พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาชำระหนี้และการเกิดสิทธิเรียกร้อง
ในการที่โจทก์ขายสินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่จำเลยนั้นตามทางปฏิบัติโจทก์ได้กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อแก่จำเลย เพื่อชำระราคาสินค้าภายในระยะเวลาประมาณ 45 ถึง 60 วัน นับแต่วันรับมอบสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าวันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าเป็นวันที่จำเลยต้องชำระราคาสินค้าแล้ว ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาสินค้าของโจทก์ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อซึ่งปรากฏว่าตามใบแจ้งหนี้กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระเงิน เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการหักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ต่างมีหนี้สินซึ่งกันและกัน
จำเลยที่1เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการประเมินของโจทก์ซึ่งถึงที่สุดแล้วเป็นจำนวนเงิน3,094,123.24บาทต่อมาโจทก์ตรวจพบและทราบว่าจำเลยที่1เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่2ตามคำพิพากษาเป็นเงินประมาณ384,610บาทซึ่งจำเลยที่2ยังมิได้ชำระให้แก่จำเลยที่1โจทก์จึงให้นายอำเภอเมืองนครปฐมมีหนังสือแจ้งอายัดหนี้ดังกล่าวไปยังจำเลยทั้งสองและเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยห้ามจำเลยที่2ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวให้แก่จำเลยที่1แต่จำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้โจทก์และไม่ยอมบังคับคดีแก่จำเลยที่2ให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาทั้งจำเลยที่2ก็ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1และแก่โจทก์แต่ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยที่1ตกเป็นลูกหนี้จำเลยที่2ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ214,750บาทจำเลยที่2จึงยื่นคำให้การขอหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาคดีทั้งสองดังกล่าวในคดีนี้ดังนี้เมื่อจำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วซึ่งกันและกันเป็นหนี้เงินเหมือนกันทั้งเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดจะชำระแล้วด้วยกันจึงเป็นหนี้ที่สามารถนำมาหักกลบลบกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่1เป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่จะต้องชำระให้โจทก์แต่จำเลยที่1ไม่ใช่สิทธิบังคับเอาแก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่1เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์จึงขอให้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ในนามของโจทก์เพื่อบังคับเอาแก่จำเลยที่2เช่นนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา233ซึ่งตามมาตรา236จำเลยมีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใดๆย่อมจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้นเว้นแต่ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยื่นฟ้องแล้วในคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยที่1เป็นลูกหนี้จำเลยที่2ตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่2จึงยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่กับจำเลยที่1ขึ้นต่อสู้โจทก์โดยขอหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341และ342ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์: ศาลพิจารณาจากมูลค่าทรัพย์ที่ยึดและหนี้สิน เพื่อตัดสินสิทธิในการเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้อง
ผู้ร้องได้นำยึดที่ดินของจำเลยซึ่งติดจำนองก. เป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยได้ขอกู้เพื่อซื้อที่ดินเป็นเงิน500,000บาทมียอดหนี้จำนองถึงวันที่30มิถุนายน2534เป็นเงิน410,000บาทและต่อมามียอดหนี้ค้างเมื่อวันที่2ธันวาคม2537เพียง247,000บาทเท่านั้นแสดงว่าราคาที่แท้จริงของที่ดินแปลงนี้น่าจะมากกว่า500,000บาทตามที่ได้จดทะเบียนจำนองกับก.ไว้และหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยต้องชำระให้ผู้ร้องนับถึงวันที่ศาลมีคำสั่งคำร้องของผู้ร้องคดีนี้คิดเป็นเงินประมาณ257,760บาทจึงยังถือไม่ได้ว่าทรัพย์ที่ผู้ร้องยึดไว้ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาแม้ทรัพย์ที่ยึดมีการร้องขัดทรัพย์แต่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของจำเลยที่1ทรัพย์ที่ยึดจึงยังเป็นของจำเลยที่1กรณีจึงยังไม่ต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสองที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินรวมถึงหนี้ภาษีอากร แม้ศาลจะไม่ได้ระบุผลของการยกเลิกการล้มละลายไว้
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปแสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์เดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานจึงเรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินใหม่และแจ้งไปยังโจทก์โจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์นั้นเป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไม่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์จึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาด แม้พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องด้วยจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีล้มละลายต้องพิจารณาฐานะหนี้สินที่แท้จริงของผู้ล้มละลาย ไม่เพียงแค่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4)ข และ (5) เป็นแต่เพียงเหตุบางประการที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามฟ้องของโจทก์นั้นมาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่า จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงเพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้น ย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีนี้รวมเป็นเงิน 174,733.68 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย แต่ก็ปรากฏว่ามูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลในทางแพ่งนั้นเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนปี 2519 ซึ่งมียอดหนี้ที่จำเลยกับพวกรวม4 คน จะต้องรับผิดเพียง 46,262.43 บาท เท่านั้นแต่โจทก์ก็ไม่ขวยขวายดำเนินการฟ้อง จำเลยกับพวกคงปล่อยปละละเลยนานเกือบ 10 ปี จึงได้มีการฟ้องให้จำเลยรับผิด เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยกับพวกชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม2529 โจทก์ก็มิได้ดำเนินการสืบหาเพื่อยึดทรัพย์ของจำเลยกับพวกแต่อย่างใด รอจนกระทั่งปี 2538 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายพฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2529 ทำให้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง 174,733.68 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยอื่น มิได้กระทำต่อจำเลยนี้โดยตรง ผู้ที่ทำรายงานผลการสืบหาทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์ก็มิได้นำตัวมาสืบสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่า ไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดอันถือได้ว่าจำเลยตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ศาลต้องยกฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องพิเคราะห์ฐานะหนี้สินที่แท้จริง แม้มีเหตุสันนิษฐานตามกฎหมายก็ต้องมีหลักฐานสนับสนุน
