พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยยอมรับหนี้และขอผ่อนผัน
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเกินกว่าห้าหมื่นบาท โจทก์ทวงถามรวมสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยเพิกเฉย ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ในวันนัดพิจารณาจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ขอเวลาสามเดือนเพื่อหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ หากไม่ชำระยอมรับว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 อีก เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด และไม่ปรากฏเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จากการมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้จะโต้แย้งยอดหนี้ แต่ยอมรับหนี้เดิม
แม้จำเลยจะโต้แย้งยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นภายหลังวันที่ 4 เมษายน2528 แต่จำเลยก็รับว่าในวันที่ 4 เมษายน 2528 จำเลยเป็นหนี้โจทก์208,061.38 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นโจทก์ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(2)(3) โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวนก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3933/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ให้สินเชื่อแม้ลูกหนี้มีหนี้เดิม เหตุผลหลักทรัพย์มีมูลค่าเพียงพอ ไม่ถือว่ารู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระเงินคืนตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลูกหนี้ชำระเงินตามฟ้องให้เจ้าหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระและเจ้าหนี้มิได้ดำเนินการบังคับเอากับทรัพย์สินของลูกหนี้ กลับให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีไปอีกแต่เมื่อปรากฎว่าหนี้ดังกล่าวมีที่ดินซึ่งมีมูลค่ามากกว่าจำนวนหนี้จำนองเป็นประกัน และไม่ปรากฎว่าเจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่น ๆ มากมายไม่มีทางชำระหนี้ ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่า หนี้รายดังกล่าวเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ทำขึ้นเมื่อได้รู้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้นำหนี้ไปขอรับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3556/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจากสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย แต่ไม่มีทรัพย์ใดที่โจทก์จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จำเลยจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
นอกจากจะเป็นหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยังมีหนี้สินอื่นอีก โดยที่จำเลยมีเพียงเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ส่วนทรัพย์สินอื่นไม่มีพอที่จะชำระหนี้ จึงสมควรให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ต่อไป
นอกจากจะเป็นหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยังมีหนี้สินอื่นอีก โดยที่จำเลยมีเพียงเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ส่วนทรัพย์สินอื่นไม่มีพอที่จะชำระหนี้ จึงสมควรให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: หนี้กู้ยืม, สัญญาเบิกเกินบัญชี, และการเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อไม่มีข้อตกลงในสัญญากู้เงินว่า หากผู้กู้ผิดสัญญา ผู้ให้กู้ต้องฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งสามัญก่อนจึงจะฟ้องให้ล้มละลายได้ เมื่อต้นเงินที่กู้ระบุจำนวนได้แน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ผู้ให้กู้มีอำนาจฟ้องให้ผู้กู้ล้มละลายได้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
จำเลยเพียงแต่อาศัยและช่วยทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
จำเลยเพียงแต่อาศัยและช่วยทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ทราบฐานะลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว แต่ยังให้กู้ยืมเงินเพิ่มและรับเช็ค ย่อมไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
เจ้าหนี้รู้อยู่แล้วว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้ยังเสี่ยงให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินเพิ่มและยอมรับเช็คของลูกหนี้ไว้ หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วเช่นนี้เป็นกรณีที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่เกิดจากการให้กู้ยืมเมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เป็นหนี้ที่มิอาจขอรับชำระในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้รู้อยู่แล้วว่า ลูกหนี้มีหนี้สินพ้นตัวและไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้ยังเสี่ยงให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินเพิ่มและยอมรับเช็คของลูกหนี้ไว้ หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วเช่นนี้ เป็นกรณีที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สินล้นพ้นตัว: ศาลยืนตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้จำเลยอ้างถูกหลอกลวง
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย แต่นำสืบว่าได้ลงชื่อในสัญญากู้กับสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่ทำไปเพราะความโง่ เขลาเบาปัญญาถูกนาย ว. หลอกลวง ทางนำสืบของจำเลยต่างกับคำให้การจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้
การฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องโจทก์ จำเลยต่างมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ตามคำฟ้องและคำให้การ เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังไม่ได้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง จึงมีข้อพิจารณาต่อไปว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 14 และมาตรา 9 หรือไม่
การฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องโจทก์ จำเลยต่างมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ตามคำฟ้องและคำให้การ เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังไม่ได้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง จึงมีข้อพิจารณาต่อไปว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 14 และมาตรา 9 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีล้มละลาย: จำเลยเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวและมีเหตุให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
จำเลยให้การว่าไม่เคยกู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย เมื่อทางนำสืบของจำเลยต่าง กับคำให้การจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้ แต่ ทางนำสืบของจำเลยดังกล่าวเจือสมกับคำพยานโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และเป็นหนี้กำหนดจำนวนได้ แน่นอนและถึง กำหนดชำระแล้ว จำเลยมีเงินเดือนเดือน ละ 5,000 บาท ไม่มีทรัพย์อื่นใด อีก ดังนี้ จำเลยเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีเหตุอื่นที่แสดงว่าไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการ และการอ้างทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และกำหนดจำนวนได้แน่นอน แม้จำเลยและสามีจะเป็นข้าราชการมีเงินเดือนรวมกันเดือนละ 8,590 บาท แต่เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) โจทก์ไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้จำเลยอ้างว่ามีเงินเหลือเดือนละ 4,000 บาท แต่จำเลยก็ไม่ชำระซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่มีความสุจริตในการชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใดอีก ถือได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้นแม้จำเลยจะเป็นข้าราชการแต่ไม่ชำระหนี้อีกทั้งไม่แสดงว่าพยายามจะชำระหนี้หรือขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์โดยสุจริต จึงสมควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเงินฝากในธนาคารจำนวน 60,000 บาท ซึ่งเป็นการอ้างภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้
จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเงินฝากในธนาคารจำนวน 60,000 บาท ซึ่งเป็นการอ้างภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้