คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้องร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีและการฟ้องคัดค้านการประเมิน: การชำระภาษีหลังได้รับคำชี้ขาดไม่ตัดสิทธิในการฟ้อง
มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ที่บัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีแก่กรมการอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งทรัพย์นั้นตั้งอยู่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินนั้น เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้รับประเมินจะไปชำระได้ที่ไหนเมื่อใดเท่านั้นหาใช่เป็นบทบังคับเด็ดขาดว่าจะต้องชำระค่าภาษีตามการประเมินเบื้องต้นเสมอไป เพราะตามมาตรา 25 และมาตรา 26 บัญญัติให้โอกาสแก่ผู้รับประเมินที่ไม่พอใจการประเมินเบื้องต้นร้องขอไปยังผู้มีอำนาจชี้ขาดการประเมินได้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินเพื่อให้มีการพิจารณาการประเมินนั้นใหม่ ทั้งค่าภาษีที่มิได้ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 38 นั้น ตามมาตรา 42 บัญญัติให้ถือว่าเป็นเงินค่าภาษีค้างชำระอันจะต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 43 และอาจถูกบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยพนักงานเก็บภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 ต่อไปด้วย การไม่ชำระภาษีตามมาตรา 38 กฎหมายมิได้ถือเป็นการตัดสิทธิผู้รับประเมินในการฟ้องร้องคดีเพื่อโต้แย้งการประเมินภาษีแต่ประการใด
วันที่ 5 สิงหาคม 2508 โจทก์ได้รับใบแจ้งการประเมินภาษีจากจำเลยให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินไปชำระให้จำเลย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ประเมินภาษีใหม่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508 ต่อมาวันที่ 21 พฤษภาคม2512 โจทก์ได้รับคำชี้ขาดจากจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเท่าที่ประเมินไว้เดิมโจทก์จึงนำภาษีกับเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบไปชำระให้จำเลยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2512 แล้ววันรุ่งขึ้นโจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 31 เพราะโจทก์ได้ฟ้องภายใน 30 วันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดและฟ้องของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามมาตรา 39 เพราะก่อนฟ้องโจทก์ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ไม่จำต้องคำนึงว่าหนี้ค่าภาษีถึงกำหนดชำระหรือเลยกำหนดชำระขณะฟ้องหรือยัง
จำเลยประเมินภาษีจากรายได้ค่าเช่าห้องพักตามแบบ ภ.ร.ด.2ของโจทก์ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับประเมินจะต้องกรอกรายการตามความเป็นจริง ตามความในมาตรา 20 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้สั่งการให้แก้ไขรายการเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือว่าเป็นจำนวนค่าเช่าสุทธิสำหรับการประเมินภาษีเพราะตามมาตรา 8 บัญญัติว่า ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าท่านว่า ค่าเช่านั้นเป็นหลักคำนวณค่ารายปี ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอลดค่าภาษี ลงโดยอาศัยเทียบเคียงเสมอกับโรงแรมอื่นแต่อย่างใดจะฟังว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่เป็นการถูกต้องหาได้ไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตัดสินลดภาษีให้โจทก์ได้ (ฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 39 หรือไม่วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน การไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยถือเป็นที่สุด และสิทธิในการฟ้องร้อง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินทดแทนตลอดจนจำนวนเงินค่าทดแทน ข้อ 14 นั้น เมื่อคู่กรณี (นายจ้างกับลูกจ้าง) ไม่พอใจคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมแรงงานหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ก็ต้องอุทธรณ์ไปตามลำดับ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้วินิจฉัยให้นายจ้างจ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างแล้ว นายจ้างมิได้อุทธรณ์ ก็ต้องถือเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่นั้น จะมาโต้แย้งในชั้นศาลอีกว่าลูกจ้างผู้เป็นโจทก์นั้นไม่ใช่ลูกจ้างหรือโจทก์ประสบอุบัติเหตุเพราะความผิดของโจทก์เองหรือยกเหตุตามประกาศข้อ 15 ขึ้นอ้าง เพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนหาได้ไม่
