พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8151-8152/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สินค้าต่างประเภท แม้เสียงคล้ายกันแต่ไม่ทำให้สับสน ศาลอนุญาตจดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "HEXAXIM" ของโจทก์ขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกที่ 5 คือ ยา เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้า "EXAZYM" ของ ค. แต่สินค้าของโจทก์เป็นวัคซีน ส่วนสินค้าของ ค. เป็นสารที่เตรียมขึ้นใช้ในการวินิจฉัยโรค ใช้ในทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับไวรัส แม้เป็นสินค้าจำพวกยาเหมือนกัน แต่มีลักษณะการใช้แตกต่างกัน โดยวัคซีนของโจทก์ใช้ฉีดสำหรับเด็กเพื่อป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน ฯลฯ ไม่ได้จำหน่ายแก่ร้านค้าหรือร้านขายยาทั่วไป แต่ขายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายนำสินค้าไปกระจายให้แก่โรงพยาบาลหรือผู้มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ วัคซีนนี้ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น บนกล่องระบุชัดเจนว่าเป็นยาอันตราย ผู้ใช้คือแพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาล ส่วนสินค้าเครื่องหมายการค้า "EXAZYM" ที่จดทะเบียนแล้วซึ่งเป็นสารที่เตรียมขึ้นใช้ในการวินิจฉัยโรคใช้ในทางการแพทย์นั้น กลุ่มผู้ใช้สินค้าคือนักเทคนิคการแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยใช้สารในการวินิจฉัยโรคจากสิ่งที่ส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ เป็นต้น ไม่มีจำหน่ายตามร้านขายยาและร้านค้าทั่วไป ต้องซื้อจากตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิต โดยตัวแทนจะติดต่อกับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์โดยตรงและมีราคาสูง ส่วนวัคซีนตัวแทนจำหน่ายจะติดต่อกับแพทย์ในโรงพยาบาลซึ่งเป็นคนละส่วนกัน เห็นได้ว่าผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "HEXAXIM" กับผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "EXAZYM" เป็นคนละกลุ่มกัน และผู้ใช้สินค้าแต่ละกลุ่มต่างก็เป็นผู้มีวิชาชีพ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและความชำนาญเฉพาะทาง ย่อมสามารถแยกแยะสินค้าทั้งสองได้โดยไม่สับสนหรือหลงผิด นอกจากนั้น ช่องทางในการจำหน่ายสินค้าก็แตกต่างกัน ทั้งไม่ได้วางจำหน่ายในร้านขายยาหรือร้านค้าทั่วไป แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองจะมีเสียงเรียกขานคล้ายกัน แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนผู้ใช้สินค้าสับสนหรือหลงผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6768/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเสียงเรียกขานและการสับสนของสาธารณชน
ในแง่เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้า CHUPA CHUPS ของโจทก์และโจทก์ร่วมนั้น ไม่จำต้องเรียกขานตามที่ผู้ขอจดทะเบียนระบุคำอ่านไว้ในคำขอจดทะเบียนเท่านั้น การเรียกขานที่จะนำมาพิจารณาจะต้องเป็นการเรียกขานที่สาธารณชนอาจเรียกขานได้ การที่เครื่องหมายการค้า Joopy Juups ของจำเลยเรียกขานว่า "จุ๊ปปี้ จุ๊ปส์" และเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมอาจเรียกขานว่า "จูปา จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ป ป้า ชู้ปส์" นั้น เสียงเรียกขานพยานค์แรกคือ "จูป" หรือ "ชู้ป" กับ "จู๊ป" ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกันของจำเลยคล้ายกัน และเสียงเรียกขานพยางค์ที่สามของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยคือ "จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ปส์" กับ "จุ๊ปส์" เหมือนหรือคล้ายกัน แม้ว่าเสียงเรียกของพยางค์ที่สองของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยมีความแตกต่างกันบ้าง แต่เมื่อออกเสียงโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าเสียงเรียกขานคล้ายกัน จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อใช้กับสินค้าลูกอมในจำพวก 30 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม โดยมีกลุ่มลูกค้าสำคัญคือเด็กเช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6768/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและการสับสนของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมเรียกขานว่า "จูปา จุ๊ปส์" หรือ "จุ๊ปปะ จุ๊ปส์" นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาจากตัวอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นไปได้ที่สาธารณชนอาจออกเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า "ชู้ป ป้า ชู้ปส์" หรือ "ชัป ป้า ชัปส์" การที่เครื่องหมายการค้า Joopy Juups ของจำเลยเรียกขานว่า "จุ๊ปปี้ จุ๊ปส์" และเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมอาจเรียกขานว่า "จูปา จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ป ป้า ชู้ปส์" นั้น เสียงเรียกขานพยางค์แรก คือ "จูป" หรือ "ชู้ป" กับ "จุ๊ป" ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยคล้ายกัน และเสียงเรียกขานพยางค์ที่สามของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยคือ "จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ปส์" กับ "จุ๊ปส์" เหมือนหรือคล้ายกัน แม้ว่าเสียงเรียกขานพยางค์ที่สองของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยมีความแตกต่างกันบ้างแต่เมื่อออกเสียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าคล้ายกัน จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าลูกอมในจำพวก 30 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม โดยมีกลุ่มลูกค้าสำคัญคือเด็กเช่นเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากวัยของกลุ่มลูกค้าสำคัญที่ซื้อสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับสินค้าของจำเลยที่มีความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างของสินค้าน้อยกว่าผู้ใหญ่แล้ว เห็นว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า ห้ามใช้ชื่อคล้ายทำให้สับสน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้ากล่าวหาว่าร่วมกันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 109 และ 110 ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าโดยหลอกลวงในแหล่งกำเนิดของสินค้าและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ส่วนคดีนี้เป็นคดีแพ่งพิพาทกันในเรื่องสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างได้รับการจดทะเบียนว่าใครมีสิทธิดีกว่าและมีเหตุเพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 ได้หรือไม่ หรือเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าโดยตรง ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่าใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดีกว่ากัน คดีนี้ย่อมมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่งประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 46
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 3 ประกอบด้วยคำว่า KOBE และ GOBE เป็นสาระสำคัญ ซึ่งคำทั้งสองต่างใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ 4 ตัว มีเสียงเรียกขานเหมือนกันว่า โกเบ และใช้กับสินค้าลวดเชื่อมโลหะเหมือนกัน กล่องบรรจุสินค้ามีสีเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน ตัวอักษรบนกล่องและการวางตำแหน่งตัวอักษรคล้ายกัน เมื่อคำนึงถึงว่าส่วนใหญ่ของสาธารณชนมิได้มีความรู้ภาษาอังกฤษดีพอที่จะแยกความแตกต่างของตัวอักษรด้วยแล้ว ย่อมเป็นไปได้ง่ายที่สาธารณชนจะเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 จึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า KOBE จนถึงกับเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 ได้
คำว่า KOBE ที่โจทก์ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าในการประกอบการค้าของโจทก์เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อประกอบการค้าผลิตภัณฑ์ลวดเชื่อมโลหะเช่นเดียวกันกับโจทก์ โดยใช้ชื่อว่า บริษัทเค โอ บี อี เวลดิ้ง จำกัด ซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมันว่า KOBE WELDING CO., LTD พ้องกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและชื่อทางการค้าของโจทก์ กับนำชื่อภาษาอังกฤษของจำเลยที่ 1 ไปพิมพ์ที่กล่องบรรจุสินค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เป็นการมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์โดยไม่สุจริต การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงละเมิดสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5, 18, 420 และ 421 โจทก์ผู้มีสิทธิโดยชอบที่จะใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์จากการใช้ชื่อโดยมิชอบของจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 มิให้ใช้ชื่อ เค โอ บี อี เวลดิ้ง หรือ KOBE WELDING ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในการบังคับจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลด้วยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมิให้ใช้คำว่า เค โอ บี อี หรือ โกเบ ด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 3 ประกอบด้วยคำว่า KOBE และ GOBE เป็นสาระสำคัญ ซึ่งคำทั้งสองต่างใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ 4 ตัว มีเสียงเรียกขานเหมือนกันว่า โกเบ และใช้กับสินค้าลวดเชื่อมโลหะเหมือนกัน กล่องบรรจุสินค้ามีสีเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน ตัวอักษรบนกล่องและการวางตำแหน่งตัวอักษรคล้ายกัน เมื่อคำนึงถึงว่าส่วนใหญ่ของสาธารณชนมิได้มีความรู้ภาษาอังกฤษดีพอที่จะแยกความแตกต่างของตัวอักษรด้วยแล้ว ย่อมเป็นไปได้ง่ายที่สาธารณชนจะเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 จึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า KOBE จนถึงกับเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 ได้
คำว่า KOBE ที่โจทก์ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าในการประกอบการค้าของโจทก์เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อประกอบการค้าผลิตภัณฑ์ลวดเชื่อมโลหะเช่นเดียวกันกับโจทก์ โดยใช้ชื่อว่า บริษัทเค โอ บี อี เวลดิ้ง จำกัด ซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมันว่า KOBE WELDING CO., LTD พ้องกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและชื่อทางการค้าของโจทก์ กับนำชื่อภาษาอังกฤษของจำเลยที่ 1 ไปพิมพ์ที่กล่องบรรจุสินค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เป็นการมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์โดยไม่สุจริต การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงละเมิดสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5, 18, 420 และ 421 