คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อการอนุมัติสินเชื่อผิดระเบียบ และการประเมินค่าเสียหายจากหลักประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยเป็นลูกจ้างและกรรมการบริษัทโจทก์โดยมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการ จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ ในชั้นพิจารณาจำเลยก็เบิกความว่าจำเลยเคยเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การและตามทางนำสืบของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติ และจงใจไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า 9 ราย รวมเป็นเงิน16,300,000 บาท โดยมีที่ดินเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจำนองเป็นประกัน 9 แปลง ตีราคาตามราคาประเมินได้ราคาไม่คุ้มหนี้ ลูกค้าทั้ง 9 ราย จึงไม่ยอมชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา โจทก์ได้รับชำระหนี้จากลูกค้าทั้ง 9 รายเพียง 31,041.09 บาท ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ลูกค้าค้างชำระคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์รวมตลอดถึงค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยชัดแจ้งแล้วหาใช่เป็นกรณีที่ความเสียหายยังไม่เกิดและไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่
จำเลยอนุมัติให้ลูกค้ากู้เงินโดยผิดระเบียบ โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตีราคาตามราคาประเมิน แต่ที่ดินอาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมินที่โจทก์กล่าวอ้างจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับราคาประเมิน แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้บังคับชำระหนี้จากตัวลูกหนี้และหลักประกัน จึงไม่อาจทราบความเสียหายที่แท้จริงได้ ดังนั้นถ้ามีการบังคับจำนองที่ดินที่เป็นหลักประกันได้ราคาที่ดินมามากกว่าราคาประเมินตามฟ้องโจทก์ ราคาที่ดินส่วนที่มากกว่านี้ย่อมเป็นคุณแก่จำเลย ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานอันเป็นค่าเสียหายที่เป็นหนี้เงินตามจำนวนที่จำเลยให้ลูกค้ากู้ยืมโดยฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก คืออัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี มิใช่ดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าของโจทก์ตามสัญญากู้ในทางการค้าของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากการอนุมัติสินเชื่อโดยมิชอบ และการประเมินค่าเสียหายจากหลักประกัน
เมื่อฟัง ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานกลาง และมีอายุความ 10 ปี จำเลยเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติสินเชื่อของบริษัทโจทก์ได้อนุมัติให้ลูกค้าของโจทก์กู้เงินไปจากโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติจำนวน 16,300,000 บาท โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตามราคาประเมินเพียง 4,618,500 บาท โจทก์ติดตามขอรับชำระหนี้จากลูกค้าของโจทก์ได้เพียง 31,041.09 บาทเท่านั้นเช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้คืน เงินต้น ที่เรียกเก็บจากลูกค้าไม่ได้จำนวน 16,268,958.91 บาท ให้แก่โจทก์ ส่วนที่ดิน 9 แปลงที่ลูกค้าจำนองไว้เป็นประกันนั้นโจทก์สามารถบังคับมาชำระหนี้ได้ส่วนหนึ่งจึงต้องนำมาหักออกจากจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยแต่เนื่องจากที่ดินทั้ง 9 แปลงนี้อาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมิน 4,618,500 บาท จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหาย จะนำมาหักออกจากความรับผิดของจำเลยเพียงเท่าราคาประเมินไม่ได้ ถ้า มีการบังคับจำนองที่ดินทั้ง 9 แปลงนั้นได้มากกว่าราคาประเมิน จะต้องนำราคาส่วนที่เกินนี้มาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย ดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 18ต่อปีนั้น เป็นอัตราที่กำหนดไว้ตามสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับลูกค้าแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้จากจำเลย คงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อนายจ้างจากความเสียหายอันเกิดจากการอนุมัติสินเชื่อผิดระเบียบ และการประเมินค่าเสียหายจากหลักประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยเป็นลูกจ้างและกรรมการบริษัทโจทก์โดยมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการ จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ ในชั้นพิจารณาจำเลยก็เบิกความว่าจำเลยเคยเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การและตามทางนำสืบของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติ และจงใจไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า 9 ราย รวมเป็นเงิน16,300,000 บาท โดยมีที่ดินเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจำนองเป็นประกัน 