พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: การโต้เถียงวันสิ้นสุดสัญญาเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากสูงอายุ โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนนั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างวันที่โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างต้องถือเอาวันที่จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์กลับเข้าปฏิบัติงานใหม่ ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังยุติแล้วว่า โจทก์พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากสูงอายุ อันเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 54.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างเนื่องจากเกษียณอายุและการโต้แย้งวันสิ้นสุดสัญญา ศาลฎีกาไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากสูงอายุเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนนั้นยังไม่ถือว่าโจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้าง วันที่โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างต้องถือเอาวันที่จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์กลับเข้าปฏิบัติงานใหม่คือวันที่ 7 สิงหาคม 2532 ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังยุติแล้วว่า โจทก์พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากสูงอายุเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม2529 อันเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้าสิ้นสุดหากไม่จดทะเบียนซื้อขายภายในเวลาที่กำหนด โดยมีกำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญของสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินมีความจำเป็นต้องการขายที่ดินโดยเร็วเพื่อนำเงินไปชำระหนี้จำนอง ได้ตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินดังกล่าว ต่อมา ม. เป็นผู้ซื้อที่ดินได้ แม้โจทก์เป็นผู้ติดต่อ ม. มาซื้อที่ดินจากจำเลยได้ก็ตาม แต่เมื่อสัญญานายหน้ามีข้อความระบุว่า "มอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายในกำหนด 10 วันนับแต่วันทำสัญญานี้... ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง" อันมีความหมายว่า เมื่อโจทก์ติดต่อหาผู้ซื้อได้แล้ว โจทก์จำต้องจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนับแต่วันทำสัญญาด้วย เป็นกรณีที่คู่สัญญามีเจตนากำหนดเวลาไว้แน่นอนกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้า เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ผ่อนเวลาออกไปอีก และเมื่อครบกำหนด 10 วันตามสัญญาแล้ว โจทก์ไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ จึงถือว่าสัญญานายหน้าสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญา นายหน้า: กำหนดเวลาจดทะเบียนเป็นสาระสำคัญ หากไม่ทำตามสัญญาภายในกำหนด สัญญาเป็นอันสิ้นสุด
จำเลยตกลง ให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้จำเลย โดยหนังสือสัญญานายหน้ามีข้อความว่า "...มอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายใน 10 วัน นับแต่วันทำสัญญานี้...ถ้า พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง" ดังนี้เห็นได้ ว่าคู่สัญญามีเจตนากำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจะต้อง จด ทะเบียนซื้อ ขายโอนกรรมสิทธิ์ให้เสร็จภายในกำหนดเวลา10 วัน นับแต่วันทำสัญญา กำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้า ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ ผ่อนเวลาออกไปอีกแต่ อย่างใด แม้โจทก์จะเป็นผู้ติดต่อให้ ม. ซื้อ ที่ดินจากจำเลยก็ตาม แต่ เมื่อพ้นกำหนด 10 วัน ตาม สัญญาโจทก์ยังไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อ ขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ ถือ ว่าสัญญาสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้าสิ้นสุดหากไม่จดทะเบียนซื้อขายภายในเวลาที่กำหนด ถือเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินมีความจำเป็นต้องการขายที่ดินโดยเร็วเพื่อนำเงินไปชำระหนี้จำนอง ได้ตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินดังกล่าว ต่อมา ม. เป็นผู้ซื้อที่ดินได้ แม้โจทก์เป็นผู้ติดต่อ ม. มาซื้อที่ดินจากจำเลยได้ก็ตาม แต่เมื่อสัญญานายหน้ามีข้อความระบุว่า "มอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายในกำหนด 10 วันนับแต่วันทำสัญญานี้... ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง" อันมีความหมายว่า เมื่อโจทก์ติดต่อหาผู้ซื้อได้แล้ว โจทก์จำต้องจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนับแต่วันทำสัญญาด้วย เป็นกรณีที่คู่สัญญามีเจตนากำหนดเวลาไว้แน่นอนกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้า เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ผ่อนเวลาออกไปอีก และเมื่อครบกำหนด 10 วันตามสัญญาแล้ว โจทก์ไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ จึงถือว่าสัญญานายหน้าสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4121/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ้นสุด ผู้ให้เช่ามีสิทธิขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้ผู้ให้เช่ามิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกแถวที่เช่าเนื่องจากครบกำหนดอายุการเช่า เมื่อจำเลยไม่ให้การปฏิเสธข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าต่อไป ส่วนข้อต่อสู้ที่ว่า โจทก์มิใช่เจ้าของตึกแถวที่ให้เช่า โจทก์ผิดสัญญาไม่โอนขายตึกแถวที่เช่าให้จำเลยทำให้จำเลยเสียหายนั้น ไม่เป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิอยู่ในตึกแถวได้ ดังนี้ ศาลงดสืบพยานและพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่และการสิ้นสุดสัญญาเช่าช่วง การฟ้องโดยอาศัยมูลเหตุจากสัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังคงมีอำนาจแม้สัญญาหลักสิ้นสุด
เมื่อจำเลยประพฤติหรือปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลเหตุตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทที่โจทก์ทำไว้กับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทจะสิ้นสุดแล้วหรือไม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 และเมื่อสัญญาเช่าช่วงครบกำหนด โจทก์ได้บอกเลิกการเช่าช่วงโดยชอบแล้ว จำเลยจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่และการสิ้นสุดสัญญาเช่าช่วง การฟ้องคดีโดยอาศัยมูลเหตุจากสัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์
เมื่อจำเลยประพฤติหรือปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลเหตุตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทที่โจทก์ทำไว้กับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทจะสิ้นสุดแล้วหรือไม่โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 และเมื่อสัญญาเช่าช่วงครบกำหนด โจทก์ได้บอกเลิกการเช่าช่วงโดยชอบแล้วจำเลยจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคชก. และการสิ้นสุด/ต่ออายุสัญญาเช่านา: ข้อจำกัดอำนาจ คชก.ตำบล และสิทธิผู้เช่า
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล (คชก.ตำบล) และคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (คชก.จังหวัด) ตาม พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเพียงบัญญัติว่า คชก.ตำบล และ คชก.จังหวัด ประกอบด้วย บุคคลใด บ้างไม่มีกฎหมายรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาแต่อย่างใด คณะกรรมการดังกล่าวจึงไม่อยู่ในฐานะ ที่ถูก ฟ้องร้องได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยผู้เช่านา และส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่า ไปยังคณะกรรมการควบคุมการเช่า ประจำอำเภอแล้วก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาเกินกว่า 1 ปี และคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำอำเภอมิได้ยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 39 วรรคท้าย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมาย และมีผลใช้ บังคับ แม้ระหว่างสัญญาการเช่านายังไม่สิ้นสุดลง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 จะถูก ยกเลิกโดยพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ มาตรา 66แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ถือว่าการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพ.ร.บ. ฉบับ ใหม่ต่อไป และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ได้ บัญญัติเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้ให้เช่านาจะต้อง ปฏิบัติเมื่อประสงค์จะให้การเช่า นาสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาไว้เช่นเดียวกับมาตรา 39แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ด้วย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมายและมีผลใช้ บังคับต่อไป เมื่อสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะเข้าทำนาของโจทก์ได้ อีกต่อเมื่อโจทก์มิได้ลงมือทำประโยชน์ภายใน1 ปี และจำเลยแสดงความจำนง จะเช่า นา ซึ่ง โจทก์จะต้อง ให้จำเลยเช่า นา เว้นแต่โจทก์จะร้องต่อ คชก.ตำบล ก่อนสิ้นกำหนด 1 ปีเพื่อขอขยายเวลาการเข้าทำประโยชน์ในที่นานั้นตาม มาตรา 38 แห่งพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เท่านั้น แต่ จำเลยร้องขอต่อ คชก.ตำบล ขอเช่า ทำนาของโจทก์ หลังจากสัญญาการเช่านาสิ้นสุดลงไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงมือทำประโยชน์แล้วหรือไม่ คชก.ตำบล จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้อง ของ จำเลย เนื่องจากพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หามีบทบัญญัติใด ให้อำนาจ คชก.ตำบล ที่จะวินิจฉัยคำร้อง ของ ผู้เช่านาในกรณีเช่นนี้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ได้สิ้นสุดลงแล้วไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ทั้งไม่ปรากฏรายการการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระของฝ่ายจำเลย พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาพิพาทได้อีกต่อไป