คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิประโยชน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินริมน้ำท่วมถึงไม่เป็นสาธารณสมบัติ หากเจ้าของยังใช้สิทธิประโยชน์และห้ามผู้อื่น
ที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งน้ำในแม่น้ำท่วมถึง แต่ไม่มีผู้อื่น มาใช้ที่พิพาทเลยนอกจากมีบิดามารดาจำเลยและจำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทเท่านั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทยังใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินในเขตของตนอยู่ โดยมิได้ทอดทิ้งปล่อยให้บุคคลอื่นมาใช้ที่พิพาทเป็นที่ชายตลิ่ง เพียงแต่จำเลยต่อเติมบ้านของตนเท่านั้น โจทก์ก็ยังห้ามปรามไม่ให้กระทำดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน และผลกระทบต่อการเสียภาษี การหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนในกิจการขนส่งภายในประเทศได้นำเรือบรรทุกน้ำมันโอชั่นนิค4 เข้ามาในประเทศโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้า ภายหลังโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดที่ได้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับการส่งเสริม ไม่ได้รับประโยชน์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ข้อ 37 และโจทก์ได้ขายเรือดังกล่าวไปแล้วพฤติการณ์ของโจทก์ฟังได้ว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงในการเสียภาษี ไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะงดเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับ โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเงินเพิ่มเบี้ยปรับภาษีรายได้เทศบาลแก่กรมสรรพากรจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสัญชาติไทยจากใบสำคัญคนต่างด้าว แม้ไม่ได้สมัครใจแต่ยังคงถือครองและใช้สิทธิประโยชน์
โจทก์ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักร มีบิดาเป็นคนต่างด้าวและได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแต่ พ.ศ.2491 แล้ว ขณะฟ้องก็ยังถือใบสำคัญดังกล่าวอยู่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 โจทก์จึงเสียสัญชาติไทยไปโดยผลแห่งกฎหมาย
แม้บิดาโจทก์เป็นผู้จัดการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาให้โจทก์เพื่อไปศึกษายังต่างประเทศ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ไปยังคงถือใบสำคัญต่อมา โจทก์ได้ไปขอเปลี่ยนสมุดใบสำคัญใหม่ใน พ.ศ.2498 ขอต่ออายุใบสำคัญมาจนถึง พงศ.2508 อันเป็นเวลาภายหลังจากโจทก์ขอกลับคืนสัญชาติไทยไม่ได้ผลแล้ว จึงไม่ขอต่ออายุใบสำคัญอีก การได้ใบสำคัญทำให้โจทก์ไม่ต้องเข้าตรวจคัดเลือกเพื่อเป็นทหาร ได้ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบสำคัญเมื่อเข้าทำงานเป็นลูกจ้างสถานทูต แจ้งต่อมหาวิทยาลัยตอนเข้าศึกษาว่าเป็นคนสัญชาติอังกฤษ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์สมัครใจขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเป็นคนสัญชาติอังกฤษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญา 3 ฝ่าย/การชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก/สิทธิประโยชน์ของบุคคลภายนอก/จำเลยต้องร่วมรับผิด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาตกลงให้จำเลยที่ 1 กับพวกปลูกตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 2 แล้วให้ตึกแถวตกเป็นของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 กับพวกมีสิทธิเรียกเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างจากคนมาขอเช่าตึกแถวและหาคนเช่าได้ และจำเลยที่ 2 จะทำสัญญาเช่าให้มีกำหนด 15 ปี โจทก์ทำสัญญาจองตึกแถว 1 ห้องจากจำเลยที่ 1 เพื่อเช่า และเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้จำเลยที่1. ดังนี้ สัญญาระหว่างจำเลยทั้งสองนั้นเป็นสัญญาที่จำเลยที่ 2 ตกลงจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคต้น โจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาดังกล่าวแล้ว สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดมีขึ้นตามวรรคสอง จำเลยทั้งสองหาอาจที่จะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ได้ไม่ ตามมาตรา 375จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดส่งมอบห้องเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ ถ้าหากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับได้ จำเลยที่ 2ก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574-580/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าแผงลอย, การบอกเลิกสัญญา, อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, สิทธิประโยชน์จากสัญญา
จำเลยเช่าแผงลอยของโจทก์ประกอบการค้า และเสียเงินให้โจทก์ 2,000 บาท ขณะที่จำเลยมาเช่า โจทก์มีแผงลอยพร้อมอยู่แล้ว ไม่จำต้องก่อสร้างขึ้นอีกแต่อย่างใด ที่จำเลยเสียเงินให้โจทก์ ก็ได้รับประโยชน์โดยโจทก์เก็บค่าเช่าถูกกว่าผู้เช่าที่มิได้เสียเงิน เงินที่จำเลยเสียให้โจทก์นั้นจึงเป็นเงินประเภทเดียวกับเงินกินเปล่า อันเป็นค่าเช่าส่วนหนึ่ง. หาทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่
