคคลที่รับทราบข้อมูลการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินในเบื้องต้นมาตามอำนาจหน้าที่ของตน เพื่อที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจะได้ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ต่อไป อันเป็นมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้สัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั่นเอง หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับให้คณะกรรมการธุรกรรมต้องรับรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมเฉพาะที่มาจากหน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ การที่พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอันเป็นความผิดมูลฐานเป็นผู้เสนอรายงานและข้อมูลการทำธุรกรรมให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินแล้วคณะกรรมการธุรกรรมได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ต่อมาจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนและการบรรยายฟ้องที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธไม่ได้ยอมรับตามคำให้การดังกล่าว คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งโดยลำพังไม่ควรที่จะเชื่อเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดีหรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน แต่เมื่อคำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์ขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 การตรวจยึดของกลางก็ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าการที่สามารถยึดของกลางได้เพราะเหตุที่ทราบจากจำเลยที่ 2 ส่วนคำเบิกความของพนักงานสอบสวนก็เป็นผู้สอบสวนคำรับสารภาพนั่นเอง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ด้วย
นอกจากโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพาอาวุธปืนตาม ป.อ. มาตรา 371 แล้ว โจทก์ยังฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ฐานพาอาวุธตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งมาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์" ข้อที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นการบรรยายฟ้ององค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง กล่าวคือ การพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หากเป็นกรณีต้องมีติดตัวเนื่องจากมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์แล้ว การพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะไม่เป็นความผิด ส่วนความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณตาม ป.อ. มาตรา 371 นั้น มาตรานี้บัญญัติว่า "ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร...ต้องระวางโทษ..." การพาอาวุธที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ต่อเมื่อไม่มีเหตุสมควรอันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความผิดดังกล่าว จึงแตกต่างจากองค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าวข้างต้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่อาจถือได้ว่าได้บรรยายฟ้อง องค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย ฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธตาม ป.อ. มาตรา 371 จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ในความผิดดังกล่าว
นอกจากโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพาอาวุธปืนตาม ป.อ. มาตรา 371 แล้ว โจทก์ยังฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ฐานพาอาวุธตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งมาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์" ข้อที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นการบรรยายฟ้ององค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง กล่าวคือ การพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หากเป็นกรณีต้องมีติดตัวเนื่องจากมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์แล้ว การพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะไม่เป็นความผิด ส่วนความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณตาม ป.อ. มาตรา 371 นั้น มาตรานี้บัญญัติว่า "ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร...ต้องระวางโทษ..." การพาอาวุธที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ต่อเมื่อไม่มีเหตุสมควรอันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความผิดดังกล่าว จึงแตกต่างจากองค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าวข้างต้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่อาจถือได้ว่าได้บรรยายฟ้อง องค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย ฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธตาม ป.อ. มาตรา 371 จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12747/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายสิ่งแวดล้อม: โจทก์ต้องพิสูจน์มูลค่าความเสียหายที่ชัดเจน ไม่สามารถอ้างเพียงหลักการประเมิน
ค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนเงินในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (2) บัญญัติให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันหมายความว่า แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็ยังมีภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับความเสียหายดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ ในกรณีเช่นนี้จึงหาใช่โจทก์นำสืบพยานหลักฐานเช่นใด ศาลต้องเชื่อต้องรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์เช่นว่านั้นเสมอไปไม่
ค่าเสียหายดังกล่าว ตามทางนำสืบของโจทก์เป็นเพียงการแสดงวิธีการ หลักเกณฑ์ และสร้างแบบจำลองในการประเมินหาความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม อันเป็นไปตามหลักวิชาการที่โจทก์อ้างและยอมรับเพียงฝ่ายเดียว หาใช่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) (2) และ (3) ไม่ จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลจะถือเอาเป็นข้อยุติในการคิดหาค่าเสียหายคดีนี้แต่อย่างใด นอกจากนี้ พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวก็เป็นเพียงการแสดงถึงกระบวนการคิดการประเมินค่าเสียหายของโจทก์ให้ดูน่าเชื่อถือขึ้นเท่านั้น มีผลเท่ากับโจทก์เองก็ยืนยันและพิสูจน์ถึงมูลค่าความเสียหายที่ถูกต้องแน่นอนไม่ได้อีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับมูลค่าความเสียหายไม่ได้ตามคำฟ้องและใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควรเช่นว่านั้น จึงชอบด้วยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงแล้ว