โจทก์ผู้มีสิทธิโดยชอบที่จะใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์จากการใช้ชื่อโดยมิชอบของจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 มิให้ใช้ชื่อ เค โอ บี อี เวลดิ้ง หรือ KOBE WELDING ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในการบังคับจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลด้วยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมิให้ใช้คำว่า เค โอ บี อี หรือ โกเบ ด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีบางส่วนเหมือนกัน ผู้บริโภคไม่สับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญคืออักษรโรมันที่มีลักษณะประดิษฐ์ เมื่อเปรียบเทียบรูปลักษณะระหว่างเครื่องหมายการค้า ของโจทก์กับ ของจำเลยที่ 2 จะมีจำนวนอักษรเท่ากันคือ 9 ตัว กับมีตัวอักษรที่ 1, 3, 4 และ 5 เหมือนกัน อักษรตัวแรกแม้จะเหมือนกัน แต่การประดิษฐ์ลายเส้นของตัวอักษรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนอักษรตัวที่ 6 ถึง 9 นั้นแตกต่างกัน คือระหว่างอักษรโรมันคำว่า lite กับคำว่า trim และเมื่อพิจารณาโดยรวมทั้งเครื่องหมาย ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ยังมีรูปคนประดิษฐ์และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นส่วนประกอบด้วย ก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าได้อย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาต่อไปถึงเสียงเรียกขานก็เห็นได้ว่ามีความเหมือนกันใน 2 พยางค์แรก แต่ต่างกันในพยางค์สุดท้าย หากเรียกทั้งสามพยางค์แล้ว เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็จะมีความแตกต่างกันและยังไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าผู้บริโภคในสังคมจะเรียกหาสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 2 สั้นๆ เหมือนกันว่า "ไฮโดร" ส่วนสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้ารวมตลอดถึงบรรจุภัณฑ์ของสินค้า แม้จะเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันและรายการสินค้าอาจเหมือนหรือคล้ายกัน คือ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าสิ่งที่สกัดจากพืชใช้เป็นอาหาร ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ใช้กับสินค้าอาหารเสริมที่ทำจากผลส้มแขกที่ไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์ แต่สินค้านี้มีราคาสูง ใช้บริโภคเพื่อสุขภาพของบุคคลเชื่อว่าผู้บริโภคสินค้านี้จะศึกษาอย่างรอบคอบและระมัดระวังทั้งทำความเข้าใจอย่างดีก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า การที่สินค้ามีขนาดบรรจุเท่ากันหรือมีราคาเท่ากันนับเป็นเรื่องของการแข่งขันในการประกอบธุรกิจ ไม่ถึงขนาดที่จะเป็นเจตนาไม่สุจริตจงใจลอกเลียนสินค้าเพื่อหลอกลวงผู้บริโภค ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยที่ 2 จึงไม่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
สำหรับกรณีของเครื่องหมายการค้า ของโจทก์กับ ของจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อเปรียบเทียบรูปลักษณะจะเห็นได้ว่า ยังมีความแตกต่างกันทั้งในรูปลักษณะ เสียงเรียกขาน และจำพวกสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีอักษรโรมันจำนวน 13 ตัว และมีอักษรไทยคำว่า "ไฮโดรไลท์สลิม" กำกับอยู่ เสียงเรียกขานมี 5 พยางค์ และใช้กับสินค้าจำพวก 5 รายการสินค้า อาหารควบคุมน้ำหนักใช้ในทางการแพทย์ ในขณะที่เครื่องหมายการค้า สินค้า อาหารควบคุมน้ำหนักใช้ในทางการแพทย์ ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 มีอักษรโรมันจำนวน 9 ตัว โดยมีรูปคนประดิษฐ์และรูปสี่เหลี่ยนมผืนผ้าเป็นส่วนประกอบ เสียงเรียกขานมี 3 พยางค์ และใช้กับสินค้าจำพวก 29 รายการสินค้า อาหารเสริมที่ทำจากผลส้มแขกที่ไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์ ความแตกต่างเหล่านี้เห็นได้ชัดเจน ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยที่ 2 ไม่คล้ายกัน สาธารณชนไม่สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
สำหรับกรณีของเครื่องหมายการค้า ของโจทก์กับ ของจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อเปรียบเทียบรูปลักษณะจะเห็นได้ว่า ยังมีความแตกต่างกันทั้งในรูปลักษณะ เสียงเรียกขาน และจำพวกสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีอักษรโรมันจำนวน 13 ตัว และมีอักษรไทยคำว่า "ไฮโดรไลท์สลิม" กำกับอยู่ เสียงเรียกขานมี 5 พยางค์ และใช้กับสินค้าจำพวก 5 รายการสินค้า อาหารควบคุมน้ำหนักใช้ในทางการแพทย์ ในขณะที่เครื่องหมายการค้า สินค้า อาหารควบคุมน้ำหนักใช้ในทางการแพทย์ ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 มีอักษรโรมันจำนวน 9 ตัว โดยมีรูปคนประดิษฐ์และรูปสี่เหลี่ยนมผืนผ้าเป็นส่วนประกอบ เสียงเรียกขานมี 3 พยางค์ และใช้กับสินค้าจำพวก 29 รายการสินค้า อาหารเสริมที่ทำจากผลส้มแขกที่ไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์ ความแตกต่างเหล่านี้เห็นได้ชัดเจน ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยที่ 2 ไม่คล้ายกัน สาธารณชนไม่สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า คำสามัญทั่วไป ไม่ทำให้สับสน
หน้าที่หลักของเครื่องหมายการค้า คือ หน้าที่บอกแหล่งที่มาของสินค้า และหน้าที่บอกความแตกต่างระหว่างสินค้า หมายความว่า เครื่องหมายการค้าจะต้องบ่งบอกได้ว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด และสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่ง
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหยิบยกเครื่องหมายการค้าหลายเครื่องหมายมาพิจารณาประกอบกันในการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้กรอบหน้าที่ของเครื่องหมายการค้า
ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันคำว่า "California" และ "WOW" ซึ่งเป็นคำเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ย่อมจะเกิดความสับสนหลงผิดได้ แต่เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อักษรโรมันคำว่า "California" และ "WOW" เป็นคำสามัญทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรมโดยคำว่า "California" เป็นชื่อมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนคำว่า "WOW" เป็นคำอุทานแสดงความสำเร็จยอดเยี่ยม ดังนั้น บุคคลทั่วไปจึงสามารถนำคำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าได้ตราบเท่าที่ไม่เป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น หรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นเหตุให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเครื่องหมายมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายกขึ้นเปรียบเทียงเป็นอย่างมาก แม้เครื่องหมายการค้าเหล่านี้มีคำซ้ำกันอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นคำสามัญที่มีการใช้อยู่ทั่วไป ไม่ได้เป็นคำเฉพาะพิเศษและไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าสำหรับเสียงเรียกขาน การจะถือว่าเสียงเรียกขานบางคำซ้ำกันจนเป็นเหตุให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันจนไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้น่าจะไม่ได้ เพราะการเรียกขานสินค้าย่อมขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเรียกขานเช่นใด ทั้งการเรียกขานก็ไม่ใช่สาระสำคัญประการเดียวที่จะใช้ในการพิจารณา
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหยิบยกเครื่องหมายการค้าหลายเครื่องหมายมาพิจารณาประกอบกันในการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้กรอบหน้าที่ของเครื่องหมายการค้า
ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันคำว่า "California" และ "WOW" ซึ่งเป็นคำเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ย่อมจะเกิดความสับสนหลงผิดได้ แต่เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อักษรโรมันคำว่า "California" และ "WOW" เป็นคำสามัญทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรมโดยคำว่า "California" เป็นชื่อมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนคำว่า "WOW" เป็นคำอุทานแสดงความสำเร็จยอดเยี่ยม ดังนั้น บุคคลทั่วไปจึงสามารถนำคำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าได้ตราบเท่าที่ไม่เป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น หรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นเหตุให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเครื่องหมายมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายกขึ้นเปรียบเทียงเป็นอย่างมาก แม้เครื่องหมายการค้าเหล่านี้มีคำซ้ำกันอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นคำสามัญที่มีการใช้อยู่ทั่วไป ไม่ได้เป็นคำเฉพาะพิเศษและไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าสำหรับเสียงเรียกขาน การจะถือว่าเสียงเรียกขานบางคำซ้ำกันจนเป็นเหตุให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันจนไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้น่าจะไม่ได้ เพราะการเรียกขานสินค้าย่อมขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเรียกขานเช่นใด ทั้งการเรียกขานก็ไม่ใช่สาระสำคัญประการเดียวที่จะใช้ในการพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง vs. เครื่องหมายการค้าคล้ายกัน: สิทธิคุ้มครองและป้องกันความสับสน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจำเลยและมีคำสั่งให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าถอนคำสั่งรับจดทะเบียนและปฏิเสธไม่รับจดทะเบียน จึงเป็นเรื่องของการฟ้องเพื่อให้ยกเลิกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า หาได้เป็นการฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยดังกล่าวต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยดังกล่าวจะได้ดำเนินการใด ๆ โดยส่วนตัวหรือไม่ อย่างไรนั้น จึงไม่มีผลต่อคำพิพากษาของศาล นอกจากนี้การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่มีสถานะเป็นบุคคลตามกฎหมาย และโจทก์ฟ้องจำเลยอื่น ๆ ซึ่งเป็นกรรมการของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ก็เป็นเรื่องที่กฎหมายเปิดช่องให้กระทำได้ ฝ่ายจำเลยจึงไม่อาจกล่าวอ้างเหตุที่จำเลยดังกล่าวไม่ได้เข้าร่วมประชุมมาปฏิเสธอำนาจฟ้องของโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า "INTEL" (อินเทล) ไว้หลายคำขอซึ่งส่วนใหญ่จะ