เมื่อลูกจ้างพอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ และไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คำวินิจฉัยไปยังอธิบดีกรมแรงงาน เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามคำวินิจฉัยนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ และไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งกำหนดเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 14 ว่าจะต้องฟ้องภายใน 30 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายในคดีเช็ค: การระบุตัวผู้ทรงเช็คที่แท้จริงและการมีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วม
จำเลยยืมเงินโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมเอาเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการให้จำเลยจึงออกเช็คให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไว้เพื่อชำระหนี้ โจทก์ร่วมได้นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินแต่นำเช็คเข้าบัญชีไม่ได้ ดังนี้ ถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่ได้สลักหลังเช็คให้โจทก์ร่วมและยังเป็นผู้ทรงเช็คอยู่ ไม่ใช่โจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงห้างหุ้นส่วนจำกัด นั้นจึงเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีกับจำเลยและเมื่อโจทก์ร่วมในฐานะส่วนตัวไม่ใช่ผู้ทรงเช็ค จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิจะเข้าเป็นโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองโมฆะ หากมิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้องใหม่
จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเองเพื่อประกันการชำระหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ โดยมอบโฉนดที่ดินและใบมอบฉันทะซึ่งลงชื่อแล้วให้โจทก์ไว้เพื่อจดทะเบียนจำนองเมื่อมิได้มีการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาจำนองย่อมตกเป็นโมฆะ
การรับสภาพหนี้นั้น มีผลเพียงทำให้อายุความสะดุดหยุดลง หาเป็นการก่อตั้งสิทธิฟ้องร้องขึ้นใหม่แต่อย่างใดไม่ หากหนี้ซึ่งจะต้องรับผิดมิได้เกิดมีขึ้นอยู่แต่เดิม
เมื่อโจทก์อุทธรณ์ฎีกาเฉพาะในประเด็นที่ว่า หนังสือซึ่งจำเลยที่ 2 มีถึงโจทก์เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ โดยมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนังสือนั้นอาจถือเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ ย่อมไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองโมฆะหากมิได้จดทะเบียน & การรับสภาพหนี้ไม่ก่อตั้งสิทธิฟ้องร้องใหม่
จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเองเพื่อประกันการชำระหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์โดยมอบโฉนดที่ดินและใบมอบฉันทะซึ่งลงชื่อแล้วให้โจทก์ไว้เพื่อจดทะเบียนจำนอง เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องตามกฎหมายสัญญาจำนองย่อมตกเป็นโมฆะ
การรับสภาพหนี้นั้น มีผลเพียงทำให้อายุความสะดุดหยุดลงหาเป็นการก่อตั้งสิทธิฟ้องร้องขึ้นใหม่แต่อย่างใดไม่ หากหนี้ซึ่งจะต้องรับผิดมิได้เกิดมีขึ้นอยู่แต่เดิม
เมื่อโจทก์อุทธรณ์ฎีกาเฉพาะในประเด็นที่ว่า หนังสือซึ่งจำเลยที่ 2 มีถึงโจทก์เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ โดยมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนังสือนั้นอาจถือเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ ย่อมไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองโมฆะเมื่อมิได้จดทะเบียน และการรับสภาพหนี้ไม่ก่อตั้งสิทธิฟ้องร้องใหม่
จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเองเพื่อประกันการชำระหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์. โดยมอบโฉนดที่ดินและใบมอบฉันทะซึ่งลงชื่อแล้ว.ให้โจทก์ไว้เพื่อจดทะเบียนจำนอง. เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องตามกฎหมาย.สัญญาจำนองย่อมตกเป็นโมฆะ.
การรับสภาพหนี้นั้น มีผลเพียงทำให้อายุความสะดุดหยุดลง.หาเป็นการก่อตั้งสิทธิฟ้องร้องขึ้นใหม่แต่อย่างใดไม่. หากหนี้ซึ่งจะต้องรับผิดมิได้เกิดมีขึ้นอยู่แต่เดิม.
