พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างวันเวลากระทำความผิดไม่เป็นเหตุให้ยกฟ้อง หากไม่ใช่สาระสำคัญของคดี
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่แตกต่างกับข้อเท็จจริงตามฟ้องอันจะเป็นผลให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องของโจทก์นั้นจะต้องเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดี ข้อแตกต่างเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดตามฟ้องเป็นเพียงรายละเอียดไม่ถือเป็นข้อสำคัญอันศาลจะต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงผ่อนผันชำระหนี้เช่าซื้อมีผลต่อการถือเอาเวลาชำระเป็นสาระสำคัญ และผลของการเลิกสัญญากันโดยปริยาย
หลังจากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์ขอผ่อนผันชำระเงินและได้ชำระเงินแก่โจทก์ตามข้อตกลงรวม 4 งวด หลังจากนั้นไม่ชำระ โจทก์จึงยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนพฤติการณ์แสดงว่าทางปฏิบัติโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดเวลาในการชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญต่อไป และการที่จำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกลงกันตามหนังสือขอผ่อนผันชำระเงินจึงเป็นการตกลงเลิกข้อตกลงเดิม ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตามสัญญาเช่าซื้อต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาในหนังสือขอผ่อนผันชำระเงินโดยชำระเงินขาดในเดือนที่ 3 พฤิตการณ์ก็แสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือกำหนดเวลาในการชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเดิมเป็นสาระสำคัญเช่นกัน จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันไม่ได้ โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อภายในเวลาอันสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 แต่การที่พนักงานของโจทก์ไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 คืนรถยนต์ให้ ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืนคู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์ให้แก่โจทก์ตามมาตรา391 วรรคสาม ส่วนที่จำเลยต้องใช้ราคารถยนต์ที่ยังขาดเมื่อโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อไปนั้นมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ หากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษฐานยักยอกทรัพย์ แม้ฟ้องขอลงโทษฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลอุทธรณ์พิพากษาได้หากไม่ใช่ต่างกันในสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335,357 ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายตามมาตรา 352 วรรคสอง แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ถือว่าข้อแตกต่างดังกล่าวระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์ รับของโจร ยักยอกมิใช่ต่างกันในข้อสาระสำคัญไม่เกินคำขอ หรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกทรัพย์สินหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการถือเอากำหนดเวลาชำระเงินเป็นสาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา
ทางปฏิบัติของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายสินค้าที่ถือปฏิบัติต่อกันมาไม่ได้ถือเอากำหนดเวลาการชำระเงินที่ได้ตกลงกันไว้ตามใบสั่งโดยเคร่งครัด แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระเงินเป็นสาระสำคัญตามสัญญาดังที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 ทั้งข้อสัญญาตามใบสั่งครั้งแรกก็ไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าหากโจทก์ไม่ชำระเงินภายใน 7 วัน นับจากวันที่รับของ สัญญาซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้นจำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ก็ต่อเมื่อได้แจ้งให้โจทก์ชำระเงินภายใน 7 วัน นับจากวันที่รับของตามใบสั่งครั้งแรกในงวดต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 และจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิเลิกสัญญาตามใบสั่งครั้งที่สองและครั้งที่สาม เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าฐานะทางการเงินของโจทก์ไม่ดี เกรงว่าจะไม่ได้รับชำระเงินมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร แม้ฟ้องฐานปล้นทรัพย์ ศาลลงโทษฐานรับของโจรได้ หากข้อเท็จจริงไม่แตกต่างในสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลมีอำนาจลงโทษฐานรับของโจรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำผลงาน ภาพยนตร์โฆษณา ความผิดสัญญา สาระสำคัญ การปฏิเสธงาน
จำเลยอ้างเหตุปฏิเสธไม่ยอมรับงานที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้สร้างและจัดทำภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อโฆษณาถุงน่องสตรีเพราะโจทก์ผิดสัญญาในสาระสำคัญ 2 ประการคือประการแรกเกี่ยวกับใบหน้าของนางแบบ โจทก์หานางแบบชาวต่างประเทศไม่ได้ จำเลยจึงยอมรับนางแบบคนไทยเพราะโจทก์รับรองว่าจะใช้เทคนิคในการแต่งหน้าและการถ่ายทำให้ดูเป็นปริศนาว่าเป็นชาวต่างประเทศ และจำเลยต้องการให้เห็นหน้าเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ผลการถ่ายทำภาพยนตร์ของโจทก์เห็นใบหน้าของนางแบบชัดเจน รู้ได้ว่าเป็นคนไทยคุ้นหน้าแก่บุคคลทั่วไป เคยแสดงแบบในนิตยสารมาก่อน ประการที่สองฉากภาพยนตร์ซึ่งแสดงความสนใจที่นายแบบมีต่อนางแบบ ภาพสะท้อนจากเลนซ์แว่นตาของนายแบบคือช่วงขาของนางแบบซึ่งสวมถุงน่องอันเป็นสินค้าที่โฆษณา ปรากฏว่าขาของนางแบบโค้งงอไม่น่าดู ดังนี้ ตามธรรมดาถ้าใบหน้านางแบบสวยน่าดู เป็นผู้มีชื่อเสียง เคยแสดงแบบในนิตยสารเป็นที่คุ้นหน้าแก่บุคคลทั่วไป ก็น่าจะทำให้การโฆษณาสินค้าของจำเลยดีกว่านางแบบที่คนไม่เคยรู้จักหน้า ทั้งจำเลยเป็นผู้เลือกนางแบบเองด้วย ไม่ปรากฏว่าการเห็นใบหน้านางแบบชัดเจนจะทำให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ ส่วนข้อที่ว่าภาพขานางแบบโค้งงอไม่น่าดู ปรากฏว่าฉากขานางแบบซึ่งปรากฏในเลนซ์แว่นตาของนายแบบระยะเวลาสั้นมาก ทำให้ผู้ดูมองไม่ออกว่าขานางแบบโค้งงอ แสดงว่าโจทก์ได้จัดการแก้ไขแล้ว แม้จะเห็นในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ดีกว่าถ่ายทำใหม่ให้เห็นในระยะเวลานานแต่สิ้นค่าใช้จ่ายสูง ถือได้ว่าเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อยเท่านั้น โจทก์มิได้ผิดสัญญา จำเลยจะปฏิเสธไม่รับงานและไม่ชำระสินจ้างไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำผลงาน: การปฏิเสธงานต้องมีเหตุผลอันสมควรและข้อบกพร่องต้องเป็นสาระสำคัญ
จำเลยอ้างเหตุปฏิเสธไม่ยอมรับงานที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้สร้าง และจัดทำภาพยนต์ โฆษณาทาง โทรทัศน์ เพื่อโฆษณาถุงน่องสตรี เพราะโจทก์ผิดสัญญาในสาระสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรกเกี่ยวกับใบหน้าของนางแบบ โจทก์หานางแบบชาวต่างประเทศไม่ได้ จำเลยจึงยอมรับนางแบบคนไทยเพราะโจทก์รับรองว่าจะใช้เทคนิคในการแต่งหน้าและการถ่าย ทำให้ดู เป็นปริศนาว่าเป็นชาวต่างประเทศ และจำเลยต้องการให้เห็นหน้าเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ผลการถ่ายทำภาพยนตร์ของโจทก์เห็นใบหน้าของนางแบบชัดเจน รู้ได้ว่าเป็นคนไทย คุ้นหน้าแก่บุคคลทั่วไปเคยแสดงแบบในนิตยสารมาก่อน ประการที่สองฉากภาพยนตร์ซึ่งแสดงความสนใจที่ นายแบบมีต่อนางแบบ ภาพสะท้อนจากเลนส์ แว่นตา ของนายแบบคือช่วงขาของนางแบบซึ่งสวมถุงน่องอันเป็นสินค้าที่โฆษณา ปรากฏว่าขาของนางแบบโค้งงอ ไม่น่าดู ดังนี้ ตามธรรมดาถ้าใบหน้านางแบบสวย น่าดู เป็นผู้มีชื่อ เสียง เคยแสดงแบบในนิตยสารเป็นที่คุ้น