พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: การทำงานตามสัญญาเช่าระหว่างกระทรวงกลาโหมและเอกชน ไม่ถือเป็นลูกจ้างของเอกชน
การที่โจทก์ทำงานกับจำเลยเป็นผลจากข้อตกลงระหว่างจำเลยกับกระทรวงกลาโหมและกระทรวงกลาโหมยังถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างอยู่โดยสงวนอำนาจบังคับบัญชาในการลงโทษและการพิจารณาความดีความชอบของโจทก์ไว้ และยังได้เคยย้ายข้าราชการที่ทำงานกับจำเลยกลับไปทำงานที่กระทรวงกลาโหมเพราะเงินเดือนเต็มขั้นจึงเห็นได้ว่าการที่โจทก์ทำงานในโรงงานซึ่งจำเลยเช่ามาจากกระทรวงกลาโหม เป็นการทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของกระทรวงกลาโหมอันเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าโรงงานมิได้เกิดจากข้อตกลงที่โจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลย โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806-2807/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะองค์การฟอกหนังกับการคุ้มครองแรงงาน: การเลิกจ้างและการจ้างใหม่
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การรัฐบาล มาตรา 3การจัดตั้งองค์การให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และมาตรา 4 ให้องค์การที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายองค์การฟอกหนัง จำเลยจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนัง มิได้มีบทบัญญัติให้จำเลยเป็นหน่วยงานหรือกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมสังกัดอยู่ในกระทรวงกลาโหม ทั้งตามมาตรา 6 และ 7 แห่ง พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จำเลยมีวัตถุประสงค์ในทางการค้ามิใช่หน่วยงานบริหารราชการแผ่นดิน จำเลยจึงมิใช่ราชการส่วนกลางตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 1(1)
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนังได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การฟอกหนังจำเลยไว้ตามมาตรา 6(3) และ (4) ที่จะผลิตและประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมฟอกหนังและสินค้าสำเร็จรูปจากหนังฟอกหรือจากวัตถุอย่างอื่นแทนหนังฟอกได้มาตรา 7(3)(4)(7)(9) ให้จำเลยมีอำนาจทำการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ขององค์การทุกชนิดร่วมการงาน หรือสมทบกับบุคคลอื่นรวมทั้งการเข้าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วน หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัด รับเป็นสาขาตัวแทน ตัวแทนค้าต่างอันเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์และกระทำกิจการอื่นใดเกี่ยวกับการผลิตการค้าซึ่งเครื่องอุตสาหกรรมหนังหรือที่ต่อเนื่อง ดังนี้องค์การจำเลยได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
เมื่อจำเลยเป็นองค์การของรัฐที่มิได้รับการยกเว้น การใช้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ทั้งได้ความว่าจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานโดยมีค่าจ้างเป็นประโยชน์ตอบแทนตรงตามความหมายของคำว่านายจ้างลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน การที่จำเลยวางระเบียบข้อบังคับการทำงานและอื่น ๆ เหมือนหรืออ้างอิงระเบียบของทางราชการ หาทำให้จำเลยไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงานไม่
การที่จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับนั้น เป็นการเลิกจ้างโจทก์ฐานเป็นลูกจ้างขาดตอนไป ที่จำเลยมีคำสั่งใหม่แม้จะเป็นวันเดียวกันให้จ้างโจทก์ต่อไป ก็เป็นการจ้างโจทก์ใหม่
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนังได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การฟอกหนังจำเลยไว้ตามมาตรา 6(3) และ (4) ที่จะผลิตและประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมฟอกหนังและสินค้าสำเร็จรูปจากหนังฟอกหรือจากวัตถุอย่างอื่นแทนหนังฟอกได้มาตรา 7(3)(4)(7)(9) ให้จำเลยมีอำนาจทำการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ขององค์การทุกชนิดร่วมการงาน หรือสมทบกับบุคคลอื่นรวมทั้งการเข้าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วน หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัด รับเป็นสาขาตัวแทน ตัวแทนค้าต่างอันเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์และกระทำกิจการอื่นใดเกี่ยวกับการผลิตการค้าซึ่งเครื่องอุตสาหกรรมหนังหรือที่ต่อเนื่อง ดังนี้องค์การจำเลยได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
เมื่อจำเลยเป็นองค์การของรัฐที่มิได้รับการยกเว้น การใช้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ทั้งได้ความว่าจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานโดยมีค่าจ้างเป็นประโยชน์ตอบแทนตรงตามความหมายของคำว่านายจ้างลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน การที่จำเลยวางระเบียบข้อบังคับการทำงานและอื่น ๆ เหมือนหรืออ้างอิงระเบียบของทางราชการ หาทำให้จำเลยไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงานไม่
