พบผลลัพธ์ทั้งหมด 674 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันโจทก์ หากทำโดยทนายโดยโจทก์ไม่ยินยอม
เมื่อประเด็นแห่งคดีคงมีเฉพาะเกี่ยวกับหนี้จำนวนที่โจทก์ฟ้องมิได้รวมถึงหนี้รายอื่นที่จำเลยให้การถึง การที่ทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยในหนี้รายอื่น โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ไม่มีผลผูกพันโจทก์ และศาลไม่อาจมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 138 โจทก์ย่อมอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนเสียได้
โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องครอบคลุมเฉพาะประเด็นแห่งคดี การทำสัญญาเกี่ยวกับหนี้อื่นย่อมไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อประเด็นแห่งคดีคงมีเฉพาะเกี่ยวกับหนี้จำนวนที่โจทก์ฟ้องมิได้รวมถึงหนี้รายอื่นที่จำเลยให้การถึง การที่ทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยในหนี้รายอื่น โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ไม่มีผลผูกพันโจทก์ และศาลไม่อาจมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 โจทก์ย่อมอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนเสียได้
โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ ผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนด บังคับคดีได้ แม้ชำระเงินครบถ้วน
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โดยจำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระเป็นงวด หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใด บังคับคดีได้ทันที กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระให้ทนายโจทก์ที่สำนักงาน งวดแรกชำระในวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยที่ 1 กลับชำระในวันที่ 30 พฤษภาคม 2540โดยโอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ผ่านทางธนาคารครบถ้วนตามข้อตกลง แม้จะชำระเงินครบถ้วนดังกล่าว ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะชำระหนี้ล่วงเลยกำหนด ทั้งชำระผิดสถานที่ที่ระบุไว้อันเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 เอง การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้ว่าจำนวนหนี้ตามหมายบังคับคดีมากกว่าความเป็นจริงเนื่องจากมีการชำระหนี้ไปบ้างแล้วศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องไม่เป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะขอยกเลิกหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3766/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การยกที่ดินโดยประมาณ และการรังวัดเพื่อกำหนดเนื้อที่ที่แน่นอน
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมได้ระบุไว้โดยชัดเจนว่าโจทก์จะยกที่ดินพิพาทด้านทิศเหนือโดยวัดจากกึ่งกลางถนนเป็นเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน78 ตารางวา ให้แก่จำเลย แสดงว่าคู่ความทำสัญญาโดยมุ่งที่จะรังวัดที่ดินเพื่อยกให้แก่จำเลยในจำนวนดังกล่าว ส่วนการที่คู่สัญญาใช้ถ้อยคำว่า "ประมาณ" ก็เพียงเพื่อในกรณีที่ลักษณะของที่ดินไม่อาจรังวัดแบ่งแยกออกได้เนื้อที่แน่นอนในจำนวนดังกล่าวก็ให้ได้เนื้อที่ที่ใกล้เคียงกับจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาที่สุด ดังนั้น เมื่อการรังวัดยังไม่ได้ตำแหน่งและเนื้อที่ดินตามสัญญา การที่โจทก์ยังมิได้โอนที่ดินให้แก่จำเลยตามยอมจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญายอมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยสละสิทธิและสัญญาประนีประนอมยอมความ มิอาจฟ้องร้องขอแบ่งมรดกเพิ่มเติมได้
++ เรื่อง มรดก
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 124 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 124 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่กระทบสิทธิสัญญาเช่าซื้อเดิม ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภ. โดยจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ ต่อมาห้าง ภ. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด และโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังห้าง ภ. แล้ว ต่อมากลับมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยขึ้น โดยเอาหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมเข้าเป็นเงินจำนวนเดียวให้จำเลยผ่อนชำระ แต่ในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กล่าวถึงรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ ทั้งปรากฏว่าหลังจากนั้นห้าง ภ. และจำเลยยังคงครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อต่อมาอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า หากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจนครบแล้ว โจทก์ย่อมโอนกรรมสิทธิ์และโอนทางทะเบียนรถยนต์นั้นให้แก่ห้าง ภ. ผู้เช่าซื้ออย่างแน่นอน เพราะมิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้ห้าง ภ. และจำเลยครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็ดี และยอมจะโอนกรรมสิทธ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้ห้าง ภ. เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้ครบถ้วนแล้วก็ดี ย่อมแสดงว่าคู่สัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้มีเจตนาให้สัญญาเช่าซื้อเลิกไปเสียทั้งหมด คงเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่จำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อและการผ่อนชำระเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ประกอบกับ มาตรา 852 อันจะทำให้สิทธิหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมระงับไป แต่คงมีลักษณะเป็นเพียงสัญญารับสภาพหนี้และผ่อนชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและหนี้อื่น ๆ ที่ค้างชำระเท่านั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงมีผลบังคับอยู่ ห้าง ภ. ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 และโจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อหลังจากนั้นหาได้ไม่ ส่วนสิทธิของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีอยู่เพียงใด เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องตั้งประเด็นตามสัญญาเช่าซื้อจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยได้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะไปฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์มรดกและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน รวมถึงข้อจำกัดในการยกประเด็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ส. ร่วมกัน และเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดก ส่วนของตนตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่ง ทรัพย์มรดกนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง แม้จะล่วงพ้นอายุความตามมาตรา 1754 คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ ตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นเรื่องสัญญา ประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยเพิ่งยื่นสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อศาลประกอบคำเบิกความพยานจำเลย จึงมิใช่กรณี คู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความและให้ศาลพิพากษา ตาม ยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138การที่ศาลชั้นต้นไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาชอบแล้วดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้วเช่นกัน และจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมาเพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7626/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แม้มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าทนายความของโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกระทำการนอกเหนือขอบอำนาจของการเป็น ตัวแทน แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้รับความเสียหาย เป็นประการใดก็ชอบที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ทนายความของโจทก์ตามกฎหมาย เมื่อคดีดังกล่าวโจทก์เป็นคู่ความและโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้วเช่นนี้ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องก็อาจจะอุทธรณ์คัดค้าน คำพิพากษาดังกล่าวได้ หากเข้ากรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 138แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์และคดี ถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษา ตามสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7568/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสและบุตร
ช. ต้องการแบ่งทรัพย์สินแก่บุตรไว้ก่อนถึงแก่กรรม เนื่องจาก ช. เป็นคนต่างด้าวไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ จึงใส่ชื่อจำเลยบุตรคนหนึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่โจทก์ภรรยาของ ช. กับ ช. ทำมาหาได้ร่วมกัน โดยมีรายละเอียดระบุให้บุตรคนใดถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวห้องใดและกำหนดค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ค่ารังวัดแบ่งแยกและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้คู่สัญญาที่จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ต่อไปเป็นผู้ออกเอง เพื่อระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ผลของสัญญาทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตามมาตรา 852 โจทก์จึงมาฟ้องเรียกที่ดินและตึกแถวจากจำเลยมาเป็นของโจทก์แต่ผู้เดียวไม่ได้
แม้จำเลยมิได้ให้การว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ. 11 เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตรง แต่ก็ได้ให้การไว้แล้วว่าโจทก์และ ช. ได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินให้ทายาทเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นส่วนสัดเรียบร้อยแล้วตามบันทึกข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี
แม้จำเลยมิได้ให้การว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ. 11 เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตรง แต่ก็ได้ให้การไว้แล้วว่าโจทก์และ ช. ได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินให้ทายาทเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นส่วนสัดเรียบร้อยแล้วตามบันทึกข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิบังคับคดีจำกัดเฉพาะทรัพย์จำนองหรือไม่
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ ให้ศาลพิพากษาสั่งให้ยึดที่ดินพิพาทซึ่งจำนองไว้และให้นำออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทน โดยไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก