พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงานและการจ่ายค่าจ้างวันหยุดตามประเพณี ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิเช่นลูกจ้างประจำ
ลูกจ้างเป็นโจทก์ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้รับกลับเข้าทำงานตามสภาพการจ้างเดิมต่อไป หากไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องร้องตามนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 121 คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรมไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้ลูกจ้างต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ได้ปฏิบัติงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดตามประเพณีปีละ 13 วัน เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำนับแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการจ่ายโบนัสพิเศษของนายจ้างตามระเบียบและข้อตกลง สิทธิลูกจ้างขึ้นอยู่กับเกณฑ์ประเมินผล
โบนัสพิเศษเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างจะต้องจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานนายจ้างจะจ่ายโบนัสพิเศษให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็แล้วแต่นายจ้างจะกำหนดหรือตามสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างโจทก์ได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายโบนัสพิเศษไว้ในระเบียบว่าด้วยการจ่ายเบี้ยกรรมการและโบนัส ข้อ 10 ว่า 'การจ่ายเงินโบนัสสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้มีความชอบพิเศษ ฯลฯ ให้คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้พิจารณาจ่ายให้สำหรับผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา ส่วนที่เหลือให้ผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา (จำเลยที่ 2) เป็นผู้พิจารณาจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ชั้นรองลงมาตามที่เห็นสมควร โดยอนุมัติคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภา ฯลฯ' ซึ่งตามระเบียบดังกล่าว การจ่ายโบนัสพิเศษให้โจทก์เป็นอำนาจของจำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่ผลการปฏิบัติงานของโจทก์อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์ปานกลางและจำเลยที่ 2 เห็นว่าโจทก์ไม่ควรได้รับโบนัสพิเศษโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภาโดยชอบด้วยระเบียบดังกล่าว จึงหาใช่จำเลยที่ 2 กระทำตามอำเภอใจโดยไม่ได้กระทำตามกรอบข้อบังคับที่วางไว้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างโจทก์ได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายโบนัสพิเศษไว้ในระเบียบว่าด้วยการจ่ายเบี้ยกรรมการและโบนัส ข้อ 10 ว่า 'การจ่ายเงินโบนัสสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้มีความชอบพิเศษ ฯลฯ ให้คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้พิจารณาจ่ายให้สำหรับผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา ส่วนที่เหลือให้ผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา (จำเลยที่ 2) เป็นผู้พิจารณาจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ชั้นรองลงมาตามที่เห็นสมควร โดยอนุมัติคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภา ฯลฯ' ซึ่งตามระเบียบดังกล่าว การจ่ายโบนัสพิเศษให้โจทก์เป็นอำนาจของจำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่ผลการปฏิบัติงานของโจทก์อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์ปานกลางและจำเลยที่ 2 เห็นว่าโจทก์ไม่ควรได้รับโบนัสพิเศษโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภาโดยชอบด้วยระเบียบดังกล่าว จึงหาใช่จำเลยที่ 2 กระทำตามอำเภอใจโดยไม่ได้กระทำตามกรอบข้อบังคับที่วางไว้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิได้รับใบสำคัญการทำงาน แม้เป็นงานทดลอง
แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างซึ่งจำเลยรับเข้าทดลองทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราว ก็ถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงจำเลยต้องออกใบสำคัญการทำงานให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างย้อนหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิค่าจ้างและความชอบธรรมในการเลิกจ้าง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยให้มีผลตั้งแต่วันยื่นคำร้องคือวันที่ 20มกราคม 2530 ก่อนโจทก์ยื่นคำคัดค้านจำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉิน ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตโดยให้จำเลยนำเงินค่าจ้างไปวางศาลเมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์ได้ก็ให้จำเลยขอรับเงินค่าจ้างคืนไป แต่ถ้าไม่อนุญาตให้เลิกจ้างก็ให้โจทก์รับเงินค่าจ้างไปได้ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530 การที่ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งโดยให้โจทก์ไปขอรับจากศาลแรงงานกลางตามที่จำเลยได้วางไว้ ส่วนที่เหลือให้จำเลยรับคืนไป และโจทก์ไม่ติดใจในเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมค่าเสียหายและค่าชดเชยเกี่ยวกับการเลิกจ้าง ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ตามที่ตกลงกันแต่ข้อตกลงไม่แจ้งชัดว่าจะให้เลิกจ้างเมื่อใด เช่นนี้คำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างดังกล่าวย่อมเป็นไปตามคำขอของจำเลยโดยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างกรณีเงินบำเหน็จและค่าชดเชย
