คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิรับมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกเกิดขึ้นเมื่อใด: ทายาทต้องมีสิทธิในขณะเจ้ามรดกตาย
เจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันที บุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทและมีสิทธิรับมรดกของบุคคลใด นอกจากจะต้องมีสภาพหรือสามารถมีสิทธิตาม มาตรา1604 แล้วยังต้องมีสิทธิที่จะรับมรดกในขณะที่เจ้ามรดกตายด้วย บุตรในกรณีที่มีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นมีผลนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ถ้าในขณะที่คำพิพากษาถึงที่สุดนั้น เป็นเวลาภายหลังเจ้ามรดกตายแล้ว และไม่มีมรดกจะรับก็ไม่มีทางจะให้เด็กนั้นได้รับมรดกได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกของบิดาโดยอ้างข้อที่ศาลพิพากษา ว่าเป็นบุตรเท่านั้น ไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าเมื่อก่อนบิดาตาย บิดาได้รับรองโจทก์ว่าเป็นบุตร อันจะทำให้มีสิทธิรับมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 หรือไม่ คงมีประเด็นข้อเถียงว่าคำสั่งของศาลที่แสดงไว้นั้น จะมีผลแก่โจทก์ในทางรับมรดกอย่างไรหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกซ้ำซ้อน: การฟ้องห้ามรับมรดกเดิม ห้ามฟ้องซ้ำด้วยเหตุเดิม แม้สถานะทางกฎหมายเปลี่ยน
โจทก์เคยฟ้องห้ามจำเลยซึ่งเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมิให้เกี่ยวข้องแก่มรดกศาลพิพากษาห้ามแล้วภายหลังมีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงเข้ามาเกี่ยวข้องแก่มรดกอีกโจทก์จึงฟ้องขอห้ามอีก ดังนี้ถือว่าโจทก์ฟ้องร้องอีกโดยอาศัยเหตุเดียวกัน ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดก: การฟ้องซ้ำด้วยเหตุเดิมต้องยกฟ้อง แม้สถานะทางกฎหมายเปลี่ยน
โจทก์เคยฟ้องห้ามจำเลยซึ่งเป็นบุตร์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมิให้เกี่ยวข้องแก่มฤดกศาลพิพากษาห้ามแล้ว ภายหลังมีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นบุตร์ที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงเข้ามาเกี่ยวข้องแก่มฤดกอีก โจทก์จึงฟ้องขอห้ามอีก ดังนี้ถือว่าโจทก์ฟ้องร้องอีกโดยอาศัยเหตุเดียวกันต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแสดงบัญชีทรัพย์มรดกและการเพิ่มเติมฟ้อง ไม่ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
การที่โจทฟ้องว่าทรัพย์มรดกหยู่ไนความปกครองยึดถือของจำเลย ๆ ไม่ยอมสแดงบัญชีโจทไม่ซาบรายลเอียด แต่โจทประมานราคาทรัพย์และโจทขอไห้จำเลยสแดงบัญชีทรัพย์มรดกดังนี้ ไม่เปนฟ้องเคลือบคลุม , คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องที่สแดงบัญชีทรัพย์ที่โจทยื่นพายหลังจำเลยไห้การแล้วเปนแต่เพียงการสแดงทรัพย์ซึ่งเบื้องต้นโจทไม่รู้ไห้ปรากตขึ้นเท่านั้น ไม่เปนการฝ่าฝืนต่อกดหมายประการได

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบิดาผู้มีสิทธิ แม้สินสมรสยังไม่ท่วมทุนเดิม และอายุความมรดก
มฤดก หญิงมีสามีแต่ไม่มีบุตร์
คำว่า ญาติ นั้นท่านว่ากินความถึงบิดามารดาของหญิงด้วย หญิงมีสามีตายไม่มีบุตร์หลาน บิดาของหญิงรับมฤดกของหญิงนั้นได้ อายุความมฤดกผู้ที่อาจได้รับมฤดกยกอายุความมฤดก 1 ปีขึ้นต่อสู้ได้ โดยยังไม่ต้องพิจารณาถึงเรื่องสินบริคณฑ์ว่ามีมากกว่า 2 เท่าทุนสินเดิมของสามีภรรยา ลักษณรับฟ้องยกที่ 21 ประการที่ 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของญาติฝ่ายมารดาเมื่อยังมีญาติฝ่ายบิดาอยู่
ญาติทางฝ่ายมารดาผู้ตาย ก็เปนผู้สมควรได้รับมฤดก ในเมื่อญาติทางฝ่ายบิดายังมีตัวอยู่ด้วย วิธีพิจารณาแพ่ง ย้อนสำนวนให้สืบพะยานแล้วตัดสิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนชื่อผู้จัดการมฤดกออกจากหนังสือสำคัญ และสิทธิในการรับมรดก
มฤดกขอถอนชื่อผู้จัดการออกจากหนังสือสำคัญต่าง ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกคดีต่อเนื่อง & สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมาย
มฤดกอายุความต่อถ้าเปนคดีต่อเนื่องกับคดีอื่นบุตร์ที่เกิดโดยทางลับรับมฤดกมารดาได้ 199/119

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5660/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายและการรับมรดกของบุตรนอกสมรส: ศาลไม่อาจพิพากษาสั่งให้เป็นบิดาได้หากไม่ใช่การฟ้องของบุตร
บุตรที่เกิดนอกสมรสจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาในภายหลังได้ 3 ประการ คือ เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 เมื่อปรากฏตามคำร้องขอของผู้ร้องว่า ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบิดาตามกฎหมายของ พ. และมีสิทธิได้รับมรดกของ พ. มิใช่เป็นกรณีที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ทั้งการที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 และมาตรา 1555 นั้น เป็นสิทธิของฝ่ายเด็กที่จะฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้กล่าวคือ ในกรณีที่เด็กยังมีอายุไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ฟ้องคดีแทน หรือในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ให้ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็ก มิใช่กรณีที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่อ้างว่าเป็นบิดาของเด็กมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ทั้งผู้ร้องมิได้ร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ร้องจดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตรเพื่อนำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1548 แต่กลับขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ร้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. ซึ่งไม่อาจกระทำได้เพราะคำพิพากษาของศาลในกรณีเช่นนี้ไม่มีผลทำให้ผู้ร้องมีสถานะเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. กรณีของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 1547 จึงไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิแก่ผู้ร้องในอันที่จะนำเสนอคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2559)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรม, สิทธิรับมรดก, อายุความมรดก, การจัดการมรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. เนื่องจาก ป. จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โดย ส. ผู้ตาย ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ให้ความยินยอมด้วย โจทก์จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายก่อน ป. โดยมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัว ป. คู่สมรสย่อมเป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 วรรคสอง และมีสิทธิรับมรดกของ ส. ด้วยตามมาตรา 1635 แม้ ป. ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกและไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า ป. แสดงเจตนาสละมรดกดังกล่าวตามมาตรา 1612 ป. จึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ตามกฎหมาย เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายโดยยังไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. แบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ในส่วนที่ตกแก่ ป. ได้
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนซึ่งรวมถึง ป. คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะที่ ส. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้งสามแปลง ให้แก่ตนเองเพียงผู้เดียวจึงเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และถือได้ว่าการมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงการครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นของ ส. ทุกคนเท่านั้น จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ในส่วนที่ตกได้แก่ ป. คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
of 10