เป็นคำว่า "INTEL" แต่เพียงคำเดียว ดังนั้น เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "INTEL Lip" แล้วจะเห็นว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายต่างเป็นอักษรโรมัน มีจำนวนตัวอักษรที่เหมือนกันและอยู่ในลำดับเดียวกันถึง 5 ตัว คือ I, N, T, E, L โดยเครื่องหมายการค้าคำว่า "INTEL Lip" จะมีตัวอักษรโรมันเพิ่มเติมอีก 3 ตัว เป็นคำต่อท้ายคือ L, i และ p ซึ่งอักษรโรมัน 5 ตัวแรกนั้นมีลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คล้ายกับอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนอักษรโรมันอีก 3 ตัวนั้น มีลักษณะเป็นตัวเขียน ลักษณะของคำจึงมีความคล้ายกัน ในส่วนของเสียงเรียกขานนั้น อาจพิจารณาได้ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็น 1 คำ อ่านออกเสียงได้ 2 พยางค์ คือ "อิน-เทล" ส่วนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 387379 เป็นคำ 2 คำ อ่านออกเสียงได้ 3 พยางค์ คือ "อิน-เทล-ลิบ" ทำให้เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายเหมือนกันใน 2 พยางค์แรก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญและสาธารณชนส่วนใหญ่จะจดจำได้มากที่สุด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "INTEL" (อินเทล) ของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "INTEL Lip" ตามคำขอเลขที่ 387379 แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำอื่น เช่น inside, INSIDE, Proshare หรือ TEAMSTATION อยู่ด้วยนั้น ก็เป็นภาคส่วนในเครื่องหมายการค้าอื่น ๆ ของโจทก์เท่านั้น
วัตถุประสงค์ให้การคุ้มครองแก่เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปนั้น เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีการใช้มานานจนเป็นที่แพร่หลายทั่วไปและอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างสูงในการดำเนินกิจการตลอดจนการโฆษณาประชาสัมพันธ์จนทำให้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ดังนั้น หากมีการนำเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดังกล่าวไปใช้กับสินค้าต่างจำพวกกัน ก็อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ กฎหมายจึงไม่อนุญาตให้มีการกระทำเช่นนั้น
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า "INTEL" (อินเทล) ไว้หลายคำขอซึ่งส่วนใหญ่จะ
เป็นคำว่า "INTEL" แต่เพียงคำเดียว ดังนั้น เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "INTEL Lip" แล้วจะเห็นว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายต่างเป็นอักษรโรมัน มีจำนวนตัวอักษรที่เหมือนกันและอยู่ในลำดับเดียวกันถึง 5 ตัว คือ I, N, T, E, L โดยเครื่องหมายการค้าคำว่า "INTEL Lip" จะมีตัวอักษรโรมันเพิ่มเติมอีก 3 ตัว เป็นคำต่อท้ายคือ L, i และ p ซึ่งอักษรโรมัน 5 ตัวแรกนั้นมีลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คล้ายกับอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนอักษรโรมันอีก 3 ตัวนั้น มีลักษณะเป็นตัวเขียน ลักษณะของคำจึงมีความคล้ายกัน ในส่วนของเสียงเรียกขานนั้น อาจพิจารณาได้ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็น 1 คำ อ่านออกเสียงได้ 2 พยางค์ คือ "อิน-เทล" ส่วนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 387379 เป็นคำ 2 คำ อ่านออกเสียงได้ 3 พยางค์ คือ "อิน-เทล-ลิบ" ทำให้เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายเหมือนกันใน 2 พยางค์แรก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญและสาธารณชนส่วนใหญ่จะจดจำได้มากที่สุด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "INTEL" (อินเทล) ของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "INTEL Lip" ตามคำขอเลขที่ 387379 แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำอื่น เช่น inside, INSIDE, Proshare หรือ TEAMSTATION อยู่ด้วยนั้น ก็เป็นภาคส่วนในเครื่องหมายการค้าอื่น ๆ ของโจทก์เท่านั้น
วัตถุประสงค์ให้การคุ้มครองแก่เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปนั้น เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีการใช้มานานจนเป็นที่แพร่หลายทั่วไปและอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างสูงในการดำเนินกิจการตลอดจนการโฆษณาประชาสัมพันธ์จนทำให้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ดังนั้น หากมีการนำเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดังกล่าวไปใช้กับสินค้าต่างจำพวกกัน ก็อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ กฎหมายจึงไม่อนุญาตให้มีการกระทำเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าต่างจำพวก สิ้นสุดแล้วมิอาจสับสน ความชอบธรรมในการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 มีรูปช้างสามเศียรหรือช้างเอราวัณ และอาจเรียกขานว่าเครื่องหมายการค้าตราช้างสามเศียรหรือตราช้างเอราวัณได้เช่นกัน แต่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้มีเฉพาะรูปช้างเท่านั้น หากยังมีวงกลมสองวง และมีอักษรภาษาไทยว่า บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด หรือปูนซีเมนต์ตราเอราวัณ มั่นใจได้ กับอักษรโรมันว่า THE SIAM CEMENT CO., LTD. อยู่ภายในวงกลมสองวงซ้อนกันและมีอักษรโรมันขนาดเล็กว่า RAPID-HARDENING PORTLAND CEMENT อยู่ในวงกลมชั้นในด้วย ขณะที่ของจำเลยที่ 1 ไม่มีจึงแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด สินค้าที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง แต่สินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นข้าวสาร ย่อมไม่มีโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าว่าสินค้าข้าวสารของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้อง แม้บริษัทโจทก์จะตั้งขึ้นก่อนและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนและไม่ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปหรือไม่ ก็ชอบที่จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนการจดทะเบียนเมื่อเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมีสิทธิก่อนและอาจทำให้สับสน
