พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินเป็นประกัน
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก สัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดี ภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรก ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้ จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดี ภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรก ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้ จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาขายฝากและการบังคับสิทธิในเงินฝากเพื่อชำระหนี้: สิทธิของธนาคารผู้รับฝากเมื่อสัญญาขายฝากถูกยกเลิก
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด แล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปี และในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิก ลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้ เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้ นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาขายฝากแล้ว ธนาคารมีสิทธิรับเงินฝากเพื่อชำระหนี้ได้
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทยจำกัดแล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปีและในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิกลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942-943/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากโมฆะแต่มีเจตนาสละสิทธิครอบครอง ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองเมื่อพ้นกำหนดไถ่
ทำสัญญาขายฝากที่ดินมือเปล่าโดยมิได้จดทะเบียนและผู้ขายมอบนาให้ผู้ซื้อทำกินโดยมีข้อตกลงว่า ถ้าไม่ไถ่ภายในกำหนด 3 เดือน ให้ที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อโดยผู้ขายไม่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้ ถึงแม้สัญญาขายฝากจะเป็นโมฆะ แต่ก็ยังถือได้ว่าผู้ขายได้สละสิทธิครอบครองไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วันพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิครอบครองตั้งแต่วันพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว และกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินที่กู้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่ามีข้อตกลงให้ไถ่ถอนคืนได้ หากไม่ได้ทำตามรูปแบบสัญญาขายฝาก สัญญาเป็นโมฆะ
บิดาจำเลยได้ขายนาพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้โจทก์ทำหนังสือสัญญากันเองชำระราคากันแล้ว และบิดาจำเลยได้ส่งมอบนาพิพาทให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญาในสัญญาซื้อขายนั้นมีข้อความว่า เมื่อผู้ขายต้องการจะไถ่ถอนนาคืน จะยอมคิดดอกเบี้ยให้ผู้ซื้อร้อยละ 10 บาทต่อเดือนอันเป็นข้อสัญญาที่ให้ไถ่ถอนนาคืนเช่นสัญญาขายฝาก
เมื่อไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาขายฝากโดยถูกต้องจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ขายจะขอไถ่ถอนนาคืนโดยอาศัยสัญญานี้ไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 352/2492)
เมื่อไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาขายฝากโดยถูกต้องจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ขายจะขอไถ่ถอนนาคืนโดยอาศัยสัญญานี้ไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 352/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่มีข้อตกลงให้ไถ่ถอนคืนได้ หากไม่ทำตามรูปแบบสัญญาขายฝาก สัญญาเป็นโมฆะ
บิดาจำเลยได้ขายนาพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้โจทก์ ทำหนังสือสัญญากันเองชำระราคากันแล้ว และบิดาจำเลยได้ส่งมอบนาพิพาทให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญา ในสัญญาซื้อขายนั้นมีข้อความว่า เมื่อผู้ขายต้องการจะไถ่ถอนนาคืน จะยอมคิดดอกเบี้ยให้ผู้ซื้อร้อยละ 10 บาทต่อเดือน อันเป็นข้อสัญญาที่ให้ไถ่ถอนนาคืนเช่นสัญญาขายฝาก
เมื่อไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาขายฝากโดยถูกต้อง จึงตกเป็นโมฆะ จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ขายจะขอไถ่ถอนนาคืน โดยอาศัยสัญญานี้ไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 352/2492)
เมื่อไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาขายฝากโดยถูกต้อง จึงตกเป็นโมฆะ จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ขายจะขอไถ่ถอนนาคืน โดยอาศัยสัญญานี้ไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 352/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหน้าที่จำเลยต้องพิสูจน์เมื่อรับสภาพการทำสัญญาขายฝาก แต่ต่อมาอ้างว่าเป็นสัญญาลวง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายฝากทรัพย์ให้กับโจทก์ แล้วต่อมาจำเลยยังไม่ออกไปจากทรัพย์นั้น ขอให้ขับไล่ จำเลยรับว่าได้ทำสัญญาขายฝากจริงแต่เป็นการทำลวงไว้เท่านั้น เมื่อมีคำรับของจำเลยว่ามีการขายฝากกันจริงและมีข้ออ้างของจำเลยโดยเฉพาะขึ้นใหม่ว่าสมคบกันทำไว้ลวงคนอื่นดังนี้ จำเลยต้องนำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากหลุดจำนอง ขยายเวลาสัญญาขัดมาตรา 496 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญาเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยอ้างว่าจำเลยได้ขายฝากหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์แล้ว จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ตกลงขยายเวลาการขายฝากให้อีก 1 ปี และฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ให้ขยายเวลาการขายฝากตามที่ตกลงกันไว้ ดังนี้ หากแม้จะฟังว่าได้มีการตกลงกันจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างก็ตาม ก็ไม่อาจบังคับตามฟ้องแย้งที่ขอให้ศาลขยายเวลาให้อีก 1 ปีได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อ มาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงใช้บังคับไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 129/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองทำให้สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์และสิทธิฟ้องขับไล่
ในกรณีที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่จะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นจริงดังจำเลยกล่าวอ้างสัญญาขายฝากก็ใช้บังคับไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เมื่อสัญญาขายฝากใช้บังคับไม่ได้แล้วโจทก์ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตามสัญญาขายฝาก และไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย(เทียบตามนัยฎีกาที่ 295/2508)
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างสัญญาขายฝาก ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญาขายฝาก และมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ และเมื่อไม่ได้พิพาทกันเรื่องการบังคับจำนอง จึงยังไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าสัญญาจำนองนั้นจะมีผลบังคับได้หรือไม่
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างสัญญาขายฝาก ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญาขายฝาก และมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ และเมื่อไม่ได้พิพาทกันเรื่องการบังคับจำนอง จึงยังไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าสัญญาจำนองนั้นจะมีผลบังคับได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
ในกรณีที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่จะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นจริงดังจำเลยกล่าวอ้างสัญญาขายฝากก็ใช้บังคับไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เมื่อสัญญาขายฝากใช้บังคับไม่ได้แล้ว โจทก์ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตามสัญญาขายฝาก และไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย(เทียบตามนัยฎีกาที่ 295/2508)
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างสัญญาขายฝาก ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญาขายฝาก และมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ และเมื่อไม่ได้พิพาทกันเรื่องการบังคับจำนอง จึงยังไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าสัญญาจำนองนั้นจะมีผลบังคับได้หรือไม่
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างสัญญาขายฝาก ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญาขายฝาก และมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ และเมื่อไม่ได้พิพาทกันเรื่องการบังคับจำนอง จึงยังไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าสัญญาจำนองนั้นจะมีผลบังคับได้หรือไม่