การที่จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับนั้น เป็นการเลิกจ้างโจทก์ฐานเป็นลูกจ้างขาดตอนไป ที่จำเลยมีคำสั่งใหม่แม้จะเป็นวันเดียวกันให้จ้างโจทก์ต่อไป ก็เป็นการจ้างโจทก์ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินสงเคราะห์ตกทอด: การเปลี่ยนแปลงสถานะบุตรหลังการตายของเจ้ามรดกไม่มีผลย้อนหลัง
ในวันที่นาย ก. ถึงแก่ความตายโจทก์เป็นบุตรนอกสมรสยังมิได้มีฐานะเป็นทายาทของนาย ก. แม้ภายหลังจะมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็ย่อมไม่มีผลย้อนหลัง โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับส่วนแบ่งในเงินสงเคราะห์ตกทอดจากการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยซึ่งมีข้อบังคับให้ตกทอดแก่ทายาทโดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 เป็นกรณีที่ให้สิทธิแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยคำพิพากษาภายหลังการตายของเจ้ามรดก รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นเรื่องของการรับมรดกโดยตรง เมื่อเงินสงเคราะห์ตกทอดไม่ใช่มรดกจะนำมาตรา 1558 มาบังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 เป็นกรณีที่ให้สิทธิแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยคำพิพากษาภายหลังการตายของเจ้ามรดก รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นเรื่องของการรับมรดกโดยตรง เมื่อเงินสงเคราะห์ตกทอดไม่ใช่มรดกจะนำมาตรา 1558 มาบังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1660/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธข้อกล่าวหาเป็นผู้กู้ร่วม และการนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์สถานะในสัญญา
จำเลยที่ 2 ให้การว่าไม่เคยกู้เงินโจทก์ เซ็นชื่อในหนังสือสัญญากู้ในฐานะเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 เท่านั้น คำให้การดังกล่าวเท่ากับปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะเป็นผู้กู้ร่วม กับจำเลยที่ 1 คดีจึงมีประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ที่ศาล จะต้องพิจารณาให้ได้ความต่อไป ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานเป็นการไม่ถูกต้อง
เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่า จำเลยที่ 2 ลงชื่อในเอกสารสัญญากู้ ในฐานะเป็นผู้กู้ร่วมกับจำเลยที่1 หรือลงชื่อในฐานะเป็นภริยาผู้ให้ความยินยอม การนำสืบในประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ นำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร
เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่า จำเลยที่ 2 ลงชื่อในเอกสารสัญญากู้ ในฐานะเป็นผู้กู้ร่วมกับจำเลยที่1 หรือลงชื่อในฐานะเป็นภริยาผู้ให้ความยินยอม การนำสืบในประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ นำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงาน: ลูกจ้างชั่วคราวสุขาภิบาลไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ให้พนักงานสุขาภิบาลเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา และให้กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบพนักงานสุขาภิบาลขึ้นไว้ โจทก์ไม่นำสืบว่าระเบียบนี้มีไว้อย่างไร ลูกจ้างชั่วคราวไม่อยู่ในฐานะพนักงานสุขาภิบาล การยักยอกเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ไม่ใช่ มาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวัลตั๋วแลกเงิน: การระบุสถานะผู้รับอาวัลและขอบเขตอำนาจของผู้สั่งจ่าย
โจทก์ออกตั๋วแลกเงินสั่งสาขาธนาคารจำเลยที่ 3 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 หรือตามคำสั่ง โดยสาขาธนาคารของจำเลยที่ 3 ผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วแลกเงินใต้ข้อความว่า 'เป็นอาวัลค้ำประกันผู้สั่งจ่าย' ต้องถือว่าการลงลายมือชื่อของสาขาธนาคารจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นอาวัล และผู้จ่ายเป็นผู้รับอาวัลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 938 วรรคสองตอนสุดท้าย
มาตรา 939 วรรคสามที่บัญญัติว่า 'อนึ่งเพียงแต่ลงลงลายมือชื่อผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย' นั้นหมายความว่า ถ้าผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วเงินอย่างเดียวโดยไม่มีถ้อยคำสำนวนตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง กฎหมายจึงไม่ให้ถือว่าเป็นคำรับอาวัล เพราะการลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นการรับรองการจ่ายเงินตามมาตรา 931 อยู่แล้ว หากมาตรา939 วรรคสามไม่ยกเว้นไว้ก็จะเป็นทั้งคำรับรองการจ่ายเงินและคำรับอาวัลซ้ำกัน ไม่อาจทราบได้ว่าลงลายมือชื่อในฐานะใด
สาขาธนาคารจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับอาวัลต้องบังคับตามมาตรา 940 คือจำเลยที่ 3 มีความผูกพันอย่างเดียวกับโจทก์ผู้สั่งจ่าย การที่จำเลยที่ 3 จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินซึ่งสาขาของตนรับอาวัลจึงเป็นการปฏิบัติไปตามกฎหมาย โจทก์ผู้สั่งจ่ายไม่มีอำนาจสั่งห้ามจำเลยที่ 3 จ่ายเงิน
อำนาจสั่งห้ามตามมาตรา 992 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเช็คโดยเฉพาะจะนำมาใช้กับตั๋วแลกเงินไม่ได้