9 แปลง ตีราคาตามราคาประเมินได้ราคาไม่คุ้มหนี้ ลูกค้าทั้ง 9 ราย จึงไม่ยอมชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา โจทก์ได้รับชำระหนี้จากลูกค้าทั้ง 9 รายเพียง 31,041.09 บาท ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ลูกค้าค้างชำระคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์รวมตลอดถึงค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยชัดแจ้งแล้วหาใช่เป็นกรณีที่ความเสียหายยังไม่เกิดและไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่ จำเลยอนุมัติให้ลูกค้ากู้เงินโดยผิดระเบียบ โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตีราคาตามราคาประเมิน แต่ที่ดินอาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมินที่โจทก์กล่าวอ้างจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับราคาประเมิน แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้บังคับชำระหนี้จากตัวลูกหนี้และหลักประกัน จึงไม่อาจทราบความเสียหายที่แท้จริงได้ ดังนั้นถ้ามีการบังคับจำนองที่ดินที่เป็นหลักประกันได้ราคาที่ดินมามากกว่าราคาประเมินตามฟ้องโจทก์ ราคาที่ดินส่วนที่มากกว่านี้ย่อมเป็นคุณแก่จำเลย ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานอันเป็นค่าเสียหายที่เป็นหนี้เงินตามจำนวนที่จำเลยให้ลูกค้ากู้ยืมโดยฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก คืออัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี มิใช่ดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าของโจทก์ตามสัญญากู้ในทางการค้าของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องเท็จเพื่อขอคืนหลักประกันการประกันตัว ละเมิดอำนาจศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน โดย ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ขอคัดหมายกักขังจำเลย และเป็นผู้ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างอุทธรณ์ ผู้ถูกกล่าวหาย่อมทราบดีว่าศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในสถานใด การที่ผู้ถูกกล่าวหายื่นคำร้องขอถอนหลักประกันและรับหลักประกันคืนโดยมิได้นำตัวจำเลยส่งมอบต่อศาล และศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำพิพากษา อ้างว่าศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี โทษจำรอ ผู้ถูกกล่าวหาหมดข้อผูกพันตามสัญญาประกันอันเป็นเท็จ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ศาลล่างมิได้อ้างบทกฎหมายที่เป็นบทลงโทษผู้ถูกกล่าวหา ศาลฎีกาย่อมปรับบทเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาลจากคำร้องเท็จ ผู้ประกันภัยยื่นขอถอนหลักประกันโดยมิชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน โดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ขอคัดหมายกักขังจำเลยและเป็นผู้ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างอุทธรณ์ ผู้ถูกกล่าวหาย่อมทราบดีว่าศาลพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในสถานใด การที่ผู้ถูกกล่าวหายื่นคำร้องขอถอนหลักประกันและรับหลักประกันคืนอ้างว่าศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี โทษจำคุกให้รอ ผู้ถูกกล่าวหาจึงหมดข้อผูกพันตามสัญญาประกันซึ่งเป็นความเท็จ โดยมิได้นำจำเลยส่งมอบต่อศาลและศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษานั้น เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลย่อมมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลล่างมิได้อ้างบทกฎหมายที่เป็นบทลงโทษผู้ถูกกล่าวหาศาลฎีกาปรับบทให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องเท็จเพื่อขอถอนหลักประกันคดีอาญา ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน โดย ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ขอคัดหมายกักขังจำเลย และเป็นผู้ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างอุทธรณ์ ผู้ถูกกล่าวหาย่อมทราบดีว่าศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในสถานใด การที่ผู้ถูกกล่าวหายื่นคำร้องขอถอน หลักประกันและรับหลักประกันคืนโดยมิได้นำตัวจำเลยส่งมอบต่อศาล และศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำพิพากษา อ้างว่าศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี โทษจำรอ ผู้ถูกกล่าวหาหมดข้อผูกพันตามสัญญาประกันอันเป็นเท็จ จึงเป็นการประพฤติตน ไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลล่างมิได้อ้างบทกฎหมายที่เป็นบทลงโทษผู้ถูกกล่าวหาศาลฎีกาย่อมปรับบทเสียให้ถูกต้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมุดฝากเงินหลักประกันคดีอาญา ไม่ใช่ทรัพย์หรือเอกสารที่ใช้ในการพิจารณาคดีตาม ป.อ.มาตรา 185
