พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาตัวแทนจำหน่ายและผลกระทบจากการไม่คืนสินค้า
โจทก์เป็นผู้กำหนดเงินค่า เอ พี ดี ให้เแก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละของราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อ และโจทก์ส่งมอบแต่ละครั้ง เมื่อจำเลยยังไม่ได้สั่งสินค้าจากโจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบ เงิน เอ พี ดี ที่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยก็ไม่มี การที่จำเลยทดรองจ่ายเงิน เอ พี ดี ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยพลการ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์
โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีกำหนด 2 ปี เมื่อจำเลยกระทำการอันเป็นการผิดข้อตกลงจนโจทก์ต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยคืนสินค้าที่เหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายในกำหนด ทั้งจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่คืนสินค้าแก่โจทก์โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานย่อมทำให้คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในสินค้าเหล่านั้น
โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีกำหนด 2 ปี เมื่อจำเลยกระทำการอันเป็นการผิดข้อตกลงจนโจทก์ต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยคืนสินค้าที่เหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายในกำหนด ทั้งจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่คืนสินค้าแก่โจทก์โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานย่อมทำให้คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในสินค้าเหล่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าประเภทใดจัดอยู่ในพิกัด 85.15 ก. หรือ 92.13 พิจารณาจากระบบการทำงานและคุณสมบัติของสินค้า
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรท้ายพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ข้อที่ 5 กำหนดว่า ของซึ่งไม่อาจจัดเข้าประเภทใดในพิกัดอัตราศุลกากรนี้ได้ ก็ให้จัดเข้าในประเภทเดียวกับของซึ่งใกล้เคียงกับของชนิดนั้นมากที่สุด ดังนั้น การตีความจำต้องพิเคราะห์ถึงระบบการทำงานของสินค้าชนิดนั้น รวมทั้งคุณสมบัติอื่น ๆ ประกอบกัน สินค้ารายพิพาทคือหัวเทปบันทึกภาพโทรทัศน์เป็นชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ของเครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ที่ใช้กับเครื่องส่งโทรทัศน์เฉพาะในสถานีส่งโทรทัศน์ สามารถส่งสัญญาณเข้าเครื่องส่งโทรทัศน์และแพร่ภาพออกไปได้ มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกล้องถ่ายโทรทัศน์ จึงเป็นสินค้าตามพิกัดประเภทที่ 85.15 ก.ส่วนสินค้าตามพิกัดอากรขาเข้าประเภทที่ 92.13 คือ ส่วนประกอบและสิ่งอุปกรณ์อย่างอื่นของหีบเสียง เครื่องสั่งงานเครื่องบันทึกเสียงหรือเครื่องเปล่งเสียง จึงเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับเสียงแต่เพียงอย่างเดียว จะนำไปใช้เกี่ยวกับภาพไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์การหลีกเลี่ยงอากร: ผู้ซื้อต้องพิสูจน์ว่าได้เสียภาษีแล้ว
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27ทวิ ต้องเป็นการซื้อของที่ตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ซึ่งภาระการพิสูจน์ดังกล่าวนี้ตกอยู่แก่จำเลยผู้ซื้อที่จะต้องพิสูจน์ว่าสินค้าผ้าของกลางได้เสียภาษีโดยถูกต้องแล้วดังที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 100 บัญญัติไว้หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่ เมื่อจำเลยไม่นำสืบคดีต้องฟังว่าจำเลยซื้อผ้าของกลางโดยรู้ว่ายังไม่ได้เสียค่าภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ศุลกากร: จำเลยต้องพิสูจน์การเสียภาษีของสินค้าที่ซื้อเข้ามา
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิจะต้องเป็นการซื้อของที่ตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ซึ่งหน้าที่พิสูจน์ในกรณีนี้ตกอยู่แก่จำเลยที่จะต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าสินค้าของกลางซึ่งได้นำเข้ามาจากต่างประเทศได้เสียภาษีโดยถูกต้องแล้ว ดังที่มาตรา 100 บัญญัติไว้หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่ เมื่อจำเลยไม่นำสืบ เพียงแต่อ้างว่าเป็นสินค้าที่จำหน่ายโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะขายในตลาดสุขาภิบาลโดยเปิดเผย จึงเป็นความเข้าใจของจำเลยที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับกรณีนี้ และไม่เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิด จึงต้องฟังว่าจำเลยซื้อสินค้าของกลางโดยรู้ว่ายังไม่ได้เสียค่าภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ระบุรายละเอียดสินค้า, โจทก์มีอำนาจฟ้องแม้ไม่มีวัตถุประสงค์, หนังสือมอบอำนาจใช้บังคับได้, และการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