คดีนี้โจทก์ฟ้องใจความว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าภาพลูกศรอยู่ระหว่างอักษร N และ M กับคำว่า นิวมอส และเครื่องหมายการค้าภาพสมอเรือ ลูกศร อยู่ระหว่างอักษร N และ M กับคำว่า นิวมอส โดยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนแล้วกับสินค้าจำพวกที่ 25 และจำพวกที่ 16 ต่อมาจำเลยนำคำว่า มอส ประกอบภาพสมอเรือไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้กับสินค้าประเภทชุดเครื่องแบบนักเรียน เสื้อ เสื้อกีฬา กางเกง และกางเกงกีฬา เช่นเดียวกับโจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ซึ่งต่อมาจำเลยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้ง 3 เครื่องหมายทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสามดังกล่าว กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเพราะเหตุว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียจึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนโดยไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดที่ต้องร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน
เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย มีลักษณะตัวอักษรของคำว่า มอส ที่ใช้ในเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยเป็นตัวอักษรหนาขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีเครื่องหมายการค้าใช้คำว่า ตรามอส ประกอบอยู่ด้วยในลักษณะเป็นการบ่งบอกยี่ห้อของสินค้า และเมื่อพิจารณาสินค้าที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยแล้ว พบว่าเป็นสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ กางเกง กระโปรง รองเท้า รองเท้าบู๊ท รองเท้าแตะ อันเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์ดังกล่าวใช้คำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญเช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเหมือนกัน ใช้กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ย่อมอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
ส่วนประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยได้สิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว จำเลยรับว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า มอส เป็นคำประกอบในเครื่องหมายการค้าของเสื้อผ้าชุดนักเรียนของโจทก์ที่โจทก์เป็นผู้ผลิตและจัดส่งให้แก่จำเลยเพื่อนำไปจำหน่าย โดยโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ก่อนที่จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนี้ โจทก์จึงได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ดีกว่าจำเลย
เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย มีลักษณะตัวอักษรของคำว่า มอส ที่ใช้ในเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยเป็นตัวอักษรหนาขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีเครื่องหมายการค้าใช้คำว่า ตรามอส ประกอบอยู่ด้วยในลักษณะเป็นการบ่งบอกยี่ห้อของสินค้า และเมื่อพิจารณาสินค้าที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยแล้ว พบว่าเป็นสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ กางเกง กระโปรง รองเท้า รองเท้าบู๊ท รองเท้าแตะ อันเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์ดังกล่าวใช้คำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญเช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเหมือนกัน ใช้กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ย่อมอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
ส่วนประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยได้สิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว จำเลยรับว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า มอส เป็นคำประกอบในเครื่องหมายการค้าของเสื้อผ้าชุดนักเรียนของโจทก์ที่โจทก์เป็นผู้ผลิตและจัดส่งให้แก่จำเลยเพื่อนำไปจำหน่าย โดยโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ก่อนที่จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนี้ โจทก์จึงได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: พิจารณาความคล้ายคลึงและชื่อเสียงของเครื่องหมายการค้า เพื่อมิให้เกิดความสับสน
ในการพิจารณาความคล้ายกันระหว่างเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตามมาตรา 13 (2) และมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากภาพรวมของลักษณะเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่าย ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า และเสียงเรียกขานคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายว่าเหมือนหรือคล้ายกันเพียงใด ตลอดจนต้องพิจารณาว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายดังกล่าวเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่ รวมทั้งต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโอกาสที่จะสร้างความสับสนที่เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่ขายอยู่ในท้องตลาดระหว่างสินค้าของทั้งสองฝ่าย โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายและความสุจริตของผู้ขอจดทะเบียนประกอบด้วย
เมื่อพิจารณาจากลักษณะเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนและของโจทก์แล้วเห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายกัน กล่าวคือ มีอักษรไทยคำว่า "แม่พลอย" อักษรโรมันคำว่า "MAEPLOY" และรูปผู้หญิงแต่งชุดไทยนั่งพับเพียบ เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายของทั้งสองฝ่าย โดยมีเสียงเรียกขานคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายเหมือนกันคือ แม่พลอย แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่ 32 รายการสินค้า น้ำดื่ม น้ำผลไม้ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามทะเบียนเลขที่ ค71879 ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 29 รายการสินค้า กะทิสำเร็จรูป กะทิผง กับข้าวสำเร็จรูปที่มีเนื้อเป็นหลัก แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงพะแนง เป็นต้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามทะเบียนเลขที่ ค71880 ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 30 รายการสินค้า น้ำพริกแกงกึ่งสำเร็จรูป เครื่องต้มยำ เครื่องพะโล้ น้ำจิ้ม น้ำพริกเผา เป็นต้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามทะเบียนเลขที่ ค124234 ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 30 รายการสินค้า น้ำพริกแกงกึ่งสำเร็จรูป เครื่องต้มยำ เครื่องพะโล้ ผงสำเร็จรูปใช้ทำน้ำหมูแดง น้ำจิ้ม น้ำพริกเผา เป็นต้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามทะเบียนเลขที่ ค124233 ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 29 รายการสินค้า กะทิสำเร็จรูป กะทิผง กับข้าวสำเร็จรูปที่มีเนื้อเป็นหลัก แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงพะแนง แกงมัสมั่น แกงกะหรี่ เป็นต้น และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามทะเบียนเลขที่ ค318585 ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 29 รายการสินค้า แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงพะแนง แกงมัสมั่น แกงกะหรี่ เป็นต้น เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้วดังกล่าวจึงใช้กับสินค้าต่างจำพวกกันซึ่งไม่มีลักษณะอย่างเดียวกัน นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงได้ความตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าประกอบทางนำสืบของจำเลยโดยโจทก์ไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า ผู้ขอจดทะเบียนประกอบกิจการโรงงานผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำปลามาตั้งแต่ปี 2519 และได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีภาคส่วนคำว่า "แม่พลอย" และรูปผู้หญิงแต่งชุดไทยนั่งพับเพียบมาตั้งแต่ปี 2522 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่โจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำและรูปดังกล่าว ในปี 2540 โดยผู้ขอจดทะเบียนได้มีการใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าของตนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และยังได้ความตามคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ประกอบทางนำสืบของโจทก์ว่า เริ่มแรกโจทก์ประกอบธุรกิจค้าขายส่งและปลีกมะพร้าว โดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "ชาวเกาะ" ต่อมาโจทก์ขยายธุรกิจโดยก่อตั้งโรงงานผลิตกะทิบรรจุกระป๋อง และกะทิบรรจุกล่อง ในปี 2519 และภายหลังได้ก่อตั้งโรงงานอีกสองแห่ง โดยโรงงานแห่งที่สามชื่อโรงงานแม่พลอย ก่อตั้งขึ้นในปี 2536 เพื่อผลิตสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "ตราแม่พลอย" "MAEPLOY BRAND" รวมกับรูปผู้หญิงไทย โดยได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 5 เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวข้างต้น ข้อเท็จจริงในส่วนนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าของตนมาโดยสุจริต โดยเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนกับของโจทก์ต่างได้มีการใช้กับสินค้าของตนเป็นระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งรายการสินค้าของผู้ขอจดทะเบียนกับของโจทก์คดีนี้ก็มีความแตกต่างกัน โดยไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ว่ากลุ่มลูกค้าผู้บริโภคสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนและของโจทก์เป็นกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน หรือลักษณะของการวางจำหน่ายสินค้าในร้านค้าโดยทั่วไปมีการวางใกล้ชิดกันในลักษณะเป็นการแข่งขันกัน อันจะส่งผลทำให้ผู้บริโภคอาจสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ อย่างไร จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตามมาตรา 13 (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามฟ้องเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปก็ตาม แต่ข้อที่ต้องพิจารณาตามมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ประการสำคัญต่อมาคือ เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ ซึ่งในข้อนี้พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ลักษณะเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนกับของโจทก์มีลักษณะคล้ายกันก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางนำสืบของโจทก์แล้วยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10) ดังเหตุผลที่กล่าวไว้ในประเด็นข้างต้น ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจึงไม่เป็นการต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
เมื่อพิจารณาจากลักษณะเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนและของโจทก์แล้วเห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายกัน กล่าวคือ มีอักษรไทยคำว่า "แม่พลอย" อักษรโรมันคำว่า "MAEPLOY" และรูปผู้หญิงแต่งชุดไทยนั่งพับเพียบ เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายของทั้งสองฝ่าย โดยมีเสียงเรียกขานคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายเหมือนกันคือ แม่พลอย แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่ 32 รายการสินค้า น้ำดื่ม น้ำผลไม้ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามทะเบียนเลขที่ ค71879 ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 29 รายการสินค้า กะทิสำเร็จรูป กะทิผง กับข้าวสำเร็จรูปที่มีเนื้อเป็นหลัก แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงพะแนง เป็นต้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามทะเบียนเลขที่ ค71880 ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 30 รายการสินค้า น้ำพริกแกงกึ่งสำเร็จรูป เครื่องต้มยำ เครื่องพะโล้ น้ำจิ้ม น้ำพริกเผา เป็นต้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามทะเบียนเลขที่ ค124234 ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 30 รายการสินค้า น้ำพริกแกงกึ่งสำเร็จรูป เครื่องต้มยำ เครื่องพะโล้ ผงสำเร็จรูปใช้ทำน้ำหมูแดง น้ำจิ้ม น้ำพริกเผา เป็นต้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามทะเบียนเลขที่ ค124233 ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 29 รายการสินค้า กะทิสำเร็จรูป กะทิผง กับข้าวสำเร็จรูปที่มีเนื้อเป็นหลัก แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงพะแนง แกงมัสมั่น แกงกะหรี่ เป็นต้น และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามทะเบียนเลขที่ ค318585 ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 29 รายการสินค้า แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงพะแนง แกงมัสมั่น แกงกะหรี่ เป็นต้น เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้วดังกล่าวจึงใช้กับสินค้าต่างจำพวกกันซึ่งไม่มีลักษณะอย่างเดียวกัน นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงได้ความตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าประกอบทางนำสืบของจำเลยโดยโจทก์ไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า ผู้ขอจดทะเบียนประกอบกิจการโรงงานผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำปลามาตั้งแต่ปี 2519 และได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีภาคส่วนคำว่า "แม่พลอย" และรูปผู้หญิงแต่งชุดไทยนั่งพับเพียบมาตั้งแต่ปี 2522 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่โจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำและรูปดังกล่าว ในปี 2540 โดยผู้ขอจดทะเบียนได้มีการใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าของตนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และยังได้ความตามคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ประกอบทางนำสืบของโจทก์ว่า เริ่มแรกโจทก์ประกอบธุรกิจค้าขายส่งและปลีกมะพร้าว โดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "ชาวเกาะ" ต่อมาโจทก์ขยายธุรกิจโดยก่อตั้งโรงงานผลิตกะทิบรรจุกระป๋อง และกะทิบรรจุกล่อง ในปี 2519 และภายหลังได้ก่อตั้งโรงงานอีกสองแห่ง โดยโรงงานแห่งที่สามชื่อโรงงานแม่พลอย ก่อตั้งขึ้นในปี 2536 เพื่อผลิตสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "ตราแม่พลอย" "MAEPLOY BRAND" รวมกับรูปผู้หญิงไทย โดยได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 5 เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวข้างต้น ข้อเท็จจริงในส่วนนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าของตนมาโดยสุจริต โดยเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนกับของโจทก์ต่างได้มีการใช้กับสินค้าของตนเป็นระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งรายการสินค้าของผู้ขอจดทะเบียนกับของโจทก์คดีนี้ก็มีความแตกต่างกัน โดยไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ว่ากลุ่มลูกค้าผู้บริโภคสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนและของโจทก์เป็นกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน หรือลักษณะของการวางจำหน่ายสินค้าในร้านค้าโดยทั่วไปมีการวางใกล้ชิดกันในลักษณะเป็นการแข่งขันกัน อันจะส่งผลทำให้ผู้บริโภคอาจสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ อย่างไร จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตามมาตรา 13 (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามฟ้องเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปก็ตาม แต่ข้อที่ต้องพิจารณาตามมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ประการสำคัญต่อมาคือ เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ ซึ่งในข้อนี้พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ลักษณะเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนกับของโจทก์มีลักษณะคล้ายกันก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางนำสืบของโจทก์แล้วยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10) ดังเหตุผลที่กล่าวไว้ในประเด็นข้างต้น ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจึงไม่เป็นการต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534