มาตรา 939 วรรคสามที่บัญญัติว่า 'อนึ่งเพียงแต่ลงลงลายมือชื่อผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย' นั้นหมายความว่า ถ้าผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วเงินอย่างเดียวโดยไม่มีถ้อยคำสำนวนตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง กฎหมายจึงไม่ให้ถือว่าเป็นคำรับอาวัล เพราะการลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นการรับรองการจ่ายเงินตามมาตรา 931 อยู่แล้ว หากมาตรา939 วรรคสามไม่ยกเว้นไว้ก็จะเป็นทั้งคำรับรองการจ่ายเงินและคำรับอาวัลซ้ำกัน ไม่อาจทราบได้ว่าลงลายมือชื่อในฐานะใด
สาขาธนาคารจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับอาวัลต้องบังคับตามมาตรา 940 คือจำเลยที่ 3 มีความผูกพันอย่างเดียวกับโจทก์ผู้สั่งจ่าย การที่จำเลยที่ 3 จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินซึ่งสาขาของตนรับอาวัลจึงเป็นการปฏิบัติไปตามกฎหมาย โจทก์ผู้สั่งจ่ายไม่มีอำนาจสั่งห้ามจำเลยที่ 3 จ่ายเงิน
อำนาจสั่งห้ามตามมาตรา 992 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเช็คโดยเฉพาะจะนำมาใช้กับตั๋วแลกเงินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3122/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จเกี่ยวกับสถานะทายาทเพื่อประโยชน์ในการจัดการมรดกเข้าข่ายความผิดฐานเบิกความเท็จ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177จำคุกจำเลย 2 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
แม้โจทก์จะขอระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จจนจำเลยแถลงหมดพยานแล้วก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งรับระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ และรับฟังเอกสารที่อ้างนั้นมาวินิจฉัยคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 228
การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ปัญหาว่าผู้ร้องเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกหรือไม่เป็นประเด็นโดยตรง และเป็นข้อสำคัญในคดีซึ่งศาลจำต้องวินิจฉัย การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ว่าผู้ตายไม่มีภรรยาและบุตร และศาลเชื่อตามคำเบิกความ เป็นผลให้จำเลยซึ่งเป็นน้องผู้ตายมีสิทธิรับมรดกและศาลได้แต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานลำดับต้นและมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเป็นผู้เสียประโยชน์ คำเบิกความของจำเลยจึงเป็นข้อสำคัญในคดี
แม้โจทก์จะขอระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จจนจำเลยแถลงหมดพยานแล้วก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งรับระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ และรับฟังเอกสารที่อ้างนั้นมาวินิจฉัยคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 228
การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ปัญหาว่าผู้ร้องเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกหรือไม่เป็นประเด็นโดยตรง และเป็นข้อสำคัญในคดีซึ่งศาลจำต้องวินิจฉัย การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ว่าผู้ตายไม่มีภรรยาและบุตร และศาลเชื่อตามคำเบิกความ เป็นผลให้จำเลยซึ่งเป็นน้องผู้ตายมีสิทธิรับมรดกและศาลได้แต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานลำดับต้นและมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเป็นผู้เสียประโยชน์ คำเบิกความของจำเลยจึงเป็นข้อสำคัญในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ "พนักงาน" ตามข้อบังคับบริษัท แม้ไม่ได้มาทำงานประจำทุกวัน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทจำเลยมิได้นิยามคำว่า "พนักงาน" ไว้ จึงต้องถือว่าคำนี้มีความหมายตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไปการที่โจทก์มิได้มาทำงานที่บริษัทจำเลยเป็นประจำทุกวันเพราะลักษณะงานในหน้าที่ของโจทก์ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริษัทจำเลยไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นหาทำให้โจทก์ไม่เป็นพนักงานไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุตรบุญธรรมและการไม่มีสิทธิในกองมรดก
สามีของเจ้ามรดกจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ภริยาซึ่งเป็นเจ้ามรดกยินยอมด้วย บุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีเจ้ามรดกเท่านั้น ไม่มีสิทธิร้องคัดค้านขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128-2129/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้จัดการมรดกเปลี่ยนแปลง: ผลต่อสิทธิร้องสอดในคดีมรดก
ศาลชั้นต้นสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องจึงร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความในคดีที่ทายาทพิพาทเรื่องแบ่งมรดกกัน ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ จำเลยในคดีนั้นฎีกา ระหว่างฎีกาศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ให้ศาลพิจารณาคำขอตั้งผู้จัดการมรดกแล้วมีคำสั่งใหม่ ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกและร้องสอด ไม่มีส่วนได้เสียที่จะร้องสอด