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จพนักงานของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัดพ.ศ. 2507 ที่จำเลยนำมาใช้บังคับแก่พนักงานและลูกจ้างของจำเลยในระหว่างที่จำเลยยังไม่ออกข้อบังคับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 32 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยออกข้อบังคับ ฉบับที่32 มาใช้บังคับแตก ต่างออกไป ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินบำเหน็จเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ เพราะตามระเบียบเดิม กรณีของโจทก์ที่ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินบำเหน็จและค่าชดเชย แต่ตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 32 โจทก์กลับมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเพียงเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 เท่านั้น จึงนำมาใช้บังคับในกรณีของโจทก์ไม่ได้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 20 แม้จำเลยจะได้จ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์รับไปตามข้อบังคับดังกล่าว ก็ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีมิจำกัดตามตำแหน่งหน้าที่ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯได้กำหนดไว้ตาม ข้อ 45 โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวด้วยข้อ 36 ถึงข้อ 42 ข้อ 43 และข้อ 44 ประการใด สิทธิของลูกจ้างตามข้อ 45 จะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อถูกเลิกจ้าง ซึ่งต่างกว่าค่าทำงานในวันหยุดประเภทอื่นที่ลูกจ้างอาจเรียกร้องได้ในระหว่างทำงาน ดังนั้น ตำแหน่งหน้าที่ของลูกจ้างที่เรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่มีเกณฑ์จำกัดสิทธิตามตำแหน่งหน้าที่ไว้ดังวันหยุดประเภทอื่น แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั้นผู้บังคับบัญชาก็มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี ลูกจ้างทุกตำแหน่งมีสิทธิ แม้เป็นผู้บริหาร การพิจารณาต้องแยกจากวันหยุดประเภทอื่น
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯได้กำหนดไว้ตาม ข้อ 45 โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวด้วยข้อ 36 ถึงข้อ 42ข้อ 43 และข้อ 44 ประการใด สิทธิของลูกจ้างตามข้อ 45จะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อถูกเลิกจ้าง ซึ่งต่างกว่าค่าทำงานในวันหยุดประเภทอื่นที่ลูกจ้างอาจเรียกร้องได้ในระหว่างทำงาน ดังนั้น ตำแหน่งหน้าที่ของลูกจ้างที่เรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่มีเกณฑ์จำกัดสิทธิตามตำแหน่งหน้าที่ไว้ดังวันหยุดประเภทอื่น แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั้นผู้บังคับบัญชาก็มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน: สิทธิในการเลิกจ้างและการคุ้มครองทางกฎหมาย
ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานอาจเป็นลูกจ้างประจำได้ แต่ยังหาใช่เป็นลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่ ดังนั้น นายจ้างอาจมีสิทธิเลิกจ้างได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีนายจ้างต้องกำหนดล่วงหน้า แม้หยุดพักมากกว่ากฎหมายกำหนดก็ไม่ถือเป็นวันหยุดพักผ่อน
จำเลยจ้างโจทก์เป็นครูในโรงเรียนของจำเลย ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์ และไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยอ้างว่าโจทก์ได้หยุดแล้วในตอนปิดเทอมภาคการศึกษาดังนี้ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ10 ระบุให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้มีวันหยุดพักผ่อนประจำปี แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่านายจ้างได้กำหนดล่วงหน้าให้วันปิดเทอมเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงจะถือเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีมิได้ แม้โจทก์ได้หยุดมากกว่าปีละหกวันตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 10 ก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าจ้างเมื่อเกษียณอายุ: จ่ายเฉพาะวันที่ทำงานจริง ตามระเบียบบริษัท
โจทก์เกษียณอายุในวันที่ 19 สิงหาคม 2528 ย่อมพ้นสภาพความเป็นลูกจ้างของจำเลยนับแต่วันดังกล่าว จำเลยไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าจ้างตั้งแต่วันนั้นให้แก่โจทก์อีกต่อไป ทั้งตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยก็มิได้กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าจ้างทั้งเดือนให้แก่พนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะเกษียณอายุ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างเพียง 18 วัน