หน้าแก่บุคคลทั่วไป ก็น่าจะทำให้การโฆษณาสินค้าของจำเลยดีกว่านางแบบที่คนไม่เคยรู้จักหน้า ทั้งจำเลยเป็นผู้เลือกนางแบบเองด้วย ไม่ปรากฏว่าการเห็นใบหน้านางแบบชัดเจนจะทำให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่สาระสำคัญ ส่วนข้อที่ว่าภาพขานางแบบโค้งงอ ไม่น่าดูปรากฏว่าฉาก ขานางแบบซึ่งปรากฏในเลนส์ แว่นตา ของนางแบบระยะเวลาสั้นมากทำให้ผู้ดู มองไม่ออกว่าขานางแบบโค้งงอ แสดงว่าโจทก์ได้จัดการแก้ไขแล้ว แม้จะเห็นในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ดีกว่าถ่าย ทำใหม่ให้เห็นในระยะเวลานานแต่สิ้นค่าใช้จ่ายสูง ถือได้ว่าเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อยเท่านั้น โจทก์มิได้ผิดสัญญาจำเลยจะปฏิเสธไม่รับงานและไม่ชำระสินจ้างไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6299/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างสาระสำคัญในฟ้องกับการพิจารณา ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ศาลต้องไม่ลงโทษเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ้างหรือใช้ผู้มีชื่อให้ฆ่าผู้เสียหาย และผู้มีชื่อนั้นได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยว่าจ้าง ร.ไปฆ่าผู้เสียหายแต่ร. ไม่ทำตามที่จำเลยว่าจ้างคนร้ายที่ยิงผู้เสียหายไม่ใช่ผู้ที่จำเลยว่าจ้าง ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้และไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดชัดเจน การไม่ดำเนินการยื่นขอเลื่อนคดีเป็นสาระสำคัญ
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองกล่าวเพียงว่า วันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยทั้งสองไม่มาศาลเพราะป่วยกะทันหัน และให้เสมียนทนายมาขอเลื่อนคดี แต่เสมียนทนายไม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีให้โดยไม่ทราบสาเหตุ (ซึ่งจำเลยจะนำเสมียนทนายนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป) และปรากฏว่าจำเลยทั้งสองยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หลังวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว 3 เดือน น่าจะทราบเหตุที่เสมียนทนายไม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีให้แล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่กล่าวถึงสาเหตุที่เสมียนทนายไม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีให้ทั้งที่การมิได้ร้องขอเลื่อนคดีเป็นสาระสำคัญประการหนึ่งแห่งการขาดนัดพิจารณา คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นคำขอที่มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่ได้ขาดนัดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังผู้ทรงเช็ค แม้คำฟ้องและคำเบิกความมีรายละเอียดต่างกัน หากสาระสำคัญไม่ขัดแย้งกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเช็คพิพาทมอบให้จำเลยที่ 2ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทและนำไปแลกเงินสดจากโจทก์ แต่โจทก์เบิกความว่าจำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คพิพาทและจำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทโดยจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คพิพาทไปมอบให้โจทก์เป็นการแลกเช็คและรับเงินสดไปจากโจทก์จริง ดังนี้ข้อแตกต่างระหว่างคำฟ้องกับคำเบิกความของโจทก์ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญที่จะมีผลให้รับฟังว่าโจทก์ไม่ได้รับเช็คพิพาทไว้เพื่อชำระหนี้ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้นำเช็คพิพาทไปชำระหนี้บุคคลผู้มีชื่อ แต่โจทก์เบิกความว่าโจทก์ได้นำเช็คพิพาทไปขายให้ ต. นั้น คำเบิกความของโจทก์หมายความว่าโจทก์นำเช็คพิพาทไปมอบให้บุคคลผู้มีชื่อเพื่อชำระหนี้ทำนองเดียวกับที่โจทก์กล่าวในคำฟ้อง ดังนี้หาเป็นการแตกต่างกันไม่.