ค่าเสียหายดังกล่าว ตามทางนำสืบของโจทก์เป็นเพียงการแสดงวิธีการ หลักเกณฑ์ และสร้างแบบจำลองในการประเมินหาความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม อันเป็นไปตามหลักวิชาการที่โจทก์อ้างและยอมรับเพียงฝ่ายเดียว หาใช่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) (2) และ (3) ไม่ จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลจะถือเอาเป็นข้อยุติในการคิดหาค่าเสียหายคดีนี้แต่อย่างใด นอกจากนี้ พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวก็เป็นเพียงการแสดงถึงกระบวนการคิดการประเมินค่าเสียหายของโจทก์ให้ดูน่าเชื่อถือขึ้นเท่านั้น มีผลเท่ากับโจทก์เองก็ยืนยันและพิสูจน์ถึงมูลค่าความเสียหายที่ถูกต้องแน่นอนไม่ได้อีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับมูลค่าความเสียหายไม่ได้ตามคำฟ้องและใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควรเช่นว่านั้น จึงชอบด้วยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19031/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน (การ์ดบัญชี) แม้ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน ป.วิ.พ. หากศาลเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงมาในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 กระทำการใดขัดต่อบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 88 อันจะทำให้ศาลรับฟังการ์ดบัญชีเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ส่งสำเนาการ์ดบัญชีให้แก่โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่การ์ดบัญชีเป็นเอกสารสำคัญที่แสดงถึงการชำระค่าเช่าซื้อของจำเลยที่ 1 จึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 90 ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ส่งสำเนาการ์ดบัญชีให้แก่โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่การ์ดบัญชีเป็นเอกสารสำคัญที่แสดงถึงการชำระค่าเช่าซื้อของจำเลยที่ 1 จึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 90 ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245-6246/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและผลกระทบต่อการพิจารณาคดี ศาลใช้ดุลพินิจชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นตรวจและมีคำสั่งในคำฟ้องของโจทก์เพียงว่า "รับฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์วางค่าส่งในวันนี้..." โดยวันที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอปิดหมายมาพร้อมด้วย ในคำแถลงโจทก์ยืนยันว่า จำเลยมีภูมิลำเนาตามฟ้องตามหนังสือรับรองบริษัทจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำแถลงนั้นว่ามีหลักฐานภูมิลำเนา หากส่งไปรษณีย์ไม่ได้ ให้เจ้าพนักงานส่ง ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด ดังนี้ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคหนึ่ง แล้ว
เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดอีก แม้จะเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ แต่การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอของโจทก์ ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในทางไม่จำหน่ายคดีและให้ดำเนินคดีต่อไปตามความประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดอีก แม้จะเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ แต่การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอของโจทก์ ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในทางไม่จำหน่ายคดีและให้ดำเนินคดีต่อไปตามความประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7634/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติแพทยสภาไม่ใช่ข้อผูกพันศาล ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานประกอบการตัดสิน
มติของแพทยสภาไม่ใช่กฎหมายและไม่มีกฎหมายฉบับใดบัญญัติว่ามติของแพทยสภามีผลผูกพันคู่ความและศาลจะต้องรับฟังมติของแพทยสภา หากศาลเห็นว่ามติของแพทยสภาถูกต้องและเป็นธรรมก็นำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ แต่มติของแพทยสภาเกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อสงสัยว่าจะถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่ ศาลเพียงแต่นำมารับฟังประกอบการพิจารณาเท่านั้น โดยไม่จำต้องถือตามมติของแพทยสภา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก ไม่จำกัดเฉพาะทายาท ศาลใช้ดุลพินิจประโยชน์ทายาทและกองมรดก
ผู้มีส่วนได้เสียตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1713 นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง แม้ผู้คัดค้านเป็นสามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แต่ได้อยู่กินร่วมกันมานานสิบกว่าปีจนผู้ตายถึงแก่ความตาย โดยมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คัดค้านกับผู้ตายมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินมีโฉนดรวม 3 แปลง ซึ่งผู้ร้องทั้งสองเบิกความรับว่า ผู้คัดค้านกับผู้ตายประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ร่วมกัน โดยให้ผู้ร้องทั้งน้อง ๆ และหลานทำงานในอู่และรับเงินเดือนเป็นค่าจ้างผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ในการตั้งผู้จัดการมรดกนั้นศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมประกอบกับพฤติการณ์ที่จะให้ประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดก เมื่อเห็นว่าการให้ผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านจัดการมรดกร่วมกันน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกมากกว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการมรดกฝ่ายเดียว ศาลย่อมตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้