แม้คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อเป็นสินค้าอะไรแต่ก็ได้กล่าวว่าเป็นสินค้าตามใบวางบิลและใบส่งของตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งได้ระบุประเภทสินค้าไว้ จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม แม้สินค้าที่โจทก์ขายให้จำเลยจะไม่ได้อยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมทำสัญญาซื้อขาย และรับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคา หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีระบุว่าให้ฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินค่าสินค้าที่ค้างชำระจากจำเลย ย่อมหมายถึงให้ฟ้องคดียังศาลที่มีเขตอำนาจโดยไม่จำต้องระบุว่าเป็นศาลใด และเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระทั้งหมดมิได้เป็นการมอบให้ฟ้องเรียกบางส่วนอันจะต้องระบุจำนวนหนี้ที่ให้ฟ้องดังนี้ หนังสือมอบอำนาจจึงมีผลใช้บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าซ่อมตามสัญญาประกันคุณภาพสินค้าต่างจากความชำรุดบกพร่องของทรัพย์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญา มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ข้อตกลงพิเศษตามสัญญาไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการจัดเก็บภาษีสินค้าตามหมวด 4(3) บัญชี 2 พ.ร.ฎ. สินค้าอเนกประสงค์ที่ใช้ทำเครื่องเรือนได้ ถือเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษี
สินค้าตามหมวด 4(3) แห่งบัญชีที่ 2 ท้าย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 133) พ.ศ. 2526มาตรา 9 มิได้จำกัดเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำเครื่องเรือนโดยเฉพาะดังนั้น แม้ว่าสินค้าพิพาทจะเป็นท่อเหล็กเอนกประสงค์ใช้ทำของใช้อย่างอื่นนอกจากเครื่องเรือนด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยอมรับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำเครื่องเรือนได้ และมิได้ผลิตจากสินค้าตามหมวด 4(4)(5) หรือ (6) ของบัญชีที่ 1อีกทั้งเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร สินค้าท่อเหล็กกลมและเหลี่ยมที่โจทก์ผลิตจึงเป็นสินค้าตามหมวด 4(3) บัญชีที่ 2 ท้ายพ.ร.ฎ. ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนลวงสาธารณชน การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและสินค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LODINE และโลดีน ของ โจทก์กับเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนภายหลังคำว่า LODINOX และโลดินอกซ์ ของ จำเลย ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทเครื่องหมายคำโดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา และตัวอักษรไทยรูปแบบธรรมดาเป็นคำอ่านออกเสียงรูปแบบอักษรโรมันไม่มีลวดลายหรือลักษณะพิเศษแตกต่างกัน การออกสำเนียงในการอ่านคำในสองพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน แม้จำเลย จะต่อเติมอักษรโรมันในพยางค์หลังและอธิบายว่าคำว่า LODINOX มีที่ มาจากถ้อยคำของสูตรตัวยาแก้ท้องเสีย 2 ตัว คือ LOPERAMIDE และFURASOLIDINE และต่อเติมคำว่า NOX อ้างว่าให้มีความหมายว่า หยุดก็เป็นเพียงความประสงค์ของจำเลยเองที่ไม่ถูกต้องตรงกับความหมายของถ้อยคำและตัวอักษรที่ย่อเอามากล่าวคือ คำว่า NOX เป็นคำที่ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรม และคำว่า LODINOX ก็ไม่ตรงกับ ตัวอักษรLO และ LID ที่จำเลยอ้างว่านำมาจากสูตรตัวยา 2 ตัว ดังกล่าวแล้วนำมารวมกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อแสดง ให้เห็นว่าจำเลยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลย ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 ตามรายการ จำพวกสินค้าเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ สาธารณชนย่อมยากที่จะแยก ได้ว่าสินค้ายาเครื่องหมายการค้าใดเป็นสินค้าของโจทก์หรือ ของจำเลย และอาจทำให้ผู้ซื้อยาเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้า ของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษหรือรู้น้อยย่อมเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ง่าย ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าที่ระบุชัดเจนย่อมสำคัญกว่าประเภทที่กว้าง
สินค้าแอลลอยสตีล หรือโลหะผสมเหล็กกล้าที่โจทก์นำเข้า เป็นของ ที่กำหนดไว้โดยชัดแจ้งในประเภทพิกัดที่ 73.15 ง. จำเลยจะจัดของ ที่โจทก์นำเข้าเป็นประเภทพิกัดที่ 73.40 ฉ. อื่น ๆ อันเป็นประเภท ที่ระบุไว้อย่างกว้างหาได้ไม่เพราะขัดต่อหลักการตีความพิกัด อัตราศุลกากรตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ข้อ 3.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้ามีคุณสมบัติป้องกันสนิมและอื่น ๆ ต้องเสียอากรตามพิกัด 'อื่น ๆ'
สินค้าพิพาทเป็นผลิตภัณฑ์เคมีตามพิกัดอัตราอากรแนบท้ายพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ประเภท 38.14 ซึ่งนอกจากจะมีคุณสมบัติป้องกันการเป็นสนิมแล้ว ยังมีคุณสมบัติป้องกัน การรวมตัวของออกซิเจนและป้องกันการกัดกร่อน ผิวโลหะจึงมิใช่สินค้าในรายการ "เฉพาะสิ่งปรุงแต่งที่ใช้สำหรับกันการเป็นสนิม"ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.10/2527(อซ.19)ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 ซึ่งได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 60 ของอัตราที่เรียกเก็บหรือเสียอากรขาเข้าร้อยละ 18 ของราคาของที่นำเข้า แต่เป็นสินค้าในรายการ "อื่น ๆ" ตามบัญชี ท้ายประกาศฉบับเดียวกันซึ่งได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ80 หรือต้องเสียอากรขาเข้าร้อยละ 24 ของราคาของที่นำเข้า.