คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักเกณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางที่ใช้กระทำผิด: หลักเกณฑ์การใช้เป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม. 28
อวนที่ใช้ในการกระทำผิด พ.ร.บ.อากรค่าน้ำ ซึ่งเป็นของบุคคลอื่นและเจ้าของมิได้เกี่ยวข้องในการกระทำผิดด้วย ริบไม่ได้
คำว่าใช้เป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม. 28 หมายความว่า ใช้เมื่อใดต้องเป็นความผิดเสมอทรัพย์ชะนิดนั้น จึงจะต้องถูกริบเสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดส่งออกข้าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาต: หลักเกณฑ์การพิจารณาความเชื่อมโยงของสิ่งของกับความผิด
กระสอบใส่ข้าวส่งออกนอกราชอาณาจักร์โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นของเนื่องด้วยความผิดต้องริบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้เรือแจวเป็นพาหนะขนของออกนอกราชอาณาจักร์โดยไม่ได้รับอนุญาตแต่ไม่ระบุขนาดเรือนั้น จะริบเรือไม่ได้ และจะริบแจวซึ่งเป็นอุปกรณ์การเดินเรือไม่ได้ด้วย
ของที่จับได้ในเรือขนของออกนอกราชอาณาจักร์อันเป็นความผิดนั้น เมื่อไม่ปรากฎว่าเนื่องด้วยความผิดอย่างไรแล้ว ริบไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษทางอาญา: หลักเกณฑ์การพิจารณาความผิดเดิมและข้อยกเว้นตามกฎหมาย
การขอไห้เพิ่มโทสจำเลยตามม.72 นั้นโจทต้องบันยายไหฟ้องไห้ครบถ้วนตามหลักเกณท์ว่าโทสครั้งก่อนที่จำเลยพ้นไปนั้นเปนความผิดถานได เพราะถ้าหากเปนโทสถานลฟุโทสหรือประมาท สาลย่อมจะเพิ่มโทสไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางอาญา: หลักเกณฑ์การพิจารณาโทษจำคุกและโทษปรับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติ 2 ฉบับ ในการที่จะวินิจฉัยว่าควรลงอาญาที่หนักตามกฎหมายฉบับใดนั้นต้องถือตามโทษจำคุกเพราะเป็นโทษที่ร้ายแรงกว่าโทษปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231-6250/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ไม่ถือเป็นการละเมิดสัญญาจ้าง หรือเลือกปฏิบัติ
การส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) มาตรา 211 จะต้องเป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 21 เป็นกรณีที่เห็นว่าคำสั่งของจำเลยทั้งสามขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์แต่ละคนฟ้องว่าจำเลยทั้งสามปฏิบัติต่อโจทก์แต่ละคนโดยนำเอาความแตกต่างในเรื่องรูปร่าง น้ำหนักมาใช้ให้แตกต่างจากพนักงานอื่น ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาว่าคำสั่งและการปฏิบัติของจำเลยทั้งสามเป็นการเลือกปฏิบัติต่อโจทก์ดังกล่าวโดยผิดกฎหมายให้แตกต่างจากพนักงานอื่นหรือไม่ มิได้เป็นการพิพากษาเกินอำนาจแต่อย่างใด
เมื่อศาลแรงงานกลางได้พิจารณาพยานหลักฐานทุกฝ่ายและวินิจฉัยแล้วว่า คำสั่งของจำเลยทั้งสามที่กำหนดให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต้องมีค่า Body Mass Index และค่าวัดรอบเอวไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ กำหนดระยะเวลาให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มีค่าเกินกำหนดปรับปรุงบุคลิกภาพ และมาตรการที่มอบหมายให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ไม่สามารถปรับปรุงบุคลิกภาพได้ตามเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนดปฏิบัติงานบินในเส้นทางในประเทศหรือเส้นทางที่ไปและกลับภายในวันเดียวกัน หรือปฏิบัติงานภาคพื้นดินจนกว่าจะมีค่า Body Mass Index และค่าวัดรอบเอวตามเกณฑ์ที่กำหนด เป็นคำสั่งที่ชอบด้วย ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 6 จ้างแรงาน ไม่เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงาน คำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงการประกาศปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์และมาตรการบางส่วนที่จำเลยเคยใช้บังคับแก่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ไม่ขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และมาตรการที่กำหนดก็มิได้เป็นโทษแก่โจทก์แต่ละคนเมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์เดิมหากโจทก์แต่ละคนสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพได้ตามเกณฑ์ ทั้งยังเป็นสิทธิในการบริหารจัดการที่จำเลยในฐานะนายจ้างมีอำนาจกระทำได้ตามสัญญาจ้างแรงงานและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน คำสั่งดังกล่าวแม้จะใช้บังคับเฉพาะแก่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินแต่ก็ใช้บังคับเป็นการทั่วไปทุกคน มิใช่ใช้บังคับแก่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเฉพาะบุคคลหรือเป็นรายๆไป จึงไม่ใช่การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและมิได้ไม่ชอบด้วยกฎหมายอื่น แม้คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจะมิได้กล่าวโดยตรงว่าคำสั่งของจำเลยทั้งสามเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของโจทก์ทั้งหมดหรือไม่ แต่ถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยโดยรวมแล้วว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของโจทก์ทั้งหมดนั่นเอง คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและแสดงคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้นโดยชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12754/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายทรัพย์สินด้อยคุณภาพตาม พ.ร.ก. บสท. ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การประกาศขายทอดตลาดที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นการรับโอนไม่มีผล
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 76 บัญญัติว่า "ในการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ให้ บสท. ดำเนินการโดยวิธีการขายทอดตลาด แต่ถ้า บสท. เห็นว่าการจำหน่ายโดยวิธีอื่นจะเป็นประโยชน์แก่ บสท. และลูกหนี้มากกว่า ก็ให้จำหน่ายโดยวิธีอื่นได้ หรือจะรับโอนทรัพย์สินนั้นไว้ในราคาไม่น้อยกว่าราคาที่จะพึงได้รับจากการขายทอดตลาดแทนการจำหน่ายก็ได้" และมาตรา 77 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การจำหน่ายทรัพย์สินตามมาตรา 76 ให้ บสท. ประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันจำหน่าย โดยลงโฆษณาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามวัน" โจทก์ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับวันที่ 16 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 รวมสามวันติดต่อกัน และลงโฆษณาทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 โดยกำหนดวันขายทอดตลาดเป็นวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ซึ่งตามมาตรา 77 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ลงโฆษณาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันจำหน่าย ดังนี้ สำหรับการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์เมื่อนับจากวันที่สามคือวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 จึงเป็นการประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันจำหน่าย แต่สำหรับการลงโฆษณาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 แม้หากจะถือว่าการลงโฆษณาดังกล่าวมีผลต่อเนื่องไป วันที่สามก็คือวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเมื่อนับจากวันดังกล่าวไปสิบห้าวัน วันที่ขายทอดตลาดได้อย่างเร็วที่สุดก็คือวันที่ 5 สิงหาคม 2550 ดังนั้น การลงโฆษณาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับโอนที่ดินทั้งสองแปลงในคดีนี้มาเป็นของตนแทนการจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องแสดงเหตุผลอันสมควรและหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่ชัดเจน
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้กล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและไม่ปรากฏเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าเหตุใดจำเลยจึงต้องปรับลดหรือยุบแผนกในส่วนที่โจทก์ทำงาน มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดที่จะต้องเลิกจ้างโจทก์ จำเลยพยายามหางานในตำแหน่งเหมาะสมให้โจทก์ทำก่อนที่จะเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยเลือกปฏิบัติหรือไม่ เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและข้อเท็จจริงในสำนวนยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยให้การว่าจำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน แต่นำสืบว่าจำเลยต้องการลดตำแหน่งงานโดยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน เท่ากับจำเลยยอมรับว่าจำเลยไม่ได้ยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน ที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่ามีการยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงานจึงไม่ชอบ ดังนั้นข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้ยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน แต่จำเลยเลือกเลิกจ้างโจทก์เพียงคนเดียวจากลูกจ้างในหน่วยงาน 30 คน โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเหตุผล เป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ.2555: หลักเกณฑ์การลดโทษและปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาด
ในชั้นขอปล่อยบุคคลซึ่งถูกคุมขังโดยมิชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 โจทก์ก็ถือเป็นคู่ความในคดี แม้จะไม่เคยเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ตาม แต่เป็นเพราะศาลชั้นต้นมิได้มีหมายแจ้งให้โจทก์ทราบถึงการยื่นคำร้องของผู้ร้องหรือส่งสำเนาอุทธรณ์ของผู้ร้องให้โจทก์แก้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้ปล่อยตัวจำเลยย่อมมีผลกระทบต่อการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลฎีกา โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
คดีนี้ผู้ร้องในฐานะเป็นบุตรซึ่งถือเป็นญาติของจำเลยซึ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบ แม้ผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 15 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2555 ผู้ร้องก็มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจให้ปล่อยได้
พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ.2555 มาตรา 6 (2) (ง) เป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 หมายความว่า หากนักโทษเด็ดขาดรายใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 8 แล้ว จึงจะนำมาตรา 6 มาพิจารณาได้ เมื่อจำเลยเป็นนักโทษเด็ดขาดซึ่งได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรกและวรรคสาม อันเป็นความผิดตามบัญชีลักษณะความผิดท้าย พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2555 จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 8 (2) ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ลดโทษแล้ว จำเลยจึงไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อยตัวตามมาตรา 6 (2) (ง) อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับเงินชดเชยค่าขนส่งตามโครงการยกระดับราคาหัวมันสำปะหลัง ผู้รับต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และมีหลักฐานการซื้อขายจริง
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการโรงงานทำมันเม็ดแข็ง เข้าร่วมโครงการยกระดับราคาหัวมันสำปะหลัง ขอรับเงินค่าชดเชยการขนส่งมันเม็ดตามโครงการจากโจทก์ โดยไม่เป็นไปตามเงื่อนไข โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการรับเงิน แม้โจทก์จะคืนสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 นำสัญญาไปคืนแก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 ยังมีภาระที่ต้องคืนเงินชดเชยค่าขนส่งให้แก่โจทก์ ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังไม่คืนเงินแก่โจทก์ ภาระการค้ำประกันยังคงผูกพันจำเลยที่ 2 อยู่ไม่สิ้นสุดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกเสียภาษีเงินได้จากเงินที่นายจ้างจ่ายเมื่อออกจากงาน ต้องรวมเงินจากทุกแหล่งแล้วคำนวณตามหลักเกณฑ์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 48 (5) และตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน 2535 ข้อ 1
หากโจทก์จะเลือกเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 48 (5) โจทก์ต้องนำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ทุกรายการที่เข้าลักษณะเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานในปีภาษีนั้นรวมกัน จากนั้นจึงคำนวณค่าใช้จ่ายและคำนวณภาษีตามมาตรา 48 (5) เมื่อปรากฏว่า ในปีภาษี 2546 เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่โจทก์ได้รับจำนวน 1,234,280 บาท เป็นเงินได้ตามข้อ 1 (ง) ส่วนเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 606,449.93 บาท เป็นเงินได้ตามข้อ 1 (ข) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว การที่โจทก์นำเงินจำนวน 1,234,280 บาท ไปแยกคำนวณค่าใช้จ่ายและคำนวณภาษีตามใบแนบ ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2546 หนึ่งฉบับ และแยกเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 606,449.93 บาท ไปคำนวณค่าใช้จ่ายและคำนวณภาษีตามใบแนบ ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2546 อีกหนึ่งฉบับ ย่อมไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
of 11