คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาไม่สมบูรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ให้เช่าฟ้องค่าเช่าไม่ได้ แต่ฟ้องขับไล่ได้เมื่อได้รับมอบอำนาจ
สัญญาเช่าตึกต้องทำเปนหนังสือจึงจะสมบูรณ์ เช่าตึกโดยมิได้ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ให้เช่าจะฟ้องเรียกค่าเช่าจากผู้เช่าไม่ได้ ผู้ให้เช่าช่วงฟ้องขับไล่ผู้เช่าช่วงได้ เมื่อผู้ให้เช่าเดิมมอบอำนาจให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่สมบูรณ์ การชำระหนี้โดยไม่มีสัญญาผูกพันไม่มีสิทธิรับเงินคืน
เมื่อข้อตกลงซึ่งเปนสาระสำคัญแห่งสัญญายังเปนที่สงสัย ต้องนับว่าไม่มีสัญญาต่อกัน ชำระหนี้ไปโดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันจะต้องชำระหนี้ ดังนี้ตนหามีสิทธิได้รับเงินนั้นคืนไม่ วิธีพิจารณาแพ่งความสมัครใจปฏิบัติศาลบังคับให้ ถึงแม้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ปฏิบัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์ ผู้ซื้อไม่ดำเนินการตามสัญญาภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ศาลไม่บังคับขาย
ไม่บังคับให้ขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่สมบูรณ์ โอนทรัพย์สินก่อนชำระหนี้ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรวม 15 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องไปทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอีกครั้งหนึ่ง และเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 8,500,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 สิทธิเรียกร้องที่จะให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินรวม 15 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายยังมิอาจบังคับกันได้ โจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามความหมายในบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 350 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่โอนที่ดิน 3 แปลงใน 15 แปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9108/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างขนส่งยังไม่เกิดขึ้นหากไม่มีการลงนามในสัญญา แม้จะมีการตกลงรายละเอียดเบื้องต้น
เดิมจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขนสินค้าเองบางส่วนที่เหลือให้โจทก์และบริษัทอื่นรับจ้างขนสินค้าคิดค่าจ้างเป็นรายเที่ยว จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับโจทก์มีสัญญาต่อกันในการรับจ้างขนสินค้าบางส่วนดังกล่าว ครั้นต่อมาโจทก์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนด้านการจัดส่งสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่ง ธ. กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์ยอมรับว่ายังไม่มีการทำสัญญาเนื่องจากสัญญาจะทำขึ้นในภายหลัง แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนาว่าสัญญาอันมุ่งจะทำต่อกันนั้นต้องทำเป็นหนังสือ แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่สามารถลงนามในสัญญาได้ เนื่องจากยังไม่สามารถตกลงกันได้ในรายละเอียด ดังนั้น เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา ต้องถือว่ายังไม่มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง สัญญาว่าจ้างรถห้องเย็นขนส่งสินค้าที่ว่าจ้างโจทก์แต่ผู้เดียวตามฟ้องจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงจะฟ้องให้อีกฝ่ายปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเคเบิ้ลทีวี: การตกลงสัญญาใหม่ต้องสมบูรณ์ การชำระค่าบริการต่อเนื่องไม่ผูกพันสัญญา
หลังจากสัญญายินยอมให้ดำเนินธุรกิจบริการเคเบิ้ลทีวีระหว่างโจทก์และจำเลยสิ้นสุดแล้ว โจทก์ได้ส่งสัญญาในลักษณะดังกล่าวส่งให้แก่จำเลยเพื่อทำการต่อสัญญาและติดตามให้จำเลยลงนามในร่างสัญญาหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ลงนาม ซึ่งทางปฏิบัติของโจทก์เช่นนั้น แสดงว่าข้อความแห่งร่างสัญญาดังกล่าว โจทก์ถือเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อ ได้ความจากจำเลยว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมลงนามในร่างสัญญานั้น เพราะโจทก์ไม่ยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณให้ทันสมัยหรือมีความน่าสนใจตรงตามความต้องการของลูกค้าในเขตตำบลราไวย์ ทั้งไม่มีการส่งเสริมการขายใดๆ ประกอบกับมีผู้ประกอบการให้บริการเคเบิ้ลทีวีเกิดขึ้นในตำบลราไวย์อีกหลายราย จึงสอบถามโจทก์ว่าเหตุใดจึงมีคู่แข่งได้ทั้งที่โจทก์เคยบอกจำเลยว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตแต่เพียงผู้เดียว แต่โจทก์ไม่ได้ตอบคำถาม เห็นได้ว่าจำเลยประสงค์ที่จะตกลงกับโจทก์ใหม่ แต่เมื่อโจทก์และจำเลยยังตกลงกันไม่ได้อยู่ตราบใด ถือว่าโจทก์และจำเลยยังไม่มีสัญญาต่อกัน แม้ในระหว่างนั้นจำเลยจะยังคงชำระค่าธรรมเนียมและค่าเชื่อมส่งสัญญาณให้แก่โจทก์ ก็หาเป็นการผูกพันให้จำเลยลงนามในร่างสัญญาดังกล่าวไม่ ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับการก่อให้เกิดสัญญา และมีผลไปถึงอำนาจฟ้องในกรณีผิดสัญญา ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง แม้ภายหลังสัญญายินยอมให้ดำเนินธุรกิจบริการเคเบิ้ลทีวีระหว่างโจทก์และจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ได้ส่งสัญญาณภาพเคเบิ้ลทีวีไปยังจำเลยต่อไป ก็เป็นการดำเนินการของโจทก์ไปฝ่ายเดียวโดยที่จำเลยไม่ได้ตกลงด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่สมบูรณ์ เงินมัดจำต้องคืน จำเลยไม่มีสิทธิริบ