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8(4)ขและ(5)เป็นแต่เพียงเหตุบางประการที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้นส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามฟ้องของโจทก์นั้นมาตรา14ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9หรือมาตรา10และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียวแต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงเพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้นย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีนี้รวมเป็นเงิน174,733.68บาทและมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายแต่ก็ปรากฏว่ามูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลในทางแพ่งนั้นเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนปี2519ซึ่งมียอดหนี้ที่จำเลยกับพวกรวม4คนจะต้องรับผิดเพียง46,262.43บาทเท่านั้นแต่โจทก์ก็ไม่ขวยขวายดำเนินการฟ้องจำเลยกับพวกคงปล่อยปละละเลยนานเกือบ10ปีจึงได้มีการฟ้องให้จำเลยรับผิดเมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยกับพวกชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่30ธันวาคม2529โจทก์ก็มิได้ดำเนินการสืบหาเพื่อยึดทรัพย์ของจำเลยกับพวกแต่อย่างใดรอจนกระทั่งปี2538จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายพฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี2529ทำให้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง174,733.68บาทอีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยอื่นมิได้กระทำต่อจำเลยนี้โดยตรงผู้ที่ทำรายงานผลการสืบหาทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์ก็มิได้นำตัวมาสืบสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่าไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดอันถือได้ว่าจำเลยตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้องดังนี้ศาลต้องยกฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9654/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายกับฟ้องชำระหนี้ตามเช็ค: ไม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องเรื่องเดิมเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายเพื่อที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่มีอยู่ทั้งหมดแบ่งปันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยทุกคนที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และการที่ศาลจะต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายนั้นก็ต่อเมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือหนี้ในอนาคตก็ตาม อีกทั้งกระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่ก่อนศาลจะพิพากษาคดีและภายหลังที่พิพากษาคดีไปแล้ว มีการกำหนดวิธีการแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.อย่างมาก ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ที่กำหนดไว้หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าการฟ้องคดีล้มละลายเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์สินของจำเลยโดยเจ้าพนักงานของรัฐที่เรียกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์ของบรรดาเจ้าหนี้ทั่ว ๆ ไปของจำเลย และเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของจำเลยเสียใหม่ โดยมิได้เป็นการฟ้องหรือเรียกร้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามมูลหนี้ที่ฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงอันเป็นเรื่องของบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อันเป็นการฟ้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับด้วยจำนวนเงิน 550,000 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องให้แก่โจทก์คนเดียวเท่านั้น โดยต้องวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. จึงเห็นว่าการฟ้องคดีนี้เป็นคนละเรื่องกับการฟ้องคดีล้มละลายดังกล่าว ดังนั้นฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงมิได้เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหักล้างสัญญากู้เงินและการพิจารณาหนี้สินในคดีล้มละลาย
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 1 นำไปให้บุคคลภายนอกกู้ โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ 7 ถึง 25 ต่อเดือน แล้วแบ่งผลประโยชน์กัน สัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่ 1 ปล่อยกู้เพียง375,000 บาท แต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปีเป็นเงิน 1,125,000 บาท มารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน 1,500,000บาท แล้วให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกัน จำเลยที่ 1 ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ ส.ไปแล้วจำนวน 250,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยที่ 1 ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่า สัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย นอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769-770/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเบิกความเท็จ, การจัดการทรัพย์มรดก, หนี้สินมรดก, การยักยอกทรัพย์, สัญญาผูกพันก่อนเสียชีวิต
การที่จะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนาคือรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่ตนนำมาเบิกความนั้นเป็นความเท็จจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกและเบิกความตามคำร้องนั้นโดยเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ที่ดินและความเห็นของทนายความโดยไม่มีเจตนาที่จะเบิกความเท็จการกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ กองมรดกยังมีหนี้สินตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1736ต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการซึ่งมีสาระสำคัญว่าตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทมิได้ที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์จะฟังว่าเป็นการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไม่ได้การที่จำเลยแบ่งขายที่ดินมรดกก็เป็นการปฏิบัติตามสัญญาที่เจ้ามรดกทำไว้ก่อนตายกับผู้ซื้อถือไม่ได้ว่าเป็นการยักยอกทรัพย์มรดกของโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6638/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิขอเพิกถอนได้หากผู้ซื้อรู้ถึงหนี้สิน
จำเลยที่2ทราบว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์มาก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นดังนั้นการที่จำเลยที่1โอนขายที่ดินของตนพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่2นั้นจำเลยที่2ย่อมทราบแล้วว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์และปรากฏว่าจำเลยที่1มีที่ดินเพียงแปลงเดียวดังกล่าวจำเลยที่1จึงไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาได้การกระทำของจำเลยที่1และที่2ทำให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่1และที่2ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237 ฎีกาของจำเลยที่1ที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2เพราะขณะยื่นฟ้องจำเลยที่2อยู่ต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยที่2โดยจำเลยที่2ไม่ได้มาต่อสู้คดีนี้ศาลจึงไม่รับวินิจฉัย