เมื่อโจทก์อุทธรณ์ฎีกาเฉพาะในประเด็นที่ว่า หนังสือซึ่งจำเลยที่ 2 มีถึงโจทก์เป็นหนังสือรับสภาพหนี้. โดยมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนังสือนั้นอาจถือเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้. ย่อมไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสามีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกส่วนของภริยาที่เป็นสินบริคณห์ แม้ยังไม่ได้แบ่งมรดก
ทรัยพ์มรดกซึ่งหญิงมีสามีมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งก่อนทำการสมรสกับสามีแม้ทรัพย์มรดกนั้นยังไม่ได้แบ่งปันกันก็ย่อมเป็นสินเดิมของหญิงนั้น และเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีสิทธิฟ้องเรียกมรดกส่วนของภริยาซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภริยาได้ ตามมาตรา 1469 และแม้จำเลยเป็นมารดาของภริยาโจทก์ ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534 เพราะจำเลยไม่ใช่บุพการีโจทก์ และมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องแทนภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าขาดจากกัน, เหตุหย่าตามกฎหมาย, การระงับสิทธิฟ้องร้อง, และค่าอุปการะเลี้ยงดู
สามีภริยาได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อสามีภริยาและพยาน 2คน มีข้อความว่าได้พร้อมใจกันเลิกสภาพการเป็นสามีภริยากันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เช่นนี้ เป็นการเลิกสภาพการเป็นสามีภริยาโดยพฤตินัย แต่โดยทางนิตินัยยังมิได้หย่าขาดกันตามกฎหมาย หรือมีความประสงค์จะไปจดทะเบียนในภายหลังและต่อมาอีก 5 วัน สามีโทรเลขให้ภริยากลับบ้านบอกว่าฉีกหนังสือนั้นแล้ว ต่อมาได้คืนดีกันและประพฤติต่อกันฉันสามีภริยาอีกดังนี้ จะถือว่าหย่าขาดจากกันตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีใจความว่า สามีเป็นสัตว์ป่าในร่างมนุษย์เป็นการหมิ่นประมาทสามีอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(2)
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีข้อความว่า ภริยาจะจ้างด้วยเงิน ด้วยตัวกับผู้ที่หลงรักภริยา ให้เอาน้ำกรดสาดหน้าสามี ย่อมถือได้ว่าภริยาทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงจนสามีไม่อาจจะอยู่กินกันได้เพราะอาจได้รับอันตรายจากภริยาเมื่อใดก็ได้อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(3)
ภริยามีที่ดินและอาคารราคาสองแสนบาทเศษ ใช้อาคารนั้นเป็นหอพักเก็บผลประโยชน์ได้เดือนละ 1,000 บาทเศษ และทำงานได้เงินเดือนเดือนละ 1,975 บาทถือว่าภริยามีรายได้พอจากทรัพย์สินและการงานที่ทำเมื่อหย่ากันโดยสามีภริยาเป็นผู้ต้องรับผิดทั้งสองฝ่าย สามีไม่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1506
แม้โจทก์ฟ้องขอหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(2)(3) เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับแต่วันรู้เหตุหย่าก็ตามแต่จำเลยไม่ได้ยกเอาเหตุแห่งการระงับของสิทธิฟ้องร้องตามมาตรา 1509 ขึ้นต่อสู้ไว้ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่า: การเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาและละทิ้งกัน สิทธิฟ้องร้องระงับใน 2 ปี
การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยานั้น. เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้วสิทธิการฟ้องร้องย่อมระงับไป.
โจทก์จำเลยทะเลาะกันด่ากัน. โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์เพื่อยกเป็นเหตุฟ้องหย่าหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องแล้วนำคดีมาฟ้องใหม่ และการโอนสิทธิในที่ดินมีผลต่อสิทธิการฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ว่า ละเมิดบุกรุกที่พิพาทของโจทก์. แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคยฟ้องจำเลยทั้งสี่นี้ในประเด็นและที่พิพาทรายเดียวกันนี้มาก่อนแล้วและได้ถอนฟ้องไป.โดยแถลงต่อศาลไว้ว่าจะไม่นำคดีมาฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทนี้อีก. ดังนี้ คำแถลงของโจทก์ในคดีก่อนซึ่งยอมสละสิทธินำคดีเรื่องนี้มาฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176. จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ในคดีนั้นได้ทำต่อศาลและต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งและย่อมผูกมัดโจทก์. โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสี่นี้อีกไม่ได้.
ส่วนจำเลยที่ 5 และ 6 เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1ได้แบ่งขายที่พิพาทให้ก่อนที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่1 ถึง 4 ในคดีก่อนดังกล่าว. สิทธิของจำเลยที่ 1ผู้ขายมีอยู่อย่างไรย่อมตกเป็นสิทธิของจำเลยที่ 5และ 6 ผู้ซื้อด้วย. เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้อีกแล้ว. ก็จะฟ้องจำเลยที่ 5 และ 6ไม่ได้ด้วย.
of 16