พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่เสียภาษีจากการเป็นตัวแทนติดต่อซื้อขายสินค้าระหว่างต่างประเทศกับไทย
เมื่อบริษัท ส. ติดต่อขอให้โจทก์สั่งซื้อสินค้าให้โดยตกลงจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ โจทก์ได้ติดต่อไปยังบริษัท ม.ประเทศสหรัฐอเมริกา และบริษัทดังกล่าวได้แจ้งราคาสินค้าที่บริษัท ส.ต้องการซื้อมายังโจทก์ โจทก์แจ้งให้บริษัท ส.ผู้ซื้อทราบ บริษัทผู้ซื้อพอใจจึงทำการซื้อขายและชำระราคาแก่บริษัท ม.ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรง การที่โจทก์แนะนำบริษัท ม.ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศให้แก่บริษัท ส.ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทย โดยมีการติดต่อผ่านโจทก์จนทำการซื้อขายสินค้ากัน แม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์จะทำสัญญาซื้อขายและชำระราคาค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทในต่างประเทศโดยตรง โดยโจทก์มิได้มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระราคาค่าสินค้าก็ตาม แต่การที่บริษัทในต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้ ก็เนื่องมาจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกัน จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เมื่อบริษัทในต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบรายการและเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร โจทก์เป็นเพียงผู้ทำการติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทในต่างประเทศ ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสาขาของบริษัทในต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรแต่อย่างใด เพียงแต่ลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้ติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระราคาค่าสินค้าให้แก่บริษัทในต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทย ตามมาตรา 70 ทวิ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร โจทก์เป็นเพียงผู้ทำการติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทในต่างประเทศ ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสาขาของบริษัทในต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรแต่อย่างใด เพียงแต่ลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้ติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระราคาค่าสินค้าให้แก่บริษัทในต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทย ตามมาตรา 70 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ร่วม: การไล่เบี้ยและการปฏิเสธความรับผิดจากหน้าที่ตัวแทน
โจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ในคดีก่อนให้ชดใช้เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนไป จำเลยให้การต่อสู้คดีและนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของโจทก์ จำเลยไม่ได้กระทำฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติของโจทก์หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวจึงอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยจากจำเลยได้เพียงใด เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาโดยอ้างถึงความรับผิดระหว่างโจทก์และจำเลยในเรื่องของตัวการตัวแทนได้ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็น
ในคดีก่อนศาลได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้โจทก์และจำเลยร่วมกันชำระหนี้แก่ ก.ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน โดยวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ก.ได้รับความเสียหาย คำพิพากษาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมให้ต้องปฏิบัติตามโดยไม่อาจโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ทั้งโจทก์และจำเลยจะต้องร่วมกันชำระหนี้ให้แก่ ก. แต่ผลผูกพันในคดีดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ เนื่องจากคดีนี้โจทก์มาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในการที่โจทก์ได้ชำระหนี้แทนไปในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน จำเลยมีข้อต่อสู้อย่างไรที่จะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบได้ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อน
จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ที่ว่า การสั่งจ่ายเงินออกจากบัญชีเงินรายได้แผ่นดินของสำนักงานที่ดินให้จ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมให้แก่กระทรวงการคลัง โดยขีดคำว่า "ผู้ถือ" ออกได้ เนื่องจากจำเลยยังไม่ได้เปิดกิจการงานการธนาคารและโจทก์ไม่ได้ส่งเช็คมาให้ จึงสั่งจ่ายเช็คไม่ได้ และแม้ว่าต่อมาโจทก์จะมีคำสั่งให้จำเลยเปิดกิจการงานการธนาคาร แต่ทางกองกระแสรายวันของโจทก์ยังไม่ได้มาเปิดกิจการงานการธนาคาร จำเลยจึงมีหนังสือหารือไปยังโจทก์และโจทก์ได้มีหนังสือว่าให้ใช้วิธีการสั่งจ่ายเช็คธนาคารแห่งประเทศไทยหรือใช้วิธีตามที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้วไปพลางก่อน คือสามารถจ่ายเป็นเงินสดได้ การที่จำเลยจ่ายเช็คเงินสดให้แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดิน จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติของโจทก์ หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ในคดีก่อนศาลได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้โจทก์และจำเลยร่วมกันชำระหนี้แก่ ก.ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน โดยวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ก.ได้รับความเสียหาย คำพิพากษาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมให้ต้องปฏิบัติตามโดยไม่อาจโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ทั้งโจทก์และจำเลยจะต้องร่วมกันชำระหนี้ให้แก่ ก. แต่ผลผูกพันในคดีดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ เนื่องจากคดีนี้โจทก์มาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในการที่โจทก์ได้ชำระหนี้แทนไปในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน จำเลยมีข้อต่อสู้อย่างไรที่จะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบได้ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อน
จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ที่ว่า การสั่งจ่ายเงินออกจากบัญชีเงินรายได้แผ่นดินของสำนักงานที่ดินให้จ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมให้แก่กระทรวงการคลัง โดยขีดคำว่า "ผู้ถือ" ออกได้ เนื่องจากจำเลยยังไม่ได้เปิดกิจการงานการธนาคารและโจทก์ไม่ได้ส่งเช็คมาให้ จึงสั่งจ่ายเช็คไม่ได้ และแม้ว่าต่อมาโจทก์จะมีคำสั่งให้จำเลยเปิดกิจการงานการธนาคาร แต่ทางกองกระแสรายวันของโจทก์ยังไม่ได้มาเปิดกิจการงานการธนาคาร จำเลยจึงมีหนังสือหารือไปยังโจทก์และโจทก์ได้มีหนังสือว่าให้ใช้วิธีการสั่งจ่ายเช็คธนาคารแห่งประเทศไทยหรือใช้วิธีตามที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้วไปพลางก่อน คือสามารถจ่ายเป็นเงินสดได้ การที่จำเลยจ่ายเช็คเงินสดให้แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดิน จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติของโจทก์ หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การนับเวลา, เหตุสุดวิสัย, และหน้าที่ของผู้ร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่20กรกฎาคม2538จะครบกำหนดอุทธรณ์1เดือนในวันที่20สิงหาคม2538โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่1อ้างว่าทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดเอกสารต่างๆเมื่อวันที่17สิงหาคม2538แต่ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัดแสดงว่าโจทก์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานถึง27วันจึงเพิ่งจะมาขอคัดเอกสารและเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่1ออกไป15วันแล้วโจทก์น่าจะใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นดำเนินการคัดเอกสารต่างๆให้เรียบร้อยเสียแต่เนิ่นๆตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่2โจทก์อ้างว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันที่5กันยายน2538ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องแสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลามาแต่ต้นรวมเป็นเวลา42วันการที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันยื่นคำร้องจึงเป็นผลเนื่องมาจากการเพิกเฉยของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการไม่มีหน้าที่ต้องตรวจสอบเอกสารการเงินโดยตรง การจ่ายเช็คเงินกู้ไม่ถือประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 23 และที่ 25 ถึงที่ 29 เป็นกรรมการดำเนินการของโจทก์ ซึ่งตามรายงานการประชุม ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ได้ลงมติให้จ่ายเงินกู้แก่สมาชิกเป็นเช็คขีดคร่อมเป็นรายตัวเพียงแต่ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอของกรรมการคนหนึ่งที่ให้มีการจ่ายเงินกู้เป็นเช็คด้วยเหตุผลเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกเท่านั้น และในการประชุมครั้งถัดมา ที่ประชุมได้รับทราบเรื่องที่สืบเนื่องมาจากการประชุมเรื่องการจ่ายเงินกู้สามัญเป็นเช็คว่า ได้มีการดำเนินการจ่ายเช็คเงินกู้สามัญเป็นรายการสำหรับหน่วยอำเภอ ม.และอำเภอ ค.โดยขีดคร่อมผู้ถือออกเท่านั้น และเมื่อการจ่ายเงินให้แก่ผู้กู้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการจะจ่ายให้เป็นเงินสดหรือเช็คก็ได้ ฉะนั้นไม่ว่าการจ่ายเงินกู้แก่สมาชิกจะจ่ายโดยเช็คขีดคร่อมเป็นรายตัวหรือไม่ และจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้หรือไม่ จึงไม่ใช่ความประมาทเลินเล่อหรือละเลยอันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 23 และที่ 25 ถึงที่ 29 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ ทั้งการที่จำเลยดังกล่าวได้ตั้งผู้ตรวจสอบกิจการขึ้นตามข้อบังคับ และผู้ตรวจสอบไม่สามารถตรวจพบการทุจริตเพราะผู้ทุจริตได้ปลอมเอกสารการเงินขึ้นอีกชุดหนึ่ง ก็หาใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 23 และที่ 25 ถึงที่ 29 ไม่ เพราะจำเลยดังกล่าวไม่มีหน้าที่เข้าไปตรวจสอบเอกสารการเงินด้วยตนเอง เป็นแต่ต้องควบคุมดูแลและวางมาตรการให้การดำเนินการของโจทก์เป็นไปด้วยความถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับที่วางไว้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำทรัพย์นายจ้างไปใช้โดยมิชอบถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และจำเลยมีสิทธิสืบพยานเพื่อพิสูจน์
การนำทรัพย์ของนายจ้างไปใช้โดยปราศจากสิทธิโดยชอบเป็นการกระทำที่มุ่งแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นการทุจริตอยู่ในตัว จึงอยู่ในประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่
คำให้การจำเลยได้ให้การถึงข้อเท็จจริงที่ละเอียดเพิ่มเติมจากคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์ได้กระทำการใดที่เป็นการทุจริต เป็นการขยายความตามคำสั่งเลิกจ้างให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น โดยมิได้มีส่วนใดขัดหรือแตกต่างจากคำสั่งเลิกจ้างแต่ประการใด จำเลยย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะสืบพยานตามข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้ และศาลแรงงานย่อมรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยชอบ
คำให้การจำเลยได้ให้การถึงข้อเท็จจริงที่ละเอียดเพิ่มเติมจากคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์ได้กระทำการใดที่เป็นการทุจริต เป็นการขยายความตามคำสั่งเลิกจ้างให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น โดยมิได้มีส่วนใดขัดหรือแตกต่างจากคำสั่งเลิกจ้างแต่ประการใด จำเลยย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะสืบพยานตามข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้ และศาลแรงงานย่อมรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินจากผู้รับเหมาช่วงตรวจรับงาน ทุจริตต่อหน้าที่
ขณะเกิดเหตุจำเลยได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยา 1 หลัง และปรับปรุงต่อเติมบ้านพักแถวเรือนแฝด1 หลัง ผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดและได้รับจ้างเหมาดังกล่าวก่อนมีการทำสัญญาจ้าง จำเลยขอยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 5,000 บาทและในวันที่ 20 พฤษภาคม 2530 ผู้เสียหายได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยอีกจำนวน 15,000 บาท การที่จำเลยทราบอยู่แล้วว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ซึ่งจำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างอยู่ด้วย ย่อมอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมได้ และการที่ผู้เสียหายยอมให้จำเลยยืมเงินดังกล่าวก็เพราะไม่อาจปฏิเสธได้ การกระทำของจำเลยส่อไปในทางทุจริตและเป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการตามมาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 ว่าด้วยเรื่องบริจาค ทั้งต่อมาเมื่อมีการออกเช็คสั่งจ่ายค่าจ้างเหมาจำนวน 123,453 บาท และจำเลยได้นำเช็คไปขึ้นเงินสดที่ธนาคาร ระหว่างรอรับเงินผู้เสียหายได้ตามไปที่ธนาคารและขอให้โอนเงินตามเช็คเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายจากนั้นจำเลยได้ตามผู้เสียหายไปที่บ้านเพื่อขอใบรับเงินจากผู้เสียหายจำเลยได้เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายอีกจำนวน 29,000 บาท โดยหักจากเงินที่ขอยืมไปจำนวน 5,000 บาท และให้ผู้เสียหายจ่ายให้จำนวน 24,000 บาท จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น ในที่สุดผู้เสียหายก็ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยเพียง 15,000 บาท พฤติการณ์ที่จำเลยรับเงินจากผู้เสียหายดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการที่ผู้เสียหายรับจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยาที่จำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้าง อันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย การที่จำเลยเรียกร้องจากผู้เสียหายดังกล่าว เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ถ่ายสำเนาเอกสารสำคัญและแจ้งหน่วยงานเกี่ยวข้อง การประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหาย
เมื่อปรากฎว่าหนังสือการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินเป็นเอกสารที่โจทก์มีหน้าที่ต้องถ่ายสำเนาแพร่ให้สำนักงานการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบการที่โจทก์ไม่กระทำตามหน้าที่จนมีการจ่ายเงินผิดพลาดถือว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อบกพร่องต่อหน้าที่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่โจทก์และให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลกับการรับรองอุทธรณ์: โจทก์ต้องดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเอง
การที่จะให้อัยการสูงสุดพิจารณารับรองอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรีว่าอุทธรณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยหรือไม่ กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปให้อัยการสูงสุดพิจารณา เมื่อการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โจทก์ก็ต้องไปดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเอง ศาลไม่มีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังอัยการสูงสุดตามที่โจทก์ร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลในการส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์: ศาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่จะให้อัยการสูงสุดพิจารณารับรองอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ตรีว่าอุทธรณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยหรือไม่กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปให้อัยการสูงสุดพิจารณาเมื่อการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โจทก์ก็ต้องไปดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเองศาลไม่มีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังอัยการสูงสุดตามที่โจทก์ร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยในคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน: การกระทำที่ไม่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่โดยตรง
สำนักงานราชพัสดุจังหวัดราชบุรีจำเลยที่ 1 เป็นเพียงส่วนราชการจังหวัดราชบุรี สังกัดกรมธนารักษ์ ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่อาจถูกฟ้องได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งราชพัสดุจังหวัดราชบุรี มีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุแทนกระทรวงการคลัง ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จะทับโฉนดที่ดินของโจทก์หรือไม่ จำเลยที่ 2ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ไม่ไประวังชี้แนวเขตหรือไม่ลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ก็มิใช่การกระทำที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง และการที่จำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้ระงับการรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ไว้ก่อนเป็นการสั่งในการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ระหว่างจำเลยที่ 3ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดกับเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด โดยมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแต่อย่างใด ทั้งในคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าที่จำเลยที่ 3 สั่งเช่นนั้นเพื่อจะกลั่นแกล้งโจทก์หรือสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เช่นกัน
จำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งราชพัสดุจังหวัดราชบุรี มีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุแทนกระทรวงการคลัง ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จะทับโฉนดที่ดินของโจทก์หรือไม่ จำเลยที่ 2ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ไม่ไประวังชี้แนวเขตหรือไม่ลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ก็มิใช่การกระทำที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง และการที่จำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้ระงับการรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ไว้ก่อนเป็นการสั่งในการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ระหว่างจำเลยที่ 3ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดกับเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด โดยมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแต่อย่างใด ทั้งในคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าที่จำเลยที่ 3 สั่งเช่นนั้นเพื่อจะกลั่นแกล้งโจทก์หรือสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เช่นกัน