สมุดฝากเงินออมสินซึ่ง ส่งให้ศาลรักษาไว้ในฐานะ เป็นหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวจำเลยคดีอาญา ไม่ใช่พยานหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยในคดีอาญานั้นกระทำผิดหรือไม่อย่างไรจึงไม่เป็นทรัพย์ หรือเอกสารที่ได้ ส่ง หรือศาลได้ รักษาไว้ในการพิจารณาคดี ตาม ป.อ. มาตรา 185 ในคดีอาญา การที่จำเลยให้การรับสารภาพนั้น คำรับสารภาพของจำเลยเป็นเรื่องที่รับว่ามีการกระทำตาม ฟ้องเท่านั้น ส่วนการกระทำตาม ฟ้องจะเป็นความผิดตาม บทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาดัง ที่บัญญัติไว้ในป.วิ.อ. มาตรา 185.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการจำกัดเฉพาะคดีผิดสัญญาประกัน ไม่ครอบคลุมการขอคืนหลักประกันหลังความรับผิดสิ้นสุด
พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาประกันจำเลย เฉพาะกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันเพื่อดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันเท่านั้น การที่ผู้ประกันขอรับหลักประกันคืนภายหลังความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 118 แม้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งเป็นประการใด พนักงานอัยการก็ไม่มีอำนาจที่จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและริบหลักประกันเมื่อผู้ขายผิดสัญญา ส่งมอบสิ่งของไม่ตรงตามกำหนด
ตามสัญญาซื้อขายข้อ 3 มีใจความว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในกำหนด 200วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาเป็นต้นไป โดยแบ่งการส่งมอบออกเป็น4 งวด ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้กำหนดจำนวนเงินค่าสิ่งของแต่ละงวดเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 5 วรรคสองมีข้อความว่าการจ่ายเงินจะจ่ายให้ตามงวดที่ผู้ขายได้ส่งของถูกต้องครบถ้วนทุกรายการ และคณะกรรมการได้ทำการตรวจรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามสัญญาดังกล่าวจะเห็นว่าการตกลงให้ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ซื้อเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอน นับว่าเป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบสิ่งของสำหรับงวดที่ 1 และงวดที่ 2ภายในกำหนด ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด200 วันได้ สัญญาซื้อขายข้อ 7 มีข้อความว่า "ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นจำนวนร้อยละ10(สิบ) ของราคาสิ่งของทั้งหมดตามสัญญานี้คิดเป็นเงิน 1,085,480บาท มามอบไว้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้..."และวรรคสองมีข้อความว่า "หลักประกันที่ผู้ขายนำมามอบให้ตามวรรคหนึ่งผู้ซื้อจะคืนให้เมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว" และสัญญาข้อ 8 วรรคสอง มีข้อความว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร..." จากข้อความในสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่า การทำสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายนี้โจทก์ต้องการจะให้จำเลยที่ 1 มีหลักประกันมาวางเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันได้ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา แต่หลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางนี้เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์รับรองที่จะชำระเงินให้โจทก์ทันทีถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันดังที่ปรากฏในหนังสือค้ำประกันข้อ 1 วรรคสอง ซึ่งมีข้อความว่า "ข้าพเจ้า(จำเลยที่ 3) ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค (จำเลยที่ 1) ต่อกรมตำรวจ (โจทก์) เป็นวงเงินไม่เกิน 1,085,480 บาท กล่าวคือ หากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายแผ่นป้ายอลูมิเนียม อัดวัสดุสะท้อนแสงและสีดำอบ แห้งที่ทำไว้กับกรมตำรวจหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งกรมตำรวจมีสิทธิริบหลักประกันหรือค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ได้แล้ว ข้าพเจ้ายอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ชำระก่อน" เมื่อข้อสัญญาเป็นดังนี้ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะผูกพันกันว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญา เป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิริบหลักประกันแล้วจำเลยที่ 3 รับรองที่จะใช้เงินจำนวน 1,085,480 บาท ให้แก่โจทก์ทันที สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 1,085,480 แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดอำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดหลักประกันเกินจำนวนเงินตามเช็ค สัญญาประกันไม่เป็นโมฆะ
การที่พนักงานสอบสวนสั่งปล่อยชั่วคราว โดยกำหนดหลักประกันเกินจำนวนเงินตามเช็คเป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวน สัญญาประกันมิได้ตกเป็นโมฆะ ดังนั้นเมื่อมีการผิดสัญญาประกัน จึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค
of 19