เจ้าอาวาสวัดโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทนวัดโจทก์ มิใช่มอบอำนาจเป็นการส่วนตัว ดังนั้น แม้ภายหลังเจ้าอาวาสผู้มอบอำนาจจะถึงแก่มรณภาพลงก็หาทำให้ฐานะของผู้รับมอบอำนาจนั้นเสียไปไม่ จึงไม่จำต้องมีการมอบอำนาจกันใหม่อีก
ข้อฎีกาที่ว่า โจทก์ที่ 1 ตั้งตัวแทนทำสัญญากับโจทก์ที่ 2 โดยไม่มีใบมอบอำนาจเป็นหนังสือ ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 130/2486)
เมื่อจำเลยหมดสิทธิที่จะเช่าและใช้ประโยชน์ในแผงลอยของโจทก์ที่ 1 ต่อไป และไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกันอีก การที่โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 รื้อแผงลอยและสร้างอาคารพาณิชย์ขึ้นใหม่ จะเป็นการชอบและมีอำนาจทำได้หรือไม่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับกรมการศาสนาและมหาเถรสมาคมที่จะว่ากล่าวกันเอง หาทำให้จำเลยมีสิทธิใช้ประโยชน์ในแผงลอยต่อไปอีกไม่ ฉะนั้น ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจทำสัญญากับโจทก์ที่ 2 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีที่ควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องอาวุธปืนเมื่อกฎหมายใหม่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้กระทำผิดในช่วงเวลาที่ศาลพิจารณาคดี
แม้ในขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน พ.ศ.2490ก็ดี. แต่ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดี ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4)พ.ศ.2510ประกาศใช้บังคับ. ซึ่งตามมาตรา 5 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต. นำไปขอรับอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ได้ภายใน90 วัน นับแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้. คือตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2510 จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2511ซึ่งได้รับการยกเว้นโทษตามกฎหมาย. ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2510 ซึ่งยังอยู่ในระหว่างเวลาที่กฎหมายให้สิทธิไม่เอาโทษแก่จำเลยด้วย. ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้. ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้จึงชอบแล้ว. แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีนี้ภายหลังที่ล่วงพ้นระยะเวลา 90 วันตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่สำคัญ. (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 889/2503).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับข้อเท็จจริงจากการให้การของผู้เช่าและการใช้สิทธิประโยชน์จากสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยเช่าห้องรายพิพาทเพื่อประกอบการค้า จำเลยให้การว่าได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์จริง แต่เรื่องการค้าจำเลยไม่ได้ปฏิเสธเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยรับว่าจำเลยประกอบการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินขอบหนองและการใช้สิทธิประโยชน์โดยเจ้าของ ไม่ถือเป็นการทอดทิ้ง หรือเจตนายึดถือ
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่าครอบครองและอย่างไรเรียกว่าเจตนายึดถือทรัพย์สินเพื่อตน
เป็นเจ้าของหนองน้ำใช้สิทธิทำการจับปลาแต่ในฤดูจับปลาเพียง 3 เดือนในปีหนึ่ง ส่วนนอกฤดูจับปลาปล่อยผู้อื่นเข้าทำนาตามขอบหนองทุกๆ ปี ดังนี้ถือว่าเจ้าของหนองใช้สิทธิครอบครองขอบหนองนั้น ไม่จำต้องคัดค้านห้ามปรามผู้เข้ามาทำนา และจะถือว่าเจ้าของหนองทอดทิ้งหนองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมเลิกเช่าและการสละสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ ข้อตกลงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
จำเลยเช่าห้องโจทก์เพื่ออยู่อาศัยมีกำหนด 1 ปี และก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าเล็กน้อยจำเลยมีหนังสือยินยอมแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าจะเลิกการเช่าและสละสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ พ.ศ.2489 ในเมื่อถึงกำหนดสัญญาเช่า เช่นนี้ถือว่าโจทก์ได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เช่าตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ พ.ศ.2489 ม.16 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ของผู้ตายให้แก่ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่รอบคอบ
ผู้ตายทำงานอยู่องค์การรับส่งสินค้าและพัศดุภัณฑ์ ในกรมรถไฟ ครั้นเมื่อถึงแก่กรรมลง มีสิทธิได้รับเงินหลายประเภทตามระเบียบข้อบังคับขององค์การและทางการวางไว้ บิดาผู้ตายจึงได้ร้องขอรับเงินจำนวนนี้ โดยแสดงว่าตนเป็นบิดา และกำลังร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอยู่ แต่ทางกรมรถไฟกลับจ่ายเงินให้แก่ภริยาผู้ตายซึ่งปรากฎในทะเบียนประวัติว่า เป็นภริยาผู้ตาย แต่ปรากฎว่าภริยาผู้นี้มิได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายตามกฎหมายนั้น เป็นการจ่ายที่ไม่รอบคอบขาดความระมัดระวัง จึงได้ชื่อปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 315 ฉะนั้นบิดาของผู้ตายในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องเรียกเงินจำนวนนั้นจากกรมรถไฟอีกได้
of 12