ใบรับเงินมีข้อความว่า "จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินเป็นเวลา 2 ปี และในวันนี้โจทก์ได้ชำระเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาท ด้วยเช็ค ส่วนที่เหลือจะชำระตามเงื่อนไขสัญญาจะซื้อจะขายที่ทั้งสองฝ่ายจัดทำขึ้นภายใน 30 วัน" เห็นได้ว่า ใบรับเงินเป็นเพียงหลักฐานการรับเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแก่จำเลยเท่านั้น หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะได้จัดทำขึ้นภายหลังภายใน 30 วัน ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน แสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีก กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ" ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกิดขึ้น เงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปรากศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยไม่มีสิทธิริบมัดจำจึงต้องคืนให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของที่ไม่สมบูรณ์ & ตัวแทนจำเลย การรับผิดของตัวการ
หนังสือสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยระบุว่าทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างกับบริษัทโจทก์ผู้รับจ้าง แม้ ด. กรรมการของโจทก์คนหนึ่งจะลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างดังกล่าวโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ซึ่งอาจไม่สมบูรณ์ในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ แต่โจทก์ได้รับเอางานจ้างดังกล่าวมาทำอันแสดงว่าโจทก์ยอมรับหนังสือสัญญาว่าจ้างดังกล่าว และเมื่อมีเหตุผิดสัญญาโจทก์ก็ได้ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา จึงถือได้ว่า ด. ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์โดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการแต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ เนื่องจากสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนี้ สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยจึงมีผลผูกพันโจทก์
สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร แต่จำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยตามฟ้องกับโจทก์ตามฟ้องจริง มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของข้อความในสัญญา เพียงแต่ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดเพราะจำเลยที่ 2 ลงลายชื่อในสัญญาว่าจ้างดังกล่าวโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายหรือแต่งตั้งให้กระทำการแทนเท่านั้น จึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองยอมรับว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยกับโจทก์ได้ไม่จำเป็นต้องอาศัยหนังสือสัญญาว่าจ้างเป็นหลักฐานในคดี ฉะนั้น แม้สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ไม่ต้องห้ามรับฟังตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยระบุว่าทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างกับโจทก์ผู้รับจ้าง ทั้งหลังจากทำสัญญาว่าจ้างแล้วจำเลยที่ 1 ก็ได้รับเอางานที่โจทก์รับจ้างทำทั้งหมด และได้จ่ายเงินค่าจ้างตามสัญญาบางส่วนให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาจ้างกับโจทก์เอง พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดให้จำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนในการเข้าทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5335/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้า: สัญญาจองยังไม่สมบูรณ์ ไม่เกิดสิทธิเรียกร้อง
สัญญาจองของผู้จองซื้อที่ดินในโครงการบ้านจัดสรรของจำเลยเป็นเพียงหนังสือแจ้งความประสงค์จะจองที่ดินในโครงการโดยจะทำสัญญาจะซื้อจะขายกันหลังจากทำการถมที่ดินและทำถนนในโครงการเสร็จแล้ว เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายยังไม่ได้ทำกัน ผลจากการชี้ช่องหรือจัดการของโจทก์ที่ทำการเป็นนายหน้าจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าบำเหน็จในการเป็นนายหน้าจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 845

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกเงินเกินบัญชี - สัญญาไม่สมบูรณ์ - ตัวแทนกระทำโดยมิชอบ - ผู้รับเหมาเข้าใจผิด - ธนาคารต้องรับผิด
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อให้ ช. นำเงินค่างวดในการจ้างเหมาก่อสร้างบ้านของ ช. ชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินเข้าบัญชีให้ และจำเลยจะใช้เช็คเบิกถอนเงินค่าจ้าง ดังนั้น หาก ช. ไม่นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ จำเลยย่อมจะใช้เช็คถอนเงินไม่ได้ ธนาคารโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยแทน ช. การที่ ช. ยอมอนุมัติจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นการรับเงินค่างวดที่ ช. นำเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านเข้าบัญชีให้เพื่อชำระหนี้ หาก ช. ไม่ใช่ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง จำเลยก็ย่อมไม่สามารถจะใช้เช็คถอนเงินได้ และหากเงินในบัญชีไม่มีธนาคารก็ต้องปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของ ช. ถือได้ว่าเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะเป็นตัวการจึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวแทนของตน การที่จำเลยรับเงินไปจากธนาคารโจทก์โดยสำคัญผิดว่าเป็นเงินค่างวดของจำเลยที่จำเลยมีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ทำนิติกรรมเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยในฐานะเป็นลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้
of 10