พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงสินจ้างจากการก่อสร้างชำรุด และการชำระค่าจ้างเพิ่มเติม
โจทก์ก่อสร้างอาคารตามข้อตกลงในสัญญารวมทั้งส่วนที่ตกลงเพิ่มเติมให้จำเลยเสร็จแล้ว แต่ปรากฏว่าตัวอาคารมีรอยร้าวตามส่วนต่างๆ หลายแห่งอันควรจะต้องได้รับการแก้ไขอันแสดงถึงผลงานที่ไม่เรียบร้อย และโจทก์ไม่หาประกันมาให้จำเลยตามที่เรียกร้องได้ จำเลยจึงชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 599ส่วนค่าจ้างเกี่ยวกับการก่อสร้างเพิ่มเติมนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อชำรุดบกพร่องแต่อย่างใด จำเลยก็ต้องชำระสินจ้างในส่วนนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การเรียกร้องสินจ้างจากการเลิกจ้างที่ไม่แจ้งล่วงหน้า แม้จะเคยฟ้องเรื่องค่าชดเชยไปแล้ว
การเลิกจ้างย่อมเป็นมูลให้เรียกร้องค่าชดเชยและเรียกสินจ้างที่มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า และโจทก์อาจฟ้องเรียกร้องรวมในคดีก่อนได้อยู่แล้ว แต่ไม่ฟ้อง กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เรียกสินจ้างที่มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าอีก ดังนี้ ประเด็น ที่จะต้องวินิจฉัยในคดีทั้งสองก็เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำไปคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้าง
แม้การจ่ายค่าครองชีพมีมูลเหตุมาจากอัตราค่าครองชีพที่สูงขึ้น ภาวะค่าครองชีพก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุที่ต้องเพิ่มเงินให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างในการทำงานให้จำเลย เห็นได้ว่าเป็นการจ่ายให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างถือได้ว่าเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงาน ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้าง
เงินประเภทใดจะเป็นค่าจ้างหรือไม่ ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ผู้ใดจะวางระเบียบให้ผิดไปเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เมื่อค่าครองชีพเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ระเบียบของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ถือว่าค่าครองชีพมิใช่ค่าจ้าง จึงไม่มีผลบังคับ
เมื่อค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง ก็ต้องนำไปเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า
เงินประเภทใดจะเป็นค่าจ้างหรือไม่ ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ผู้ใดจะวางระเบียบให้ผิดไปเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เมื่อค่าครองชีพเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ระเบียบของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ถือว่าค่าครองชีพมิใช่ค่าจ้าง จึงไม่มีผลบังคับ
เมื่อค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง ก็ต้องนำไปเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: แม้ข้อตกลงไม่ชัดเจน ศาลกำหนดสินจ้างตามความเหมาะสมได้
โจทก์เป็นทนายว่าความให้จำเลย เมื่อพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นที่แน่ว่าโจทก์ทำงานให้จำเลยโดยมีสินจ้างมิใช่ทำให้เปล่า แม้จะฟังไม่ได้ตามที่โจทก์จำเลยนำสืบจำนวนค่าจ้างมา ศาลก็กำหนดสินจ้างให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย แม้ข้อตกลงไม่ชัดเจน ศาลกำหนดสินจ้างได้ตามพฤติการณ์
โจทก์เป็นทนายว่าความให้จำเลย เมื่อพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นที่แน่ว่าโจทก์ทำงานให้จำเลยโดยมีสินจ้างมิใช่ทำให้เปล่า แม้จะฟังไม่ได้ตามที่โจทก์จำเลยนำสืบจำนวนค่าจ้างมา ศาลก็กำหนดสินจ้างให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานรีดลูกโดยแพทย์ที่เห็นแก่สินจ้าง: ใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยเป็นนายแพทย์ทำการรีดลูกโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัล เหตุเกิดขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญา แต่ขณะศาลพิพากษานั้น มีประมวลกฎหมายอาญาใช้แล้ว จำเลยจึงมีผิดเพียงตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.261 ส่วนที่โจทก์ขอให้ลงโทษทวีขึ้นอีก 1 ใน 3 ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.262 โดยจำเลยเป็นแพทย์และทำโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัลนั้น กฎหมายที่ใช้ในการกระทำความผิดคือ ประมวลกฎหมายอาญา ไม่มีบัญญัติให้ลงโทษผู้กระทำผิดฐานรีดลูกซึ่งเป็นแพทย์หรือเป็นคนทำโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัลทวีขึ้นดังที่บัญญัติในกฎหมายลักษณะอาญา ม.262 จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามความใน ม.3 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ไม่ลงโทษจำเลยทวีขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสินจ้าง: บำเหน็จจากการขายและผลกำไรเป็นสินจ้างชนิดอื่น ฟ้องร้องภายใน 2 ปี
เงินบำเหน็จในการขายสินค้าก็ดี เงินบำเหน็จในผลกำไรของร้านค้าก็ดี ซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรายปีนั้น คือ "สินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ทำ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(8), สิทธิเรียกร้องเหล่านี้จะต้องฟ้องร้องเสียภายในกำหนดอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าบำเหน็จพนักงาน: สินจ้างชนิดอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(8) มีอายุความ 2 ปี
เงินบำเหน็จในการขายสินค้าก็ดี เงินบำเหน็จในผลกำไรของร้านค้าก็ดี ซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรายปีนั้น คือ "สินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ทำ" ตามป.พ.พ. มาตรา 165(8), สิทธิเรียกร้องเหล่านี้จะต้องฟ้องร้องเสียภายในกำหนดอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินติดภาระจำนองในการขายทอดตลาด แม้สุจริตและเสียสินจ้าง ก็ไม่ทำให้ภาระจำนองหลุดพ้น
กรณีที่ผู้ซื้อรู้ถึงการรอนสิทธิอยู่แล้วในเวลาซื้อขาย
รับซื้อที่ดินติดภาระจำนองในการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาล ถึงแม้จะซื้อโดยสุจริตและเสียสินจ้างก็ไม่ทำให้ภาระจำนองหลุดพ้น เพราะเป็นการขายเฉพาะสิทธิเท่าที่มีอยู่ของเจ้าของที่ดิน
รับซื้อที่ดินติดภาระจำนองในการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาล ถึงแม้จะซื้อโดยสุจริตและเสียสินจ้างก็ไม่ทำให้ภาระจำนองหลุดพ้น เพราะเป็นการขายเฉพาะสิทธิเท่าที่มีอยู่ของเจ้าของที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดติดภาระจำนอง แม้ซื้อสุจริตมีสินจ้างก็ไม่ทำให้ภาระจำนองหลุดพ้น
กรณีที่ผู้ซื้อรู้ถึงการรอนสิทธิอยู่แล้วในเวลาซื้อขาย
รับซื้อที่ดินติดภาระจำนองในการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาล ถึงแม้จะซื้อโดยสุจริตและเสียสินจ้างก็ไม่ทำให้ภาระจำนองหลุดพ้น เพราะเป็นการขายเฉพาะสิทธิเท่าที่มีอยู่ของเจ้าของที่ดิน
รับซื้อที่ดินติดภาระจำนองในการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาล ถึงแม้จะซื้อโดยสุจริตและเสียสินจ้างก็ไม่ทำให้ภาระจำนองหลุดพ้น เพราะเป็นการขายเฉพาะสิทธิเท่าที่มีอยู่ของเจ้าของที่ดิน